ติว GAT ใน สมุทรสาคร

ติว GAT ใน สมุทรสาคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

ติวเตอร์คอยแนะนำเนื้อหาที่ต้องเตรียมตัวและเก็งข้อสอบให้ลูกเข้าใจได้ง่าย ๆ ตอนนี้เห็นได้ชัดถึงพัฒนาการของลูกจากผลคะแนนการทดลองทำโจทย์ปีก่อน ๆ มากเลยค่ะ รอลุ้นกับผลคะแนนของลูกมาก ๆ ขอบคุณติวเตอร์ค่ะะะะ
Saijai
ธิดาพร ถาวีสิน
3 ปีที่แล้ว
ติวเตอร์คุณภาพดีคุ้มค่ากับราคาที่จ่ายมาก ๆ ลูกชายสอบแกทได้ 270+ คะแนน ได้เข้าทันตะสมใจ คุณแม่ปลื้มมากค่ะ
Saijai
แม่ป้อม
3 ปีที่แล้ว
ใกล้สอบแล้วก็กังวลไปหมด จะลงเรียนหลายคอร์สก็กลัวค่าใช้จ่าย หาข้อมูลเยอะ เปรียบเทียบราคาจากหลาย ๆ ที่ เว็บใส่ใจมีข้อมูลชัดเจน มีรีวิวดีด้วย ที่สำคัญได้ติวเตอร์ที่แม่เราจ่ายไหว คนเรียนก็ถูกใจ คนจ่ายตังค์ก็สบายใจ
Saijai
ธนวัฒน์ เจริญด้วยทรัพย์
3 ปีที่แล้ว
หนูติวแกทแพทกับติวเตอร์ที่่จองผ่านเว็บใส่ใจ พี่เค้าสอนดีมากค่ะ หนูคงจะเรียนต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะสอบค่ะ
Saijai
ภาวิดา จารุจินดาโชติ
3 ปีที่แล้ว
ได้ติวเตอร์ที่ตรงตามต้องการของเรา แถมได้ราคามิตรภาพ ติวเตอร์ที่ได้มาก็ดี มีคนรีวิวชื่นชมเยอะมาก
Saijai
รุ่งระวี แสนสีดา
3 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ติว GAT

GAT มีผลสำคัญต่อแอดมิชชั่นอย่างไร
GAT คือ การสอบวัดความถนัดทั่วๆไป หรือมีชื่อเต็มว่า General Aptitude Test ซึ่งจะมีข้อสอบอยู่ 2 ส่วน ได้แก่

ส่วนที่ 1 เรียกว่า GAT เชื่อมโยง เป็นการอ่าน เขียน คิด วิเคราะห์ และการแก้ปัญหา มีคะแนนเต็ม 150 คะแนน
ส่วนที่ 2 เรียกว่า GAT ENG เป็นความสามารถในการสื่อสารด้านภาษาอังกฤษ ส่วนนี้จะมีคะแนนเต็ม 150 คะแนน โดยข้อสอบมี 4 Part ดังนี้ Speaking and Conversation, Vocabulary, Structure and Writing, Reading Comprehension
คะแนน GAT ใช้ยื่นในรอบการรับแบบ Admission ในระบบ TCAS โดยย่อมาจาก Thai University Central Admission System เป็นระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาแบบใหม่ ซึ่งจะอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน โดยอัตราส่วนการใช้คะแนนในรอบ Admission นี้ คะแนน GAT มีค่า 50% ของคะแนนทั้งหมด

ลักษณะแนวข้อสอบ GAT จะมี 2 แบบ คือ

1. ลักษณะข้อสอบ GAT เชื่อมโยง มี 20 ข้อ ใช้เวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง มีลักษณะเป็นบทความยาว 1-2 หน้ากระดาษ แล้วให้มาอ่านวิเคราะห์เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ระหว่างคำหรือข้อความที่โจทย์กำหนด
2. ลักษณะข้อสอบ GAT Eng รูปแบบข้อสอบ เป็นแบบปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ GAT ENG มีทั้งหมด 60 ข้อ มีค่าข้อละ 2.5 คะแนน แบ่งออกเป็น 4 part
- Speaking and Conversation 15 ข้อ เป็น part ที่ง่ายที่สุด เป็นบทสนทนาในชีวิตประจำวัน มีทั้งสั้นและยาว
- Vocabulary 15 ข้อ ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น 2 part อีกเช่นกัน คือ synonyms 5 ข้อ และ Meaning 10 ข้อ
- Reading comprehensive 15 ข้อ ซึ่งวัดทักษะการอ่าน และความเข้าใจ
- Structure and Writing 15 ข้อ แบ่งเป็น 3 part ย่อย ได้แก่ Error 5 ข้อ Cloze test 5 ข้อ และ Writing paragraph 5 ข้อ

ทำไมต้องติว GAT ก่อนเข้ามหาวิทยาลัย
การสอบ GAT (General Aptitude Test) เป็นการสอบเกี่ยวกับความถนัดทั่วไปเพื่อวัดระดับความพร้อมในการเข้าเรียนมหาวิทยาลัยของนักเรียน โดยการสอบ GAT จะจัดขึ้นทุก ๆ ปี โดยสถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ซึ่งการทดสอบนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 วิชา คือ GAT ภาษาไทยหรือที่นิยมเรียกกันว่า “แกทเชื่อมโยง” และ GAT ภาษาอังกฤษ โดยผลออกมาพบว่าผู้เข้าสอบสามารถทำคะแนนในส่วนของ GAT เชื่อมโยงได้เป็นอย่างดี แต่กลับกันผลคะแนนในส่วนของพาร์ท GAT ภาษาอังกฤษนั้นดันออกมาน้อยกว่าที่คิด ดังนั้น การที่จะช่วยพัฒนาทักษะเพื่อให้ทำคะแนนสอบ GAT ทั้งสองพาร์ทออกมาได้ดีเท่า ๆ กันนั้นคือการติวและทบทวนทำข้อสอบเก่าบ่อย ๆ เหตุผลง่าย ๆ ที่ว่าทำไมเราต้องติว GAT ก็คือ การสอบ ADMISSIONS เข้าแต่ละคณะสาขาในมหาวิทยาลัยนั้นส่วนใหญ่จะใช้สัดส่วนของคะแนน GAT มากสุด 10-50% เลยทีเดียว เรียกว่าครึ่งต่อครึ่งเลยก็ว่าได้ ซึ่งบางคณะก็อาจใช้สัดส่วนคะแนนของ PAT ร่วมด้วยเช่นกัน ดังนั้น หากเราติวข้อสอบ GAT อยู่บ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ ทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติม ติวกันเป็นกลุ่ม หรือจะจ้างครูสอนพิเศษมาติว GAT ให้โดยเฉพาะก็ตาม ทั้งหมดนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจระหว่างการทำโจทย์ข้อสอบ GAT ได้แน่นอน นอกจากรอบ ADMISSIONS ที่ใช้สัดส่วนคะแนน GAT/PAT เป็นเกณฑ์การคัดเลือกแล้ว บางมหาวิทยาลัยก็ใช้สัดส่วนคะแนนในส่วนนี้เพื่อคัดเลือกนักเรียนในการสอบแบบรับตรงและแบบโควตาด้วยเช่นกัน และบางคณะสาขากำหนดสัดส่วนผลคะแนน GAT ไว้ตั้งแต่ 10-50% เช่นกัน ฉะนั้น หากใครมีความเตรียมพร้อมที่ดีและทำผลคะแนนออกมาได้ดี ก็จะมีโอกาสสูงในการเลือกเรียนในคณะที่ตัวเองตั้งใจไว้แต่แรกได้เช่นกัน เป็นที่ชัดเจนว่าการติวสอบ GAT นั้นสำคัญเป็นอย่างมากต่อนักเรียนทุกคนที่ต้องการเข้าเรียนในคณะและมหาวิทยาลัยที่ตัวเองใฝ่ฝัน ดังนั้น ควรเตรียมความพร้อมให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่ออนาคตที่ดีของตัวเราเอง
สมัครเข้ามหาวิทยาลัยรัฐบาลจำเป็นต้องสอบ GAT PAT หรือไม่
การสอบ GAT/PAT ที่ต้องเข้าระบบ TCAS เพื่อยื่นคะแนนเรียนต่อมหาวิทยาลัย จำนวนรอบใน TCAS ที่มีถึง 5 รอบ มาพร้อมกติกาที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะวิชายอดฮิตอย่าง GAT/PAT ที่เด็กหลายคนเลือกสอบเพื่อใช้ยื่นเข้าเรียนในคณะที่สนใจ วันนี้เรามาทำความเข้าใจกับการสอบ GAT/PAT กันค่ะ

1. หลายคนคิดว่า การเข้ามหาวิทยาลัยทุกคนต้องสอบ GAT/PAT ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว “ไม่ใช่ทุกคนที่จะต้องสอบ” วิธีตรวจสอบว่าเราต้องสอบหรือไม่ คือ การดูจากคณะที่เราเลือกเรียนและระเบียบการของคณะในแต่ละมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นตัวกำหนดเองว่าใช้คะแนนอะไรในการพิจารณา ถ้ามีระบุว่าใช้ GAT/PAT เราต้องสมัครสอบในวิชา GAT/PAT ด้วย
2. จากที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากไม่ต้องสอบ GAT/PAT ทุกคนแล้ว อีกหนึ่งเรื่องก็คือ “ไม่ต้องสอบ PAT ครบทุกวิชา” เลือกสอบเฉพาะวิชาที่ต้องใช้คะแนนยื่นในการพิจารณาเท่านั้น โดยดูจากการเลือกคณะแล้วอ่านระเบียบการ ถ้าระเบียบการกำหนดว่าใช้คะแนน GAT/PAT ต้องดูต่อไปอีกว่าคณะที่เราเลือกใช้คะแนน PAT อะไรบ้าง จากทั้งหมด 7 วิชา ไม่จำเป็นต้องสมัครทั้งหมด เพราะสอบไปคะแนนก็ไม่ได้นำมาใช้ และยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบอีก

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เด็กๆ ต้องเจอและทำความเข้าใจกับระบบ TCAS (Thai University Center Admission System) ซึ่งเป็นระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยระบบใหม่ เพื่อใช้ในการวางแผนเข้าเรียนในคณะที่ต้องการได้สำเร็จ

ค่าธรรมเนียมการสอบ GAT แต่ละวิชาเท่าไหร่
สมัยนี้นอกจากต้องตั้งใจเรียน ตั้งใจติวหนังสือสอบแล้ว อีกอย่างที่สำคัญคือเรื่องค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบต่างๆ ซึ่งเราสามารถประเมินได้คร่าว ๆ ก่อนตามนี้

รอบที่ 1 Portfolio ยื่นแฟ้มสะสมผลงาน การสมัครขึ้นอยู่กับคณะและมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนดเอง รอบนี้ค่าใช้จ่ายธรรมเนียมการสมัครสอบประมาณ 200 – 1,000 บาท ใน TCAS ปี 2564 ยังเพิ่มการสอบ GAT วัดสมรรถนะทั่วไป 3 ส่วน ใช้สำหรับการยื่นในรูปแบบแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือโควตา ทั้งยังมีค่าสมัครสอบวัดความถนัดเพิ่มเติมที่ทางคณะจะพิจารณาคะแนนวัดความสามารถต่างๆ
รอบที่ 2 รับตรงโควต้า รอบนี้เป็นรอบที่ใช้ความสามารถพิเศษ แต่ละโครงการจะมีค่าสมัครอยู่ที่โครงการละประมาณ 200-600 บาท เกณฑ์ในรอบนี้ มีทั้ง GAT-PAT, 9 วิชาสามัญ ต้องยื่นคะแนนความสามารถทางภาษาเพิ่ม และต้องเสียค่าสอบวิชาเฉพาะของทางมหาวิทยาลัยเพิ่มอีกด้วย
รอบที่ 3 Admission (รวม Admission 1 และ Admission 2) โดยประกาศผล 2 ครั้ง สำหรับ Admission สามารถใช้คะแนนสอบกลางเป็นเกณฑ์ในการสมัครได้เลย ซึ่งคะแนนที่ใช้คือ เกรดเฉลี่ยสะสม คะแนน O-NET, GAT/PAT ค่าสมัครรอบ Admission อันดับแรก 150 บาท อันดับ 2-4 เพิ่มอันดับละ 50 บาท อันดับ 5 เป็นต้นไป เพิ่มอันดับละ 100 บาท รวมสูงสุด 900 บาท
รอบที่ 4 รับตรงอิสระ รอบสุดท้ายคือ รับตรงอิสระ ที่มีอัตราค่าสมัครตั้งแต่ 200 - 1,000 บาท ซึ่งคณะและมหาวิทยาลัยจะกำหนดค่าธรรมเนียมในการรับสมัครเองอย่างอิสระ รอบนี้จะใช้คะแนน O-Net, GAT/PAT และ 9 วิชาสามัญด้วย