วิธีการทำงาน
ติดต่อเรา
ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ
แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ
เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ
ยืนยันการจองของคุณ
เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA
ประเภทงานบริการ
พี่เลี้ยงเด็ก พี่เลี้ยงเด็กชั่วคราว รับเลี้ยงเด็กที่บ้านตัวเอง พี่เลี้ยงสองภาษา พี่เลี้ยงวันหยุดบริการในเมืองยอดนิยม
บางเขน บางกอกน้อย ป้อมปราบศัตรูพ่า พระนคร บางพลัด บางบอน พระโขนง ภาษีเจริญ คลองสามวา ตลิ่งชันข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ
รีวิวล่าสุด
คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา รับเลี้ยงเด็กที่บ้านตัวเอง
1. เพื่อลดความกังวลของลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยและอธิบายให้เด็กเข้าใจถึงความจำเป็นที่เด็กจะต้องอยู่กับพี่เลี้ยงก่อนพาเด็กไปฝากที่บ้านพี่เลี้ยง เพื่อไม่ให้เด็กเกิดความกังวลว่าจะถูกพ่อแม่ทอดทิ้ง ลองให้สัญญากับเด็กดูว่าหากเชื่อฟังพี่เลี้ยงได้รางวัลตอบแทน ซึ่งทำให้เด็กคลายความกังวลและสามารถปรับตัวได้ในที่สุด
2. พูดคุยสอบถามกับเด็กทุกครั้งหลังจากที่รับกลับมาจากบ้านพี่เลี้ยง สอบถามถึงความเป็นอยู่ กิจกรรมที่ทำในแต่ละวันว่ามีอะไรบ้าง วันนี้ทานอาหารอะไรบ้าง ฯลฯ การสังเกตพฤติกรรมของเด็กทำให้คุณพ่อคุณแม่สามารถคาดเดาได้ว่าพี่เลี้ยงดูแลเด็กและปฏิบัติต่อเด็กอย่างไร
3. คุณพ่อคุณแม่ควรบันทึกเบอร์โทรศัพท์และเบอร์ฉุกเฉินเอาไว้ และสอนให้ลูกของคุณใช้โทรศัพท์มือถือเผื่อในกรณีฉุกเฉินต่าง ๆ และในขณะเดียวกันคุณพ่อคุณแม่สามารถโทรสอบถามความเป็นอยู่จากพี่เลี้ยงในระหว่างวันได้เช่นกัน
4. แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่หาบริการพี่เลี้ยงเด็กที่ใกล้บ้านและสะดวกในการเดินทางไปส่ง-รับเด็กในแต่ละวัน เพื่อไม่ให้กระทบต่อเวลางานของคุณพ่อคุณแม่มากเกินไป
5. ก่อนทำการประกาศหาพี่เลี้ยงเด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรลองสอบถามจากคนใกล้ชิดก่อน ว่าพอจะรู้จักใครที่มีความสามารถในการดูแลเด็กหรือไม่ เนื่องจากการแนะนำจากคนรู้จักนั้นน่าจะเป็นอะไรที่ปลอดภัยและน่าเชื่อถือได้มากกว่า
6. คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกคนที่มีประสบการณ์ในการดูแลเด็ก ไม่ว่าจะเคยดูแลลูกหลานของตนเอง ดูแลเด็กตามบ้าน หรือดูแลเด็กที่สถานรับเลี้ยง เพื่อให้มั่นใจว่าพี่เลี้ยงจะสามารถดูแลลูกของคุณได้อย่างแน่นอน
1. ตรวจสอบข้อมูลและประวัติส่วนตัวของพี่เลี้ยงเด็กให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนทำการจ้าง ว่าไม่ได้เป็นบุคคลที่เข้าข่ายเป็นผู้เคยกระทำความผิดตามกฎหมายใด ๆ มาก่อน หรือลองนัดสัมภาษณ์และพูดคุยถึงเรื่องราวต่าง ๆ ของพี่เลี้ยงเด็ก เพื่อทำให้คุณพ่อคุณแม่สามารถทำการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น
2. ตรวจสอบดูว่าพี่เลี้ยงนั้นมีประสบการณ์และความรู้ในการดูแลเด็กมากน้อยแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจิตวิทยา ความใส่ใจในเรื่องของอาหาร และเรื่องความรู้ทั่วไป หากเป็นผู้ที่เคยผ่านการฝึกอบรมด้านการดูแลปฐมพยาบาลเด็กมาแล้วจะสามารถช่วยให้คุณพ่อคุณแม่คลายความกังวลได้
3. ตรวจสอบบุคลิกและลักษณะท่าทางของพี่เลี้ยงเด็กว่าเป็นคนอย่างไร มีนิสัยใจคอแบบไหน และสามารถดูแลเด็กได้จริงหรือไม่
4. ตรวจสอบบริเวณบ้านของพี่เลี้ยงเด็กว่ามีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการที่จะให้เด็กอยู่อาศัยหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นความสะอาดบริเวณรอบ ๆ บ้าน และตามห้องต่าง ๆ ที่จะให้เด็กอยู่ เป็นต้น
5. คุณพ่อคุณแม่อาจตรวจสอบดูว่าบ้านของพี่เลี้ยงนั้นมีสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ เช่น สุนัข หรือไม่ เพราะการมีสุนัขขนาดใหญ่ในบ้านอาจส่งผลให้เด็กเกิดความหวาดกลัวได้ หรือหากที่บ้านพี่เลี้ยงมีสุนัขขนาดใหญ่จะมีมาตรการป้องกันอย่างไรไม่ให้สัตว์เลี้ยงเข้าใกล้เด็ก
6. ตรวจสอบสุขภาพของพี่เลี้ยงว่าเป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรงและไม่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้พี่เลี้ยงนำโรคติดต่อของตนมาสู่เด็ก
ทั้งหมดนี่คือสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนพาเด็กไปฝากเลี้ยงไว้ที่บ้านของพี่เลี้ยง เพื่อให้มั่นใจว่าเด็กจะได้รับการดูแลอย่างปลอดภัยนั่นเอง
พ่อแม่ควรลองสังเกตสัญญาณที่บ่งบอกว่าอาจมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับลูกคุณได้ดังนี้
1. สังเกตสภาพร่างกายของลูกว่ามีรอยฟกช้ำดำเขียว แผล ถลอก ต่าง ๆ ที่ผิดปกติ หากพบเห็นบ่อย ต้องพูดคุยและสอบถามจากทั้งตัวลูกของคุณเอง และ จากทางพี่เลี้ยงว่าร่องรอยเหล่านั้นเกิดจากสาเหตุใด
2. พยายามสังเกตอารมณ์และการแสดงออกของลูกว่าผิดปกติไปจากเดิมก่อนฝากเลี้ยงที่บ้านพี่เลี้ยงหรือไม่ เด็กมีการงอแง มีอาการหวาดกลัว หรือไม่อยากไปบ้านพี่เลี้ยงหรือเปล่า ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่สำคัญ เพราะหากเด็กมีความรู้สึกเช่นนั้นแสดงว่าเด็กต้องพบเจอ หรือประสบเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้หวาดกลัว และไม่อยากกลับไปที่บ้านพี่เลี้ยงอีก ซึ่งในบางครั้งเหตุการณ์ที่เด็กประสบอาจจะไม่ได้เกิดจากการกระทำของพี่เลี้ยงโดยตรง แต่อาจเป็นสิ่งที่เด็กพบเห็นจากสภาพแวดล้อมใกล้เคียงหรือรอบบ้านพี่เลี้ยง
3. พ่อแม่ควรใส่ใจสังเกตพฤติกรรมของลูก ก่อนและหลังไปบ้านพี่เลี้ยง ควรชวนลูกคุย เพื่อสอบถาม หรือชักชวนให้ลูกเล่าให้ฟังว่าแต่ละวันทำอะไรบ้าง การเป็นอยู่เป็นแบบไหนหรือการเลี้ยงดูของพี่เลี้ยงนั้นเป็นอย่างไร มีสิ่งที่ชอบหรือไม่ชอบอะไรบ้าง ควรพูดคุยให้เพลิดเพลินโดยไม่ใช้การบังคับหรือเค้นเอาความจริง
4. พ่อแม่จำเป็นต้องสังเกต พัฒนาการการเจริญเติบโตในภาพรวมของเด็กอย่างใกล้ชิด โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ เช่นเกณฑ์มาตรฐานเรื่องสภาพร่างกาย น้ำหนัก ส่วนสูง ที่จะต้องได้มาตรฐานไม่สูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์จนเกินไป หรือ พัฒนาการเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามช่วงอายุหรือไม่ เด็กสองถึงสามเดือน เริ่มยิ้ม เริ่มชันคอ หรือจำหน้าแม่ได้ หรือ สี่ถึงหกเดือนเริ่มคว่ำได้ หรือนั่งแบบใช้มือยัน เจ็ดถึงสิบก็เริ่มนั่ง เริ่มหาที่เกาะเพื่อยืน หรือเริ่มคลานได้ เป็นต้น พัฒนาการเหล่านี้จะบ่งชี้ให้เห็นว่าพี่เลี้ยงดูแลเด็กได้เหมาะสมหรือไม่ และหากไม่เป็นไปตามเกณฑ์อย่างไร จะได้หาวิธีแก้ไขได้ทันท่วงที
SAIJAI "ใส่ใจ" เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการดูแลเด็ก ดูแลผู้สูงอายุ ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ แม่บ้าน/ทำความสะอาด คนขับรถ ดูแลสัตว์เลี้ยง เสริมสวย และช่างซ่อมบำรุงเท่านั้น "SAIJAI" ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการหรือจ้างบุคคลใดให้บริการ ไม่มีสถานะเป็นนายจ้าง ผู้ว่าจ้าง ตัวแทน ผู้ร่วมทุน อย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเป็นผู้รับจ้างอิสระ ซึ่งผู้รับบริการเป็นผู้ว่าจ้าง คุณภาพการให้บริการเป็นความรับผิดชอบทั้งสิ้นของผู้ให้บริการเอง การเรียกใช้บริการจากผู้ให้บริการ อาจมีความเสี่ยง ซึ่งผู้รับบริการรับทราบและยินดีใช้บริการ บนความเสี่ยงใด ๆ ในความรับผิดชอบของตัวท่านเอง