วิธีการทำงาน
ติดต่อเรา
ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ
แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ
เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ
ยืนยันการจองของคุณ
เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA
ประเภทงานบริการ
พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง บริการรับจ้างพาสุนัขเดิน บริการรับจ้างฝึกสอนสัตว์เลี้ยง บริการอาบน้ำตัดขน บริการดูแลสัตว์เลี้ยงค้างคืน สัตวแพทย์นอกสถานที่บริการในเมืองยอดนิยม
บางเขน บางกอกน้อย ป้อมปราบศัตรูพ่า พระนคร บางบอน พระโขนง ภาษีเจริญ คลองสามวา ตลิ่งชัน ห้วยขวาง


แสดงผล 21 ถึง 26 จาก 26 ผลการค้นหา
1 2ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ
รีวิวล่าสุด
คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ดูแลสัตว์เลี้ยง
1. สุขุมและเข้าใจสัตว์เลี้ยง พี่เลี้ยงน้องหมา น้องแมวทุกคนรู้ดีว่าการดูแลน้องเหล่านี้มักไม่เป็นไปตามแผนที่เราคิดไว้เสมอไป ดังนั้นพี่เลี้ยงต้องอดทนเวลาที่น้องหมา น้องแมว ดื้อและไม่ปฏิบัติตามที่คาดหวังไว้ ควรสงบสติอารมณ์เพื่อไม่ให้พวกเขารู้สึกกลัวและตอบสนองต่อความวิตกกังวล จะทำให้สามารถดูแลสัตว์เลี้ยงได้ดี
2. อ่อนโยน พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงที่ดีตระหนักถึงความต้องการของสัตว์เลี้ยงของเราและตอบสนองต่อความต้องการนั้นมองสัตว์เลี้ยงของเราด้วยความรักใคร่และไม่ใช้กำลังหรือการลงโทษทางร่างกาย เช่นตี หรือ ลากสายจูงสุนัขของคุณระหว่างเดินเล่น
3. มีประสบการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสัตว์เลี้ยงของเรามีความต้องการดูแลเป็นพิเศษ การจ้างพี่เลี้ยงสัตว์ดูแลสัตว์เลี้ยง ควรจ้างผู้ดูแลสัตว์เลี้ยงที่มีประสบการณ์มากเช่น หากเรามีสุนัขเยอรมันเชพเพิร์ด(German Shepherd)ตัวใหญ่ เราต้องการคนที่เคยดูแลสุนัขขนาดใหญ่มาก่อน ถ้าคนคนนั้นสามารถแสดงใบรับรองเกียรติบัตรที่แสดงถึงประสบการณ์ในการดูแลสุนัขเยอรมันเชพเพิร์ดตัวใหญ่จะยิ่งเพิ่มความมั่นใจให้กับเจ้าของสุนัขยิ่งขึ้น หากสัตว์เลี้ยงของเรามีอาการป่วยหรือต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เราต้องมองหาพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงที่มีประสบการณ์และน่าเชื่อถือได้ในด้านนั้น ๆ มาดูแลสัตว์เลี้ยงของเรา
4. มีความรักที่แท้จริงต่อสัตว์เลี้ยง ลองถามคำถามที่น่าสนใจในระหว่างการสัมภาษณ์พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงดูเพื่อให้รู้สึกถึงบุคลิกของผู้สมัคร เช่น อะไรคือสิ่งที่สนุกที่สุดหรือน่าอายที่สุดที่คุณเคยสัมผัสกับสัตว์เลี้ยงตัวหนึ่ง ๆ ) ผู้ดูแลสัตว์เลี้ยงที่ดีจะแสดงความรักที่แท้จริงต่อสัตว์เลี้ยงในการตอบคำถามของคุณ หรือถามเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงที่พวกเขาเคยเป็นเจ้าของหรือดูแลมาก่อน - คนที่รักสัตว์จะกระตือรือร้นที่จะเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงของพวกเขาให้คุณฟัง การพูดคุยแบบนี้คุณสามารถวัดความรักของพวกเขาที่มีต่อสัตว์และระดับความตื่นเต้นเกี่ยวกับโอกาสในการทำงานนี้ได้เลยทีเดียว
1. พบอาการป่วย หรือพบความผิดปกติอื่นๆที่สังเกตได้ เช่น มีขี้ตาเกรอะกรัง ตาแดง มีน้ำมูก หายใจติดขัด ขนร่วงเป็นหย่อมๆ มีสะเก็ดหรือมีกลิ่นตัวแรง เดินกะเผลก อาเจียน ถ่ายเหลว น้ำหนักลดลงในเวลาอันรวดเร็ว หรือแม้กระทั่งกินน้ำมากกว่าปกติ เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเบื้องต้นที่อาจจะบ่งบอกว่าสัตว์เลี้ยงของเรากำลังป่วยก็เป็นได้
2. มีพฤติกรรมเบื่ออาหาร กินอาหารได้น้อยลง เป็นสิ่งที่เห็นชัดที่สุด หากสัตว์เลี้ยงของเรามีอาการเบื่ออาหาร ทั้งๆ ที่นิสัยเดิมกินเก่ง เจ้าของควรเฝ้าสังเกตอาการหรือนำไปให้คุณหมอตรวจสุขภาพ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าสัตว์เลี้ยงเริ่มป่วย แต่ทั้งนี้เจ้าของต้องแยกให้ได้ก่อนว่า อาการกินอาหารลดลงนั้นไม่ได้มาจากสภาพแวดล้อมภายนอกอื่นๆ เช่น วัยที่เปลี่ยนไป เปลี่ยนอาหารใหม่ อากาศที่เปลี่ยนไปตามฤดูกาล หรือมีสิ่งมากวนใจที่อาจเป็นสาเหตุให้สัตว์เลี้ยงตัวน้อยกินได้ลดลง
3. มีอาการซึมไม่ร่าเริง นอนมากผิดปกติ เวลาเจ้าของเรียกจะไม่กระฉับกระเฉง ไม่มาเล่น ไม่มาหาเหมือนเคย เช่นสุนัขมีอาการ หาวบ่อย หากสุนัขดูอ่อนเพลีย ง่วง อยากพักผ่อน เกิดอาการหาวบ่อยครั้ง สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณเตือนว่าน้องหมากำลังเครียด เบื่อ หรือกระวนกระวายใจ แต่หากเป็นสัตว์เลี้ยงที่อายุมากแล้ว อาจจะร่าเริงน้อยลง ถือว่าเป็นเรื่องปกติ นอกจากนี้อาการซึมอาจเกิดมาจากอาการเหงา ซึมเศร้า ซึ่งนับเป็นอาการป่วยทางใจ อันอาจเป็นผลมาจากเจ้าของไม่ค่อยมีเวลาให้ก็เป็นได้ ดังนั้นเมื่อเรามีสัตว์เลี้ยงแล้ว การมีเวลาการเอาใจใส่ การได้สัมผัสก็ช่วยป้องกันและรักษาอาการป่วยทางใจได้
1. ข้อตกลงเรื่องค่าตอบแทน ในส่วนของค่าตอบแทนในการว่าจ้างพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงแต่ละคนบนเว็บไซต์ใส่ใจได้ระบุเรทราคาจ้างไว้ชัดเจน นายจ้างจะต้องเลือกพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงโดยพิจารณาจากข้อมูลประวัติส่วนตัว ประวัติการทำงาน รวมถึงเรทราคาค่าจ้างโดยตัวของท่านเอง
2. ข้อตกลงเรื่องช่วงเวลาในการทำงาน นายจ้างควรระบุเวลาที่ชัดเจนให้พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงรับรู้ หรือบางครั้งในกรณีที่ต้องยืดหยุ่นเวลาในการทำงานเนื่องจากเหตุจำเป็น เพื่อให้เงื่อนไขได้รับการยินยอมทั้งสองฝ่าย
3. แจกแจงหน้าที่ให้กับพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงอย่างชัดเจนก่อนเริ่มงาน นายจ้างจำเป็นต้องอธิบายหน้าที่ของพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงให้ชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง เช่น ให้อาหารและอาบน้ำสัตว์เลี้ยงเวลาไหน หรือควรพาสัตว์เลี้ยงไปเดินเล่นออกกำลังกายเวลาไหนบ้าง เป็นต้น
4. สอบถามเกี่ยวกับประสบการณ์ของบุคคลที่จะทำการว่าจ้างอีกครั้งให้ชัดเจน หากพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงผ่านการฝึกอบรมด้านการดูแลสัตว์เลี้ยงมาโดยเฉพาะจะยิ่งเพิ่มความสบายใจให้กับนายจ้างมากยิ่งขึ้น
5. อธิบายข้อตกลงสำคัญหากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น ในกรณีที่เกิดอะไรขึ้นกับสัตว์เลี้ยงในระหว่างที่อยู่กับพี่เลี้ยง ควรอธิบายการแก้ไขสถานการณ์เบื้องต้นให้กับพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงรับรู้อย่างชัดเจน
6. ลองพาพี่เลี้ยงไปพบกับสัตว์เลี้ยงคุณก่อนวันเริ่มงานจริง เพื่อสร้างความคุ้นเคยล่วงหน้าให้กับสัตว์เลี้ยงและไม่ให้พวกเขารู้สึกระแวงเมื่อต้องอยู่กับคนแปลกหน้า
หลังจากทำความเข้าใจรายละเอียดของเงื่อนไขต่าง ๆ ทั้งหมดแล้ว คุณก็ไม่จำเป็นต้องคอยกังวลเกี่ยวกับการจ้างบริการพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงอีกต่อไป
คันนายาว ชื่อนี้มีที่มาอย่างไร
คันนายาว สมัยก่อนในเขตนี้เป็นพื้นที่นาจำนวนมาก ในการทำนาจะมีการปั้นคันนาขึ้นมาหรือแบ่งนาเป็นแหล่ง ๆ โดยจะยกสูงขึ้นจากพื้นนาเรียกว่า "คันนา" ซึ่งชาวนายังใช้เป็นถนนสำหรับเดินทางเข้าออกท้องนาอีกด้วย และในบรรดานาทั้งหมดนั้น มีที่นาอยู่ผืนหนึ่งที่มีอาณาเขตยาวมาก ๆ โดยมีพื้นที่ตั้งแต่บริเวณท้ายหมู่บ้านสุเหร่าแดง หรือบริเวณถนนเสรีไทยในปัจจุบัน ยาวไปจนถึงปลายคันนา ซึ่งแต่ก่อนเรียกบริเวณนั้นว่า โรงแดง เพราะเป็นที่ตั้งของบ้านหลังหนึ่ง มุงหลังคาสังกะสีที่เป็นสนิมมองเห็นเป็นสีแดงมาแต่ไกล ปัจจุบันบริเวณนี้คือถนนรามอินทรา เรียกได้ว่าเป็นนาที่มีคันนาที่ยาวที่สุด จึงเป็นที่มาของชื่อ >คันนายาว ในปัจจุบัน
วิถีชีวิตของชาวคันนายาวถ้าจะเดาจากชื่อ อาชีพดั้งเดิมของคนที่นี่คงจะเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากการทำนา สมัยที่มีการทำนากันมากในช่วงเวลาที่ข้าวเริ่มตั้งท้อง ชาวบ้านจะนำอาหารใส่ชะลอมไปประกอบพิธีทำขวัญข้าวขอขมาพระแม่โพสพ โดยแม่หมอเป็นผู้สวดขอขมา ชาวบ้านจะเกี่ยวข้าวบางส่วนมาทำขนมข้าวกระยาคู โดยนำเอาเมล็ดข้าวที่มีน้ำนมอยู่มาโขลกแล้วกรองเอาแต่น้ำ นำน้ำไปต้มกับน้ำตาลได้รสชาติหอมหวานอร่อยและขนมข้าวเม่าใส่กระทงใบตองขนาดใหญ่มาถวาย เพื่อเป็นสิริมงคลสร้างขวัญกำลังใจให้กับชาวนาที่รอผลผลิตจากที่ได้ลงแรงไป
ลักษณะนิสัยระหว่างหมาและแมว แตกต่างกันอย่างไร
ปกติสัตว์เลี้ยงที่ใกล้ชิดกับคนมากจนสามารถอยู่ร่วมบ้าน ร่วมเตียงกับมนุษย์ได้ คือ สุนัขและแมว ทั้งที่สัตว์ทั้งสองชนิดมีนิสัยและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ผู้เลี้ยงสามารถคาดหวังการตอบสนองที่แตกต่างกันจากการเลี้ยงสัตว์ทั้งสองชนิดนี้ได้ ความแตกต่างระหว่างสุนัขและแมวอาจจะมีให้พิจารณาอยู่ในอีกหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการใช้ประโยชน์ อย่างการเลี้ยงแมว แมวสามารถใช้ประโยชน์ในการกำจัดหนู นก แมลง หรือสัตว์เล็ก ๆ ที่ล่วงล้ำเข้ามาอยู่ในบ้าน ในขณะเดียวกันสุนัขสามารถทำหน้าที่ได้มากมายขึ้นกับสายพันธุ์ เช่น การเฝ้าบ้าน การล่าสัตว์ การป้องกันภัยอันตรายจากการถูกทำร้ายโดยมนุษย์ หรือสัตว์ร้ายอื่นๆ เช่น งู ตะขาบ
โดยการให้อิสระของสัตว์ 2 ชนิดนี้ก็มีลักษณะที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ลักษณะของแมวนั้นเป็นสัตว์ที่มีความรักอิสระแม้จะเป็นสัตว์เลี้ยงก็ตาม แมวจะมีลักษณะนิสัยของสัตว์ป่า คือชอบเที่ยวตามลำพังและทำทุกอย่างตามที่มันพอใจ ดังนั้นการออกไปเดินเล่นกับเจ้าของจึงไม่ใช่สิ่งที่พบเห็นได้บ่อยในแมว การฝึกให้แมวทำตามคำสั่งจึงเป็นไปได้ยาก ในขณะที่สุนัขจะเชื่อฟังและจงรักภักดีต่อเจ้าของ สามารถฝึกและสั่งให้ทำตามคำสั่งได้ โดยลักษณะความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งสองประเภทนี้ก็มีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างมาก โดยแมวเป็นสัตว์เลี้ยงชนิดเดียวที่ไม่ชอบอยู่เป็นฝูง แมวมักจะชอบอยู่ตามลำพัง ไม่ชอบให้คนไปวุ่นวาย ในขณะที่สุนัขจะชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง มีการจัดลำดับภายในฝูงว่าตัวใดเป็นจ่าฝูง ตัวใดเป็นลูกน้อง เมื่อคนนำสุนัขมาเลี้ยง สุนัขจะนับคนเป็นสมาชิกในฝูง และจะคอยดูแลป้องกันคุ้มครองและเห่าเตือนเมื่อมีคนแปลกหน้าที่มันเข้าใจว่าเป็นศัตรูเข้ามายังในบ้าน
เทคนิคการอาบน้ำให้แมว
สำหรับเจ้าของแมวการดูแลสุขอนามัยของแมวนั้นเป็นสิ่งสำคัญ แมวเป็นสัตว์ที่รักความสะอาด จะเสริมสวยตัวเองโดยใช้ลิ้นเลียทั่วร่างกายจนสะอาด แต่ก็ไม่สะอาดไปทั้งหมด อาจยังมีความสกปรกแฝงอยู่ เจ้าของจึงต้องช่วยดูแลสุขอนามัยให้แมวด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น อาบน้ำ การแปรงขน ตัดเล็บ ขัดหู อื่นๆ
การอาบน้ำให้แมวนั้น ควรฝึกอาบตั้งแต่ยังเป็นลูกแมวจะทำได้ง่ายกว่า โดยเริ่มได้ตั้งแต่แมวมีอายุ 14 สัปดาห์ขึ้นไป หากลูกแมวสกปรกมากจำเป็นต้องอาบน้ำก่อน 14 สัปดาห์ก็ทำได้ แต่ต้องระวังเรื่องความหนาวเย็น ให้ใช้สำลีอุดหูแมวกันน้ำเข้าหู และใช้ยาป้ายตาชนิดน้ำมันป้ายใต้ตาไว้ เพื่อป้องกันสบู่หรือแชมพูเข้าตา เพราะอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองในแมวและทำให้แมวดิ้นทุรนทุรายจนเป็นอันตรายได้
หากแมวดุมากเวลาอาบน้ำ อาจจะใช้วิธีจับแมวใส่ถุงผ้า ให้เหลือแต่ส่วนหัวโผล่ออกมา เวลาอาบน้ำให้จุ่มลงไปทั้งถุงโดยเหลือแต่ส่วนหัว อาบน้ำตามปกติเทแชมพูลงในถุง และถูภายนอก หลังจากนั้นให้ล้างแชมพูด้วยน้ำเปล่าให้เกลี้ยง โดยเช็ดและทำความสะอาดส่วนหัวในภายหลัง
ปกติแมวจะมีน้ำมันจากต่อมไขมันใต้รูขุมขนออกมาหล่อเลี้ยงให้ความชุ่มชื่นและขนเป็นเงา จึงไม่ควรอาบน้ำแมวบ่อยเกินไปเพราะเป็นการล้างไขมันจนทำให้ขนแห้งหลุดร่วงง่าย นอกจากนี้การอาบน้ำบ่อย ๆ อาจทำให้แมวเป็นหวัดง่ายอีกด้วย ความถี่ในการอาบน้ำให้แมวอย่างมากที่สุด เพียงสัปดาห์ละ 2 ครั้งก็พอ สำหรับสบู่หรือแชมพูที่ใช้ต้องระวังเป็นอย่างมาก แมวบางตัวอาจมีอาการแพ้แชมพูที่ใช้ ต้องเปลี่ยนแชมพูตัวใหม่และทดลองเลือกดูว่าแชมพูยี่ห้อไหนที่ทำให้แมวของเราไม่เกิดอาการแพ้
SAIJAI "ใส่ใจ" เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการดูแลเด็ก ดูแลผู้สูงอายุ ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ แม่บ้าน/ทำความสะอาด คนขับรถ ดูแลสัตว์เลี้ยง เสริมสวย และช่างซ่อมบำรุงเท่านั้น "SAIJAI" ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการหรือจ้างบุคคลใดให้บริการ ไม่มีสถานะเป็นนายจ้าง ผู้ว่าจ้าง ตัวแทน ผู้ร่วมทุน อย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเป็นผู้รับจ้างอิสระ ซึ่งผู้รับบริการเป็นผู้ว่าจ้าง คุณภาพการให้บริการเป็นความรับผิดชอบทั้งสิ้นของผู้ให้บริการเอง การเรียกใช้บริการจากผู้ให้บริการ อาจมีความเสี่ยง ซึ่งผู้รับบริการรับทราบและยินดีใช้บริการ บนความเสี่ยงใด ๆ ในความรับผิดชอบของตัวท่านเอง