ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน กะทู้, ภูเก็ต

ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน กะทู้, ภูเก็ต

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่
ผู้ให้บริการผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน กะทู้, ภูเก็ต:

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

อติมา  สเล่ราษ
อติมา สเล่ราษ
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

อายุ 30 ปีค่ะ ปัจจุบันทำงานเป็นผู้ช่วยพยาบาลค่ะ สามารถดูแลผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้ เป็นคนใจเย็น พูดเพราะ สุขภาพแข็งแรงดีค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
เจนจิรา  ชูเกิด
เจนจิรา ชูเกิด
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี

สามารถทำอาหารได้ทำอาหารเป็นปั่นได้ฟิตอาหารเป็นแซ็กชั่นได้

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

ดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยค่ะ ได้คนมาทำงานแต่ส่วนมากทำได้ระยะสั้น ๆ มีคนล่าสุดนี่แหล่ะ เจอที่เว็บใส่ใจ นอกจากจะมีประสบการณ์ ขยัน อดทน แล้วยังไว้วางใจให้ดูแลบ้านได้ด้วย พี่เค้าเก่งมากเลยค่ะ
Saijai
ศิริรัตน์ รักษาการณ์
4 ปีที่แล้ว
ผมว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นงานที่หนักอยู่นะ ถ้าเราทำเองไม่ได้ ควรจ้างคนดูแลที่มีความรู้และประสบการณ์มาช่วย ลองจ้างคนดูแลผ่านเว็บใส้ใจ โชคดีมากที่ได้พี่นีมาช่วยดูแลคุณพ่อ พี่นีดูแลแผลกดทับไม่ให้อักเสบมากขึ้น คอยเฝ้าคอยเช็ด นวด ชวนพูดคุย เปิดเพลงให้ฟัง ได้เห็นแววตามีความสุขของคุณพ่อ ผมว่าคุ้มกับเงินที่จ่ายไป
Saijai
ปิ่นปินัทธ์ ธนภูดินันท์
4 ปีที่แล้ว
งานที่ต้องทุ่มเทตลอด 24 ชั่วโมง คอยจับพลิกตามเวลา ป้อนอาหารทางสายยาง บีบนวดช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย นี่คือสิ่งที่เราสังเกตุผู้ดูแลตลอดหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ทุกอย่างทำตามขั้นตอนนุ่มนวล คงจ้างต่อเรื่อย ๆ เลยครับ
Saijai
ปารุสา กรภัควัฒน์
4 ปีที่แล้ว
ประทับใจบริการของคนดูแลมากครับ จ้างมาดูแลพ่อที่ป่วยติดเตียงอยู่ พี่เขามีประสบการณ์ทำงานพยาบาลมาด้วย คอยดูแลทำนู่นทำนี่ให้ คล่องแคล่วมาก ๆ แบบนี้หายห่วงแล้วครับ ต้องขอบคุณใส่ใจที่ทำให้เราเจอกับพี่เค้าครับ
Saijai
อวัฒน์ ชัยชนะ
4 ปีที่แล้ว
เรทค่าจ้างมีหลายราคาหลายตัวเลือกเลยค่ะ อยากได้คนดูแลผู้ป่วยติดเตียงระยะสั้นหรือยาวก็ได้หมด เพราะตรงหน้าเว็บไซต์ใส่ใจมีบอกรายละเอียดของผู้ให้บริการครบ ทั้งประวัติการทำงาน เรทราคาค่าจ้าง คุณสมบัติที่มี ทุกอย่างลงตัวหมดค่ะ
Saijai
ทิวากรณ์ อนุสาวรีย์
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงต้องทำอะไรบ้างในแต่ละวัน
ผู้ป่วยติดเตียง คือผู้ป่วยที่มีสุขภาพร่างกายเสื่อมโทรม ต้องนอนบนเตียงอย่างเดียวตลอดเวลา ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่สุขภาพร่างกายเสื่อมโทรม หรือผู้ประสบอุบัติเหตุรุนแรง บางรายสามารถขยับร่างกายบางส่วนได้บ้าง แต่บางรายไม่สามารถขยับอวัยวะใด ๆ ได้เลย ส่งผลให้ผู้ป่วยติดเตียงส่วนมากมีปัญหาเรื่อง แผลกดทับ และการขาดอาหาร ความรุนแรงอาจลุกลามจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

สิ่งที่ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงต้องทำในแต่ละวันได้แก่

1. สำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่มีแผลกดทับ ไม่สามารถพลิกตัวเองได้ ผู้ดูแลควรพลิกตัวผู้ป่วยทุกๆ2 ชั่วโมง พร้อมกับการจัดท่านอนใหม่ เช่น นอนหงายสลับนอนตะแคง และควรมีอุปกรณ์เสริมเพื่อลดแรงกดทับเช่น ที่นอนลม ฟองน้ำ เป็นต้น ในส่วนของการทำความสะอาดผิวหนัง ไม่ควรให้เปียกชื้นจนเกินไป เพราะจะเกิดการอักเสบของแผลตามมา
2. ผู้ป่วยติดเตียงบางราย มีความผิดปกติของช่องปากและคอหอย ทำให้การกลืนอาหารเป็นไปด้วยความยากลำบาก ซึ่งเสี่ยงต่อการสำลักอาหาร ผู้ดูแลควรปรับเตียงของผู้ป่วยให้อยู่ที่ 45-90 องศา และใช้หมอนช่วยดันหลัง เพื่อง่ายต่อการทรงตัว และผู้ดูแลควรเลือกอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วย หากผู้ป่วยไม่สามารถเคี้ยวได้สะดวก ควรให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารประเภทของเหลว เช่น โจ๊ก
3. ดูแลเรื่องความสะอาดของผู้ป่วยติดเตียง โดยรวม ทั้งระบบขับถ่าย ชำระล้างร่างกาย สังเกตสีปัสสาวะของผู้ป่วยอยู่บ่อยครั้ง เพราะสีปัสสาวะสามารถบอกโรคได้ รวมทั้งดูแลสุขภาพช่องปาก และฟัน พร้อมทั้งระวังการเกิดเชื้อราในช่องปาก นอกจากการดูแลความสะอาดของตัวผู้ป่วยแล้ว ผู้ดูแลต้องจัดสภาพแวดล้อมห้องนอนของผู้ป่วยให้เหมาะสม อากาศถ่ายเทสะดวก
4. ดูแลเรื่องภาวะสุขภาพจิต นอกจากผู้ป่วยจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพของร่างกายแล้ว สุขภาพจิตก็เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ดูแลควรให้ความสนใจ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีความเครียด และเบื่อหน่ายกับการทำกิจวัตรประจำวันซ้ำๆ ผู้ดูแลสามารถหากิจกรรมมาทำกับผู้ป่วย เพื่อความผ่อนคลายร่วมกัน หรือขอคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อความเหมาะสม

ปัญหาที่พบบ่อยเมื่อจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงและวิธีการแก้
เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ระบบการทำงานต่าง ๆ และสภาพร่างกายย่อมเสื่อมโทรมลง และนำไปสู่การเป็นผู้เป็นผู้ป่วยติดเตียงได้ ซึ่งการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นผู้ดูแลจำเป็นต้องเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลเป็นอย่างดี อีกทั้งจำเป็นจะต้องให้ความใส่ใจอย่างใกล้ชิด

ปัญหาที่พบได้บ่อยในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงและวิธีการแก้ไข มีดังต่อไปนี้

1. แผลกดทับ เนื่องจากขยับตัวได้ยากหรือทำไม่ได้เลย ผู้ป่วยติดเตียงส่วนใหญ่ต้องนอนกับที่อยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดแผลกดทับตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น บริเวณ ท้ายทอย ข้อศอก สะโพก ก้นกบ เป็นต้น ถ้าไม่ได้รับการดูแลที่ดี อาการแผลกดทับเหล่านี้อาจลุกลามไปเป็นแผลติดเชื้อที่มีความรุนแรงถึงชีวิตได้ วิธีแก้ไขคือผู้ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยติดเตียงต้องพลิกตัวผู้ป่วยบ่อย ๆ หรือพยายามเปลี่ยนท่านอนของผู้ป่วยอยู่เสมอ ห้ามทิ้งผู้ป่วยให้นอนในท่าเดียวซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน หมั่นทำความสะอาดผิวหนังไม่ให้เปียกชื้น และอาจใช้อุปกรณ์เสริมในการลดแรงกดดันของกระดูก
2. ปัญหาเรื่องความสะอาดและสุขอนามัยของผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยต้องนอนอยู่กับที่ตลอดเวลา การทำความสะอาดร่างกายเป็นไปได้ยากและจำกัด ต้องให้ผู้ป่วยขับถ่ายด้วยกระโถนบนที่นอน บางรายต้องใช้สายสวนปัสสาวะ ดังนั้นการดูแลรักษาความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ ในรายที่ใช้สายสวนปัสสาวะ ผู้ดูแลจำเป็นต้องเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะเป็นประจำทุกสองสัปดาห์ และควรทำความสะอาดสายด้วยสบู่อ่อนเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ควรทำความสะอาดร่างกาย ของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีการขับถ่ายต้องรีบทำความสะอาดทันทีอย่าปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานเป็นอันขาด ทำความสะอาดและเช็ดให้แห้งอยู่เสมอ สุขภาพปากและฟันสำคัญควรทำความสะอาดช่องปากทุกครั้งหลังมื้ออาหาร
3. ปัญหาด้านสภาพจิตใจของผู้ป่วย สิ่งนี้นับเป็นอีกสิ่งสำคัญ เพราะผู้ป่วยติดเตียงอาจมีภาวะเครียดและอาการซึมเศร้าได้ ผู้ดูแลควรชวนพูดคุย หรืออ่านหนังสือ หรือเปิดเพลงที่ผู้ป่วยชื่นชอบเพื่อเป็นการสร้างความผ่อนคลาย ผู้ดูแลต้องไม่แสดงอาการไม่พอใจ หงุดหงิด กับผู้ป่วยเพราะอาจกระทบต่อความรู้สึกของผู้ป่วยได้
ญาติควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนเลือกใช้บริการผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นงานมีต้องใช้ความรู้และความใส่ใจ การเลือกผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงควรเลือกบุคคลที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการดูแล ให้เข้ามาดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย ที่สำคัญผู้ดูแลจะต้องคอยตรวจสอบอาการของคนที่คุณรัก อย่างสม่ำเสมอ เพราะผู้ป่วยติดเตียงต้องนอนบนเตียงเป็นเวลานาน การนอนติดเตียงเป็นเวลานาน ๆ นั้น เป็นภาวะที่อาจจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว

ญาติและครอบครัวควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนเลือกใช้บริการผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

1. เตรียมอุปกรณ์สำหรับดูแลผู้ป่วย เช่น ที่นอนลม อุปกรณ์ทำแผล เตียงสำหรับผู้ป่วย และห้องที่สามารถ เคลื่อนย้าย และดูแลผู้ป่วยได้สะดวก แผ่นซึมซับกันเปื้อน
2. ให้เวลากับการหาและคัดเลือกผู้ดูแล ถึงแม้การดูแลผู้ป่วยติดเตียงจะเน้นเพียงทักษะการดูแลเรื่องความสะอาด ถูกต้องตามแผนการรักษา โดยเฉพาะการดูแลด้านสุขอนามัย เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัว สังเกตพฤติกรรมผู้ป่วยว่าต้องการสิ่งใด เช่น รู้สึกเมื่อยต้องการพลิกตัว หิวน้ำหรือคันที่ผิวหนัง ต้องการทำความสะอาดแต่ทำเองไม่ได้ เป็นต้น
3. เตรียมความพร้อมทางเศรษฐกิจ การดูแลผู้ป่วยติดเตียงย่อมมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีความชำนาญ ค่ายาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่าอุปกรณ์อำนวยความสะดวก คนในครอบครัวอาจต้องปรับเปลี่ยนตารางกันทำงานเพื่อให้ส่งเสริมและสอดคล้องกันตารางการทำงานของผู้ดูแลผู้ป่วย อาจเป็นโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวได้ลองพิจารณาเปรียบเทียบความคุ้มค่าทั้งในด้านค่าใช้จ่ายและความปลอดภัยระหว่างการจ้างผู้ดูแลหรือสมาชิกในครอบครัวสามารถเปลี่ยนงาน หรือออกจากงานมาดูแลผู้ป่วยเอง
4. ครอบครัวและคนรอบข้างผู้ป่วยต้องเข้าใจ เอาใจใส่ และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ให้การดูแลผู้ป่วยติดเตียงผ่านไปอย่างราบรื่น
มีวิธีการป้องกันอย่างไรไม่ให้ผู้ป่วยติดเตียงมีแผลกดทับ
เมื่อเกิดแผลกดทับกับผู้ป่วยแล้ว ต้องดูแลรักษาแผล บรรเทาอาการเจ็บแผล ป้องกันการติดเชื้อ อย่างระมัดระวังที่สุดเพราะแผลอาจรุกรามได้ ส่วนนิยามของการส่วนการรักษาแผลกดทับคือการช่วยให้ผู้ป่วยเกิดแรงกดทับที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งน้อยลง

วิธีป้องกันแผลกดทับมีดังนี้

• ที่สำคัญที่สุดคือการจัดท่าทางในการนั่งและนอน ควรปรับเปลี่ยนท่านอนผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 2 ชั่วโมงช่วย เพื่อถ่ายน้ำหนักตัวและเป็นการป้องกันการเกิดแผลกดทับได้ดี ควรเลือกเบาะรองนั่งหรือเตียงนอนที่ช่วยผ่อนแรงกด อาจเป็นเตียงนอนลม หรือหาหมอนลม ห่วงยางที่มีรูมารองตรงจุดกดทับ และเปลี่ยนท่าทุก 15 นาทีสำหรับท่านั่งและ2 ชั่วโมงในท่านอน ปรับเตียงให้สูงขึ้นไม่เกิน 30 องศา เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังบริเวณก้นกบดึงรั้งกันจนเกิดแผลกดทับ
• ทำแผนภูมิ รูปอธิบายอย่างชัดเจน เป็น “นาฬิกาพลิกตัวผู้ป่วย” อีกวิธีที่หนึ่งที่จะช่วยให้การดูแลผู้ป่วยนอนติดเตียงมีสุขภาพที่ดีขึ้นและปลอดภัยจากการเกิดแผลกดทับ เริ่มต้นด้วย 6 โมงเช้า พลิกตะแคงผู้ป่วยไปทางซ้าย จากนั้น 8 โมงเช้า พลิกผู้ป่วยนอนหงาย เมื่อถึงเวลา 10 โมงเช้า พลิกกลับมาตะแคงขวา เที่ยงวัน เปลี่ยนอิริยาบถ แล้วให้ตะแคงซ้ายอีกครั้ง ฯลฯ ทำเช่นนี้สลับวนไปทุกๆ สองชั่วโมง เมื่อถึงกลางคืนเวลานอน แนะนำให้ใช้ที่นอนลมหรือแผ่นเจลรอง ลดการกดทับปุ่มกระดูก
• การทำความสะอาดผิวหนัง ผู้ที่มีความเสี่ยงหรือป่วยเป็นโรคที่มีความเสี่ยงให้เกิดแผลกดทับ ควรหมั่นตรวจผิวหนังของผู้ป่วยว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติใด ๆ หรือไม่ หลังจากล้างทำความสะอาดผิวหนังและเช็ดให้แห้งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังอับชื้น ดูแลผิวสม่ำเสมอ เช่น ทาโลชั่นสำหรับผิวแห้ง เปลี่ยนเสื้อผ้าและผ้าปูที่นอนอย่างสม่ำเสมอ ตรวจดูกระดุมเสื้อหรือตะเข็บของผ้าปูที่นอนให้ดี เพื่อป้องกันและลดการเสียดสีผิวหนัง