ติว PAT ใน ภูเก็ต

ติว PAT ใน ภูเก็ต

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

ลงคอร์สติวแพทญี่ปุ่นกับติวเตอร์ ขั้นตอนและวิธีการจองง่ายและรวดเร็วมากเลยค่ะ
Saijai
สุชาดา จงใจรัก
4 ปีที่แล้ว
ลูกสาวเพิ่งเปลี่ยนใจอยากเรียนต่อคณะครุศาสตร์ เพื่อเป็นครูค่ะแต่ยังไม่ได้เตรียมตัวเรื่อง PAT5 วิชาชีพครูมาก่อนเลยค่ะ เป็นกังวลกับอนาคตลูกมาก จนต้องหาติวเตอร์ด้าน PAT5 เป็นพิเศษจากเว็ปไซต์ใส่ใจ ติวเตอร์ตั้งใจและใส่ใจในการติวให้ลูกสาวมาก ๆ ค่ะ ประทับใจวิธีการสอนและวิธีการติวมากค่ะ
Saijai
ธิติรัตน์ คงคงกิต
4 ปีที่แล้ว
หาที่ติวสอบ Pat ให้ลูกค่ะ เจอเว็บใส่ใจที่มีตัวเลือกของติวเตอร์เยอะ ส่วนมากมีประสบการณ์การสอนมาทั้งนั้น แถมจบจากที่ดัง ๆ ด้วย เลยตัดสินใจเลือกติวเตอร์ที่นี่ ขี้เกียจไปหาเว็บอื่นแล้วเพราะส่วนมากไม่ค่อยลงราคาให้ชัดเจน ต้องติดต่อหลายขั้นตอน ที่ใส่ใจติดต่อง่าย เว็บไซต์ใช้งานง่ายสุดแล้วค่ะ
Saijai
จิรภา จิตไพรี
4 ปีที่แล้ว
ที่เลือกจ้างติวเตอร์ PAT เพราะติวเตอร์คนนี้ได้รับรีวิวดีมาก ครบจบในที่เดียว คุ้มค่ามากค่ะ
Saijai
ชลชนก ทองคำ
4 ปีที่แล้ว
ติวเตอร์ทำให้หนูเข้าใจในเนื้อหาที่ยาก ๆ ได้ แถมมีวิธีคิดแบบลัด ๆ หนูชอบมาก ทำให้หนูรู้สึกว่าเรียนง่ายขึ้น หนูต้องสอบเข้าคณะที่อยากเรียนให้ได้ค่ะ
Saijai
กรณ์ภัชรมล ตระการ
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ติว PAT

ความสำคัญของ PAT ต่อเด็กไทย
สำหรับน้องๆ ที่เตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย จะต้องทำการ Admissions มีการทดสอบ GAT PAT เพื่อวัดศักยภาพในการเข้ามหาวิทยาลัย ว่ามีความพร้อมแค่ไหน หลายๆ คนอาจจะยังไม่ทราบว่า PAT คืออะไร? ลองอ่านและทำความเข้าใจกันค่ะ

PAT เป็นการทดสอบวิชาความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (Professional and Academic Aptitude Test) คือ การวัดความรู้ที่เป็นพื้นฐานกับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆ ให้ประสบความสำเร็จมี 7 วิชา คือ
PAT 1 คือ ความถนัดทางคณิตศาสตร์ กลุ่มคณะที่ใช้ เช่น กลุ่มคณะวิทยาศาสตร์กายภาพ กลุ่มเกษตร-วนศาสตร์ กลุ่มบริหาร-บัญชี เศรษฐศาสตร์ กลุ่มมนุษยศาสตร์-อักษรศาสตร์-สังคมศาสตร์
PAT 2 คือ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มคณะที่ใช้ เช่น กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์
PAT 3 คือ ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์
PAT 4 คือ ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
PAT 5 คือ ความถนัดทางวิชาชีพครู มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
PAT 6 คือ ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะศิลปกรรมศาสตร์
PAT 7 คือ ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย
PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน
PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ
PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี

กลุ่มคณะที่ใช้ เช่น กลุ่มการโรงแรมและท่องเที่ยว(ยื่นคะแนนรูปแบบที่2) กลุ่มมนุษยศาสตร์-อักษรศาสตร์-สังคมศาสตร์(ยื่นคะแนนพื้นฐานศิลป์ รูปแบบ2)

โดยรูปแบบข้อสอบจะมีทั้งปรนัยและอัตนัย คะแนนเต็มวิชาละ 300 คะแนนค่ะ
สอบเข้ามหาวิทยาลัยต้องเตรียมสอบ PAT หรือไม่
PAT สำคัญอย่างไร? ทำไมต้องสอบ?

การสอบ GAT และ PAT เป็นระบบการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยด้วยระบบกลาง (Admissions) รูปแบบใหม่ที่เปิดใช้ในปี พ.ศ. 2553 โดยกำหนดขึ้นมาใช้แทนรูปแบบการสอบ A-net แบบเก่า
PAT ย่อมมาจาก Professional and Academic Aptitude Test เป็นการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานเฉพาะด้านในสาขาที่ต้องการเข้าศึกษาต่อ ซึ่งข้อสอบ GAT และ PAT มีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในคณะที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกข้อสอบ ลักษณะข้อสอบ PAT เน้นความซับซ้อนมากกว่าความยาก มีทั้งแบบปรนัยและอัตนัยขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละวิชา ในการสอบ PAT มีข้อกำหนดคือ ผู้ที่เข้าสอบต้องเป็นนักเรียนในชั้น ม.5 – ม.6 หรือเทียบเท่า หรือจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าแล้ว โดยจะมีการเปิดสอบ 3 ครั้งต่อปี คะแนนเต็ม 300 คะแนน ใช้เวลาในการสอบ 3 ชั่วโมง และสามารถเก็บคะแนนสอบได้นานถึง 2 ปี
PAT เป็นการสอบวัดระดับความรู้ทางวิชาการเฉพาะด้านของแต่ละสาขาวิชา ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการเข้าศึกษาต่อในแต่ละคณะที่มหาวิทยาลัยกำหนด เช่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ต้องใช้คะแนนใน PAT 4 เพื่อเข้าศึกษาต่อ หรือคณะวิศวกรรมศาสตร์ต้องใช้คะแนนใน PAT 3 เพื่อเข้าศึกษาต่อ เป็นต้น ซึ่งผลคะแนนที่ได้นั้นจะใช้ยื่นสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยทั้งในแบบรับตรงและระบบกลาง (Admissions) เพื่อเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย
ดังนั้น PAT เป็นรูปแบบการสอบเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย โดยเป็นการสอบความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพเฉพาะด้านที่มีให้เลือกสอบถึง 7 สาขาวิชาด้วยกัน ซึ่งผู้ที่จะสอบนั้นต้องเป็นผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในบางคณะและบางสาขาวิชาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด แล้วจึงใช้ผลคะแนนสอบยื่นสมัครเพื่อเป็นเกณฑ์การพิจารณาเข้าศึกษาต่อ
อยากเข้าคณะที่ต้องการ ควรเลือกสอบ PAT วิชาไหน
น้อง ๆ ที่กำลังจะสอบ GAT/PAT ต้องสอบวิชาไหนให้ตรงกับคณะที่เราใฝ่ฝัน เราจะได้วางแผนเตรียมตัวกันได้อย่างถูกต้องตรงวิชาและไม่พลาด มาดูกันค่ะ

1. วิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบด้วย คณะสัตวแพทยศาสตร์, คณะเทคนิคการแพทย์, คณะพยาบาลศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา, คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์, คณะจิตวิทยา (วิชาที่ต้องสอบ GAT, PAT1, PAT2)
2. วิทยาศาสตร์กายภาพ/ชีวภาพและเทคโนโลยี ประกอบด้วย คณะวิทยาศาสตร์, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, คณะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์, คณะวิทยาศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติ (วิชาที่ต้องสอบ GAT, PAT1, PAT2)
3. วิศวกรรมศาสตร์ (วิชาที่ต้องสอบ GAT, PAT1, PAT2, PAT3)
4. สถาปัตยกรรมศาสตร์ (วิชาที่ต้องสอบ GAT, PAT4)
5. เกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย คณะเกษตรศาสตร์, คณะประมง, คณะวนศาสตร์, คณะเทคโนโลยีการเกษตร, คณะอุตสาหกรรมการเกษตร (วิชาที่ต้องสอบ GAT, PAT1, PAT2)
6. บริหาร คณะบริหารธุรกิจ, คณะพาณิชยศาสตร์, คณะการบัญชี, คณะเศรษฐศาสตร์, คณะการท่องเที่ยว โรงแรม การบิน (วิชาที่ต้องสอบ GAT, PAT)
7. ครุศาสตร์ ประกอบด้วย คณะครุศาสตร์, คณะศึกษาศาสตร์ (วิชาที่ต้องสอบ GAT, PAT5)

ข้อสอบ PAT ถือเป็นข้อสอบที่ยาก คนที่จะทำข้อสอบ PAT ได้คะแนนสูงกว่าคนอื่นคือ คนที่ตั้งใจมากและหมั่นทำข้อสอบเก่าๆ เพื่อที่จะได้ทำคะแนน PAT สูง อย่างไรก็ตามแนะนำว่าให้ลองอ่านข้อมูลและศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการสอบ GAT/PAT ในคณะที่ตนเองสนใจอยู่ตลอด เพราะบางคณะอาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เพื่อจะได้วางแผนเตรียมตัวกันได้อย่างถูกต้องตรงวิชาและไม่พลาดกันนะคะ
ค่าธรรมเนียมการสอบ PAT แต่ละวิชาเท่าไหร่
นอกจากน้อง ๆ ที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยต้องเตรียมตัวติวหนังสือแล้ว แน่นอนว่าพ่อแม่ผู้ปกครองและเด็ก ๆ ยังต้องเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับทำการสอบอีกด้วย หลายคนคงกำลังกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายว่าควรเตรียมเท่าไหร่ ทางเราทำการประเมินและมีข้อมูลคร่าว ๆ ให้ดังนี้ค่ะ

รอบที่ 1 Portfolio ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 300-700 บาท โดยจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าทำแฟ้มสะสมงานหรือการสอบพิเศษ เช่น การสอบภาษา
รอบที่ 2 โควต้า ไม่จำเป็นต้องสมัครสอบทั้งหมด
• GPAX หรือ เกรดเฉลี่ย : ไม่มีค่าใช้จ่าย
• GAT/PAT : วิชาละ 140 บาท
• 9 วิชาสามัญ : วิชาละ 100 บาท
• O-NET : ไม่มีค่าใช้จ่าย
• วิชาเฉพาะแพทย์ : 800 บาท
• วิชาเฉพาะอื่นๆ : ขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด
รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน ค่าใช้จ่าย TCAS รอบ 3 รับตรงร่วมกัน และ กสพท. เฉลี่ย 800-1,500 บาท (ขึ้นกับการสอบ) 1 GAT/PAT (ขึ้นอยู่กับวิชาที่เลือกสอบ) 2 9 วิชาสามัญ 3 สอบวิชาเฉพาะ(ความถนัดแพทย์)
รอบที่ 4 Admission ค่าใช้จ่าย TCAS รอบ 4 Admission เฉลี่ย 250 บาท เลือกได้ 4 อันดับ อันดับแรก และมีค่าสมัคร 100 อันดับถัดไป บอกเพิ่มอันดับละ 50 บาท ถ้าเลือกทั้งหมด 250 บาท
รอบที่ 5 รับตรงอิสระ ค่าใช้จ่าย TCAS รอบ 4 รับตรงร่วม เฉลี่ย 200-1,000 บาท (รวมค่าสอบ) ถ้าสอบ GAT/PAT/9 วิชาสามัญแล้ว เสียแค่สมัครคัดเลือก ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่กล่าวมาอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย

น้องๆ ที่มีคณะในดวงใจแล้ว จะได้วางแผนอ่านหนังสือว่าต้องโฟกัสที่การสอบวิชาอะไร โดยไม่เสียเวลา รือเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์นะคะ