ติว PAT ใน ตลิ่งชัน, กรุงเทพมหานคร

ติว PAT ใน ตลิ่งชัน, กรุงเทพมหานคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ธีรกานต์ อาจสอน
ธีรกานต์ อาจสอน
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

เป็นติวเตอร์ที่รับผิดชอบ ตรงต่อเวลา สอนสนุกค่ะ

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

ลูกสาวเพิ่งเปลี่ยนใจอยากเรียนต่อคณะครุศาสตร์ เพื่อเป็นครูค่ะแต่ยังไม่ได้เตรียมตัวเรื่อง PAT5 วิชาชีพครูมาก่อนเลยค่ะ เป็นกังวลกับอนาคตลูกมาก จนต้องหาติวเตอร์ด้าน PAT5 เป็นพิเศษจากเว็ปไซต์ใส่ใจ ติวเตอร์ตั้งใจและใส่ใจในการติวให้ลูกสาวมาก ๆ ค่ะ ประทับใจวิธีการสอนและวิธีการติวมากค่ะ
Saijai
ธิติรัตน์ คงคงกิต
3 ปีที่แล้ว
หลังจากติวไปสักพัก ผมรู้สึกมีความมั่นใจในการทำโจทย์มากขึ้น ตัวของพี่ติวเตอร์นอกจากจะหาโจทย์มาให้ทดลองทำแล้วยังคอยอธิบายเหตุผลและสาเหตุที่ผมตอบผิดหรือจุดที่ผมพลาดไปให้ด้วยครับ
Saijai
ศิวกร อุดมภักดี
3 ปีที่แล้ว
หาที่ติวสอบ Pat ให้ลูกค่ะ เจอเว็บใส่ใจที่มีตัวเลือกของติวเตอร์เยอะ ส่วนมากมีประสบการณ์การสอนมาทั้งนั้น แถมจบจากที่ดัง ๆ ด้วย เลยตัดสินใจเลือกติวเตอร์ที่นี่ ขี้เกียจไปหาเว็บอื่นแล้วเพราะส่วนมากไม่ค่อยลงราคาให้ชัดเจน ต้องติดต่อหลายขั้นตอน ที่ใส่ใจติดต่อง่าย เว็บไซต์ใช้งานง่ายสุดแล้วค่ะ
Saijai
จิรภา จิตไพรี
3 ปีที่แล้ว
PAT2 วิชาวิทยาศาสตร์ ตัวเดียวเน้นๆ คลื่นแสง, อะตอมนิวเคลียร์ ปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี ฯลฯ พี่ติวเตอร์สอนดี พี่เขาสรุปตรงประเด็นเน้น ๆ เข้าใจ สร้างความมั่นใจได้มาก ๆ ค่ะ
Saijai
นทีนาถ วิวัฒน์ไพศาล
3 ปีที่แล้ว
ผมว่าวิชาเลขของการสอบ GAT/PAT และเป็นโจทย์เลขที่ยากที่สุดในการสอบแอดมิชชั่นแล้วครับ ผมว่ายากกว่าข้อสอบ ONET อีก แต่ผมเลือกเรียนกับติวเตอร์ที่จองผ่านเว็บใส่ใจ แบบตัวต่อตัว ไม่เข้าใจตรงไหน ผมถามติวเตอร์ได้ทันที ติวเตอร์สอนได้ตรงจุด ชัดเจน มีการบ้านให้ผมฝึกทำด้วย ค่าเรียนแพงขึ้นมานิดหน่อยแต่ผมว่าผมคิดไม่ผิดจริง ๆ ครับ
Saijai
ภุชงค์ คงทรัพย์เจริญ
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ติว PAT

PAT คืออะไร สำคัญต่อเด็กไทยหรือไม่
PAT คืออะไร

PAT เป็นการทดสอบวิชาความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (Professional and Academic Aptitude Test) คือ การวัดความรู้ที่เป็นพื้นฐาน กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆ ให้ประสบความสำเร็จมี 7 วิชา คือ
PAT 1 คือ ความถนัดทางคณิตศาสตร์
PAT 2 คือ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
PAT 3 คือ ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
PAT 4 คือ ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
PAT 5 คือ ความถนัดทางวิชาชีพครู
PAT 6 คือ ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
PAT 7 คือ ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย
PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน
PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ
PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี

PAT เป็นการสอบเพื่อประเมินว่านักเรียนคนหนึ่งมีแววเข้าสู่เส้นทางอาชีพในคณะที่เลือกหรือไม่ ข้อสอบในส่วนนี้แต่ละคณะสามารถเลือกได้ว่าจะใช้วิชาไหนในการยื่นคะแนนบ้าง แบ่งออกย่อยๆ เป็นข้อสอบทั้งหมด 7 วิชาครับ แต่ละวิชามีคะแนนเต็ม 300 คะแนน ใช้เวลาในการสอบ 3 ชั่วโมงเต็ม ทั้งหมดเป็นข้อสอบที่ยากที่สุดในระบบแอดมิชชั่น เช่น ข้อสอบ PAT ที่2 ซึ่งรวมเอาสามวิชาคือ ฟิสิกส์ เคมี และชีวะ รวมเข้าในวิชาวิทยาศาสตร์วิชาเดียว สอบ 3 ชั่วโมง ที่เราเรียนกันในโรงเรียนแยกเป็นสามวิชา แต่ละวิชาหน่วยกิตหนักๆ ทั้งนั้น แต่ตอนสอบเอามารวมกันเป็นวิชาเดียว ข้อสอบ PAT ถือเป็นข้อสอบที่ยาก ถ้าใครคิดว่าอ่านหนังสือแล้วจะไปสอบได้ต้องคิดใหม่แล้ว สมมุติว่ามีเวลา 4 เดือนในการเตรียมตัวสอบ PAT ลองแบ่งเวลา 1 เดือนแรกในการให้ติวเตอร์ ติวทบทวนเนื้อหาให้หมด และให้ความสำคัญกับ 3 เดือนที่เหลือในการเน้นทำข้อสอบ PAT ปีเก่าๆ ให้หมด ทำหลายๆ รอบจนกว่าจะเห็นข้อสอบปุ๊บบอกได้ปั๊บเลยว่าข้อนี้ใช้เนื้อหาอะไรบ้าง ต้องคิดอย่างไร สับขาหลอกตรงไหน ซึ่งตรงนี้แหละที่ติวเตอร์มีส่วนช่วยเพราะถ้าเราลองทำเองแล้วทำไม่ได้เอามาก ๆ เกิดความท้อไม่อยากไปต่อ แต่หากมีคนคอยแนะแนวทางให้แก้ข้อสงสัยให้ เรื่องยากกลายเป็นเรื่องง่าย เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เราจะสามารถทำคะแนน PAT ได้สูงแน่นอน
สอบเข้ามหาวิทยาลัยต้องเตรียมสอบ PAT หรือไม่
PAT สำคัญอย่างไร? ทำไมต้องสอบ?

การสอบ GAT และ PAT เป็นระบบการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยด้วยระบบกลาง (Admissions) รูปแบบใหม่ที่เปิดใช้ในปี พ.ศ. 2553 โดยกำหนดขึ้นมาใช้แทนรูปแบบการสอบ A-net แบบเก่า
PAT ย่อมมาจาก Professional and Academic Aptitude Test เป็นการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานเฉพาะด้านในสาขาที่ต้องการเข้าศึกษาต่อ ซึ่งข้อสอบ GAT และ PAT มีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในคณะที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกข้อสอบ ลักษณะข้อสอบ PAT เน้นความซับซ้อนมากกว่าความยาก มีทั้งแบบปรนัยและอัตนัยขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละวิชา ในการสอบ PAT มีข้อกำหนดคือ ผู้ที่เข้าสอบต้องเป็นนักเรียนในชั้น ม.5 – ม.6 หรือเทียบเท่า หรือจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าแล้ว โดยจะมีการเปิดสอบ 3 ครั้งต่อปี คะแนนเต็ม 300 คะแนน ใช้เวลาในการสอบ 3 ชั่วโมง และสามารถเก็บคะแนนสอบได้นานถึง 2 ปี
PAT เป็นการสอบวัดระดับความรู้ทางวิชาการเฉพาะด้านของแต่ละสาขาวิชา ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการเข้าศึกษาต่อในแต่ละคณะที่มหาวิทยาลัยกำหนด เช่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ต้องใช้คะแนนใน PAT 4 เพื่อเข้าศึกษาต่อ หรือคณะวิศวกรรมศาสตร์ต้องใช้คะแนนใน PAT 3 เพื่อเข้าศึกษาต่อ เป็นต้น ซึ่งผลคะแนนที่ได้นั้นจะใช้ยื่นสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยทั้งในแบบรับตรงและระบบกลาง (Admissions) เพื่อเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย
ดังนั้น PAT เป็นรูปแบบการสอบเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย โดยเป็นการสอบความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพเฉพาะด้านที่มีให้เลือกสอบถึง 7 สาขาวิชาด้วยกัน ซึ่งผู้ที่จะสอบนั้นต้องเป็นผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในบางคณะและบางสาขาวิชาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด แล้วจึงใช้ผลคะแนนสอบยื่นสมัครเพื่อเป็นเกณฑ์การพิจารณาเข้าศึกษาต่อ
อยากเข้าคณะที่ต้องการ ควรเลือกสอบ PAT วิชาไหน
น้อง ๆ ที่กำลังจะสอบ GAT/PAT ต้องสอบวิชาไหนให้ตรงกับคณะที่เราใฝ่ฝัน เราจะได้วางแผนเตรียมตัวกันได้อย่างถูกต้องตรงวิชาและไม่พลาด มาดูกันค่ะ

1. วิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบด้วย คณะสัตวแพทยศาสตร์, คณะเทคนิคการแพทย์, คณะพยาบาลศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา, คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์, คณะจิตวิทยา (วิชาที่ต้องสอบ GAT, PAT1, PAT2)
2. วิทยาศาสตร์กายภาพ/ชีวภาพและเทคโนโลยี ประกอบด้วย คณะวิทยาศาสตร์, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, คณะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์, คณะวิทยาศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติ (วิชาที่ต้องสอบ GAT, PAT1, PAT2)
3. วิศวกรรมศาสตร์ (วิชาที่ต้องสอบ GAT, PAT1, PAT2, PAT3)
4. สถาปัตยกรรมศาสตร์ (วิชาที่ต้องสอบ GAT, PAT4)
5. เกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย คณะเกษตรศาสตร์, คณะประมง, คณะวนศาสตร์, คณะเทคโนโลยีการเกษตร, คณะอุตสาหกรรมการเกษตร (วิชาที่ต้องสอบ GAT, PAT1, PAT2)
6. บริหาร คณะบริหารธุรกิจ, คณะพาณิชยศาสตร์, คณะการบัญชี, คณะเศรษฐศาสตร์, คณะการท่องเที่ยว โรงแรม การบิน (วิชาที่ต้องสอบ GAT, PAT)
7. ครุศาสตร์ ประกอบด้วย คณะครุศาสตร์, คณะศึกษาศาสตร์ (วิชาที่ต้องสอบ GAT, PAT5)

ข้อสอบ PAT ถือเป็นข้อสอบที่ยาก คนที่จะทำข้อสอบ PAT ได้คะแนนสูงกว่าคนอื่นคือ คนที่ตั้งใจมากและหมั่นทำข้อสอบเก่าๆ เพื่อที่จะได้ทำคะแนน PAT สูง อย่างไรก็ตามแนะนำว่าให้ลองอ่านข้อมูลและศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการสอบ GAT/PAT ในคณะที่ตนเองสนใจอยู่ตลอด เพราะบางคณะอาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เพื่อจะได้วางแผนเตรียมตัวกันได้อย่างถูกต้องตรงวิชาและไม่พลาดกันนะคะ
ค่าสมัครสอบ PAT ของนักเรียนที่จะเข้ามหาวิทยาลัยวิชาละเท่าไหร่
น้อง ๆ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมปลาย และกำลังอยู่ในช่วงตัดสินใจที่จะเลือกเรียนคณะที่ต้องการของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้น จำเป็นที่จะต้องเตรียมตัวในการติวข้อสอบเพื่อวัดระดับความรู้ความถนัดของสาขาวิชาชีพนั้น ๆ อีกด้วย หรือที่เราเรียนกันว่าการสอบ PAT นั่นเอง โดยอย่างที่ทราบโดยทั่วกันคือการสอบ PAT จะแบ่งวิชาออกตามสาขาชีพทั้งหมด 7 วิชาด้วยกัน แต่น้อง ๆ นักเรียนไม่จำเป็นต้องสอบ PAT หมดทั้ง 7 วิชา แต่ให้เลือกสอบแค่วิชาที่เราคิดว่าจะต้องนำผลคะแนนไปยื่นเข้าคณะสาขานั้นในมหาวิทยาลัยแทน โดยต้องเป็นวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับคณะสาขานั้น ๆ ตามที่ทางมหาวิทยาลัยได้กำหนดเอาไว้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากน้อง ๆ อยากเข้าเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ทางมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้กำหนดให้น้อง ๆ ต้องใช้ผลคะแนน GAT/PAT ในการยื่นเข้า นั่นคือ คะแนน GAT และ PAT1 (ความถนัดทางคณิตศาสตร์) PAT2 (ความถนัดทางวิทยาศาสตร์) และPAT3 (ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์) นั่นเอง หรือหากน้อง ๆ ต้องการศึกษาต่อในคณะมนุษยศาสตร์และอักษรศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีน ทางมหาวิทยาลัยก็อาจกำหนดให้นักเรียนใช้ผลคะแนนสอบของ GAT PAT1 และ PAT7.4 ซึ่งเป็นวิชาความถนัดทางภาษาจีนนั่นเอง ซึ่งค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบของ PAT นั้นจะอยู่ 140 บาทต่อวิชา โดยน้อง ๆ นักเรียนสามารถทำการสมัครสอบได้ผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ตามลิงก์นี้ https://www.niets.or.th/th/ อย่างไรก็ตาม น้อง ๆ ต้องศึกษาเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่แต่ละคณะและมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนดให้ละเอียดถี่ถ้วน เพื่อให้ไม่พลาดโอกาสในการเข้าเรียนในคณะที่ต้องการนั่นเอง