ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน กระทุ่มแบน, สมุทรสาคร

ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน กระทุ่มแบน, สมุทรสาคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่
ผู้ให้บริการผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน กระทุ่มแบน, สมุทรสาคร:

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

อธิวุฒิ สมัครการ
อธิวุฒิ สมัครการ
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 35 ปี

เป็นคนใจเย็น รักการช่วยเหลือผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หากมีที่พักให้เช่าใกล้สถานที่ทำงานจะดีมาก หรือจะให้อยู่บ้านเฝ้า 24 ชั่วโมงเลยก็ได้ครับ

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

พี่เค้ามาช่วยดูแลคุณย่าที่ป่วยติดเตียง ดูแลคุณย่าเราอย่างดี ช่วยพลิกตัวทุก ๆ 2 ชั่วโมง ช่วยให้คุณย่านอนหลับสบายขึ้นและป้องกันการเกิดแผลกดทับด้วย ที่สำคัญพี่เค้าดูแลเรื่องการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี เพราะคุณย่าต้องสอดสายปัสสาวะ แกช่วยเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะให้เป็นประจำทุก 2 – 4 สัปดาห์ แกดูแลคุณย่าเราเหมือนคนในครอบครัวแกเอง ทำให้เราไว้วางใจและประทับใจมาก ๆ
Saijai
สุธิดา ตรีอังกูร
4 ปีที่แล้ว
ดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยค่ะ ได้คนมาทำงานแต่ส่วนมากทำได้ระยะสั้น ๆ มีคนล่าสุดนี่แหล่ะ เจอที่เว็บใส่ใจ นอกจากจะมีประสบการณ์ ขยัน อดทน แล้วยังไว้วางใจให้ดูแลบ้านได้ด้วย พี่เค้าเก่งมากเลยค่ะ
Saijai
ศิริรัตน์ รักษาการณ์
4 ปีที่แล้ว
ผมว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นงานที่หนักอยู่นะ ถ้าเราทำเองไม่ได้ ควรจ้างคนดูแลที่มีความรู้และประสบการณ์มาช่วย ลองจ้างคนดูแลผ่านเว็บใส้ใจ โชคดีมากที่ได้พี่นีมาช่วยดูแลคุณพ่อ พี่นีดูแลแผลกดทับไม่ให้อักเสบมากขึ้น คอยเฝ้าคอยเช็ด นวด ชวนพูดคุย เปิดเพลงให้ฟัง ได้เห็นแววตามีความสุขของคุณพ่อ ผมว่าคุ้มกับเงินที่จ่ายไป
Saijai
ปิ่นปินัทธ์ ธนภูดินันท์
4 ปีที่แล้ว
คนดูแลคุณยายคนที่ผ่าน ๆ มา ราคาสูงทั้งนั้น แต่ทำงานได้ไม่คุ้มกับราคาที่จ่ายไป บางคนไม่มีประสบการณ์แถมไม่มีความอดทนอีก เจอคนใหม่ผ่านใส่ใจ ช่างแตกต่างจากคนเก่า ๆ เยอะมาก ถึงแม้ราคาอาจจะสูงพอ ๆ กัน แต่ได้คนมีประสบการณ์ และมีพื้นฐานเกี่ยวกับงานพยาบาลมาก่อน การดูแลและการบริการของน้องเค้าก็ดีมาก
Saijai
ดุษฏี ธีระโยธา
4 ปีที่แล้ว
ไม่ใช่แค่ดูแลแค่เรื่องกิจวัตร แต่พี่ีที่เฝ้าคุณพ่อยังดูแลเรื่องกิจกรรมสันทนาการต่างๆให้กับคุณพ่อผมอีกด้วยครับ ดีเกินกว่าที่คิดไว้จริง พี่เค้าอัธยาศัยดีมากครับ ตอนนี้นอกจากอาการของคุณพ่อผมดีขึ้นแล้วยังมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้นอีกด้วยครับ
Saijai
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

บทบาทและหน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีอะไรบ้าง
“ผู้ป่วยติดเตียง” หมายถึง ผู้ที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงหรือมีความเจ็บป่วยที่ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนที่นอน อาการเจ็บป่วยอาจเป็นระยะหนึ่งหรือตลอดไป เช่น ผู้ประสบอุบัติเหตุที่ต้องเข้าเฝือกตัว ผู้ป่วยอัมพาตที่เคลื่อนไหวไม่ได้ หรือผู้ป่วยชราที่มีความอ่อนเพลียมาก เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยประเภทนี้จำนวนไม่น้อยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลอยู่ในบ้านโดยมีผู้ดูแล

บทบาทและหน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีอะไรบ้าง

1. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ต้องป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดแผลกดทับ เป็นหน้าที่ของผู้ดูแลที่ต้องคอยพลิกตัวให้ผู้ป่วยนอนติดเตียงที่ไม่สามารถพลิกตัวเองได้ ทุกๆ 2 ชั่วโมง พร้อมเปลี่ยนท่าในการนอนใหม่ เช่น นอนหงาย นอนตะแคงสลับกันไป หลีกเลี่ยงความยับย่นของเสื้อผ้าที่จะทำให้เกิดแผลกดทับได้
2. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ดูแลการป้อนอาหาร โดยปรับเตียงให้อยู่ในมุม 45-90 องศา เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งบนเตียง โดยใช้หมอนช่วยดันหลังให้ทรงตัว นอกจากนี้ควรปรับอาหารให้เหมาะสมกับภาวะกลืนลำบาก ซึ่งเสี่ยงต่อการสำลักในขณะรับประทานอาหาร อาจทำให้ปอดเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ ภาวะกลืนลําบากอาจมีสาเหตุมาจาก ความผิดปกติทางช่องปาก และคอหอยในผู้สูงอายุ
3. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ต้องใส่ใจเรื่องความสะอาด การชำระล้างร่างกายและการขับถ่าย เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ดูแลไม่ควรละเลย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีการใส่สายสวนปัสสาวะเข้าไปภายในร่างกาย เพราะมีโอกาสการติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นผู้ดูแลควรเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยเป็นประจำทุก 2 – 4 สัปดาห์ รวมทั้งการดูแลช่องปาก และฟันการดูแลสุขภาพช่องปาก (oral hygiene) มีส่วนสําคัญในการรักษาภาวะอาการกลืนลําบากซึ่งมักถูกมองข้าม การดูแลสุขภาพช่องปากจะช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดปอดอักเสบจากการสําลัก
4. ภาวะสุขภาพจิต เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละรายมีภาวะของโรคแตกต่างกัน แต่สิ่งที่คล้ายกันคือความเบื่อหน่ายและความทุกข์ที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้ดูแลสามารถหากิจกรรมต่าง ๆ มาทำร่วมกับผู้ป่วย เช่นอ่านหนังสือให้ฟัง เพื่อผ่อนคลายและลดความเศร้าลง ทำให้มีสุขภาพจิตที่ดีได้ ดังนั้นการดูแลผู้สูงอายุที่นอนติดเตียง จึงจำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิดด้วยความรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้อง
คุณเจออุปสรรคอะไรบ้างเมื่อจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงและมีวิธีการแก้ไขอย่างไร
ผู้ป่วยติดเตียงจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา หลาย ๆ คนที่อาจไม่มีเวลาว่างมากพอในการอยู่ดูแลผู้ป่วยจึงแก้ปัญหาโดยการเลือกจ้างผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงมาช่วยทำหน้าที่ในส่วนนี้แทน แต่การจ้างผู้ดูแลอาจจะไม่เป็นไปอย่างราบรื่น ถ้าผู้ดูแลไม่มีความสามารถและทักษะการดูแลมากพอ จนกายเป็นอุปสรรค อาจต้องเปลี่ยนผู้ดูแลอยู่บ่อย ๆ

ข้อควรระวังในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นหลัก ๆ คือไม่ควรให้ผู้ป่วยนอนในท่าเดิมนาน ๆ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะแผลกดทับได้ ดังนั้นจึงต้องคอยพลิกตัวผู้ป่วยอยู่บ่อย ๆ ถ้าผู้ดูแลไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญมากพอก็อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ป่วยได้ในที่สุด เป็นที่แน่ชัดอยู่แล้วว่าผู้ป่วยติดเตียงนั้นจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมไปถึงเรื่องกิจวัตรประจำวันด้วย ไม่ว่าจะเป็นการป้อนข้าวป้อนยา เช็ดตัว บางครั้งก็ต้องใส่สายเพื่อสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยหรือต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมด้วย ผู้ดูแลจึงต้องมีความอดทนและมีใจรักในการบริการเป็นอย่างมาก หากผู้ดูแลขาดความรับผิดชอบในส่วนนี้ อาจเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน

หลาย ๆ คนคงไม่อยากเปลี่ยนผู้ดูแลบ่อย ๆ เพราะนอกจากจะทำให้เกิดความยากลำบากในการดูแลผู้ป่วยแล้ว คนจ้างเองก็ต้องคอยอธิบายวิธีการดูแลและเงื่อนไขหลาย ๆ อย่างใหม่ทุกครั้งที่ต้องทำการจ้างผู้ดูแลคนใหม่เช่นกัน เพราะฉะนั้น ก่อนตัดสินใจจ้างผู้ดูแลนั้นควรพิจารณาถึงคุณสมบัติหลาย ๆ อย่าง หรือสอบถามความเห็นจากคนใกล้ชิดดูก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้ผู้ดูแลที่มีความเป็นมืออาชีพจริง ๆ และเหมาะสมที่จะให้มาทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยในบ้านของคุณ
สิ่งที่ญาติควรเตรียมก่อนทำการจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา ดังนั้นญาติของผู้ป่วยจำเป็นต้องพิจารณาถึงปัจจัยหลักต่าง ๆ ก่อนเพื่อให้ตอบสนองความต้องการให้ได้มากที่สุด

ซึ่งสิ่งที่ญาติผู้ป่วยควรรู้และเตรียมตัวก่อนทำการจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นมีดังนี้

1. ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงด้วยวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ป่วยที่สุด เพื่อเตรียมตัวในการกำหนดและจัดหาผู้ดูแลที่มีคุณสมบัติตรงต่อความต้องการในการดูแลผู้ป่วยนั่นเอง
2. เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการจัดหาอุปกรณ์ในการดูแลผู้ป่วย และต้องมั่นใจว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยได้ดีที่สุด เช่น เตียงที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ที่นอนลม รถเข็นในกรณีที่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปไหนมาไหน รวมไปถึงอุปกรณ์การทำแผล อุปกรณ์ทำความสะอาดผู้ป่วย และอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่หายใจเองลำบาก อย่างเครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น
3. ความพร้อมทางด้านการเงิน อย่างที่ทราบกันดีว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นเป็นการดูแลในระยะยาว ดังนั้นจึงอาจมีค่าใช้จ่ายที่ไม่แน่นอน และอาจสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งค่าอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น ครอบครัวของผู้ป่วยจึงต้องวางแผนและบริหารจัดการการเงินในการดูแลผู้ป่วยให้ดีที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง
4. จัดเตรียมสถานที่ในการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเตียงให้เหมาะสม ครอบครัวควรจัดหาสถานที่ในบ้านที่เหมาะสมต่อการให้ผู้ป่วยอยู่ เช่น ห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก อยู่ชั้นล่างเพื่อง่ายต่อการขนย้ายผู้ป่วย และมีพื้นที่กว้างพอที่จะวางอุปกรณ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยเช่นกัน




วิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ให้เกิดแผลกดทับ
สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังเมื่อผู้ป่วยนอนติดเตียง ได้แก่ แผลกดทับ โดยแผลกดทับมักเกิดขึ้นบริเวณผิวหนังที่หุ้มกระดูก เช่น ท้ายทอย ข้อศอก ส้นเท้า ข้อเท้า สะโพก หรือกระดูกก้นกบ เป็นต้น สาเหตุการเกิดแผลกดทับ คือการที่ผู้ป่วยนอนนาน ๆ บริเวณที่เป็นปุ่มกระดูกต่าง ๆ เหล่านี้จะขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงที่ผิวหนังทำให้เซลล์บางตัวตายจนเป็นแผลไปเรื่อย ๆ ระยะแรกอาจเกิดอาการลอกที่ผิว แต่พอนานเข้าก็จะลอกไปจนถึงชั้นกล้ามเนื้อหรือถึงชั้นกระดูก และเมื่อร่างกายปราศจากผิวหนังซึ่งทำหน้าที่ปกคลุมแล้วโอกาสเกิดการติดเชื้อจะมากขึ้นและอาจรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ การป้องกันการเกิดแผลกดทับ เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถพลิกตัวเองได้เองจึงเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลที่จะช่วยปรับเปลี่ยนท่าทางของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ และควรมีอุปกรณ์เสริมเพื่อช่วยลดแรงกดทับ เช่น ฟองน้ำ ที่นอนลม หมอนผ้านุ่มๆ เจลรองปุ่มกระดูก ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเลี่ยงแรงกดทับจากการนอนหรือนั่งไปที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นเวลานาน

การจัดท่าทางสำหรับเลี่ยงการเกิดแรงกดทับทำได้ดังนี้

1. ปรับเปลี่ยนท่าทางทุก ๆ 15 นาทีหากต้องนั่งบนรถเข็นและพลิกตัวเปลี่ยนท่านอนอย่างน้อยทุก ๆ 2 ชั่วโมง
2. ปรับเตียงนอนให้สูงขึ้นไม่เกิน 30 องศาเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังบริเวณก้นกบดึงรั้งจนเกิดแผลกดทับได้
3. เบาะรองนั่งหรือเตียงนอนควรเลือกแบบที่ช่วยผ่อนแรงกดทับและปรับท่าทางให้นั่งหรือนอนได้สบาย
4. รถเข็นควรเลือกแบบที่ปรับระดับได้ เพื่อช่วยลดแรงกดทับ