สอนหลักสูตรการศึกษา ใน สงขลา

สอนหลักสูตรการศึกษา ใน สงขลา

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

Saijai
ยังไม่มีข้อมูลการรีวิว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา สอนหลักสูตรการศึกษา

บริการรับสอนพิเศษของทางใส่ใจมีสอนในระดับใดบ้าง
หากว่าท่านกำลังมองหา ครูสอนพิเศษหรือติวเตอร์คุณภาพมากประสบการณ์ในด้านการสอน ที่จะช่วยสอนน้อง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมเรื่องการเรียน โดยสามารถเลือกคุณสมบัติของ “ติวเตอร์” ที่ต้องการ พร้อมเลือกสถานที่ที่ต้องการเรียนได้ เช่น เรียนพิเศษที่บ้าน เรียนพิเศษนอกสถานที่ หรือเรียนพิเศษทางออนไลน์ สามารถเลือกเวลาเรียนได้ตามความสะดวกอีกด้วย ลองค้นหาติวเตอร์จากแพลตฟอร์ม ใส่ใจ เลย ตอนนี้

1. ระดับอนุบาล ติวเตอร์จะช่วยดูแลเรื่องการบ้าน และติวเข้าชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีเทคนิคสนุกๆ สอนเน้นความเข้าใจ ช่วยเพิ่มทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน สอนได้ทั้งคณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และช่วยเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา
2. ระดับประถมศึกษา ช่วยดูเรื่องรายงาน หรือการบ้าน ติวเข้าชั้นมัธยมปีที่ 1 เน้นการทบทวน เสริมเทคนิคต่าง ๆ และฝึกทักษะขั้นพื้นฐานของทุก ๆ วิชา
3. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ช่วยสอนการบ้าน ติวเข้าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ช่วยทบทวนความรู้ก่อนเข้าสอบวิชาต่าง ๆ ติวเพื่อช่วยสอบเข้าโรงเรียนที่มีชื่อเสียง
4. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ติวสอบตรง ตามความถนัดของวิชาต่าง ๆ ข้อสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ เพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำ หรือ สอบไปเรียนต่อต่างประเทศ
5. ระดับมหาวิทยาลัย เน้นการสอนแบบตัวต่อตัว และแบบเป็นกลุ่มย่อย ๆ ในระดับการศึกษามหาวิทยาลัยทุกภาควิชา ทุกคณะทั้งหลักสูตรปกติ หรือหลักสูตรแบบอินเตอร์ เช่น ด้านบัญชี เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย ฟิสิกส์ วิศวะ ฯลฯ
ยิ่งระดับการศึกษาสูงขึ้น เกิดการแข่งขันกันสูง เด็กนักเรียนในปัจจุบันมีวิธีการจัดการกับการแข่งขันในด้านการเรียนอย่างไร
ตลอดระยะทางของความอุตสาหะใน 12 ปีที่ ชีวิตต้องผ่านการแข่งขันมาตลอด เหมือนนักเรียนกำลังวิ่งแข่งกันบนถนนเส้นกว้าง ๆ ที่ปลายทางแคบลงและมีทางแยกหลาย ๆ ทาง เพื่อเดินทางสู่ความฝัน แต่ทางแยกนั้นถูกจำกัดด้วยปริมาณ ผู้มีความพร้อมที่สุดจะผ่านเข้าไปถึงปลายทางได้ แล้วนักเรียนจะจัดการกับการแข่งขันอย่างไร

1. มีความตั้งใจอย่างแท้จริงและซื่อสัตย์กับความฝัน แน่วแน่กับเป้าหมายและตั้งใจเรียน อ่านหนังสือ ทบทวน เตรียมตัวก่อนสอบให้พร้อม หากมีจุดไหนที่ไม่เข้าใจ ต้องพยายามหาความกระจ่าง ไม่ว่าจะเป็นการเรียนเพิ่มเติมสถาบันเรียนพิเศษเพิ่มหรือ ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มด้วยตัวเอง
2. เมื่อมีความตั้งใจที่แน่วแน่แล้ว ถึงเวลาวางแผนการอ่านหนังสือ ดูตรงใหนเป็นจุดเด่นจุดด้อย เราจะมีเวลาให้อ่านหนังสือก่อนสอบ วางแผนการอ่านให้ดี ๆ กำหนดทบทวนในวิชาที่เข้าใจ และเพิ่มเติมในวิชาที่อ่อน ตั้งตารางทบทวนไม่ให้ตึงเครียดเกินไป และไม่หย่อนจนขี้เกียจ
3. เมื่ออ่านหนังสือแล้ว ฝึกทำโจทย์ หาโจทย์จากปีก่อน ๆ มาลองทำให้บ่อย การทำซ้ำจะทำให้เกิดความชำนาญ เป็นการเตรียมตัวก่อนสอบ เหมือนเรามีภูมิคุ้มกันอย่างหนึ่ง ถ้าเราผ่านการทำซ้ำมากพอ เมื่อถึงเวลาจริงเราจะตื่นเต้นน้อยลงเพราะเราคุ้นเคยกับข้อสอบที่เราทำซ้ำ ๆ มาแล้ว
4. อย่าลืมพักผ่อนให้เพียงพอ สมองที่พร้อมรับความรู้ และสดใสไม่ใช่สมองที่ใช้งานหนักเกินไป หากเราวางแผนการจัดการที่ดี ทุกอย่างจะพอดี เพิ่มพลังด้วยอาหารบำรุงสมอง ควรทานอาหารที่มีประโยชน์ บางคนเตรียมขนมขบเคี้ยวที่มีแต่แป้งและโซเดียม (Sodium) ไม่เพียงพอกับสมอง มื้อหลักควรเป็นอาหาที่มีประโยชน์ เช่น ข้าวกล้อง ไข่ต้ม ของว่างเป็น ขนมปังโฮลวีท ถั่วชนิดต่างๆ และมีอาหารเสริมเป็น นม แอปเปิ้ล กล้วย โยเกิร์ต เป็นต้น เพื่อช่วยในการทำงานของสมอง ให้พลังงานแก่ร่างกาย เพื่อเตรียมพร้อมสู่การสอบ ยิ่งระดับการศึกษาสูงขึ้น เกิดการแข่งขันกันสูง เด็กนักเรียนในปัจจุบันมีวิธีการจัดการกับการแข่งขันในด้านการเรียนอย่างไร
นักเรียนระดับชั้นมัธยมปลายที่กำลังเข้าสู่มหาวิทยาลัย ควรเตรียมตัวอย่างไรเพื่อที่จะเข้าเรียนในคณะที่ใฝ่ฝัน (ตอบเชิงต้องเรียนดี รักษาเกรดในช่วง ม ปลาย เน้นเรียนติว จะทำให้มีผลต่อการเข้ามหาลัย)
หากถามคำถามว่าตัวเลข 0.1 สำคัญอย่างไร คนที่ตอบคำถามนี้ได้ดีที่สุดคือนักเรียนชั้นมัธยมปลายที่กำลังเตรียมตัวเข้ารั้วมหาวิทยาลัย หลังจากใช้ชีวิตในระดับชั้นมัธยมปลายแล้ว นักเรียนหลายคนเริ่มตั้งเป้าหมายอย่างจริงจังว่าจะเดินไปเส้นทางไหนเพื่อเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย

อะไรคือจุดอ่อนต้องเรียนพิเศษกระตุ้นเสริมความรู้ เป็นสิ่งที่ต้องวางแผนเช่นกัน ใครที่มีผลการเรียนเกรดเป็นไปตามเป้าหมายยังไม่ควรนิ่งนอนใจเพราะการสอบเข้ามหาวิทยาลัยคือสนามแข่งขันใหญ่ ต้องทำเกรดให้ดีที่สุด เพราะเพียง 0.1 อาจทำให้เราพลาดคณะหรือมหาวิทยาลัยที่หวังไว้ได้ Portfolio หรือแฟ้มสะสมผลงาน เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องวางแผนตั้งแต่ก้าวแรกในชีวิตมัธยมปลาย เพราะต้องใช้ยื่น TCAS รอบที่ 1 และประกอบการพิจารณาในการสัมภาษณ์รอบอื่น ๆ ซึ่งกรรมการสอบสัมภาษณ์จะดูว่านักเรียนมีคุณสมบัติหรือเปล่า ทั้งความรู้และความสามารถพิเศษด้านต่าง ๆ หมั่นทบทวนเนื้อหา ทั้งม.4 -ม.6 ให้เร็วและครบถ้วนที่สุด เวลาที่เหลือจะได้เตรียมตัวเน้นเป็นพิเศษ เช่น หากคณะที่จะเข้าเน้นวิทยาศาสตร์ เราอาจเลือกทบทวนเพิ่มและลงเรียนพิเศษ ฝึกทำโจทย์ เก็บเนื้อหาให้ครบถ้วน ถ้าเราวางแผนมาตั้งแต่ ม.4 และ ม.5 เราก็แค่ทบทวนสิ่งที่เรียนมา แต่หากเรามาเร่งตอน ม.6 ต้องทุ่มเวลาทบทวนทั้งหมด สุดท้ายนักเรียนต้องดูสถิติคะแนนของคณะที่อยากเข้า เราจะได้รู้ว่าเราต้องทำคะแนนสอบมากน้อยอย่างไรในแต่ละวิชา ถึงจะมีโอกาสให้ได้เข้าเรียนคณะที่ตั้งใจไว้ ในมหาวิทยาลัยในฝันที่เราต้องการ เช่น คณะวิทยาศาสตร์ สัดส่วนคะแนน : GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% , PAT1 10% และ PAT2 30% คะแนนเฉลี่ยประมาณ : 15,000 คะแนนขึ้นไป คะแนนที่นักเรียน ควรทำได้ : – GAT 200 ขึ้นไป – PAT1 140 ขึ้นไป – PAT2 140 ขึ้นไป
ระดับการศึกษาระดับใดที่มีเด็กนักเรียนเรียนพิเศษเยอะที่สุด เพราะเหตุใด
ผลวิจัยของสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งพบว่า จากจำนวนผู้ลงทะเบียนเรียนพิเศษทั้งหมดสามารถแยกออกเป็นเปอร์เซ็นต์ตามระดับการเรียนได้ดังนี้ ระดับมัธยมปลาย 17 % , ระดับประถมปลาย 16 % , ระดับประถมต้น 16 % , ระดับมัธยมต้น 12 % , ระดับอุดมศึกษา 10 % , และระดับอนุบาล 7 %

เราต้องยอมรับความจริงกันก่อนว่า ในทุก ๆ ระดับการศึกษามีการแข่งขันกันสูง ตั้งแต่โรงเรียนอนุบาลไปจนถึงการเข้ามหาวิทยาลัย แม้ในประเทศไทยเราจะสนับสนุนและกระจายการศึกษาไปทุก ๆ พื้นที่ แต่ด้วยการแข่งขันที่สูงขึ้นในสมัยนี้ผลักดันให้นักเรียนหลาย ๆ คนตัดสินใจเรียนพิเศษ เพราะปัจจุบันเด็กไม่ได้แข่งขันแต่ในห้องเรียนแล้ว ต้องเตรียมตัว entrance เตรียมสอบตรง สอบโควตาอีก พ่อแม่จะมั่นใจได้ยังไงว่าลูกจะสู้นักเรียนโรงเรียนอื่นได้ เพราะเป็นที่รู้กันดีว่าแต่ละโรงเรียนมีคุณภาพและความสามารถในการผลิตนักเรียนไม่เท่ากัน และความสามารถของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนสามารถทำความเข้าใจได้จากห้องเรียนและอีกหลาย ๆ คนต้อง ทบทวนหาโจทย์เพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น ในทุกๆ ระดับความรู้เราสามารถเลือกคุณครูหรือสถาบันที่เราจะเรียนพิเศษได้ หากสังเกตเปอร์เซ็นต์ของจำนวนนักเรียน ม. ปลาย 17 % , ประถมต้น และประถมปลาย 16 % ทั้งสามช่วงเวลานี้มีความเหมือนและแตกต่างกัน ระดับประถมเป็นการปูพื้นฐานเมื่อเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษา หากเป็นในกรุงเทพฯ เป้าหมายอยู่ที่โรงเรียนที่มีชื่อเสียง ส่วนต่างจังหวัด นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการเข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัด ส่วนระดับมัธยมปลาย เป็นที่รู้กันว่า ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นการสอบที่ยาก และยิ่งยากหากเป้าหมายของนักเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยชั้นนำ คณะที่ต้องการนักเรียนที่มีความชำนาญและสนใจเป็นพิเศษ

ผลสำรวจของกรุงเทพฯ โพลชี้ว่า นักเรียน ม.ปลาย 60.2% ต้องเรียนพิเศษ และ 64.4% บอกระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปัจจุบันเหมาะสมดีอยู่แล้ว โดย 55.7% จะเลือกคณะที่ชอบโดยไม่สนใจเรื่องสถาบัน สุดท้ายการเรียนพิเศษจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้นักเรียนได้รู้วิธีการทำข้อสอบมากขึ้น