สอนหลักสูตรการศึกษา ใน สมุทรสาคร

สอนหลักสูตรการศึกษา ใน สมุทรสาคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

Saijai
ยังไม่มีข้อมูลการรีวิว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา สอนหลักสูตรการศึกษา

ใส่ใจมีบริการติวเตอร์ในระดับชั้นใดบ้าง (อนุบาล-มหาวิทยาลัย)
เมื่อจุดประสงค์ของการเรียนพิเศษกับติวเตอร์คือการเรียนเพิ่มเติมนอกห้องเรียน ฝึกทักษะจากการทำซ้ำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่เราได้วางไว้ ไม่ว่าจะเป็นการสอบเข้าไปเรียนในโรงเรียนหรือสถาบันที่ต้องการ เพื่อผลคะแนนสอบและเกรดเฉลี่ยในห้องเรียน การสอบ entrance หรือแม้แต่การทำงานก็ตาม
ใส่ใจ (Saijai) มีบริการเพื่อตอบโจทย์ ที่ตรงกับทุกระดับชั้นการเรียน

ระดับชั้นอนุบาล ฝึกฝนให้เหมาะสมตามพัฒนาการตามวัย ฝึกฝนกล้ามเนื้อมือ ความสัมพันธ์ของมือและสายตา เทคนิคที่กระตุ้น IQ และ EQ ปัญหาเชาวน์ เน้นทักษะ เตรียมความพร้อมขึ้นประถมศึกษา

ระดับประถมต้น (ป.1 ป.2 ป.3) ฝึกแก้โจทย์ปัญหาง่าย ๆ ทบทวนเพิ่มเติมจากโรงเรียน เพิ่มเทคนิคในการทำข้อสอบระดับพื้นฐาน การเรียนการสอนเข้มข้นขึ้นแต่แฝงไปด้วยความสนุก เช่น มีการทดลองวิทยาศาสตร์ที่สนุกสนานในวิชาวิทยาศาสตร์ เรียนเพื่อเป็นการปูพื้นฐานของทุกวิชาให้แน่น ติวสอบเข้า ม.1 เพิ่มทักษะ การอ่าน การเขียน

ระดับประถมปลาย (ป.4 ป.5 ป.6) เทคนิคการเรียน การทำโจทย์ที่เริ่มยากและซับซ้อนขึ้น และการติวการสอนเริ่มเข้มข้นขึ้น ติวเตอร์ลงเนื้อหาเฉพาะเจาะจงในรายวิชามากขึ้น มีการคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงเหตุผลได้มากขึ้นทั้งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมภาษาต่างประเทศ ติวสอบเข้าและฝึกทักษะการทำข้อสอบ เตรียมความพร้อมขึ้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ระดับมัธยมต้น (ม.1 ม.2 ม.3) ฝึกทักษะ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา ภาษาต่างประเทศ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ติวสอบ ติวข้อสอบ O-net ม.3 ติวสอบเข้าโรงเรียนเข้า ม.4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สวนกุหลาบ เทพศิรินทร์ อัสสัมชัญ สตรีวิทยา บดินทรเดชา สามเสน เป็นต้น เพิ่มทักษะ ตะลุยโจทย์ ฝึกทำข้อสอบ แนะแนวเข้า ม.4

ระดับมัธยมปลาย (ม.4 ม.5 ม.6) ดูแลการบ้านทั่วไป คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ (เคมี ฟิสิกส์ ชีวะ) ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม ภาษาต่างประเทศ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี ติวสอบ ติวข้อสอบ O-net ม.6 วิชาคณิต วิทย์ (เคมี ฟิสิกส์ ชีวะ) Gat เชื่อมโยง ภาษาอังกฤษ Pat 1 2 3 4 5 6 7 ข้อสอบวัดระดับ CU-TEP CU-AAT TU-GET SAT Smart1 Smart2 ติวสอบตรงวิชาสามัญ ติวสอบเข้ามหาวิทยาลัย จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ มหิดล ศิลปากร มศว. เป็นต้น ติวข้อสอบชิงทุนต่างๆ TOEIC TOEFL เพิ่มทักษะ ตะลุยโจทย์ หัดทำข้อสอบ แนะแนวเข้ามหาวิทยาลัย

ระดับมหาวิทยาลัย คณิตศาสตร์ แคลคูลัส ไฟแนนซ์ บัญชี เศรษฐศาสตร์ สถิติ วิทยาศาสตร์ วิศวะ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ สังคม กฎหมาย ภาษาต่างประเทศ ภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เยอรมัน เกาหลี ฝรั่งเศส Conversation Listening & Speaking Reading Writing Essay ติวข้อสอบ ติวข้อสอบเพื่อเรียนต่อ ป.โท ป.เอก TOEIC TOEFL
การแข่งกันทางด้านการเรียนในระดับการศึกษาต่าง ๆ มีผลอย่างไร และนักเรียนควรรับมืออย่างไร
เนื่องจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ทำให้มีการแข่งขันทางการเรียนในระดับการศึกษาต่าง ๆ มากขึ้น สภาพแวดล้อมรอบจากโรงเรียนและครอบครัวของนักเรียน อาจเป็นตัวผลักดันให้เด็กต้องแข่งขันกันเรียน เช่น ความคาดหวังจากคนในครอบครัว ส่งผลให้นักเรียนทุ่มเทและพยายามเรียนให้เป็นลำดับต้น ๆ ของชั้นเรียน อีกหนึ่งปัจจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับการแข่งขันด้านการเรียน คือความเหลื่อมล้ำด้านฐานะของผู้เรียน เพราะคนที่มีต้นทุนหรือปัจจัยที่เอื้ออำนวยและพร้อมกว่า จะได้รับโอกาส ด้านการศึกษามากกว่าคนที่มีปัจจัยน้อย ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขัน สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในเรื่องของการแข่งขันทางการเรียนคือการผลวัดผลประเมิน ซึ่งอาจมาจากการสอบการประเมินผลจากงานที่ได้รับมอบหมาย เป็นต้น ผลของการแข่งขันด้านการเรียนสามารถส่งผลได้ทั้งด้านบวกและด้านลบต่อตัวนักเรียน ผลด้านบวกเช่น ผู้เรียนมีความตั้งใจความกระตือรือร้น ขยัน พร้อมเรียนรู้ตลอดเวลา ส่วนด้านลบเช่นความกดดัน ความคาดหวังที่มากขึ้น ทั้งจากตัวนักเรียนเอง และตัวคนรอบข้าง หากนักเรียนทำไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ จะเกิดความเครียด ความกดดันต่าง ๆ ตามมา อาจร้ายแรงถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้า

ใส่ใจมีคำแนะนำที่จะช่วยให้นักเรียนรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้ได้ดังต่อไปนี้ค่ะ

1.อย่ากดดันตัวเองและคาดหวังมากเกินไป แต่ให้พยายามทำสุดความสามารถและยอมรับในผลที่ตามมา หากกดดันตัวเองจนเกินไปจะกลายเป็นความเครียดสะสมและส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตในระยะยาวได้
2.การวางแผน วางเป้าหมายที่เป็นไปได้ วิธีนี้จะช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ และหากทำเป็นประจำในอนาคตก็จะมีความชำนาญเพิ่มขึ้น เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
3.พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ อยู่สม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยให้ นักเรียนสามารถพัฒนาความโดดเด่นของตัวเองได้มากขึ้น ซึ่งเป็นจุดแข็งด้านการเรียนได้
4.ไม่ต้องเปรียบเทียบ เพราะการแข่งขัน เกิดจากการเปรียบเทียบ ยิ่งเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่นมากเท่าไร ยิ่งทำให้ตัวเองกดดันขึ้นเท่านั้น
เพราะเหตุใดนักเรียนในระดับบชั้นมัธยมปลายจะต้องรักษาเกรดเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ระะดับมหาวิทยาลัย และนักเรียนควรเตรียมตัวอย่างไรเพื่อเข้าเรียนในคณะที่ชอบ
ผลการเรียนหรือที่เราเรียกกันว่าเกรดเฉลี่ยในระดับมัธยมปลายมีความสำคัญมากเพราะใช้สอบเข้ามหาวิทยาลัย!!!! ถ้าเป็นสอบตรงบางมหาวิทยาลัยกำหนดเกรดเฉลี่ยขั้นต่ำไว้ เช่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) หรือคณะวิทยาศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่พิจารณาเกรดเฉลี่ยขั้นต่ำในการรับตรง ส่วนมหาวิทยาลัยมหิดลนอกจากพิจารณาเกรดเฉลี่ยขั้นต่ำในการรับต้องและต้องใช้ในการคิดคะแนนในรอบแอดมิชชั่นอีกด้วย ดังนั้นน้อง ๆ มัธยมปลายควรรักษาเกรดเฉลี่ยให้อยู่ในระดับที่ดี หรือควรเกิน 3.00 ไว้ การหาข้อมูลว่าคณะที่สนใจจะสมัคร เปิด TCAS (Thai University Center Admission System) โดยเฉพาะTCASรอบ 1 2 และ 4 ที่ใช้เกรดเฉลี่ยคิดค่าน้ำหนักคะแนน หรือเป็นเกณฑ์การพิจารณาว่าจะรับหรือไม่รับเข้าเรียน รอบไหนบ้าง ใช้คะแนนสอบอะไรบ้าง และมีเกณฑ์ขั้นต่ำ หรือมีค่าน้ำหนักคะแนนเท่าไหร่บ้าง ต้องดูคะแนนสูงสุด – ต่ำสุดของปีก่อน ๆ เป็นสถิติมากน้อยแค่ไหน เราต้องทำให้ได้คะแนนประมาณไหนถึงจะสอบติด

เพื่อเป็นแนวทางในการยื่นคะแนนและเตรียมตัวสอบ สำหรับเด็ก ม.4 – ม.5 ทำการทบทวนให้เข้าใจ ทำเกรดให้ได้ดีที่สุด และสำหรับเด็ก ม.6 สรุปที่เรียนมาและวางแผนดูคะแนน การจัดระเบียบชีวิตทำให้เรามีวินัยมากขึ้นและสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้สำเร็จ เช่น อ่านหนังสือวิชาไหน อ่านวิชาละกี่ชั่วโมง ฝึกทำโจทย์หรือข้อสอบวันไหนบ้าง เพราะถ้าเรามีความขยันและตั้งใจพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้น ความสำเร็จก็อยู่อีกไม่ไกล ไม่ควรหักโหมอ่านหนังสือ หรือติวอย่างหนักโดยไม่หยุดพักเลย อาจทำให้เครียดมากเกินไป ต้องแบ่งเวลาให้ตัวเอง และทำให้สมองปลอดโปร่ง ใช้เวลาร่วมกับครอบครัว / เพื่อน หรือทำกิจกรรมที่ชอบ
ระดับการศึกษาระดับใดที่มีเด็กนักเรียนเรียนพิเศษเยอะที่สุด เพราะเหตุใด
ผลวิจัยของสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งพบว่า จากจำนวนผู้ลงทะเบียนเรียนพิเศษทั้งหมดสามารถแยกออกเป็นเปอร์เซ็นต์ตามระดับการเรียนได้ดังนี้ ระดับมัธยมปลาย 17 % , ระดับประถมปลาย 16 % , ระดับประถมต้น 16 % , ระดับมัธยมต้น 12 % , ระดับอุดมศึกษา 10 % , และระดับอนุบาล 7 %

เราต้องยอมรับความจริงกันก่อนว่า ในทุก ๆ ระดับการศึกษามีการแข่งขันกันสูง ตั้งแต่โรงเรียนอนุบาลไปจนถึงการเข้ามหาวิทยาลัย แม้ในประเทศไทยเราจะสนับสนุนและกระจายการศึกษาไปทุก ๆ พื้นที่ แต่ด้วยการแข่งขันที่สูงขึ้นในสมัยนี้ผลักดันให้นักเรียนหลาย ๆ คนตัดสินใจเรียนพิเศษ เพราะปัจจุบันเด็กไม่ได้แข่งขันแต่ในห้องเรียนแล้ว ต้องเตรียมตัว entrance เตรียมสอบตรง สอบโควตาอีก พ่อแม่จะมั่นใจได้ยังไงว่าลูกจะสู้นักเรียนโรงเรียนอื่นได้ เพราะเป็นที่รู้กันดีว่าแต่ละโรงเรียนมีคุณภาพและความสามารถในการผลิตนักเรียนไม่เท่ากัน และความสามารถของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนสามารถทำความเข้าใจได้จากห้องเรียนและอีกหลาย ๆ คนต้อง ทบทวนหาโจทย์เพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น ในทุกๆ ระดับความรู้เราสามารถเลือกคุณครูหรือสถาบันที่เราจะเรียนพิเศษได้ หากสังเกตเปอร์เซ็นต์ของจำนวนนักเรียน ม. ปลาย 17 % , ประถมต้น และประถมปลาย 16 % ทั้งสามช่วงเวลานี้มีความเหมือนและแตกต่างกัน ระดับประถมเป็นการปูพื้นฐานเมื่อเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษา หากเป็นในกรุงเทพฯ เป้าหมายอยู่ที่โรงเรียนที่มีชื่อเสียง ส่วนต่างจังหวัด นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการเข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัด ส่วนระดับมัธยมปลาย เป็นที่รู้กันว่า ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นการสอบที่ยาก และยิ่งยากหากเป้าหมายของนักเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยชั้นนำ คณะที่ต้องการนักเรียนที่มีความชำนาญและสนใจเป็นพิเศษ

ผลสำรวจของกรุงเทพฯ โพลชี้ว่า นักเรียน ม.ปลาย 60.2% ต้องเรียนพิเศษ และ 64.4% บอกระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปัจจุบันเหมาะสมดีอยู่แล้ว โดย 55.7% จะเลือกคณะที่ชอบโดยไม่สนใจเรื่องสถาบัน สุดท้ายการเรียนพิเศษจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้นักเรียนได้รู้วิธีการทำข้อสอบมากขึ้น