ผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา ใน ภูเก็ต

ผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา ใน ภูเก็ต

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

Supaporn Tohiso
Supaporn Tohiso
Saijai ประสบการณ์ 3-4 ปี

I can speak, read and write English. I have more than 10 years experience

แสดงเพิ่มเติม
ระวีวรรณ เด็นหมิน
ระวีวรรณ เด็นหมิน
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 52 ปี

เป็นคนมี service mind และมีความเข้าใจผู้อื่นสูง

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

สามีเป็นคนอเมริกัน ให้ดิฉันช่วยหาคนมาดูแลคุณพ่อของเค้าที่เป็นอัมพฤกษ์ มีภาวะแขนขาอ่อนแรง แต่ยังพอใช้งานได้ ซึ่งปกติคนดูแลที่เชี่ยวชาญด้านนี้ก็หายากอยู่แล้ว ยิ่งเป็นคนดูแลแบบที่สื่อสารภาษาอังกฤษได้อีก ยิ่งหายากเข้าไปใหญ่ โชคดีที่มาเจอเว็บใส่ใจ มีข้อมูลพร้อม
Saijai
ดรุณี เชอร์แมน
3 ปีที่แล้ว
พนักงานดูแลที่จ้างมา สุภาพแถมมีมารยาทกับคนในบ้านมากๆ
Saijai
อารีนา เกศุมณี
4 ปีที่แล้ว
I got the bilingual senior care for my dad with perfect process, perfect service, and perfect price. Thank you so much.
Saijai
Christina Yang
4 ปีที่แล้ว
จ้างคนดูแลผู้สูงอายุมาบนเว็บใส่ใจ มาดูแลแขกต่างชาติที่มาพักที่บ้าน พอดีแกป่วยกระทันหัน น้องเค้าดูแลดีมากค่ะ
Saijai
สนใจ สิทธิ์ไกรจักร
4 ปีที่แล้ว
คุณปู่ที่บ้านแกเป็นคนเชื้อสายจีนครับ ปกติเป็นคนดื้อ ไม่ชอบให้ใครมาวุ่นวาย แต่ตอนนี้ดีขึ้นตั้งแต่ได้คนมาช่วยดูแล
Saijai
เมรี รัตนชัยกุล
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา

ข้อดีของผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษาในกรณีที่ต้องดูแลผู้สูงอายุชาวต่างชาติมีอะไรบ้าง
ด้วยจุดเด่นในด้านงานบริการด้วยรอยยิ้ม ค่าครองชีพที่ไม่สูง สภาพอากาศที่อบอุ่น ศิลปวัฒนธรรมที่สวยงาม และการบริการทางการแพทย์ที่ได้รับการยอมรับ ทำให้มีผู้สูงอายุจากทั่วทุกมุมโลกเดินทางเข้ามาประเทศไทยเพื่อท่องเที่ยว พักผ่อน หรือใช้ชีวิตยามบั้นปลายหลังเกษียณ จนประเทศไทยถูกจัดอยู่ใน 1 ใน 5 ของประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางในการเดินทางของผู้สูงอายุ และเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเติบโตอย่างต่อเนื่องราว 6.5% ต่อปี ตั้งแต่ปี 2558-2560 อาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ขยายตัวตามเทรนด์นี้ด้วย โดยเฉพาะผู้ดูแลสองภาษาที่สามารถสื่อสารกับผู้สูงอายุต่างชาติได้ ทำให้ผู้สูงอายุชาวต่างชาติสามารถมั่นใจได้ว่าผู้ดูแลนั้นตอบสนองต่อความต้องการของตนได้อย่างถูกต้อง และสร้างบรรยากาศที่ดีในการอยู่ร่วมกัน ที่สำคัญเมื่อสามารถสื่อสารกันได้เข้าใจ จะทำให้เข้าใจในความต่างทางวัฒนธรรมและมีความเคารพซึ่งกันและกัน การสื่อสารด้วยภาษาเดียวกันไม่ได้ส่งผลดีแค่ต่อตัวผู้สูงอายุเองเท่านั้น แต่ยังเป็นผลดีต่อครอบครัวของผู้สูงอายุด้วย อย่างในกรณีที่ผู้ดูแลต้องการติดต่อขอคำแนะ หรือแจ้งข่าวสารให้กับครอบครัวผู้สูงอายุ อาจเนื่องจากภาวะการเจ็บป่วยในผู้สูงอายุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ผู้สูงอายุบางท่านมีโรคประจำตัวต่างๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง สามารถทำได้โดยตรงและทันท่วงที โดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือให้ผู้อื่นช่วยแปล ถือเป็นการรักษาความเป็นส่วนตัวและข้อมูลที่ไม่ควรเปิดเผยให้กับผู้สูงอายุด้วย
ต้องรู้อะไรบ้างเมื่ออยากจ้างคนต่างด้าวมาดูแลผู้สูงอายุ
ปัจจุบันผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ส่วนมากมาจากประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN) เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ พม่า ลาว และกัมพูชา ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง มีตั้งแต่อายุน้อย ๆ ไปจนถึงวัยกลางคน

หากต้องจ้างคนดูแลผู้สูงอายุเป็นชาวต่างด้าว เราควรมีหลักการในการพิจารณาอย่างไร

1. ตรวจสอบประวัติส่วนตัว เช่น ชื่อ อายุ ภูมิลำเนาเดิม รวมถึงโรคประจำตัว เพราะย่อมมีผลกับผู้สูงอายุที่ร่างกายอ่อนแอและมีโอกาสติดโรคได้ง่าย อีกทั้งควรตรวจสอบว่าไม่มีความประพฤติที่เสื่อมเสีย ไม่เป็นผู้วิกลจริตไม่สมประกอบ ไม่ติดสารเสพติดทุกชนิด โดยอาจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ว่าจ้างคนเก่าและสอบถามสาเหตุของการออกจากที่ทำงานเดิมด้วย
2. ผู้ดูแลคนสูงอายุต่างด้าวต้องขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยจะมีการตรวจสุขภาพและมีการทำใบอนุญาตทำงาน (work permit) ให้ถูกต้อง
3. สังเกตบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยของผู้ดูแลผู้สูงอายุจากการสัมภาษณ์ โดยลองถามคำถามที่จะประเมินว่าผู้ดูแลผู้สูงอายุมีใจรักงานบริการหรือมีความอดทนมากน้อยเพียงใดต่อสถานการณ์ที่เอามายกเป็นตัวอย่าง
4. แจ้งรายละเอียดการทำงานให้ชัดเจน ตกลงเรื่องเงินเดือนและหน้าที่รับผิดชอบให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุเข้าใจตั้งแต่เริ่มต้น เกี่ยวกับเรื่องวันหยุดพักผ่อนและสวัสดิการที่มีให้ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นหลังจากรับเข้าทำงานแล้ว
5. อธิบายข้อมูลคร่าว ๆ เกี่ยวกับกฎระเบียบในบ้าน ว่ามีกฎข้อบังคับใดๆ ภายในบ้านหรือไม่ เพื่อความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันและหลีกเลี่ยงปัญหาหากต้องเข้ามาทำงานและอยู่ในบ้านร่วมกัน
ค่าจ้างหรือค่าแรงของคนสัญชาติอื่นในงานดูแลผู้สูงอายุ เช่น สัญชาติฟิลิปปินส์ หรือพม่า จะสูงกว่าค่าแรงสำหรับจ้างผู้ดูแลชาวไทยหรือไม่
เมื่อพูดกันถึงประเด็นค่าจ้างหรือค่าแรงของคนสัญชาติอื่นในงานบริการดูแลผู้สูงอายุ ว่าจะสูงกว่าค่าแรงของผู้ดูแลชาวไทยหรือไม่ อย่างไรนั้น เรามีข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนี้ดังนี้

ประเด็นแรก อัตราค่าจ้างของการทำงานของคนต่างด้าว หรือของคนสัญชาติอื่นในประเทศไทย นั้น มีหลักเกณฑ์และข้อกำหนดเรื่องค่าจ้าง หรือค่าแรงขั้นต่ำ ตามหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตทำงานของกระทรวงแรงงาน โดยได้กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำของสัญชาติอื่นไว้ดังนี้ เช่น ฟิลิปปินส์ เงินเดือนขั้นต่ำ ต้องไม่น้อยกว่า 35,000 บาท ต่อเดือน หรือ สัญชาติพม่า เงินเดือนขั้นต่ำต้องไม่น้อยกว่า 25,000 บาท ต่อเดือน
ประการที่สอง อย่างที่พอรู้กันอยู่แล้วว่าประเทศไทยมีชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มชาวต่างชาติวัยเกษียณที่ตัดสินใจเลือกประเทศไทยเพื่อใช้ชีวิตในบั้นปลาย ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลของอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราที่สูงกว่าเงินบาท หรือค่าครองชีพที่ถูกว่าหากต้องใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศ หรือแม้แต่ลักษณะภูมิอากาศ หรือความสวยงามของประเทศที่ดึงดูดให้คนเหล่านี้เลือกอาศัยอยู่ในประเทศไทย ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่สามารถสื่อสารภาษาต่างประเทศ เช่นภาษาอังกฤษได้ จึงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน และ เนื่องด้วยลักษณะหน้าที่การทำงานที่การสื่อสารและความสามารถในการเข้าใจเรื่องภาษาเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานเป็นอย่างมาก ผู้ดูแลที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้จึงมีความได้เปรียบในการต่อรองเรื่องเงินเดือน และเป็นข้อได้เปรียบของผู้ดูแลผู้สูงอายุสัญชาติอื่น เนื่องจากสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีกว่าคนไทย แต่นั่นไม่ได้เป็นการการันตีว่าค่าจ้างของผู้ดูแลสัญชาติอื่นจะสูงกว่าผู้ดูแลสัญชาติไทยไปด้วย เพราะหากผู้ดูแลเป็นคนไทยที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี ย่อมมีความได้เปรียบในด้านการสื่อสารที่สังคมไทยส่วนใหญ่ยังใช้ภาษาไทยเป็นหลัก และคนไทยย่อมมีความเข้าใจวัฒนธรรมประเพณีไทยได้ดีกว่าคนชาติอื่น บวกกับลักษณะนิสัยของคนไทยที่ความโอบอ้อมอารี จึงทำให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุคนไทยที่มีคุณสมบัติด้านภาษาเป็นที่ต้องการและมีอัตราค่าจ้างสูงตามไปด้วย
บนแพลตฟอร์มของใส่ใจมีผู้ให้บริการผู้ดูแลผู้สูงอายุที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ หรือไม่
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ได้รับการยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศไทยที่ขึ้นชื่อเรื่องการท่องเที่ยวและการบริการทางการแพทย์ ทำให้ในแต่ละปีมีชาวต่างชาติจากทั่วทุกมุมโลกเดินทางเข้ามาประเทศไทย เพื่อท่องเที่ยว ทำงาน พักผ่อน และอยู่อาศัยหลังเกษียณ ใส่ใจเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสื่อสารภาษาอังกฤษและเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการที่มองหาตัวเลือกของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ จึงบรรจุภาษาอังกฤษเป็นหนึ่งในทักษะทางภาษาที่ผู้ให้บริการดูแลผู้สูงอายุบนแพลตฟอร์มของใส่ใจสามารถระบุลงให้คุณสมบัติของตนเอง ทำให้ผู้ใช้บริการคัดกรองและเข้าถึงข้อมูลของผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มนี้ได้ง่ายและรวดเร็ว หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังมองหาผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา ใส่ใจมีผู้ให้บริการบนแพลตฟอร์มให้คุณได้เลือกคนที่ตรงใจคุณที่สุด