ติว GAT ใน ภูเก็ต

ติว GAT ใน ภูเก็ต

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

มหาลัยที่ผมอยากเข้าต้องใช้คะแนน GAT สูงมากเลยครับ ส่วนตัวผมก็ยังไม่มั่นใจในการทำGATเชื่อมโยงเลย ไปเรียนติวเตอร์ออนไลน์ที่ไหนก็ยังไม่มั่นใจ จนคุณแม่ได้จ้างตัวเตอร์ส่วนตัวจากใส่ใจมาให้สอนผม ติวเตอร์ทั้งอธิบายและวิเคราะห์โจทย์ในปีก่อน ๆ ให้ผมรวมถึงหาโจทย์เก่ายาก ๆ มาให้ผมฝึกทำเยอะมากครับ สอนสนุก เข้าใจง่ายครับ
Saijai
ชัชชาต ตรีภพ
3 ปีที่แล้ว
แม่อยากเน้นแกทภาษาอังกฤษให้ลูกชายเพิ่ม ลองหาที่สอนพิเศษแถว ๆ บ้านแต่ยังไม่ถูกใจเท่าไหร่ เลยลองเสิร์ชหาดูในเน็ต เจอเว็บใส่ใจพอดีเลยลองดูๆ มีติวเตอร์เยอะ ราคาดีมาก ๆ เลยค่ะ
Saijai
แม่เพ็ญ
4 ปีที่แล้ว
GAT ภาษาไทยเตรียมความพร้อมเองได้ไม่ยากมากนักหาข้อสอบเก่าๆทำ แต่ภาษาอังกฤษต้องหาผู้ช่วย ช่วยสรุปให้ จะเรียนออนไลน์กลัวไม่เข้าใจ เลยหาดู จนเจอเพจใส่ใจ จองติวเตอร์ผ่านเพจนี้ แล้วลองเรียนมาสองครั้งแล้ว ติวเตอร์สอนโอเค ทำให้เรามั่นใจมากขึ้น
Saijai
จินต์ เกษมกิจมงคล
4 ปีที่แล้ว
หนูติวแกทแพทกับติวเตอร์ที่่จองผ่านเว็บใส่ใจ พี่เค้าสอนดีมากค่ะ หนูคงจะเรียนต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะสอบค่ะ
Saijai
ภาวิดา จารุจินดาโชติ
4 ปีที่แล้ว
ได้ติวเตอร์ที่ตรงตามต้องการของเรา แถมได้ราคามิตรภาพ ติวเตอร์ที่ได้มาก็ดี มีคนรีวิวชื่นชมเยอะมาก
Saijai
รุ่งระวี แสนสีดา
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ติว GAT

Gat มีความสำคัญอย่างไรกับเด็กไทย
หากพูดถึงระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันสำหรับนักเรียนที่กำลังจะเข้าสู่ระดับมหาวิทยาลัยนั้น คงหนีไม่พ้นการสอบแอดมิชชั่น ซึ่งประกอบไปด้วยคะแนนสองส่วนในการยื่นสมัครคณะที่ตัวเองใฝ่ฝันอยากจะเข้าเรียน ในส่วนแรกของคะแนนในการใช้ยื่น คือ คะแนนสอบ GAT PAT รวมกันเป็นสัดส่วนถึง 50% และอีก 50% มาจากคะแนนเกรดรวมกัน 6 เทอมหรือที่เรียกว่า (GPAX) หากขาดคะแนนส่วนใดส่วนหนึ่งไป จะไม่สามารถยื่นสอบแอดมิชชั่นกลางได้

วันนี้ใส่ใจจะมาอธิบาย 2 ลักษณะของคะแนน GAT เพื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้นค่ะ

GAT ไทย หรือที่เรารู้จักกันว่า GAT เชื่อมโยง มี 20 ข้อ ใช้เวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง มีลักษณะเป็นบทความยาว 1-2 หน้ากระดาษ แล้วให้มาอ่านวิเคราะห์เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ระหว่างคำหรือข้อความที่โจทย์กำหนด

GAT อังกฤษ หรือที่นักเรียนนิยมเรียกกันว่า GAT Eng รูปแบบข้อสอบ เป็นแบบปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ GAT ENG มีทั้งหมด 60 ข้อ มีค่าข้อละ 2.5 คะแนน แบ่งออกเป็น 4 ส่วนดังนี้ 1) Speaking and Conversation 2) Vocabulary 3) Reading comprehensive 4) Structure and Writing

หากน้อง ๆ อยากสอบแอดมิชชั่นผ่าน หรืออยากเรียนในคณะที่ตัวเองใฝ่ฝัน การสอบGAT ถือเป็นคะแนนหลักที่สำคัญในการยื่นสอบครั้งนี้ หวังว่าน้อง ๆ ควรให้ความสำคัญกับการสอบ GAT นะคะ ใส่ใจเป็นกำลังใจให้ค่ะ
ข้อดีของการติว GAT ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
การสอบ GAT (ความถนัดทั่วไป) สอบกันครั้งแรกตั้งแต่ปี 2553 อย่างที่ทราบกันดีว่า GAT (General Aptitude Test) มีข้อสอบแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆ กัน คือ

1. GAT เชื่อมโยง ความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ คะแนนเต็ม 150 คะแนน
2. GAT อังกฤษ ส่วนของความถนัดด้านภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม 150 คะแนน

การสอบ GAT มีความซับซ้อนของข้อสอบและยากขึ้นทุกปี และนี่คือเหตุผลที่ควรติว Gat

1. การสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยทุกคณะและสาขาวิชา กำหนดใช้คะแนน GAT พิจารณาเข้าศึกษาต่อในสัดส่วน 10 – 50% นับว่าเป็นจำนวนที่สูงมากๆ เพราะบางคณะไม่ใช้องค์ประกอบ PAT แต่เน้น GAT ดังนั้นจะเห็นว่าในรอบ Admissions GAT มีความสำคัญเป็นอย่างมาก
2. การสอบตรงหรือการสอบโควตา หลายๆ มหาวิทยาลัยใช้ GAT ในการพิจารณาเข้าศึกษา บางสาขาให้ค่าน้ำหนัก GAT มากถึง 70% นอกจากนี้ยังมีโครงการพิเศษ หรือ โควตาพิเศษ ที่คณะจัดเปิดรับเอง แทบทุกมหาวิทยาลัยใช้ GAT ด้วย
3. อย่างที่ทราบกันดีว่า GAT มีการจัดสอบ 2 ครั้ง คือ เดือนตุลาคมและมีนาคม แต่ช่วงที่มีคนเข้าสอบมากที่สุด คือ การสอบครั้งที่ 1 เดือน ตุลาคมนั่นเอง จากคนสอบทั้งหมดทั่วประเทศ ถ้าใครสามารถทำคะแนนสอบ GAT ได้สูงกว่าคนอื่น โอกาสสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้จะสูงเช่นกัน
4. การติว GAT นอกจากจะเป็นการทบทวนเนื้อหาที่เรียนมาและรู้จักกับข้อสอบ รวมถึงกระดาษคำตอบแล้ว ก็จะทำให้เรารู้แนวข้อสอบที่น่าจะออกมากขึ้นอีกด้วย เพราะติวเตอร์จะมีเทคนิคในการคาดการณ์ข้อสอบล่วงหน้าว่าข้อสอบจะออกมาแนวไหน อย่างไร มีเทคนิคมากมาย เพื่อพิชิตข้อสอบ GAT ให้ได้
ไม่มีคะแนน GAT PAT สามารถยื่นตรงเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐได้หรือไม่
อย่างที่ทราบกันดีว่าการเข้ามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้นจำเป็นจะต้องใช้สัดส่วนคะแนนของการสอบ GAT PAT เพื่อยื่นเข้าแต่ละคณะสาขา และจำเป็นต้องใช้สัดส่วนคะแนนที่มากเกือบ 50% เลยทีเดียว และการสอบ GAT PAT นั้นก็ไม่ได้มีสอบอยู่ตลอด เพราะทางสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) จะเป็นผู้กำหนดวันสอบให้นั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม หลาย ๆ คนอาจคิดว่า การจะเข้าแต่ละคณะนั้นจำเป็นต้องสอบ GAT PAT ทุกมหาวิทยาลัย แต่ในความเป็นจริงนั้น “ไม่ใช่ทุกคณะและทุกมหาวิทยาลัย” ที่จำเป็นต้องใช้คะแนน GAT PAT ในการยื่น เพราะในประเทศไทยนั้นก็มีบางมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้ใช้สัดส่วนคะแนนของ GAT PAT เช่นกัน โดยส่วนใหญ่จะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่นมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งคณะที่ไม่จำเป็นต้องใช้ผลคะแนน GAT PAT คือ บางสาขาในคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เช่น เทคโนโลยีอาหาร เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น บางสาขาในคณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร คณะจิตรกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอีกหลายมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้ใช้ผลคะแนนสอบ GAT PAT เป็นสัดส่วนหลักที่ใช้ในการยื่นเข้าแต่คณะ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละคณะและมหาวิทยาลัยที่จะเป็นผู้กำหนดเกณฑ์อื่น ๆ ในการยื่นเข้าเรียนแทน ดังนั้นจึงเป็นที่สรุปได้ว่านักเรียนไม่จำเป็นจะต้องสอบ GAT และ PAT ทุกวิชาก็ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นนักเรียนต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแบบใหม่หรือ TCAS เพื่อดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างและเตรียมตัวให้พร้อมอยู่ตลอดเวลาด้วยเช่นกัน
ค่าธรรมเนียมการสอบ GAT แต่ละวิชาเท่าไหร่
สมัยนี้นอกจากต้องตั้งใจเรียน ตั้งใจติวหนังสือสอบแล้ว อีกอย่างที่สำคัญคือเรื่องค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบต่างๆ ซึ่งเราสามารถประเมินได้คร่าว ๆ ก่อนตามนี้

รอบที่ 1 Portfolio ยื่นแฟ้มสะสมผลงาน การสมัครขึ้นอยู่กับคณะและมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนดเอง รอบนี้ค่าใช้จ่ายธรรมเนียมการสมัครสอบประมาณ 200 – 1,000 บาท ใน TCAS ปี 2564 ยังเพิ่มการสอบ GAT วัดสมรรถนะทั่วไป 3 ส่วน ใช้สำหรับการยื่นในรูปแบบแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือโควตา ทั้งยังมีค่าสมัครสอบวัดความถนัดเพิ่มเติมที่ทางคณะจะพิจารณาคะแนนวัดความสามารถต่างๆ
รอบที่ 2 รับตรงโควต้า รอบนี้เป็นรอบที่ใช้ความสามารถพิเศษ แต่ละโครงการจะมีค่าสมัครอยู่ที่โครงการละประมาณ 200-600 บาท เกณฑ์ในรอบนี้ มีทั้ง GAT-PAT, 9 วิชาสามัญ ต้องยื่นคะแนนความสามารถทางภาษาเพิ่ม และต้องเสียค่าสอบวิชาเฉพาะของทางมหาวิทยาลัยเพิ่มอีกด้วย
รอบที่ 3 Admission (รวม Admission 1 และ Admission 2) โดยประกาศผล 2 ครั้ง สำหรับ Admission สามารถใช้คะแนนสอบกลางเป็นเกณฑ์ในการสมัครได้เลย ซึ่งคะแนนที่ใช้คือ เกรดเฉลี่ยสะสม คะแนน O-NET, GAT/PAT ค่าสมัครรอบ Admission อันดับแรก 150 บาท อันดับ 2-4 เพิ่มอันดับละ 50 บาท อันดับ 5 เป็นต้นไป เพิ่มอันดับละ 100 บาท รวมสูงสุด 900 บาท
รอบที่ 4 รับตรงอิสระ รอบสุดท้ายคือ รับตรงอิสระ ที่มีอัตราค่าสมัครตั้งแต่ 200 - 1,000 บาท ซึ่งคณะและมหาวิทยาลัยจะกำหนดค่าธรรมเนียมในการรับสมัครเองอย่างอิสระ รอบนี้จะใช้คะแนน O-Net, GAT/PAT และ 9 วิชาสามัญด้วย