ดูแลเด็ก ใน วังทองหลาง, กรุงเทพมหานคร

ดูแลเด็ก ใน วังทองหลาง, กรุงเทพมหานคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

Piyatida Dumluck
Piyatida Dumluck
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี
Saijai อายุ 39 ปี
ฉันทนา สิทธิ
ฉันทนา สิทธิ
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี
Saijai อายุ 45 ปี

เป็นคนง่ายๆรักเด็กใจเย็นไม่เคยโกรธหรือโมโหอะไรง่ายๆนอนน้อยทําได้หมดแต่ไม่ชอบจู้จี้

แสดงเพิ่มเติม

มีความอดทน ขยัน รักความสะอาด ใจเย็น

แสดงเพิ่มเติม
วิไล นันต๊ะภาพ
วิไล นันต๊ะภาพ
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี
Saijai อายุ 47 ปี
กัญญาภัทร บุตรพรม
กัญญาภัทร บุตรพรม
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

สวัสดีค่ะ ชือ ภัทรค่ะ อายุ 52 ถนัดดูแลเด็กแรกคลอด คุณแม่หลังคลอดค่ะ นวดเด็กแรกเล็กได้ ช้วยให้เด็ก อารมณ์ดีไม่งอแง ช่วยระบบขับถ่าย เลือดลมไหลเวียนดี ร่างกายแข็งแรง.นวดประคบสมุนไพร คุณแม่หลังคลอดช่วยในการอยู่ไฟสมัยโบราณ ทำให้มดลูกเข้าอู่ไว้ ร่างกายแข็งแรง รับงานได้ทั้งในและต่างประเทศค่ะ รับดูแลทั้งคนไทยและต่างชาติ

แสดงเพิ่มเติม
ทิพวรรณ์ ราศรี
ทิพวรรณ์ ราศรี
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี
Saijai อายุ 26 ปี

เป็นคนอัธยาศัยดีค่ะ ใจเย็นค่ะชอบเล่นกับเด็ก ส่งเสริมพัฒนาการของน้องได้ค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
วริวรรณ อยู่ไพร
วริวรรณ อยู่ไพร
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 36 ปี
เสาวณีย์ เขาพระจันทร์
เสาวณีย์ เขาพระจันทร์
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี
Saijai อายุ 38 ปี

ใส่ใจดูแลเหมือนลูกเจ้าของเองใจเย็น ดูแลได้ตลอด

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

ดิฉันกับสามีทำงานประจำทั้งคู่ค่ะ ไม่มีใครคอยอยู่ดูแลลูกที่บ้านเลย ลูกติดนิสัยชอบอยู่แต่ในบ้านและซนกับพี่เลี้ยงมาก จนพี่เลี้ยงหลาย ๆ คนทนไม่ไหวถึงกับขอลาออกเอง โชคดีที่ได้เจอพี่เลี้ยงคนนี้บนเว็บใส่ใจ พี่ลี้ยงเข้ากับน้องได้ดีค่ะ
Saijai
วิลาภรณ์ สุทธิรักษ์
3 ปีที่แล้ว
ลาคลอดได้แค่ 3 เดือน ค่ะ ต้องกลับไปทำงานต่อ จะฝากลูกไว้กับยายก็กลัวแกจะดูไม่ไหว เลยลองหาพี่เลี้ยงจากเว็บใส่ใจดู ตอนแรกก็กังวลอยู่เหมือนกันค่ะ ไม่กล้าทิ้งลูกไว้กับพี่เลี้ยง แต่ก็วางใจอย่างนึงว่าพี่เลี้ยงมีประสบการณ์ ตอนนี้ทุกอย่างลงตัว โอเคมาก ๆ ค่ะ
Saijai
สุชาดา มิ่งมงคล
3 ปีที่แล้ว
เป็นครั้งแรกที่เลือกใช้บริการพี่เลี้ยงเด็กในเว็บใส่ใจ ตอนแรกคิดว่าจะยุ่งยากในจอง แต่พอเข้าไปในเว็บไซต์ เว็บไซต์ใช้งานง่ายมาก ๆ มีความสะดวกในการใช้งาน อีกทั้งยังมี Guideline ให้อีกด้วย และขั้นตอนการนัดสัมภาษณ์พี่เลี้ยงเด็กก็ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิดเพราะมีตัวเลือกให้เลือกด้วยว่าเราสะดวกสัมภาษณ์ทางไหน เหมาะแก่คนที่ไม่มีเวลาอย่างเราจริง ๆ
Saijai
สุริยา ดำรงรักษ์
4 ปีที่แล้ว
ลองค้นหาบริการพี่เลี้ยงเด็กอยู่หลายที่ จนได้มาเจอเว็บใส่ใจ ลองเข้าไปดู รู้สึกว่าทุกอย่างเป็นไปอย่างมีขั้นตอน เริ่มตั้งแต่ให้เลือกพี่เลี้ยง ขั้นตอนนัดสัมภาษณ์ รายละเอียดและคำแนะนำต่าง ๆ พี่เลี้ยงที่ได้มาก็ตรงตามความต้องการสุด ๆ รู้สึกประทับใจมาก
Saijai
ณัฐณิชา ทิวาสวัสดิ์
4 ปีที่แล้ว
อยู่ ๆ พี่เลี้ยงคนเก่าลาออกโดยไม่แจ้งล่วงหน้าต้องรีบหาพี่เลี้ยงใหม่แบบเร่งด่วน ไม่รู้จะทำยังไง บังเอิญมาเจอเว็บใส่ใจ หาพี่เลี้ยงคนใหม่ได้ง่ายมาก ๆ แถมได้คนดี มีประสบการณ์ ทำงานคล่อง เยี่ยมเลยค่ะ ประทับใจสุด ที่สำคัญคุณแม่สบายใจได้คนมาทำงานทันที
Saijai
ภัทรา กิจบำรุง
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ดูแลเด็ก

พี่เลี้ยงเด็กส่วนตัวหรือเนอสเซอรี่ (Nursery) อะไรคือคำตอบสำหรับคุณพ่อคุณแม่ยุคนี้
ข้อดีของการให้พี่เลี้ยงดูแลเด็กที่บ้านของคุณเอง

1. ลูกน้อยของคุณได้รับการดูแลจากพี่เลี้ยงแบบใกล้ชิด ทำให้เด็กรู้สึกได้ถึงความเอาใจใส่ และมีพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดี
2. มีความยืดหยุ่นในการทำกิจวัตรประจำวันเพราะเด็กไม่ต้อง กิน นอน หรือ เล่นตามตารางเหมือนอยู่ในศูนย์รับเลี้ยงเด็กหรือเนอสเซอรี่ (Nursery)
3. พี่เลี้ยงเด็กสามารถปรับเวลาการทำงานให้สอดคล้องกับเวลาทำงานและวันหยุดของคุณพ่อคุณแม่
4. คุณพ่อคุณแม่มีเวลาอยู่กับลูกมากขึ้นเพราะไม่ต้องเผื่อเวลาในการรับส่ง ก่อนและหลังเลิกงาน
5. เด็กได้รับการดูแลในบรรยากาศที่คุ้นเคยและรู้สึกปลอดภัย
6. คุณพ่อคุณแม่ประหยัดเวลาในการเดินทางรับส่ง หมดปัญหาเรื่องรถติดและมลภาวะบนท้องถนน
7. คุณพ่อคุณแม่ประหยัดเวลาในการเตรียมตัวหรือจัดเตรียมของใช้ให้ลูก เช่น ขวดนม เสื้อผ้า หรือแพมเพิส
8. ลดความเสี่ยงของโรคติดต่อ โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ภูมิต้านทานยังน้อยจะเจ็บป่วยได้ง่าย หากต้องอยู่ปะปนกับเด็ก ๆ อื่น
9. มีคนอยู่บ้านตลอดเวลาในขณะที่คุณพ่อคุณแม่ออกไปทำงาน

ข้อดีของการเข้าเนอสเซอรี่ (Nursery)

1. ฝึกทักษะการเข้าสังคมเพราะเด็กต้องอยู่ร่วมกับเด็กคนอื่น ๆ และครูพี่เลี้ยง
2. ค่าใช้จ่ายไม่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับการจ้างพี่เลี้ยงส่วนตัว
3. เนอสเซอรี่มีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อให้เด็กฝึกทักษะผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ
คุณสมบัติอะไรบ้างที่พ่อแม่ควรมองหาจากพี่เลี้ยงเด็กก่อนตกลงจ้าง
ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่คุณพ่อคุณแม่สักคนจะตัดสินใจหาใครมาดูแลลูกน้อยที่เปรียบเสมือนแก้วตาดวงใจ วันนี้ใส่ใจมีข้อมูลของทักษะและคุณสมบัติที่พี่เลี้ยงเด็กควรมีมาฝากให้คุณพ่อคุณแม่ลองเช็คกันดูก่อนตัดสินใจจ้างพี่เลี้ยงสักคน

1. พี่เลี้ยงเด็กต้องมีความอดทนสูง คุณพ่อคุณแม่ต้องมั่นใจว่าพี่เลี้ยงเด็กต้องมีความเข้าใจเด็ก สามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี และที่สำคัญที่สุดคือเป็นคนที่มีความอดทนสูง
2. พี่เลี้ยงเด็กควรรู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ในกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดหรืออุบัติเหตุ พี่เลี้ยงต้องมีความรู้และทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และสามารถช่วยเหลือเด็กได้ทันที เช่น เด็กที่อยู่ภายใต้การดูแลเกิดอุบัติเหตุหกล้ม มีแผลถลอก พี่เลี้ยงต้องรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อของแผล เป็นต้น ดังนั้นคุณพ่อและคุณแม่ควรเลือกพี่เลี้ยงที่มีทักษะด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพราะเป็นสิ่งจำเป็นมาก ๆ
3. พี่เลี้ยงเด็กควรมีทักษะการแก้ไขปัญหา พี่เลี้ยงจะต้องรู้วิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งผู้ว่าจ้างเสมอไปหากปัญหานั้นไม่ใช่ปัญหาที่ร้ายแรง
4. ทำอาหารเป็น ถือเป็นอีกหนึ่งทักษะที่พี่เลี้ยงเด็กจำเป็นต้องมี พี่เลี้ยงไม่ได้มีหน้าที่แค่ดูแลเด็กอย่างเดียวเท่านั้น แต่พี่เลี้ยงอาจจะต้องเตรียมอาหารให้เด็ก ๆ รับประทานในแต่ละมื้อด้วย หากอาหารอร่อยถูกปาก เด็กจะเจริญอาหารและอารมณ์ดี ที่สำคัญที่สุดที่พี่เลี้ยงต้องใส่ใจและจดจำด้วยว่าเด็ก ๆ ที่ดูแลนั้น แพ้อาหารอะไรบ้าง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นจากการรับประทานสิ่งที่แพ้เข้าไป
5. มีความคิดสร้างสรรค์ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก พี่เลี้ยงจะต้องเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ ในระหว่างวัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวิชาการหรือสันทนาการ เช่น พี่เลี้ยงเด็กอาจจะสอนเด็กนับเลข ฝึกการอ่าน หรือระบายสีเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่สร้างสรรค์เหล่านี้
ควรทำอย่างไรเพื่อคลายความกังวลเมื่อคุณพ่อคุณแม่ต้องปล่อยให้ลูกอยู่ตามลำพังกับพี่เลี้ยง
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่จะไว้วางใจให้ลูก ๆ ของคุณอยู่ในความดูแลพี่เลี้ยงเด็ก แม้ว่าจะเป็นเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงก็ตามเด็กอาจเกิดความรู้สึกวิตกกังวลเมื่อต้องแยกจากคุณพ่อคุณแม่ ใส่ใจมีวิธีการที่จะช่วยลดความกังวลของทั้งคุณพ่อคุณแม่และลูกได้ดังนี้ค่ะ

1. คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยและทำความเข้าใจกับเด็ก ถึงความจำเป็นที่ต้องให้เด็กๆ อยู่กับพี่เลี้ยง ให้ความมั่นใจกับเด็กว่าคุณพ่อคุณแม่หาคนที่สามารถดูแลพวกเขาได้ดี
2. คุณพ่อคุณแม่ควรหาพี่เลี้ยงที่เข้ากันได้กับลูก ๆ และมีความพร้อมในการดูแลเด็ก
3. แนะนำให้ลูก ๆ ทำความรู้จักกับพี่เลี้ยง โดยอาจจะเล่าให้ฟังว่าพี่เลี้ยงเห็นใคร ชื่ออะไร คุยกับพี่ผ่านทางวิดีโอคอลก่อนวันเริ่มงานจริง เพื่อนลดความตึงเครียดในการเจอกันครั้งแรก
4. คุณพ่อคุณแม่ควรบันทึกเบอร์โทรศัพท์ของตัวเอง เบอร์โทรฉุกเฉิน และสอนให้ลูกใช้โทรศัพท์เพื่อโทรหาคุณพ่อคุณแม่ได้ หรือโทรขอความช่วยเหลือได้ในกรณีฉุกเฉิน
5. มอบหมายงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้เด็ก ๆ ทำระหว่างวัน เพื่อที่เด็ก ๆ จะได้มีกิจกรรมเบนความสนใจและไม่เอาแต่จดจ่อรอเวลาคุณพ่อคุณแม่กลับบ้าน
6. เมื่อถึงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องออกจากบ้านและต้องให้เด็ก ๆ อยู่กับพี่เลี้ยงเด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความมั่นใจกับเด็ก ๆ ว่าพี่เลี้ยงจะดูแลเด็ก ๆ เป็นอย่างดีและย้ำว่าพวกเขาสามารถโทรหาคุณได้เสมอ
ในวันสัมภาษณ์พ่อแม่ควรตกลงอะไรกับพี่เลี้ยงเด็ก
ขั้นตอนของการสัมภาษณ์พี่เลี้ยงเด็กนั้นถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะไม่ใช่แค่คุณจะได้ทำความรู้จักกับพี่เลี้ยงที่คุณจะจ้าง แต่ในขั้นตอนนี้คุณต้องทำการตกลงกับพี่เลี้ยงเด็กก่อนเริ่มงาน ดังนั้นวันนี้ใส่ใจมีข้อแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังจะสัมภาษณ์พี่เลี้ยงเด็กและพูดคุยถึงข้อตกลงที่สำคัญมีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ

1) ขอบเขตหน้าที่ที่คุณต้องการให้พี่เลี้ยงทำ เช่น ช่วยเลี้ยงลูกคุณขณะคุณไม่อยู่บ้าน ช่วยเตรียมกับข้าวให้ลูกน้อยรับประทานในแต่ละมื้อ ช่วยสอนการบ้านหากพี่เลี้ยงมีความสามารถ
2) วันและเวลาการทำงาน ในวันที่สัมภาษณ์คุณและพี่เลี้ยงจะต้องตกลงเรื่องวันเวลาการทำงานให้อย่างชัดเจน และคุณควรจะมีวันหยุดให้พี่เลี้ยงตาม กฎหมายกระทรวงแรงงาน นายจ้างต้องให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ และวันพักร้อน ได้ 6 วัน ต่อ ปี และต้องหยุดตามประเพณี ปีละไม่น้อยกว่า 13 วัน
3) ค่าจ้าง คุณจะต้องตกลงเรื่องค่าจ้างกับพี่เลี้ยงให้ชัดเจน หากพี่เลี้ยงปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดี คุณควรที่จะเพิ่มเงินเดือนให้ตามความเหมาะสม ในกรณีที่พี่เลี้ยงเด็กทำงานในวันหยุดนายจ้างต้องจ่ายเงินค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน
4) ข้อตกลงในการอาศัยอยู่ในบ้าน หากคุณมีกฎระเบียบที่ต้องการให้พี่เลี้ยงเด็กปฏิบัติตามกฎที่คุณตั้งไว้ คุณต้องแจ้งให้พี่เลี้ยงเด็กรับทราบก่อนเริ่มงานเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
5) ถ้าคุณเป็นหนึ่งคนที่ไม่อยากให้ลูกติดโทรศัพท์ คุณควรแจ้งให้พี่เลี้ยงทราบ และควรกำชับพี่เลี้ยงว่าไม่ให้ลูกของคุณเล่นโทรศัพท์ขณะที่คุณไม่อยู่ เพราะเด็กอาจได้รับผลกระทบจากการเล่นโทรศัพท์นานเกินไปจนส่งผลให้เกิดภาวะสมาธิสั้นและส่งผลกับสายตา ดังนั้นพี่เลี้ยงจะต้องหากิจกรรมที่ให้เด็กได้พัฒนาตนเองมากกว่าการเล่นโทรศัพท์มือถือ

วังทองหลางในวันก่อน

พื้นที่ เขตวังทองหลาง (วัง : ห้วงน้ำลึก) ในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของทุ่งบางกะปิ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพมหานคร ห่างออกไปประมาณ 16 กิโลเมตร และถือเป็นเขตชานเมืองซึ่งส่วนใหญ่เป็นทุ่งนาเวิ้งว้างแต่มีความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะที่ตั้งชุมชนบริเวณคลองแสนแสบ (คลองแสนแสบ เป็นคลองที่ขุดขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกงเข้าด้วยกัน เมื่อปี พ.ศ. 2380 ด้วยพระราชประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งอาวุธยุทธภัณฑ์ กำลังรบ และเสบียงอาหารไปยังญวน (เวียดนาม) ในราชการสงครามไทย-ญวน ซึ่งใช้เวลาสู้รบกันนานถึง 14 ปี ใน คือ อานัมสยามยุทธ) ซึ่งมีลักษณะคดโค้งเป็นห้วงน้ำลึกหรือ "วัง" ขนาดใหญ่ ตลอดริมฝั่งคลองในช่วงนี้รวมไปถึงคลองเจ้าคุณสิงห์จะมีต้นทองหลางน้ำ (หรือ ทองโหลง: พบได้ ริมตลิ่งเนื่องจากทนน้ำท่วมขังได้ดี) ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากนอกจากนี้ ปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปี พ.ศ. 2488 ได้มีการตัดถนนสายกรุงเทพ-บางกะปิ หรือถนนลาดพร้าวในปัจจุบัน ในครั้งนั้นถนนเส้นกรุงเทพ-บางกะปิ เป็นถนนดินลูกรังตัดมาจนถึงสามแยกสะพานคลองแสนแสบ การตัดถนนเส้นนี้ทำให้เกิดมีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนขึ้นตามรายทาง ปัจจุบันถนนลาดพร้าวเป็นถนนที่ตัดผ่านใจกลางของพื้นที่เขตวังทองหลาง เปรียบเสมือนเส้นทางหลักของการคมนาคมขนส่งของเขตวังทองหลางที่ใช้เชื่อมกับเขตอื่น ๆ และเนื่องด้วยสภาพพื้นที่เขตต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้มีการพัฒนาด้านโครงข่ายคมนาคมขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง การกระจายตัวของประชากรและสาธารณูปโภค จึงเพิ่มตามมามากขึ้น และจำเป็นต้องจัดพื้นที่และจำนวนประชากรของเขตให้มีความเหมาะสมเพื่อประโยชน์ในการปกครอง การให้บริการของรัฐ ความสะดวกของประชาชน จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2540 เรื่องเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกะปิ และให้มีการจัดตั้งแขวงวังทองหลางเป็นเขตวังทองหลางขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2540 เป็นต้นมา วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ลงนามในประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงวังทองหลาง และตั้งแขวงสะพานสอง แขวงคลองเจ้าคุณสิงห์ และแขวงพลับพลา เขตวังทองหลางโดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีเดียวกัน ส่งผลให้ปัจจุบัน เขตวังทองหลางแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง โดยใช้ถนนลาดพร้าวและถนนประดิษฐ์มนูธรรมเป็นเส้นแบ่งเขต



โรงเรียนในกลุ่มโรงแรียนบดิทรเดชา

ในเขตวังทองหลาง มีโรงเรียนในกลุ่มบดินทรเดชา หรือเครือบดินทรเดชา อยู่ถึง 2 แห่ง จากทั้งหมด 6 แห่ง คือ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา

กลุ่มโรงเรียนนี้ใช้ชื่อ “บดินทรเดชา” ซึ่งมาจากราชทินนามของเจ้าพระยาบดินทรเดชา อัครมหาเสนาบดีสมุหนายก และเป็นแม่ทัพใหญ่ในสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียง การันตีด้วยรางวัลมากมาย ยังเป็นโรงเรียนที่มีคะแนน O-NET ปี2561 สูงมาก1ใน10 ของกรุงเทพมหานครอีกด้วย และได้รับความนิยมจากผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้าศึกษาต่อที่นี่ เน้นการพัฒนาศักยภาพการเรียนการสอนทั้งด้านภาษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสร์ กีฬา ศิลปะ ทำให้มีการขยายโรงเรียนไปในหลายพื้นที่

โรงเรียนกลุ่มบดินทรเดชามีทั้งสิ้น 6 โรงเรียนได้แก่

1.โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) โรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษแห่งแรกในเครือบดินทรเดชา

ตั้งอยู่ที่ เลขที่40 ซอยรามคำแหง 43/1 แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310

2.โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)๒ ภายหลังจากที่โรงเรียนบดินทรเดชา สิงห์ สิงหเสนี ได้รับความนิยมมากขึ้น แต่ละปีมีนักเรียนสมัครเป็นจำนวนมาก ทำให้ได้สร้างโรงเรียนบดินทรเดชา สิงห์ สิงหเสนีขึ้น

ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 333 ถนนนวมินทร์ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร

3.โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา เป็น1ในกลุ่ม ของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ และเป็นโรงเรียนในเครือบดินทรเดชา แห่งที่ 3

ตั้งอยู่ที่ 5/23 ซอยลาดพร้าว 69 ถนนลาดพร้าว แขวงสะพานสอง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310

4.โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔

ตั้งอยู่ที่ 87 หมู่ 1 ซอยสุวินทวงศ์ 96 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำต้อยติ่ง เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530

5.โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี โรงเรียนประจำอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี จากเดิมที่ชื่อโรงเรียนบางกรวย แต่ภายหลังมีความคิดเห็นร่วมกันว่าผู้ปกครองมักส่งบุตรหลานศึกษต่อในโรงเรียนที่มีชื่อเสียง จึงใช้ชื่อ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)

ตั้งอยู่ที่เลขที่ 79 หมู่ที่ 3 ซอยบางกรวย-ไทรน้อย 22 ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11000

6.โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สมุทรปราการ เดิมมีชื่อว่า โรงเรียนสมุทรพิทยาคม เป็นโรงเรียนในอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ

ตั้งอยู่ที่ เลขที่119/22 หมู่ที่ 16 ถนนเทพารักษ์ ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ 10570



5 เคล็ดลับสำคัญในการเลี้ยงดูเด็กในเชิงบวก

วิธีการเลี้ยงดูเด็กในเชิงบวกและวินัยเชิงบวกมุ่งเน้นไปที่การสอนพฤติกรรมที่ดีโดยใช้เทคนิคการเลี้ยงดูที่ดีและมั่นคง ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองรวมไปถึงพี่เลี้ยงเด็กในการเลี้ยงดูเด็กในเชิงบวกที่เพื่อช่วยให้คุณสร้างบ้านที่สงบสุขและมีความสุข

1.ใช้เวลากันเด็กแบบตัวต่อตัว สิ่งที่ดีที่สุดที่พ่อแม่ผู้ปกครองรวมไปถึงพี่เลี้ยงเด็กสามารถทำได้เพื่อปรับปรุงพฤติกรรมของเด็ก คือการใช้เวลากับพวกเขาทีละคนทุกวัน ให้ความสนใจในเชิงบวก อย่างนอนวันละ 10-15 นาที ต่อเด็กหนึ่งคนแล้วคุณจะเห็นพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างสามารถวัดผลได้ในทันที

2.จริงจังกับการนอนหลับ การพักผ่อนอย่างเพียงพอในแต่ละวัน จะทำให้เด็กอารมณ์ดีและสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆได้ รวมถึงการเรียนรู้ก็จะดีขึ้นด้วย

3. มีกิจวัตรประจำวันที่ชัดเจน ควรกำหนดกิจวัตรที่ชัดเจนสำหรับช่วงเวลาต่าง ๆ ในแต่ละวัน เช่น เวลารับประทานอาหาร และเวลานอน ให้เด็ก ๆ ช่วยพ่อแม่ผู้ปกครองตัดสินใจว่ากิจวัตรจะดำเนินไปอย่างไร - เราจะแต่งตัวหรือแปรงฟันก่อนดีไหม จะช่วยเตรียมอาหารเย็นให้พร้อมได้อย่างไร?

4. สมาชิกครอบครัวต้องมีส่วนร่วม เพื่อพฤติกรรมที่ดีขึ้นเด็ก ๆ ต้องเข้าใจว่าทุกคนต้องมีส่วนร่วมเพื่อให้ครอบครัวดำเนินไปอย่างราบรื่น เด็กทุกคนตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงวัยรุ่นควรมี “กิจกรรมร่วมกันของครอบครัว” (ไม่ใช่ “งานบ้าน”) ที่พวกเขาทำทุกวันซึ่งจะช่วยให้ครอบครัวของคุณใกล้ชิดกันมากขึ้นสอนทักษะชีวิต

5. เสนอทางเลือกแทนการปฏิเสธ เมื่อได้รับการร้องขอจากเด็ก ๆ แทนที่พ่อแม่ผู้ปกครองจะรวบรัดปฏิเสธไป ลองเสนอทางเลือกอื่น เช่น เมื่อลูกขอไปว่ายน้ำในช่วงวันธรรมดาลองเสนอทางเลือกอื่นที่ดีกว่า เช่น “เราควรไปพรุ่งนี้หลังเลิกเรียนหรือวันเสาร์”