ติว GAT

ติว GAT

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ธีรกานต์ อาจสอน
ธีรกานต์ อาจสอน
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

เป็นติวเตอร์ที่รับผิดชอบ ตรงต่อเวลา สอนสนุกค่ะ

แสดงเพิ่มเติม

รีวิวล่าสุด

จ้างติวเตอร์ส่วนตัวค่าจ้างอาจจะสูงกว่า แต่เราว่าคุ้มมาก ๆ เพราะเรียนส่วนตัวสำหรับทำให้เรารู้สึกมีสมาธิมาก ๆ และติวเตอร์สอนดีอีกด้วย ให้ฝึกทำข้อสอบปีเก่า ๆ เพื่อฝึกก่อนทำข้อสอบจริง
Saijai
ชัชรียา พยุงรัตน์
3 ปีที่แล้ว
GAT ภาษาไทยเตรียมความพร้อมเองได้ไม่ยากมากนักหาข้อสอบเก่าๆทำ แต่ภาษาอังกฤษต้องหาผู้ช่วย ช่วยสรุปให้ จะเรียนออนไลน์กลัวไม่เข้าใจ เลยหาดู จนเจอเพจใส่ใจ จองติวเตอร์ผ่านเพจนี้ แล้วลองเรียนมาสองครั้งแล้ว ติวเตอร์สอนโอเค ทำให้เรามั่นใจมากขึ้น
Saijai
จินต์ เกษมกิจมงคล
3 ปีที่แล้ว
หนูติวแกทแพทกับติวเตอร์ที่่จองผ่านเว็บใส่ใจ พี่เค้าสอนดีมากค่ะ หนูคงจะเรียนต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะสอบค่ะ
Saijai
ภาวิดา จารุจินดาโชติ
3 ปีที่แล้ว
ได้ติวเตอร์ที่ตรงตามต้องการของเรา แถมได้ราคามิตรภาพ ติวเตอร์ที่ได้มาก็ดี มีคนรีวิวชื่นชมเยอะมาก
Saijai
รุ่งระวี แสนสีดา
3 ปีที่แล้ว
ผมหาที่ติว Gat Pat ให้ลูกชายครับ กลัวลูกสอบไม่ติด เลยหาข้อมูลเอาไว้ก่อน จริง ๆ มีหลายเว็บให้เลือก แต่มาลงตัวที่เว็บใส่ใจ เพราะมีตัวเลือกของติวเตอร์เยอะ มีประวัติของติวเตอร์ให้เราลองอ่านคร่าว ๆ ก่อนตัดสินใจด้วย ที่สำคัญเป็นติวเตอร์ที่มีประสบการณ์การสอนมาก่อน ผมเลยมั่นใจเลือกติวเตอร์จากที่นี่ และไม่ผิดหวังจริง ๆ ติวเตอร์เก่ง ลูกผมขยันและตั้งใจเรียนขึ้นมากเลย
Saijai
พิเชต มากพันธุ์
3 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ติว GAT

Gat คืออะไร สำคัญต่อเด็กไทยหรือไม่
GAT-General Aptitude Test คืออะไร GAT คือการสอบเพื่อประเมินว่านักเรียนคนหนึ่งมีความพร้อมในการจะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยมากน้อยแค่ไหน โดยจะทำการทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป ซึ่งเป็นการวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัย

ข้อสอบ GAT มี 2 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 ภาษาไทย คือ วัดความสามารถในการอ่าน การเขียน การคิดเชิงวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา
ส่วนที่ 2 ภาษาอังกฤษ คือ วัดความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย Speaking and Conversation, Vocabulary, Structure and Writing, and Reading Comprehension
รูปแบบข้อสอบจะมีทั้งปรนัยและอัตนัย รวมกันสองส่วนนี้ทั้งหมด 300 คะแนน

GAT มีความสำคัญในการยื่นคะแนนในระบบ ADMISSIONS มากถึง 10 – 50 % (ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละคณะวิชา โดยองค์ประกอบของการยื่นคะแนนในระบบ Admissions แบ่งเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย O-NET ,เกรดเฉลี่ยที่โรงเรียน (GPAX) , GAT, PAT)

ข้อสังเกต บางคณะใช้คะแนน GAT ในการพิจารณามากกว่า GPAX และอาจมากกว่าคะแนนจากการสอบ O – NET อีกด้วย ตัวอย่างคณะที่ใช้คะแนนจากการสอบ GAT สูงมากๆ เช่น การสอบ ADMISSIONS คณะนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ มีรูปแบบที่ยื่นคะแนน GAT สัดส่วนสูงถึง 50 % และ บางมหาวิทยาลัยต้องใช้คะแนน GAT ยื่นระบบรับตรงทุกคณะ เช่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นต้น
สำหรับผู้ที่ต้องใช้คะแนน GAT เป็นกลุ่มของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งต้องใช้คะแนนนี้ในการยื่นเข้าศึกษามหาวิทยาลัยตามระบบ TCAS (Thai University Central Admission System ) ที่ได้ประกาศไว้ และสามารถเลือกสนามสอบได้ทั้งในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัดตามระบบที่ได้กำหนด โดยสนามสอบนั้นอาจจะไม่ใช่โรงเรียนของตนเองที่สังกัดอยู่
ติว GAT ช่วยคุณอย่างไร
หลังจากสามปีในการเรียนระดับมัธยมปลาย GAT คือหนึ่งการสอบที่ดูว่านักเรียนคนหนึ่งมีความพร้อมในการจะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยมากน้อยแค่ไหน และทุกคณะ / สาขา กำหนดใช้คะแนน GAT 10-50 เปอร์เซ็นต์ ในบางคณะเยอะกว่า PAT ด้วย เพื่อพิจารณารับนักศึกษาเข้าเรียน นับว่าเป็นสัดส่วนคะแนนที่มีความสำคัญ
จากการสอบ GAT ข้อสอบภาษาอังกฤษในปี 2559 จากคนสอบทั่วประเทศ 173,018 คน มีนักเรียนเพียง 971 คน ที่ทำคะแนนวิชาภาษาอังกฤษได้ 120-150 คะแนน โดยผู้เข้าสอบส่วนใหญ่ทำคะแนนได้เพียง 30-60 คะแนนจากคะแนนเต็ม 150 คะแนน ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ส่วนหนึ่งอาจมาจากคุณภาพของการเรียนการสอนที่แตกต่างกันในแต่ละโรงเรียน ทำให้นักเรียนต้องหาความรู้เพิ่มเติมจากความรู้ที่ได้จากห้องเรียน ครูสอนพิเศษหรือติวเตอร์เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยม เพราะการเสริมความรู้จากติวเตอร์ที่สอนเทคนิคการทำข้อสอบและการทบทวนที่สม่ำเสมอ ติวเตอร์จะมีเทคนิคการเดาคำศัพท์ การเดาบริบท หรือการอ่านจับใจความ ซึ่งทำให้นักเรียนสามารถทำข้อสอบได้เร็วขึ้นอีก นอกจากความรู้ในเนื้อหาวิชา ติวเตอร์ยังช่วยอธิบายลักษณะข้อสอบและกระดาษคำตอบที่อาจจะสร้างความสับสนให้ผู้สอบไม่น้อย เมื่อผู้สอบไม่ต้องเสียเวลากับการทำความเข้าใจกระดาษคำตอบ ทำให้มีเวลาทำข้อสอบมากขึ้น มีเวลาคิดมากขึ้นด้วย ติวเตอร์ส่วนใหญ่จะติว GAT โดยนักเรียนหัดทำข้อสอบปีก่อน ๆ เป็นการสร้างความคุ้นเคยกับแนวข้อสอบยิ่งหัดทำบ่อย ๆ เพิ่มทักษะในการทำโจทย์ ทบทวนสิ่งที่เรียนมา วิเคราะห์แนวโน้มแนวข้อสอบที่น่าจะเป็น จากติวเตอร์ ที่มีประสบการณ์ และเมื่อทำข้อสอบเก่าแล้ว ก็ต้องหมั่นทบทวนปัญหาของตนเอง หลังจากที่ทบทวนปัญหาของตัวเองแล้ว ให้สังเกตข้อที่ตัวเองพลาด พลาดคะแนนตรงไหน การติวก็จะช่วยแก้ไขเฉพาะจุดได้ รวมถึงเทคนิคในการทำข้อสอบเพื่อให้ได้คะแนนมากพอที่จะก้าวเข้าไปในมหาวิทยาลัยที่หวังไว้
ไม่มีคะแนน GAT PAT สามารถยื่นตรงเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐได้หรือไม่
อย่างที่ทราบกันดีว่าการเข้ามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้นจำเป็นจะต้องใช้สัดส่วนคะแนนของการสอบ GAT PAT เพื่อยื่นเข้าแต่ละคณะสาขา และจำเป็นต้องใช้สัดส่วนคะแนนที่มากเกือบ 50% เลยทีเดียว และการสอบ GAT PAT นั้นก็ไม่ได้มีสอบอยู่ตลอด เพราะทางสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) จะเป็นผู้กำหนดวันสอบให้นั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม หลาย ๆ คนอาจคิดว่า การจะเข้าแต่ละคณะนั้นจำเป็นต้องสอบ GAT PAT ทุกมหาวิทยาลัย แต่ในความเป็นจริงนั้น “ไม่ใช่ทุกคณะและทุกมหาวิทยาลัย” ที่จำเป็นต้องใช้คะแนน GAT PAT ในการยื่น เพราะในประเทศไทยนั้นก็มีบางมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้ใช้สัดส่วนคะแนนของ GAT PAT เช่นกัน โดยส่วนใหญ่จะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่นมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งคณะที่ไม่จำเป็นต้องใช้ผลคะแนน GAT PAT คือ บางสาขาในคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เช่น เทคโนโลยีอาหาร เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น บางสาขาในคณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร คณะจิตรกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอีกหลายมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้ใช้ผลคะแนนสอบ GAT PAT เป็นสัดส่วนหลักที่ใช้ในการยื่นเข้าแต่คณะ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละคณะและมหาวิทยาลัยที่จะเป็นผู้กำหนดเกณฑ์อื่น ๆ ในการยื่นเข้าเรียนแทน ดังนั้นจึงเป็นที่สรุปได้ว่านักเรียนไม่จำเป็นจะต้องสอบ GAT และ PAT ทุกวิชาก็ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นนักเรียนต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแบบใหม่หรือ TCAS เพื่อดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างและเตรียมตัวให้พร้อมอยู่ตลอดเวลาด้วยเช่นกัน
ค่าธรรมเนียมการสอบ GAT แต่ละวิชาเท่าไหร่
สมัยนี้นอกจากต้องตั้งใจเรียน ตั้งใจติวหนังสือสอบแล้ว อีกอย่างที่สำคัญคือเรื่องค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบต่างๆ ซึ่งเราสามารถประเมินได้คร่าว ๆ ก่อนตามนี้

รอบที่ 1 Portfolio ยื่นแฟ้มสะสมผลงาน การสมัครขึ้นอยู่กับคณะและมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนดเอง รอบนี้ค่าใช้จ่ายธรรมเนียมการสมัครสอบประมาณ 200 – 1,000 บาท ใน TCAS ปี 2564 ยังเพิ่มการสอบ GAT วัดสมรรถนะทั่วไป 3 ส่วน ใช้สำหรับการยื่นในรูปแบบแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือโควตา ทั้งยังมีค่าสมัครสอบวัดความถนัดเพิ่มเติมที่ทางคณะจะพิจารณาคะแนนวัดความสามารถต่างๆ
รอบที่ 2 รับตรงโควต้า รอบนี้เป็นรอบที่ใช้ความสามารถพิเศษ แต่ละโครงการจะมีค่าสมัครอยู่ที่โครงการละประมาณ 200-600 บาท เกณฑ์ในรอบนี้ มีทั้ง GAT-PAT, 9 วิชาสามัญ ต้องยื่นคะแนนความสามารถทางภาษาเพิ่ม และต้องเสียค่าสอบวิชาเฉพาะของทางมหาวิทยาลัยเพิ่มอีกด้วย
รอบที่ 3 Admission (รวม Admission 1 และ Admission 2) โดยประกาศผล 2 ครั้ง สำหรับ Admission สามารถใช้คะแนนสอบกลางเป็นเกณฑ์ในการสมัครได้เลย ซึ่งคะแนนที่ใช้คือ เกรดเฉลี่ยสะสม คะแนน O-NET, GAT/PAT ค่าสมัครรอบ Admission อันดับแรก 150 บาท อันดับ 2-4 เพิ่มอันดับละ 50 บาท อันดับ 5 เป็นต้นไป เพิ่มอันดับละ 100 บาท รวมสูงสุด 900 บาท
รอบที่ 4 รับตรงอิสระ รอบสุดท้ายคือ รับตรงอิสระ ที่มีอัตราค่าสมัครตั้งแต่ 200 - 1,000 บาท ซึ่งคณะและมหาวิทยาลัยจะกำหนดค่าธรรมเนียมในการรับสมัครเองอย่างอิสระ รอบนี้จะใช้คะแนน O-Net, GAT/PAT และ 9 วิชาสามัญด้วย