วิธีการทำงาน
ติดต่อเรา
ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ
แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ
เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ
ยืนยันการจองของคุณ
เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA
ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ
รีวิวล่าสุด
คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ช่างซ่อมบำรุง
1.ช่างซ่อมบำรุงควรเป็นคนที่ช่างสังเกต และช่างจดจำ รู้จักการคิดปรับปรุงแก้ไขดัดแปลงสิ่งต่างๆ ให้เกิดประโยชน์
2.ช่างจะต้องมีนิสัยรักในการทำงาน มีความรับผิดชอบ ทำงานด้วยความปลอดภัย ไม่ประมาท และระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่อยู่เสมอ
3.ช่างจะต้องมีความรู้ความสามารถสูงในสาขาอาชีพของตนเอง และมีความรอบรู้ในเชิงช่างทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
4.ช่างนั้นจะต้องมีทักษะความสามารถทางช่าง มีความรู้ ความแม่นยำในเครื่องจักรเครื่องมือและอุปกรณ์ รู้จักวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานของเครื่องจักรเครื่องมือ และยังคงพัฒนาทักษะทางการช่างให้มีความเจริญกก้าวหน้า
5.ความเชื่อมั่นในตนเองเป็นประโยชน์ต่อช่างซ่อมบำรุงมาก ความกล้าที่จะตัดสินใจและมุ่งมั่นที่จะทำงานให้ประสบผลสำเร็จ และจะต้องคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นตามมาอีกด้วย
6.การมีบุคลิกภาพและมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับช่างซ่อมบำรุง มันจะเป็นการเพิ่มเสน่ห์ให้กับตัวช่างและลูกค้าที่พบเจอ เพื่อทำให้การทำงานร่วมกันนั้นดำเนินการร่วมกันได้เป็นอย่างดี และจะทำให้การประกอบอาชีพมีโอกาสสำเร็จมากยิ่งขึ้น
และสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการทำงานไม่ว่าจะเป็นช่างซ่อมบำรุงหรืออาชีพอื่น ๆ นั่นคือความซื่อสัตย์ ดังสำนวน “ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน” ดังนั้นเราจึงจะต้องทำงานด้วยความซื่อสัตย์ ไม่เอารัดเอาเปรียบลูกค้า และมีมาตรฐานในการทำงานให้มีคุณภาพดีที่สุดเสมอต้นเสมอปลาย ปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด เพื่อที่ลูกค้าจะได้ไว้วางใจให้เราทำงานในครั้งถัดไป
- ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ควรเรียกช่างซ่อมบำรุงผู้ชำนาญการมาทำจะปลอดภัยกว่า เพราะเราทำเองบางครั้งอาจเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิต และสูญเสียทรัพย์สินได้
- บางครั้งปัญหาเล็กๆ อย่างหลอดไฟที่เคยสว่างอยู่ดีๆ เกิดกะพริบๆ มีเสียงดังขณะเปิด หรือกว่าจะสว่างก็ใช้เวลานาน หนักสุดคือ ดับไปเลย อาการเหล่านี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเป็นที่บัลลาสต์เสีย แกนหลวม หลอดไฟขาด หรือเสื่อมสภาพ หลอดไฟก็มีหลายแบบทั้งหลอดเกลียว แบบขาสปริง เราควรตรวจสอบให้ดีก่อนที่จะนำมาใช้แล้ว ในกรณีที่หลอดไฟนั้นอยู่สูง ควรจะใช้บันไดไม่ควรใช้เก้าอี้ เพราะการใช้เก้าอาจทำให้เกิดอันตรายได้
- การเปลี่ยนก๊อกน้ำ การยิงซิลิโคน การเจาะผนัง การทะลวงท่อน้ำนั้นต้องใช้เครื่องมือมากมายในการแก้ปัญหา
- ส่วนของช่องสำหรับการซ่อมบำรุงอาจเป็นสิ่งที่ถูกละเลยมากที่สุดในบ้าน โดยเฉพาะระบบสายไฟบนเพดานที่มีฝ้าปิดทึบทั้งหมด หากบ้านที่คุณอยู่ไม่มีช่องเปิดฝ้า แล้วมีหนูหาทางขึ้นฝ้าไปกัดสายไฟจนขาด ก็จะเป็นเรื่องลำบากมากในการแก้ไขสายไฟให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น บ้านทุกหลังจำเป็นต้องมีช่องสำหรับซ่อมบำรุงสายไฟบนฝ้าเผื่อไว้ด้วย โดยเฉพาะชั้นล่างหรือชั้นที่ไม่ได้ติดหลังคา ส่วนชั้นที่ติดหลังคาจะมีช่องปีนขึ้นฝ้าอยู่ ถ้าไม่มั่นใจเราก็สามารถเรียกช่างซ่อมบำรุงมาตรวจดูได้
- ช่างทาสี ท่านสามารถหาช่างทาสีให้กับบ้านใหม่หรือห้องของท่านได้จาก SAIJAI การทาสีผนังบ้านเก่ากับบ้านใหม่ที่เพิ่งสร้างเสร็จ จะมีวิธีการเตรียมพื้นผิว และใช้ผลิตภัณฑ์ทาสีที่แตกต่างกัน รวมถึงการทาสีภายในและภายนอกนั้นจะใช้สีที่มีคุณสมบัติเฉพาะที่แตกต่างกัน ถึงแม้ว่านวัตกรรมสมัยใหม่จะมีทางเลือกสีที่ใช้ได้ทั้งภายนอกและภายใน แต่ช่างทาสีก็จะแนะนำว่าให้เลือกใช้สีที่เหมาะสมกับพื้นที่นั้น ๆ จะดีที่สุด
- ช่างปูกระเบื้อง ถ้าพูดถึงงานปูกระเบื้องไม่ว่าจะเป็นในส่วนของพื้นหรือผนังนั้นก็มีขั้นตอนและรายละเอียดมากมาย ตั้งแต่การเลือกใช้เทคนิควิธีการปูที่เหมาะสมกับชนิดกระเบื้อง และยังต้องใช้ความชำนาญของช่างปูกระเบื้อง และความประณีตละเอียดอ่อนของช่างปูกระเบื้องอีกด้วย
- ช่างฝ้าเพดาน ฝ้าเพดานบ้านก็เป็นอีกอย่างที่จะทำให้บ้านสวย และช่วยเก็บงานโครงสร้างใต้หลังคาให้เรียบร้อย นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้อีกด้วย
- คนดูแลสวน การที่สวนในรั้วบ้านของเราจะสวยงามได้นั้น จะต้องมีความรู้พื้นฐานไม่ใช่แค่การทำให้จบ ๆ ไป และไม่ใช่แค่การทำให้สวยงามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะแค่ความสวยงามอย่างเดียวนั้นไม่พอ เราจะต้องดูแลใส่ใจเพื่อที่สวนของเรานั้นจะได้อยู่ได้อย่างยาวนาน
- ช่างดูแลสระว่ายน้ำ สระว่ายน้ำที่ได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ จะมีคุณภาพน้ำที่ใสสะอาด ปราศจากคราบตะกอน สร้างความมั่นใจในการใช้สระว่ายน้ำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
อย่าเพิ่งจ้างช่างต่อเติมบ้าน หากคุณยังไม่รู้สิ่งนี้
1. ตรวจสอบประวัติและผลงานของช่าง เลือกใช้บริการจากบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ มีประวัติในการทำงานที่ดี และสอบถามผู้ที่เคยใช้บริการมาก่อน
2. ช่างจะต้องมีความชำนาญงาน เนื่องจากผู้รับเหมาแต่ละรายจะมีประสบการณ์ในการสร้างสิ่งปลูกสร้างแตกต่างกัน เราควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าช่างที่เราต้องการจะจ้างนั้นมีประสบการณ์ในสิ่งที่เราต้องการหรือไม่ เพราะหากเราเลือกช่างที่ไม่มีความถนัดในสิ่งที่เราต้องการ อาจมีปัญหาระหว่างก่อสร้างตามมาได้
3. ดูความพร้อมของช่าง เลือกช่างที่มีความพร้อมในการทำงานอย่างเต็มที่ เพราะหากช่างนั้นมีงานที่เยอะอยู่แล้วอาจทำให้ช่างไม่สามารถใส่ใจทุกงานได้อย่างเต็มที่ อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมา เช่นงานเสร็จไม่ตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้
4. การคำนึงถึงราคา เลือกช่างที่ให้ราคาอยู่ในระดับกลาง ๆ ไม่แพงหรือถูกจนเกินไป คิดราคาตามเนื้องานและค่าแรงเพราะหากราคาถูกเกินไปอาจได้วัสดุก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน
5. ในการต่อเติมหรือสร้างบ้าน จำเป็นที่จะต้องมีสัญญาจ้างเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหากช่างทำออกไม่เหมือนกับที่ตกลงกันไว้หรือทิ้งงาน
6. ติดตามงานอย่างสม่ำเสมอ หลังจากตกลงว่าจ้างแล้วผู้จ้างควรติดตามงานจากช่างอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันงานไม่ตรงตามที่ต้องการและสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันที
7. ตรวจงานก่อนจ่ายเงิน ควรที่จะตรวจงานก่อนจ่ายเงินเพื่อที่จะได้ทราบว่างานนั้นเป็นไปตามที่ได้ตกลงกันไว้หรือไม่ เพราะบางครั้งจ่ายไปแล้วแต่งานยังไม่เสร็จสมบูรณ์ช่างอาจทิ้งงานไปได้
สิ่งที่ควรรู้ก่อนต่อเติมบ้าน
1. การตรวจสอบโครงสร้างเดิมของบ้าน หากมองข้ามในการตรวจสอบโครงสร้างเดิมนั้น อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้ เพราะพื้นที่โดยรอบบ้านบางถูกสร้างบนที่ดินที่อาจเคยเป็นแหล่งน้ำ พื้นดินอาจเกิดการทรุดตัวเมื่ออาศัยอยู่ได้สักระยะ ดังนั้นการวางเสาเข็ม เพื่อป้องกันการทรุดตัวเมื่อต่อเติมส่วนต่าง ๆ ของบ้าน
2. แยกโครงสร้างใหม่ออกจากโครงสร้างเดิม เป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแยกตัวระหว่างตัวโครงสร้างบ้านเดิมกับส่วนต่อเติมออกมา มักใช้เสาเข็มที่มีความยาวน้อยกว่าตัวบ้าน
3. คำนวณการรับน้ำหนักของโครงสร้างบ้านให้เหมาะสม คานเดิมที่มีอยู่ส่วนใหญ่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับน้ำหนักสำหรับการต่อเติมในภายหลัง ไม่ควรเชื่อมคานจากคานเดิม แต่ควรสร้างคานใหม่เพื่อรองรับและเพื่อป้องกันไม่ให้โครงสร้างเดิมของบ้านเกิดความเสียหาย
4. ศึกษาเรื่องกฎหมาย ข้อจำกัดในการต่อเติมที่ควรรู้ คือ การเว้นระยะห่างระหว่างอาคารที่ก่อสร้างกับแนวเขตพื้นที่ดินข้างเคียง เพื่อให้ง่ายต่อการซ่อมแซม ป้องกันความปลอดภัย หากต่อเติมครัวหลังบ้านโดยที่มีหน้าต่าง จะต้องเว้นระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียง 2 เมตร แต่หากเป็นผนังทึบมีกันสาดที่เจ้าของบ้านไม่ได้ใช้งาน ต้องเว้น 0.50 เมตร
เครื่องทำน้ำอุ่นไม่ร้อนเกิดจากอะไร
- การติดตั้งผิดพลาดหรือไม่ได้มาตรฐาน หากเครื่องทำน้ำอุ่นของเราไม่ร้อนตั้งแต่เพิ่งติดตั้งหรือไม่ร้อนหลังจากใช้งานได้ไม่นาน อาจเกิดจากการติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐานหรือเครื่องทำน้ำอุ่นนั้นไม่ได้มาตรฐาน ให้ติดต่อช่างมาตรวจสอบอย่างละเอียด หากสาเหตุมาจากการที่เครื่องทำน้ำอุ่นไม่ได้มาตรฐานและยังอยู่ในระยะเวลารับประกันก็สามารถทำเรื่องเปลี่ยนสินค้าได้เลย
- ขดลวดภายในเครื่องร้อนจนละลาย ขดลวดเกิดความร้อนจัดจนละลาย ทำให้ระบบภายในตัวเครื่องไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรืออาจเกิดจากฟิวส์ด้านในส่วนที่ควบคุมตัวปรับอุณหภูมิขาดได้เช่นกัน ในกรณีนี้ควรเรียกช่างซ่อมให้มาตรวจสอบเครื่องทำน้ำอุ่นและทำการแก้ไขดีกว่า
- ระบบทำความร้อนมีปัญหา สังเกตได้จากการที่เปิดแล้วมีไฟขึ้นแต่ไม่มีความร้อนออกมาเมื่อเปิดน้ำ อาจเป็นเพราะตัวควบคุมไฟในการปรับความร้อนมีปัญหา และอาจเป็นที่ตัวกระเปาะตรวจจับความดันน้ำรั่วร่วมด้วย ให้ติดต่อช่างซ่อมมาแก้ไขเพราะเป็นจุดที่ค่อนข้างอันตราย
- เทอร์โมสตัททำงานผิดปกติ เทอร์โมสตัทที่ทำหน้าที่ตัดความร้อนเมื่อถึงจุดที่เป็นอันตรายตำแหน่งมักจะอยู่ข้างหม้อต้มหรือขดลวด โดยสาเหตุอาจเกิดจากการที่มีน้ำค้างอยู่ในหม้อต้มนานจนเกินไปหรืออาจเกิดจากการติดตั้งผิดแบบที่ไม่ได้ต่อสายน้ำเข้า แก้ไขได้โดยการซื้อเทอร์โมสตัทมาเปลี่ยนใหม่ หรือเรียกช่างซ่อมมาแก้ไขหากไม่มั่นใจที่จะทำเอง
- ขั้วแม่เหล็กภายในเครื่องสลับกัน สังเกตได้จากการที่ปรับเครื่องทำน้ำอุ่นให้สูงแล้วแต่น้ำยิ่งเย็นกว่าเดิม เพราะจุกแม่เหล็กภายในเครื่องที่มีหน้าที่เปิดและปิดกระแสไฟเพื่อทำความร้อน เมื่อมีปัญหาทำให้ขั้วแม่เหล็กภายในเครื่องเกิดสลับกัน สามารถแก้ไขได้โดยการเปลี่ยนอะไหล่
SAIJAI "ใส่ใจ" เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการดูแลเด็ก ดูแลผู้สูงอายุ ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ แม่บ้าน/ทำความสะอาด คนขับรถ ดูแลสัตว์เลี้ยง เสริมสวย และช่างซ่อมบำรุงเท่านั้น "SAIJAI" ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการหรือจ้างบุคคลใดให้บริการ ไม่มีสถานะเป็นนายจ้าง ผู้ว่าจ้าง ตัวแทน ผู้ร่วมทุน อย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเป็นผู้รับจ้างอิสระ ซึ่งผู้รับบริการเป็นผู้ว่าจ้าง คุณภาพการให้บริการเป็นความรับผิดชอบทั้งสิ้นของผู้ให้บริการเอง การเรียกใช้บริการจากผู้ให้บริการ อาจมีความเสี่ยง ซึ่งผู้รับบริการรับทราบและยินดีใช้บริการ บนความเสี่ยงใด ๆ ในความรับผิดชอบของตัวท่านเอง