วิธีการทำงาน
ติดต่อเรา
ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ
แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ
เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ
ยืนยันการจองของคุณ
เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

เป็นช่างแอร์ครับ
รับงานล้าง
ตรวจเช็ค
ซ่อมแก้ไข
ติดตั้งแอร์ใหม่ แอร์มือสอง






ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ
รีวิวล่าสุด
คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ช่างซ่อมบำรุง
ในการประกอบอาชีพช่างทุกสาขานั้น หัวใจสำคัญของการทำงานคือ ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แต่เราอาจจะลืมไปว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดเลยคือคนที่จะทำงานนั้น ๆ จะต้องมีความรอบรู้ในงานที่ตัวเองทำ ช่างซ่อมบำรุงที่ดีก็เช่นกัน จะต้องมีความรู้ มีความเข้าใจ
ในงานของตนเป็นอย่างดี ต้องมีทักษะและมีไหวพริบในการทำงาน มีทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ดี มีความรับผิดชอบต่อลูกค้า ยอมรับการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดในการผลิตหรือการบริการด้วยความเต็มใจ มีบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีอัธยาศัยที่เป็นมิตรไมตรีกับทุกคน สิ่งนี้จะทำให้เพื่อนร่วมงานเต็มใจทำงานด้วย และทำให้การดำเนินการธุรกิจร่วมกันได้เป็นอย่างดี ทำให้การประกอบอาชีพมีโอกาสสำเร็จมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญเลยคือผู้ใช้บริการก็จะประทับใจและจะกลับมาใช้บริการซ้ำในครั้งถัดไป
การนำความรู้ความสามารถไปใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ที่พบ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันอย่างถูกต้อง ถูกวิธี ประหยัด และปลอดภัย
- ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ควรเรียกช่างซ่อมบำรุงผู้ชำนาญการมาทำจะปลอดภัยกว่า เพราะเราทำเองบางครั้งอาจเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิต และสูญเสียทรัพย์สินได้
- บางครั้งปัญหาเล็กๆ อย่างหลอดไฟที่เคยสว่างอยู่ดีๆ เกิดกะพริบๆ มีเสียงดังขณะเปิด หรือกว่าจะสว่างก็ใช้เวลานาน หนักสุดคือ ดับไปเลย อาการเหล่านี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเป็นที่บัลลาสต์เสีย แกนหลวม หลอดไฟขาด หรือเสื่อมสภาพ หลอดไฟก็มีหลายแบบทั้งหลอดเกลียว แบบขาสปริง เราควรตรวจสอบให้ดีก่อนที่จะนำมาใช้แล้ว ในกรณีที่หลอดไฟนั้นอยู่สูง ควรจะใช้บันไดไม่ควรใช้เก้าอี้ เพราะการใช้เก้าอาจทำให้เกิดอันตรายได้
- การเปลี่ยนก๊อกน้ำ การยิงซิลิโคน การเจาะผนัง การทะลวงท่อน้ำนั้นต้องใช้เครื่องมือมากมายในการแก้ปัญหา
- ส่วนของช่องสำหรับการซ่อมบำรุงอาจเป็นสิ่งที่ถูกละเลยมากที่สุดในบ้าน โดยเฉพาะระบบสายไฟบนเพดานที่มีฝ้าปิดทึบทั้งหมด หากบ้านที่คุณอยู่ไม่มีช่องเปิดฝ้า แล้วมีหนูหาทางขึ้นฝ้าไปกัดสายไฟจนขาด ก็จะเป็นเรื่องลำบากมากในการแก้ไขสายไฟให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น บ้านทุกหลังจำเป็นต้องมีช่องสำหรับซ่อมบำรุงสายไฟบนฝ้าเผื่อไว้ด้วย โดยเฉพาะชั้นล่างหรือชั้นที่ไม่ได้ติดหลังคา ส่วนชั้นที่ติดหลังคาจะมีช่องปีนขึ้นฝ้าอยู่ ถ้าไม่มั่นใจเราก็สามารถเรียกช่างซ่อมบำรุงมาตรวจดูได้
- ช่างทาสี การทาสีนั้นอาจจะดูเหมือนง่ายแต่ก็ไม่ง่ายไปซะทีเดียว การทาสีผนังบ้านใหม่ที่เพิ่งสร้างเสร็จกับการทาสีผนังบ้านเก่านั้นมีการเตรียมพื้นผิวในการทาสีและมีการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทาสีที่ต่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นในการที่เราจะให้ผู้ที่มีประสบการณ์ในการทาสีเพื่อความสวยงามของบ้านที่เรารักและจะอาศัยอยู่ไปอีกนาน
- ช่างปูกระเบื้อง การใช้บริการช่างจากช่างปูกระเบื้องที่มีความชำนาญนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพื่อที่เราจะได้รับงานที่มีคุณภาพ มีความละเอียดอ่อนและมีความสวยงาม
- ช่างฝ้าเพดาน เพื่อป้องกัน ในแสงแดดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผิวของเราและ เพื่อเก็บโครงสร้างใต้หลังคาให้บ้านดูสวยงาม โดยฝ้าเพดานนั้นก็มีให้เลือกหลากหลายประเภท มีความสวยงามเหมาะกับการแต่งบ้านแต่ละแบบต่างกันออกไป
- คนดูแลสวน การดูแลสวนเป็นงานที่ต้องใช้ความอดทนและความใส่ใจเป็นอย่างมาก การทำสวนไม่ใช่การทำแค่เพื่อความสวยงามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะต้องให้สวนนั้นสามารถอยู่ได้อย่างยาวนาน
- ช่างดูแลสระว่ายน้ำ สระว่ายน้ำของเราจะสะอาดได้นั้น ต้องได้รับการดูแลเป็นอย่างดี เราอาจจะคิดว่าเราสามารถที่จะดูสระว่ายน้ำด้วยตัวเองได้ แต่ในความเป็นจริงมีรายละเอียดปลีกย่อยในการดูแลและบำรุงรักษาสระว่ายน้ำอีกมากพอสมควรที่เราอาจจะยังไม่รู้ ดังนั้นการเรียงช่างที่เป็นดูแลสระว่ายน้ำนั้นจะช่วยให้เราสะดวกในการดูแลมากกว่าเดิม เพราะสระว่ายน้ำเป็นสิ่งก่อสร้างที่ถาวรเหมือนกับบ้านและตึกที่เราอาศัย การดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก
สิ่งควรรู้ก่อนเริ่มลงมือต่อเติมบ้าน
1.การวางแผน ก่อนที่จะเริ่มลงมือต่อเติมบ้านนั้น ควรมีวัตถุประสงค์และมีการวางแผนว่าจะต่อเติมตรงไหน ในการต่อเติมหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบ้านทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดการผิดพลาดในภายหลัง
2.กำหนดงบประมาณในการต่อเติมบ้าน การตั้งงบประมาณหรือกำหนดงบแบบคร่าว ๆ ว่าต้องใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง มีค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่ เพื่อจะได้จัดสรรเงินในการใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเผื่อเกิดเหตุไม่คาดคิดที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินการ
3.การจ้างช่างหรือผู้รับเหมาที่มีความชำนาญ สำหรับการต่อเติมบ้านนั้น แน่นอนว่าจะต้องมีการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและงบประมาณที่ตั้งไว้
4.การขออนุญาตต่อเติมอาคาร ก่อนที่จะดำเนินการต่อเติมบ้านนั้นจะต้องทำการขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานประจำท้องถิ่น หรือโครงการนั้น ๆ ในพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่ เพราะในแต่ละพื้นที่ย่อมมีข้อกำหนดในการต่อเติมบ้านหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบ้าน เพื่อความปลอดภัยของตัวบ้านและความปลอดภัยของผู้อาศัยที่อยู่ใกล้เคียง
5.การตรวจสอบโครงสร้างบ้านเดิม ในการต่อเติมบ้านไม่ควรใช้คานที่ต่อมาจากบ้านเติม หรือเสาเข็มก็ไม่ควรใช้ร่วมกับบ้านเดิม เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายได้ ไม่ใช้ผนังเดียวกัน เพราะหากเกิดการทรุดตัวส่วนที่ต่อเติมจะดึงรั้งตัวบ้านเดิมส่งผลให้เกิดการเสียหายได้
ปัญหาที่มักจะตามมาจากการต่อเติมครัวหลังบ้าน
1.ปัญหาเกี่ยวกับกฎหมาย หรือ พรบ.ควบคุมอาคาร
ถ้าหากไม่ศึกษาให้เข้าใจก่อนลงมือต่อเติมครัวหลังบ้านนั้นจะเป็นปัญหาระยะยาวแน่นอน สิ่งที่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับพรบ.ควบคุมอาคารคือ ข้อกำหนดเรื่องการเว้นระยะห่างระหว่างอาคารที่ก่อสร้างกับแนวเขตพื้นที่ดินข้างเคียง ซึ่งข้อกำหนดจะแตกต่างกันออกไปตามแบบที่ต้องการจะก่อสร้าง โดยหากออกแบบให้มีหน้าต่าง ช่องเปิดอย่างช่องกระจก หรือระแนงจะต้องเว้นระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียง คือต้องห่างจากระยะของรั้วเข้ามา 2 เมตร แต่หากสร้างเป็นผนังทึบให้เว้นระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียง 0.5 เมตร นอกจากจะเป็นพรบ.ควบคุมอาคารแล้วการเว้นระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียงยังทำให้สะดวกต่อการดูซ่อมแซมแล้วก็เพื่อความปลอดภัยด้วย ในกรณีที่ต้องการต่อเติมบ้านให้ผนังชิดติดกับรั้วจะต้องได้รับความยินยอมเพื่อนบ้านโดยมีเอกสารระบุข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนจึงจะสามารถทำได้
2.การต่อเติมบ้านบนพื้นที่จำกัด
หากเป็นบ้านเดี่ยวหรือบ้านแฝดที่พอมีพื้นที่เดินรอบบ้านหัว ข้อนี้ก็ไม่เป็นปัญหามากนัก แต่หากบ้านที่ต้องการจะต่อเติมเป็นบ้านแบบทาวน์โฮมซึ่งค่อนข้างมีพื้นที่จำกัด ก็อาจจะต้องประเมินและออกแบบห้องที่จะต่อเติมอย่างละเอียด เพื่อส่วนที่ต่อเติมจะได้ออกมาอย่างที่ต้องการ
3.ปัญหาบ้านแตกร้าวและทรุดตัว
โครงสร้างหรือขั้นตอนการดำเนินการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน เป็นหนึ่งในปัญหาที่หากเกิดการผิดพลาดขึ้นมาแล้ว แก้ไขยากและจะกลายเป็นปัญหาที่บานปลายในภายหลัง จึงมีความจำเป็นอย่างยื่งที่จะต้องมีการตรวจสอบโครงสร้างเดิมของบ้านและพื้นที่โดยรอบอย่างละเอียดก่อนการเริ่มลงมือต่อเติม เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง ในการต่อเติมครัวบ้านไม่ว่าจะเป็นครัวหรืออะไรแนะนำให้ต่อเติมโดยการแยกส่วนโครงสร้างใหม่ออกจากโครงสร้างเดิมและคำนวณการรับน้ำหนักของโครงสร้างบ้านให้เหมาะสม
5 กรณีที่ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตในการต่อเติมบ้าน
1การเพิ่มหรือลดเนื้อที่ของพื้นชั้นใดชั้นหนึ่ง ในการเพิ่มหรือลดเนื้อที่ของพื้นชั้นใดชั้นหนึ่งรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร ไม่มีการเพิ่มหรือลดจำนวนเสาหรือคานหมายความว่าถ้าเกินกว่า 5 ตารางเมตร ก็จะต้องขออนุญาต
การเพิ่มหรือลดเนื้อที่ของหลังคา ในการเพิ่มหรือลดเนื้อที่ของหลังคารวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร ไม่มีการเพิ่มหรือลดจำนวนเสาหรือคาน ถ้าเกินกว่า 5 ตารางเมตร ก็จะต้องขออนุญาต
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาคาร การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาคารด้วยการใช้วัสดุ ขนาด จำนวนและชนิดเดียวกับของเดิม หมายความว่าถ้ามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเป็นวัสดุที่แตกต่างจากเดิมก็จะต้องขออนุญาต
การเปลี่ยนส่วนใด ๆ ภายในบ้านที่ไม่ใช่ส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคาร การเปลี่ยนส่วนใด ๆ ภายในบ้านที่ไม่ใช่ส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคารด้วยการใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิมหรือวัสดุชนิดอื่นที่ไม่ได้เพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมเกิน 10% ของน้ำหนักเดิม ถ้าเรามีการเปลี่ยนแปลงส่วนใด ๆ ภายในบ้านด้วยวัสดุที่แตกต่างจากเดิมหรือเพิ่มน้ำหนักเกินกว่า 10% ของน้ำหนักเดิมก็จะต้องขออนุญาต
การเปลี่ยน ต่อเติม เพิ่ม ลด เนื้อที่ส่วนใด ๆ ก็ตามในบ้านที่ไม่ใช่ส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคาร การเปลี่ยน ต่อเติม เพิ่ม ลด เนื้อที่ส่วนใด ๆ ก็ตามในบ้านที่ไม่ใช่ส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคาร ไม่เพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างเกิน 10% ของโครงสร้างอาคารเดิมหมายความว่าถ้าเรามีการเปลี่ยน ต่อเติม เพิ่ม ลด เนื้อที่ในบ้านด้วยวัสดุที่แตกต่างจากเดิมหรือเพิ่มน้ำหนักเกินกว่า 10% ของน้ำหนักเดิมก็จะต้องขออนุญาต
SAIJAI "ใส่ใจ" เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการดูแลเด็ก ดูแลผู้สูงอายุ ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ แม่บ้าน/ทำความสะอาด คนขับรถ ดูแลสัตว์เลี้ยง เสริมสวย และช่างซ่อมบำรุงเท่านั้น "SAIJAI" ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการหรือจ้างบุคคลใดให้บริการ ไม่มีสถานะเป็นนายจ้าง ผู้ว่าจ้าง ตัวแทน ผู้ร่วมทุน อย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเป็นผู้รับจ้างอิสระ ซึ่งผู้รับบริการเป็นผู้ว่าจ้าง คุณภาพการให้บริการเป็นความรับผิดชอบทั้งสิ้นของผู้ให้บริการเอง การเรียกใช้บริการจากผู้ให้บริการ อาจมีความเสี่ยง ซึ่งผู้รับบริการรับทราบและยินดีใช้บริการ บนความเสี่ยงใด ๆ ในความรับผิดชอบของตัวท่านเอง