ติว GAT ใน กรุงเทพมหานคร

ติว GAT ใน กรุงเทพมหานคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ธีรกานต์ อาจสอน
ธีรกานต์ อาจสอน
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

เป็นติวเตอร์ที่รับผิดชอบ ตรงต่อเวลา สอนสนุกค่ะ

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

มหาลัยที่ผมอยากเข้าต้องใช้คะแนน GAT สูงมากเลยครับ ส่วนตัวผมก็ยังไม่มั่นใจในการทำGATเชื่อมโยงเลย ไปเรียนติวเตอร์ออนไลน์ที่ไหนก็ยังไม่มั่นใจ จนคุณแม่ได้จ้างตัวเตอร์ส่วนตัวจากใส่ใจมาให้สอนผม ติวเตอร์ทั้งอธิบายและวิเคราะห์โจทย์ในปีก่อน ๆ ให้ผมรวมถึงหาโจทย์เก่ายาก ๆ มาให้ผมฝึกทำเยอะมากครับ สอนสนุก เข้าใจง่ายครับ
Saijai
ชัชชาต ตรีภพ
3 ปีที่แล้ว
จ้างติวเตอร์ส่วนตัวค่าจ้างอาจจะสูงกว่า แต่เราว่าคุ้มมาก ๆ เพราะเรียนส่วนตัวสำหรับทำให้เรารู้สึกมีสมาธิมาก ๆ และติวเตอร์สอนดีอีกด้วย ให้ฝึกทำข้อสอบปีเก่า ๆ เพื่อฝึกก่อนทำข้อสอบจริง
Saijai
ชัชรียา พยุงรัตน์
3 ปีที่แล้ว
ติวเตอร์คอยแนะนำเนื้อหาที่ต้องเตรียมตัวและเก็งข้อสอบให้ลูกเข้าใจได้ง่าย ๆ ตอนนี้เห็นได้ชัดถึงพัฒนาการของลูกจากผลคะแนนการทดลองทำโจทย์ปีก่อน ๆ มากเลยค่ะ รอลุ้นกับผลคะแนนของลูกมาก ๆ ขอบคุณติวเตอร์ค่ะะะะ
Saijai
ธิดาพร ถาวีสิน
3 ปีที่แล้ว
ได้ติวเตอร์ที่ตรงตามต้องการของเรา แถมได้ราคามิตรภาพ ติวเตอร์ที่ได้มาก็ดี มีคนรีวิวชื่นชมเยอะมาก
Saijai
รุ่งระวี แสนสีดา
4 ปีที่แล้ว
ผมจะสอบแอดมิดชั่นเข้าจุฬา และต้องยื่นคะแนนแกทแพท ผมตัดสินใจที่จะจ้างติวเตอร์ส่วนตัวในการติวแกทเชื่อมโยง ติวเตอร์สอนดีมาก ๆ ให้ฝึกทำโจทย์หลายรูปแบบ บอกเทคนิคการทำข้อสอบ ตอนนี้คะแนนออกมาแล้วคือได้แกทไทยเต็ม ดีใจมาก ตอนนี้ติดจุฬาแล้วครับ
Saijai
วชร นารีเกตุ
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ติว GAT

Gat มีความสำคัญอย่างไรกับเด็กไทย
หากพูดถึงระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันสำหรับนักเรียนที่กำลังจะเข้าสู่ระดับมหาวิทยาลัยนั้น คงหนีไม่พ้นการสอบแอดมิชชั่น ซึ่งประกอบไปด้วยคะแนนสองส่วนในการยื่นสมัครคณะที่ตัวเองใฝ่ฝันอยากจะเข้าเรียน ในส่วนแรกของคะแนนในการใช้ยื่น คือ คะแนนสอบ GAT PAT รวมกันเป็นสัดส่วนถึง 50% และอีก 50% มาจากคะแนนเกรดรวมกัน 6 เทอมหรือที่เรียกว่า (GPAX) หากขาดคะแนนส่วนใดส่วนหนึ่งไป จะไม่สามารถยื่นสอบแอดมิชชั่นกลางได้

วันนี้ใส่ใจจะมาอธิบาย 2 ลักษณะของคะแนน GAT เพื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้นค่ะ

GAT ไทย หรือที่เรารู้จักกันว่า GAT เชื่อมโยง มี 20 ข้อ ใช้เวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง มีลักษณะเป็นบทความยาว 1-2 หน้ากระดาษ แล้วให้มาอ่านวิเคราะห์เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ระหว่างคำหรือข้อความที่โจทย์กำหนด

GAT อังกฤษ หรือที่นักเรียนนิยมเรียกกันว่า GAT Eng รูปแบบข้อสอบ เป็นแบบปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ GAT ENG มีทั้งหมด 60 ข้อ มีค่าข้อละ 2.5 คะแนน แบ่งออกเป็น 4 ส่วนดังนี้ 1) Speaking and Conversation 2) Vocabulary 3) Reading comprehensive 4) Structure and Writing

หากน้อง ๆ อยากสอบแอดมิชชั่นผ่าน หรืออยากเรียนในคณะที่ตัวเองใฝ่ฝัน การสอบGAT ถือเป็นคะแนนหลักที่สำคัญในการยื่นสอบครั้งนี้ หวังว่าน้อง ๆ ควรให้ความสำคัญกับการสอบ GAT นะคะ ใส่ใจเป็นกำลังใจให้ค่ะ
ข้อดีของการติว GAT ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
การสอบ GAT (ความถนัดทั่วไป) สอบกันครั้งแรกตั้งแต่ปี 2553 อย่างที่ทราบกันดีว่า GAT (General Aptitude Test) มีข้อสอบแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆ กัน คือ

1. GAT เชื่อมโยง ความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ คะแนนเต็ม 150 คะแนน
2. GAT อังกฤษ ส่วนของความถนัดด้านภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม 150 คะแนน

การสอบ GAT มีความซับซ้อนของข้อสอบและยากขึ้นทุกปี และนี่คือเหตุผลที่ควรติว Gat

1. การสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยทุกคณะและสาขาวิชา กำหนดใช้คะแนน GAT พิจารณาเข้าศึกษาต่อในสัดส่วน 10 – 50% นับว่าเป็นจำนวนที่สูงมากๆ เพราะบางคณะไม่ใช้องค์ประกอบ PAT แต่เน้น GAT ดังนั้นจะเห็นว่าในรอบ Admissions GAT มีความสำคัญเป็นอย่างมาก
2. การสอบตรงหรือการสอบโควตา หลายๆ มหาวิทยาลัยใช้ GAT ในการพิจารณาเข้าศึกษา บางสาขาให้ค่าน้ำหนัก GAT มากถึง 70% นอกจากนี้ยังมีโครงการพิเศษ หรือ โควตาพิเศษ ที่คณะจัดเปิดรับเอง แทบทุกมหาวิทยาลัยใช้ GAT ด้วย
3. อย่างที่ทราบกันดีว่า GAT มีการจัดสอบ 2 ครั้ง คือ เดือนตุลาคมและมีนาคม แต่ช่วงที่มีคนเข้าสอบมากที่สุด คือ การสอบครั้งที่ 1 เดือน ตุลาคมนั่นเอง จากคนสอบทั้งหมดทั่วประเทศ ถ้าใครสามารถทำคะแนนสอบ GAT ได้สูงกว่าคนอื่น โอกาสสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้จะสูงเช่นกัน
4. การติว GAT นอกจากจะเป็นการทบทวนเนื้อหาที่เรียนมาและรู้จักกับข้อสอบ รวมถึงกระดาษคำตอบแล้ว ก็จะทำให้เรารู้แนวข้อสอบที่น่าจะออกมากขึ้นอีกด้วย เพราะติวเตอร์จะมีเทคนิคในการคาดการณ์ข้อสอบล่วงหน้าว่าข้อสอบจะออกมาแนวไหน อย่างไร มีเทคนิคมากมาย เพื่อพิชิตข้อสอบ GAT ให้ได้
ไม่สอบ GAT PAT สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยรัฐบาลได้หรือไม่
สำหรับผู้ที่สมัครสอบ GAT-PAT ไม่ทัน อาจมีคำถามว่าถ้าไม่ได้สอบ GAT PAT จะสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยรัฐบาลได้หรือไม่ คำตอบคือได้ค่ะ เช่น มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะที่ไม่ใช้ GAT-PAT ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (เฉพาะ เทคโนโลยีอาหาร/เทคโนโลยีชีวภาพ/ปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์/วิศวกรรมวัสดุและนาโนเทคโนโลยี/ธุรกิจวิศวกรรม) คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ (ยกเว้นสาขาฟิสิกส์ 5 ปีที่ใช้ GAT/PAT) คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาการจัดการ คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ เป็นต้น และยังมีอีกหลายมหาวิทยาลัย ให้นักเรียนศึกษารายละเอียดคณะในฝันได้ดี ๆ ก่อนตัดสินใจ เมื่อไม่มีคะแนน GAT-PAT นักเรียนต้องวางแผนการสอบเข้ามหาวิทยาลัยอย่างไร หากนักเรียนพลาดการสอบ GAT/PAT ต้องมั่นใจในตัวเองว่าตัวเองจะสอบติดในรอบที่ 1 รอบ ที่ไม่ใช้คะแนน GAT/PAT แต่ใช้การยื่น Portfolio (ใช้เกรด : 4-5 เทอม คะแนนที่ใช้ : Portfolio, เกรด, มีการ Audition ในสาขาที่ใช้ทักษะได้ และคุณสมบัติพิเศษ) ทั้งนี้ดูเหมือนว่าการรับสมัครรอบที่เหลือล้วนให้คะแนน GAT-PAT ประกอบการพิจารณาแทบทั้งสิ้น และที่สำคัญในทุก ๆ ปี อาจมีการเปลี่ยนกติกาบ้างเล็กน้อย นักเรียนควรศึกษาและวางแผนแต่เนิ่น ๆ เพราะก้าวนี้เป็นก้าวที่สำคัญต่อชีวิต สุดท้ายขอแจ้งไว้ว่า นอกเหนือจากการสมัครครั้งแรกแล้ว การที่ไม่มีคะแนน GAT – PAT นักเรียนจะไม่สามารถยื่นสมัคร รอบ 4 หรือ Admission ได้เลย เพราะรอบนี้มี GAT – PAT เป็นองค์ประกอบหลัก ของการสอบ Admission
ค่าธรรมเนียมการสอบ GAT แต่ละวิชาเท่าไหร่
สมัยนี้นอกจากต้องตั้งใจเรียน ตั้งใจติวหนังสือสอบแล้ว อีกอย่างที่สำคัญคือเรื่องค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบต่างๆ ซึ่งเราสามารถประเมินได้คร่าว ๆ ก่อนตามนี้

รอบที่ 1 Portfolio ยื่นแฟ้มสะสมผลงาน การสมัครขึ้นอยู่กับคณะและมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนดเอง รอบนี้ค่าใช้จ่ายธรรมเนียมการสมัครสอบประมาณ 200 – 1,000 บาท ใน TCAS ปี 2564 ยังเพิ่มการสอบ GAT วัดสมรรถนะทั่วไป 3 ส่วน ใช้สำหรับการยื่นในรูปแบบแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือโควตา ทั้งยังมีค่าสมัครสอบวัดความถนัดเพิ่มเติมที่ทางคณะจะพิจารณาคะแนนวัดความสามารถต่างๆ
รอบที่ 2 รับตรงโควต้า รอบนี้เป็นรอบที่ใช้ความสามารถพิเศษ แต่ละโครงการจะมีค่าสมัครอยู่ที่โครงการละประมาณ 200-600 บาท เกณฑ์ในรอบนี้ มีทั้ง GAT-PAT, 9 วิชาสามัญ ต้องยื่นคะแนนความสามารถทางภาษาเพิ่ม และต้องเสียค่าสอบวิชาเฉพาะของทางมหาวิทยาลัยเพิ่มอีกด้วย
รอบที่ 3 Admission (รวม Admission 1 และ Admission 2) โดยประกาศผล 2 ครั้ง สำหรับ Admission สามารถใช้คะแนนสอบกลางเป็นเกณฑ์ในการสมัครได้เลย ซึ่งคะแนนที่ใช้คือ เกรดเฉลี่ยสะสม คะแนน O-NET, GAT/PAT ค่าสมัครรอบ Admission อันดับแรก 150 บาท อันดับ 2-4 เพิ่มอันดับละ 50 บาท อันดับ 5 เป็นต้นไป เพิ่มอันดับละ 100 บาท รวมสูงสุด 900 บาท
รอบที่ 4 รับตรงอิสระ รอบสุดท้ายคือ รับตรงอิสระ ที่มีอัตราค่าสมัครตั้งแต่ 200 - 1,000 บาท ซึ่งคณะและมหาวิทยาลัยจะกำหนดค่าธรรมเนียมในการรับสมัครเองอย่างอิสระ รอบนี้จะใช้คะแนน O-Net, GAT/PAT และ 9 วิชาสามัญด้วย