วิธีการทำงาน
ติดต่อเรา
ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ
แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ
เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ
ยืนยันการจองของคุณ
เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA
สามารถเข้ากับน้องได้สามารถช่วยน้องในเรื่องกิจกรรมเสริมทักษะเคยเป็นอาสาสมัครดูแลเด็กที่โบสถ์ในช่วงสุดสัปดาห์และปิดเทอมส่วนใหญ่น้องจะอยู่ที่อายุประมาณ9-12เดือนเเละ1-12ปี สามารถพาน้องไปเที่ยวทำกิจกรรมหรือช่วยสอนการบ้านได้ไม่มากก็น้อยสามารถเข้ากับเด็กๆจะคอยหากิจกรรมเสริมพัฒนาการให้เด็กๆอยู่เรื่อยๆเรื่องภาษาอังกฤษสามารถสื่อสารได้ปานกลางถึงดี
ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ
รีวิวล่าสุด
คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา รับเลี้ยงเด็กที่บ้านตัวเอง
1. เพื่อลดความกังวลของลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยและอธิบายให้เด็กเข้าใจถึงความจำเป็นที่เด็กจะต้องอยู่กับพี่เลี้ยงก่อนพาเด็กไปฝากที่บ้านพี่เลี้ยง เพื่อไม่ให้เด็กเกิดความกังวลว่าจะถูกพ่อแม่ทอดทิ้ง ลองให้สัญญากับเด็กดูว่าหากเชื่อฟังพี่เลี้ยงได้รางวัลตอบแทน ซึ่งทำให้เด็กคลายความกังวลและสามารถปรับตัวได้ในที่สุด
2. พูดคุยสอบถามกับเด็กทุกครั้งหลังจากที่รับกลับมาจากบ้านพี่เลี้ยง สอบถามถึงความเป็นอยู่ กิจกรรมที่ทำในแต่ละวันว่ามีอะไรบ้าง วันนี้ทานอาหารอะไรบ้าง ฯลฯ การสังเกตพฤติกรรมของเด็กทำให้คุณพ่อคุณแม่สามารถคาดเดาได้ว่าพี่เลี้ยงดูแลเด็กและปฏิบัติต่อเด็กอย่างไร
3. คุณพ่อคุณแม่ควรบันทึกเบอร์โทรศัพท์และเบอร์ฉุกเฉินเอาไว้ และสอนให้ลูกของคุณใช้โทรศัพท์มือถือเผื่อในกรณีฉุกเฉินต่าง ๆ และในขณะเดียวกันคุณพ่อคุณแม่สามารถโทรสอบถามความเป็นอยู่จากพี่เลี้ยงในระหว่างวันได้เช่นกัน
4. แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่หาบริการพี่เลี้ยงเด็กที่ใกล้บ้านและสะดวกในการเดินทางไปส่ง-รับเด็กในแต่ละวัน เพื่อไม่ให้กระทบต่อเวลางานของคุณพ่อคุณแม่มากเกินไป
5. ก่อนทำการประกาศหาพี่เลี้ยงเด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรลองสอบถามจากคนใกล้ชิดก่อน ว่าพอจะรู้จักใครที่มีความสามารถในการดูแลเด็กหรือไม่ เนื่องจากการแนะนำจากคนรู้จักนั้นน่าจะเป็นอะไรที่ปลอดภัยและน่าเชื่อถือได้มากกว่า
6. คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกคนที่มีประสบการณ์ในการดูแลเด็ก ไม่ว่าจะเคยดูแลลูกหลานของตนเอง ดูแลเด็กตามบ้าน หรือดูแลเด็กที่สถานรับเลี้ยง เพื่อให้มั่นใจว่าพี่เลี้ยงจะสามารถดูแลลูกของคุณได้อย่างแน่นอน
1. ควรมีการพูดคุยสัมภาษณ์พี่เลี้ยงหลายครั้งเพื่อให้รู้ถึง บุคลิก หรือ ลักษณะนิสัยที่แท้จริงของพี่เลี้ยงนั้น เพราะการพูดคุยแค่ครั้ง หรือสองครั้งอาจไม่สามารถทราบ หรือสัมผัสได้ถึงบุคลิกที่แท้จริง
2. ตรวจสอบประวัติการทำงานของพี่เลี้ยงคนนั้นจากหลายคนทั้งเพื่อน คนใกล้ชิด และนายจ้างที่เคยใช้บริการมาก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าพี่เลี้ยงคนดังกล่าวมี พฤติกรรม หรือมีประวัติอย่างไร ซึ่งวิธีนี้เป็นการช่วยให้พ่อแม่มีข้อมูลในการตัดสินใจ หากจากการตรวจสอบประวัติ คุณได้รับข้อมูลในทางลบจากหลาย ๆ คน เช่น หาก 3 ใน 5 คนของผู้ที่เคยใช้บริการมีประสบการณ์ในแง่ลบ จะช่วยให้พ่อแม่สามารถพิจารณาตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
3. ตรวจสอบความรู้หรือหลักสูตรต่าง ๆ ที่พี่เลี้ยงผ่านการอบรมหรือทดสอบมาจริง โดยอาจมีการสอบถามกับสถาบันผู้ออกประกาศนียบัตรแต่ละฉบับนั้น
4. เพื่อความสบายใจและเป็นการยืนยันว่าพี่เลี้ยงนั้นไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมมาก่อน ควรขอให้พี่เลี้ยงตรวจสอบประวัติอาชญากรรมกับกองพิสูจน์หลักฐานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถ้าพี่เลี้ยงปฏิเสธอาจทำให้สงสัยได้ว่าพี่เลี้ยงคนนั้นมีอะไรปิดปัง หรือไม่บริสุทธิ์ใจ
5. ตรวจสอบที่ตั้งของบ้านของพี่เลี้ยงเด็กว่าตั้งอยู่ที่ไหน ไม่ควรไกลจากบ้าน หรือ ที่ทำงานของพ่อแม่ หรือญาติสนิทที่สามารถไว้วางใจได้ ตรวจสอบถึงสภาพแวดล้อมโดยรอบ บรรยากาศของบ้าน นอกเหนือจากพี่เลี้ยงเด็กแล้วมีใครอาศัยอยู่ในบ้านนั้นด้วยบ้างไหม เพื่อนบ้านรอบข้าง หรือในพื้นที่ใกล้เคียงมีลักษณะเป็นอย่างไร มีพื้นที่ให้ลูกของคุณได้วิ่งเล่นหรือไม่ เพราะสภาพแวดล้อมเป็นหนึ่งปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็ก
6. ทดลองพาลูกของคุณไปทำความรู้จักกับพี่เลี้ยง ไปพบพี่เลี้ยงที่บ้านโดยที่คุณอยู่ด้วยตลอดเวลา เพื่อสังเกตดูว่าเด็กสามารถเข้ากับพี่เลี้ยงได้ดีหรือไม่ ลูกชอบสถานที่ สภาพแวดล้อมหรือไม่
ทั้งหมดนี้คือคำแนะนำของทางใส่ใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังตัดสินใจส่งลูกไปฝากที่บ้านพี่เลี้ยงค่ะ
สำหรับบางครอบครัว การฝากลูกให้พี่เลี้ยงดูแลที่บ้านของพี่เลี้ยงอาจเป็นครั้งแรกที่เด็กต้องแยกจากพ่อแม่ ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ ใช้ชีวิตและทำกิจวัตรกับคนที่ไม่คุ้นเคย การปรับตัวเหล่านี้อาจเป็นเรื่องยากและสร้างความเครียดให้กับเด็กได้ โดยเฉพาะทารกและเด็กเล็กซึ่งยังไม่เข้าใจภาษา หากเด็กมีอาการงอแงมากกว่าปกติโดยไม่มีอาการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บร่วมด้วย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเด็กมีความคุ้นเคยกับพ่อแม่ ไม่ว่าจะเป็นหน้าตา กลิ่น สัมผัส และน้ำเสียง เมื่อต้องอยู่กับพี่เลี้ยงซึ่งถือเป็นคนแปลกหน้าอาจนำมาซึ่งความกังวลและรู้สึกไม่ปลอดภัย ต้องให้เวลาเด็กและพี่เลี้ยงได้ปรับตัวและสร้างความคุ้นเคยสักระยะหนึ่ง แต่ถ้าเด็กงอแงจากการบาดเจ็บ มีรอยฟกช้ำ หรือไม่สบายบ่อย ๆ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะนั่นอาจหมายถึงการละเลยและไม่เอาใจใส่ของพี่เลี้ยง ที่ร้ายแรงกว่านั้นอาจมีการใช้ความรุนแรงกับเด็ก สำหรับเด็กโตหากเด็กเป็นคนสดใส ร่าเริง ช่างพูดคุย แต่เปลี่ยนเป็นซึมลง ไม่ร่าเริงอย่างเคย คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยกับเด็กเพื่อให้รู้ว่ามีอะไรรบกวนจิตใจ มีเหตุการณ์ที่ไม่เหมาะสมหรือมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นหรือไม่ หากเด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวหรือใช้ความรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนที่จะอยู่กับพี่เลี้ยง อาจเป็นได้ว่าเด็กลอกเลียนพฤติกรรมเหล่านี้จากพี่เลี้ยงหรือจากเด็กคนอื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของพี่เลี้ยงคนเดียวกัน
หากลูก ๆ ของท่านมีพฤติกรรมหรือความเปลี่ยนแปลงดังที่กล่าวมาข้างต้น คุณพ่อคุณแม่ควรเร่งหาสาเหตุและแก้ไขให้เร็วที่สุดเพื่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีของลูกน้อย
SAIJAI "ใส่ใจ" เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการดูแลเด็ก ดูแลผู้สูงอายุ ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ แม่บ้าน/ทำความสะอาด คนขับรถ ดูแลสัตว์เลี้ยง เสริมสวย และช่างซ่อมบำรุงเท่านั้น "SAIJAI" ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการหรือจ้างบุคคลใดให้บริการ ไม่มีสถานะเป็นนายจ้าง ผู้ว่าจ้าง ตัวแทน ผู้ร่วมทุน อย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเป็นผู้รับจ้างอิสระ ซึ่งผู้รับบริการเป็นผู้ว่าจ้าง คุณภาพการให้บริการเป็นความรับผิดชอบทั้งสิ้นของผู้ให้บริการเอง การเรียกใช้บริการจากผู้ให้บริการ อาจมีความเสี่ยง ซึ่งผู้รับบริการรับทราบและยินดีใช้บริการ บนความเสี่ยงใด ๆ ในความรับผิดชอบของตัวท่านเอง