วิธีการทำงาน
ติดต่อเรา
ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ
แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ
เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ
ยืนยันการจองของคุณ
เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA
ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ
รีวิวล่าสุด
คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ช่างซ่อมบำรุง
ในการประกอบอาชีพช่างทุกสาขานั้น หัวใจสำคัญของการทำงานคือ ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แต่เราอาจจะลืมไปว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดเลยคือคนที่จะทำงานนั้น ๆ จะต้องมีความรอบรู้ในงานที่ตัวเองทำ ช่างซ่อมบำรุงที่ดีก็เช่นกัน จะต้องมีความรู้ มีความเข้าใจ
ในงานของตนเป็นอย่างดี ต้องมีทักษะและมีไหวพริบในการทำงาน มีทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ดี มีความรับผิดชอบต่อลูกค้า ยอมรับการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดในการผลิตหรือการบริการด้วยความเต็มใจ มีบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีอัธยาศัยที่เป็นมิตรไมตรีกับทุกคน สิ่งนี้จะทำให้เพื่อนร่วมงานเต็มใจทำงานด้วย และทำให้การดำเนินการธุรกิจร่วมกันได้เป็นอย่างดี ทำให้การประกอบอาชีพมีโอกาสสำเร็จมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญเลยคือผู้ใช้บริการก็จะประทับใจและจะกลับมาใช้บริการซ้ำในครั้งถัดไป
การนำความรู้ความสามารถไปใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ที่พบ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันอย่างถูกต้อง ถูกวิธี ประหยัด และปลอดภัย
- ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ควรเรียกช่างซ่อมบำรุงผู้ชำนาญการมาทำจะปลอดภัยกว่า เพราะเราทำเองบางครั้งอาจเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิต และสูญเสียทรัพย์สินได้
- บางครั้งปัญหาเล็กๆ อย่างหลอดไฟที่เคยสว่างอยู่ดีๆ เกิดกะพริบๆ มีเสียงดังขณะเปิด หรือกว่าจะสว่างก็ใช้เวลานาน หนักสุดคือ ดับไปเลย อาการเหล่านี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเป็นที่บัลลาสต์เสีย แกนหลวม หลอดไฟขาด หรือเสื่อมสภาพ หลอดไฟก็มีหลายแบบทั้งหลอดเกลียว แบบขาสปริง เราควรตรวจสอบให้ดีก่อนที่จะนำมาใช้แล้ว ในกรณีที่หลอดไฟนั้นอยู่สูง ควรจะใช้บันไดไม่ควรใช้เก้าอี้ เพราะการใช้เก้าอาจทำให้เกิดอันตรายได้
- การเปลี่ยนก๊อกน้ำ การยิงซิลิโคน การเจาะผนัง การทะลวงท่อน้ำนั้นต้องใช้เครื่องมือมากมายในการแก้ปัญหา
- ส่วนของช่องสำหรับการซ่อมบำรุงอาจเป็นสิ่งที่ถูกละเลยมากที่สุดในบ้าน โดยเฉพาะระบบสายไฟบนเพดานที่มีฝ้าปิดทึบทั้งหมด หากบ้านที่คุณอยู่ไม่มีช่องเปิดฝ้า แล้วมีหนูหาทางขึ้นฝ้าไปกัดสายไฟจนขาด ก็จะเป็นเรื่องลำบากมากในการแก้ไขสายไฟให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น บ้านทุกหลังจำเป็นต้องมีช่องสำหรับซ่อมบำรุงสายไฟบนฝ้าเผื่อไว้ด้วย โดยเฉพาะชั้นล่างหรือชั้นที่ไม่ได้ติดหลังคา ส่วนชั้นที่ติดหลังคาจะมีช่องปีนขึ้นฝ้าอยู่ ถ้าไม่มั่นใจเราก็สามารถเรียกช่างซ่อมบำรุงมาตรวจดูได้
- ช่างทาสี ท่านสามารถหาช่างทาสีให้กับบ้านใหม่หรือห้องของท่านได้จาก SAIJAI การทาสีผนังบ้านเก่ากับบ้านใหม่ที่เพิ่งสร้างเสร็จ จะมีวิธีการเตรียมพื้นผิว และใช้ผลิตภัณฑ์ทาสีที่แตกต่างกัน รวมถึงการทาสีภายในและภายนอกนั้นจะใช้สีที่มีคุณสมบัติเฉพาะที่แตกต่างกัน ถึงแม้ว่านวัตกรรมสมัยใหม่จะมีทางเลือกสีที่ใช้ได้ทั้งภายนอกและภายใน แต่ช่างทาสีก็จะแนะนำว่าให้เลือกใช้สีที่เหมาะสมกับพื้นที่นั้น ๆ จะดีที่สุด
- ช่างปูกระเบื้อง ถ้าพูดถึงงานปูกระเบื้องไม่ว่าจะเป็นในส่วนของพื้นหรือผนังนั้นก็มีขั้นตอนและรายละเอียดมากมาย ตั้งแต่การเลือกใช้เทคนิควิธีการปูที่เหมาะสมกับชนิดกระเบื้อง และยังต้องใช้ความชำนาญของช่างปูกระเบื้อง และความประณีตละเอียดอ่อนของช่างปูกระเบื้องอีกด้วย
- ช่างฝ้าเพดาน ฝ้าเพดานบ้านก็เป็นอีกอย่างที่จะทำให้บ้านสวย และช่วยเก็บงานโครงสร้างใต้หลังคาให้เรียบร้อย นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้อีกด้วย
- คนดูแลสวน การที่สวนในรั้วบ้านของเราจะสวยงามได้นั้น จะต้องมีความรู้พื้นฐานไม่ใช่แค่การทำให้จบ ๆ ไป และไม่ใช่แค่การทำให้สวยงามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะแค่ความสวยงามอย่างเดียวนั้นไม่พอ เราจะต้องดูแลใส่ใจเพื่อที่สวนของเรานั้นจะได้อยู่ได้อย่างยาวนาน
- ช่างดูแลสระว่ายน้ำ สระว่ายน้ำที่ได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ จะมีคุณภาพน้ำที่ใสสะอาด ปราศจากคราบตะกอน สร้างความมั่นใจในการใช้สระว่ายน้ำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
แอร์ไม่เย็นเกิดจากอะไร
ฟิลเตอร์สกปรก เป็นสาเหตุเจอบ่อยที่สุดที่ทำให้แอร์ไม่เย็นมีแต่ลม เพราะเมื่อมีฝุ่นเกาะสะสมบนฟิลเตอร์มากขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดการอุดตันทำให้ลมไม่สามารถระบายออกมาได้ แถมยังก่อให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคอยล์เย็นมีน้ำแข็งเกาะกันไม่ให้ความเย็นออกมาได้ วิธีแก้คือเอาฟิลเตอร์กรองอากาศออกมาทำความสะอาดอย่างน้อยทุก ๆ 6 เดือน แต่หากเอาออกมาทำความสะอาดแล้วแอร์ยังไม่เย็นให้เรานั้นเรียกช่างแอร์มาตรวจสอบและดำเนินการแก้ไข
คอมเพลสเซอร์ไม่ทำงาน สาเหตุคอมเพลสเซอร์ไม่ทำงานอาจมาจากแอร์บางรุ่นที่ปิดการทำงานเมื่อไฟตก เพราะคอมเพลสเซอร์เป็นหัวใจของเครื่องปรับอากาศ มีหน้าที่อัดน้ำยาแอร์ไปตามท่อทองแดงไปที่คอยล์ร้อนเพื่อดึงความร้อนออกผ่านพัดลมระบายอากาศ แนะนำให้เรียงช่างมาตรวจสอบอละทำการซ่อมแซม
น้ำยาแอร์รั่ว สาเหตุที่จะทำให้น้ำยาแอร์รั่วนั้นมีหลายสาเหตุมาก ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน และอีกหลาย ๆ สาเหตุจะต้องทำการเช็คไปทีละจุดที่จะทำให้เกิดการรั่วของน้ำยาแอร์จึงจัสามารถหาวิธีแก้ไขได้
BTU แอร์ไม่เหมาะกับขนาดห้อง แอร์บางรุ่นมี BTU สูงเหมาะกับห้องกว้าง ๆ หลายตารางเมตร แอร์บางรุ่นมี BTU ต่ำลงมาก็จะเหมาะกับห้องขนาดเล็ก การติดตั้งแอร์ที่ไม่เหมาะกับขนาดห้องทำให้แอร์เย็นไม่ทั่วถึงได้
เปิดโหมดพัดลม บางครั้งมือเราอาจกดมือไปโดนโหมดพัดลมบนรีโมทแอร์ลองเช็คกันดูนะคะ
5 วิธีแก้ปัญหาแอร์ไม่เย็น
ปรับโหมดแอร์ผิดหรือไม่ หลายครั้งปัญหาแอร์ไม่เย็นมักเกิดจากการ ตั้งโหมดผิด ซึ่งการที่เราเผลอไปกดตั้งโหมดพัดลม ที่ทำให้ความเย็นจากแอร์ไม่ออกมา มีเพียงแค่ลมเท่านั้น ซึ่งวิธีแก้ไขเพื่อให้แอร์กลับมามีความเย็น โหมดที่เราควรตั้งไว้ก็คือโหมดเย็น ดังนั้นหากแอร์ที่บ้านใครไม่เย็น ก่อนอื่นต้องเช็กเลยครับว่าเรานั้นตั้งโหมดผิดหรือไม่
ตรวจสอบคอมเพรสเซอร์แอร์ เมื่อตรวจสอบในเรื่องของการปรับโหมดแอร์แล้วแอร์ก็ยังคงไม่เย็น จะต้องมาลองดูที่คอมเพรสเซอร์แอร์ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นคอมเพรสเซอร์ตัวที่อยู่ในบ้านทำงานปกติ แต่ตัวที่อยู่นอกบ้านไม่ทำงาน อาจจะเนื่องด้วยปัญหาไฟตกเพราะเมื่อไฟตกแล้ว แอร์จะทำงานแต่ไม่ให้ความเย็น ดังนั้นวิธีแก้ คือ การสับเบรกเกอร์แอร์ลงแล้วสับขึ้นไปใหม่ เพียงเท่านั้นความเย็นก็จะกลับมาเหมือนเดิม
เช็กฟิลเตอร์ การเช็กฟิลเตอร์หรือแผ่นกรองอากาศ เป็นวิธีแก้ปัญหาแอร์ไม่เย็นที่ไม่ยากอย่างที่คิด เพราะปัญหาที่เกิดกับแผ่นกรองอากาศมักจะเกิดอยู่ปัญหาเดียวคือแผ่นกรองอากาศสกปรก การแก้ปัญหาก็สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่เราถอดแผ่นกรองอากาศนี้ออกมาล้างทำความสะอาด ก็จะทำให้แอร์ของเรากลับมาเย็นเหมือนเดิม
ตรวจเช็กท่อน้ำยาแอร์อีกสาเหตุที่อาจทำให้แอร์ของเราไม่เย็นแม้ว่าจะเพิ่งล้างแอร์ไปก็ตาม ซึ่งวิธีการตรวจเช็กท่อน้ำยาแอร์เพื่อสังเกตดูว่ามีน้ำแข็งเกาะหรือน้ำหยดอยู่หรือไม่ หากมีก็หมายความว่าเกิดการรั่วซึมของน้ำยาแอร์ ทำให้น้ำยาแอร์ขาดจึงมีแต่ลมออกมาแทนที่ความเย็นของแอร์ ซึ่งถ้าหากเป็นแบบนี้แล้ว ก็จำเป็นที่จะต้องเรียกช่างมาตรวจสอบ
เลือกแอร์ให้เหมาะกับขนาดห้อง
1.เลือกประเภทแอร์ให้เหมาะกับสถานที่และการใช้งาน แอร์หรือเครื่องปรับอากาศนั้นมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้งาน มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน หากเลือกไม่เหมาะกับการใช้งานอาจส่งผลเสียต่อเครื่องปรับอากาศ และทำให้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าอีกด้วย
- แอร์ติดผนัง เหมาะกับห้องที่มีขนาดเล็กตามบ้านหรือคอนโดทั่วไป สำหรับแอร์ชนิดนี้ฟังก์ชั่นการทำงานที่หลากหลาย ดีไซน์ที่ทันสมัยและยังมีขนาดกะทัดรัด ช่วยประหยัดพลังงาน รวมไปถึงการดูแลรักษาที่ง่าย
- แอร์ฝังในฝ้า แอร์ประเภทนี้จะมีราคาค่อนข้างสูงกว่าแอร์ประเภทอื่น ๆ เป็นแอร์ที่ติดเข้าไปภายในบริเวณฝ้าเพดาน ซึ่งเหมาะสำหรับห้องที่เน้นในเรื่องความสวยงาม เพราะเมื่อทำการติดแล้วจะไม่ค่อยเห็นตัวเครื่องของแอร์ ทำให้ภายในบ้านสวย
- แอร์แขวนใต้ฝ้า เหมาะสำหรับห้องที่มีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง และเหมาะกับสถานที่ที่มีคนอยู่เยอะ อย่างร้านค้า อาคารสำนักงาน เป็นต้น จะเป็นแอร์ที่ติดตั้งใต้ฝ้าเพดานซึ่งสามารถกระจายความเย็นได้อย่างทั่วถึง และทนต่อการใช้งาน
- แอร์ตู้ตั้งพื้น เหมาะสำหรับห้องที่มีขนาดใหญ่ โรงงาน และมีผู้คนหนาแน่น เป็นแอร์ที่มีการกระจายความเย็นได้สูงและทนต่อการใช้งาน แอร์ประเภทนี้ จะเปลืองพลังงานกว่าแอร์ประเภทอื่น ๆ
2.เลือกขนาดให้เหมาะกับการใช้งานแต่ละห้อง อีกสิ่งที่ต้องคำนึงถึงสำหรับการเลือกซื้อแอร์นั้น คือ ขนาดห้อง หากเราทราบขนาดห้องที่ชัดเจนจะทำให้ง่ายต่อการเลือกขนาดของแอร์
3.เลือกแบบประหยัดพลังงาน ควรเลือกสินค้าที่ได้รับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ไม่ว่าจะเป็นแอร์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่น การเลือกใช้สินค้าที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 นั้นคือการนำพลังงานไปใช้อย่างคุ้มค่าที่สุด ช่วยประหยัดพลังงานและประหยัดค่าใช้จ่ายได้
4.เลือกและเปรียบเทียบคุณสมบัติพิเศษต่าง ๆ แอร์หรือเครื่องปรับอากาศนั้นมีมากมายหลายแบบ รวมไปถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ด้วย ให้เราเลือกโดยทำการเปรียบเทียบคุณสมบัติพิเศษต่าง ๆ เหล่านั้นที่เราคิดว่าดี และต้องการมากที่สุด
SAIJAI "ใส่ใจ" เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการดูแลเด็ก ดูแลผู้สูงอายุ ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ แม่บ้าน/ทำความสะอาด คนขับรถ ดูแลสัตว์เลี้ยง เสริมสวย และช่างซ่อมบำรุงเท่านั้น "SAIJAI" ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการหรือจ้างบุคคลใดให้บริการ ไม่มีสถานะเป็นนายจ้าง ผู้ว่าจ้าง ตัวแทน ผู้ร่วมทุน อย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเป็นผู้รับจ้างอิสระ ซึ่งผู้รับบริการเป็นผู้ว่าจ้าง คุณภาพการให้บริการเป็นความรับผิดชอบทั้งสิ้นของผู้ให้บริการเอง การเรียกใช้บริการจากผู้ให้บริการ อาจมีความเสี่ยง ซึ่งผู้รับบริการรับทราบและยินดีใช้บริการ บนความเสี่ยงใด ๆ ในความรับผิดชอบของตัวท่านเอง