ติว GAT ใน พานทอง, ชลบุรี

ติว GAT ใน พานทอง, ชลบุรี

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

มหาลัยที่ผมอยากเข้าต้องใช้คะแนน GAT สูงมากเลยครับ ส่วนตัวผมก็ยังไม่มั่นใจในการทำGATเชื่อมโยงเลย ไปเรียนติวเตอร์ออนไลน์ที่ไหนก็ยังไม่มั่นใจ จนคุณแม่ได้จ้างตัวเตอร์ส่วนตัวจากใส่ใจมาให้สอนผม ติวเตอร์ทั้งอธิบายและวิเคราะห์โจทย์ในปีก่อน ๆ ให้ผมรวมถึงหาโจทย์เก่ายาก ๆ มาให้ผมฝึกทำเยอะมากครับ สอนสนุก เข้าใจง่ายครับ
Saijai
ชัชชาต ตรีภพ
3 ปีที่แล้ว
ติวเตอร์คุณภาพดีคุ้มค่ากับราคาที่จ่ายมาก ๆ ลูกชายสอบแกทได้ 270+ คะแนน ได้เข้าทันตะสมใจ คุณแม่ปลื้มมากค่ะ
Saijai
แม่ป้อม
3 ปีที่แล้ว
GAT ภาษาไทยเตรียมความพร้อมเองได้ไม่ยากมากนักหาข้อสอบเก่าๆทำ แต่ภาษาอังกฤษต้องหาผู้ช่วย ช่วยสรุปให้ จะเรียนออนไลน์กลัวไม่เข้าใจ เลยหาดู จนเจอเพจใส่ใจ จองติวเตอร์ผ่านเพจนี้ แล้วลองเรียนมาสองครั้งแล้ว ติวเตอร์สอนโอเค ทำให้เรามั่นใจมากขึ้น
Saijai
จินต์ เกษมกิจมงคล
4 ปีที่แล้ว
ผมจะสอบแอดมิดชั่นเข้าจุฬา และต้องยื่นคะแนนแกทแพท ผมตัดสินใจที่จะจ้างติวเตอร์ส่วนตัวในการติวแกทเชื่อมโยง ติวเตอร์สอนดีมาก ๆ ให้ฝึกทำโจทย์หลายรูปแบบ บอกเทคนิคการทำข้อสอบ ตอนนี้คะแนนออกมาแล้วคือได้แกทไทยเต็ม ดีใจมาก ตอนนี้ติดจุฬาแล้วครับ
Saijai
วชร นารีเกตุ
4 ปีที่แล้ว
ผมหาที่ติว Gat Pat ให้ลูกชายครับ กลัวลูกสอบไม่ติด เลยหาข้อมูลเอาไว้ก่อน จริง ๆ มีหลายเว็บให้เลือก แต่มาลงตัวที่เว็บใส่ใจ เพราะมีตัวเลือกของติวเตอร์เยอะ มีประวัติของติวเตอร์ให้เราลองอ่านคร่าว ๆ ก่อนตัดสินใจด้วย ที่สำคัญเป็นติวเตอร์ที่มีประสบการณ์การสอนมาก่อน ผมเลยมั่นใจเลือกติวเตอร์จากที่นี่ และไม่ผิดหวังจริง ๆ ติวเตอร์เก่ง ลูกผมขยันและตั้งใจเรียนขึ้นมากเลย
Saijai
พิเชต มากพันธุ์
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ติว GAT

GAT มีผลสำคัญต่อแอดมิชชั่นอย่างไร
GAT คือ การสอบวัดความถนัดทั่วๆไป หรือมีชื่อเต็มว่า General Aptitude Test ซึ่งจะมีข้อสอบอยู่ 2 ส่วน ได้แก่

ส่วนที่ 1 เรียกว่า GAT เชื่อมโยง เป็นการอ่าน เขียน คิด วิเคราะห์ และการแก้ปัญหา มีคะแนนเต็ม 150 คะแนน
ส่วนที่ 2 เรียกว่า GAT ENG เป็นความสามารถในการสื่อสารด้านภาษาอังกฤษ ส่วนนี้จะมีคะแนนเต็ม 150 คะแนน โดยข้อสอบมี 4 Part ดังนี้ Speaking and Conversation, Vocabulary, Structure and Writing, Reading Comprehension
คะแนน GAT ใช้ยื่นในรอบการรับแบบ Admission ในระบบ TCAS โดยย่อมาจาก Thai University Central Admission System เป็นระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาแบบใหม่ ซึ่งจะอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน โดยอัตราส่วนการใช้คะแนนในรอบ Admission นี้ คะแนน GAT มีค่า 50% ของคะแนนทั้งหมด

ลักษณะแนวข้อสอบ GAT จะมี 2 แบบ คือ

1. ลักษณะข้อสอบ GAT เชื่อมโยง มี 20 ข้อ ใช้เวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง มีลักษณะเป็นบทความยาว 1-2 หน้ากระดาษ แล้วให้มาอ่านวิเคราะห์เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ระหว่างคำหรือข้อความที่โจทย์กำหนด
2. ลักษณะข้อสอบ GAT Eng รูปแบบข้อสอบ เป็นแบบปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ GAT ENG มีทั้งหมด 60 ข้อ มีค่าข้อละ 2.5 คะแนน แบ่งออกเป็น 4 part
- Speaking and Conversation 15 ข้อ เป็น part ที่ง่ายที่สุด เป็นบทสนทนาในชีวิตประจำวัน มีทั้งสั้นและยาว
- Vocabulary 15 ข้อ ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น 2 part อีกเช่นกัน คือ synonyms 5 ข้อ และ Meaning 10 ข้อ
- Reading comprehensive 15 ข้อ ซึ่งวัดทักษะการอ่าน และความเข้าใจ
- Structure and Writing 15 ข้อ แบ่งเป็น 3 part ย่อย ได้แก่ Error 5 ข้อ Cloze test 5 ข้อ และ Writing paragraph 5 ข้อ

ทำไมต้องติว GAT ก่อนเข้ามหาวิทยาลัย
การสอบ GAT (General Aptitude Test) เป็นการสอบเกี่ยวกับความถนัดทั่วไปเพื่อวัดระดับความพร้อมในการเข้าเรียนมหาวิทยาลัยของนักเรียน โดยการสอบ GAT จะจัดขึ้นทุก ๆ ปี โดยสถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ซึ่งการทดสอบนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 วิชา คือ GAT ภาษาไทยหรือที่นิยมเรียกกันว่า “แกทเชื่อมโยง” และ GAT ภาษาอังกฤษ โดยผลออกมาพบว่าผู้เข้าสอบสามารถทำคะแนนในส่วนของ GAT เชื่อมโยงได้เป็นอย่างดี แต่กลับกันผลคะแนนในส่วนของพาร์ท GAT ภาษาอังกฤษนั้นดันออกมาน้อยกว่าที่คิด ดังนั้น การที่จะช่วยพัฒนาทักษะเพื่อให้ทำคะแนนสอบ GAT ทั้งสองพาร์ทออกมาได้ดีเท่า ๆ กันนั้นคือการติวและทบทวนทำข้อสอบเก่าบ่อย ๆ เหตุผลง่าย ๆ ที่ว่าทำไมเราต้องติว GAT ก็คือ การสอบ ADMISSIONS เข้าแต่ละคณะสาขาในมหาวิทยาลัยนั้นส่วนใหญ่จะใช้สัดส่วนของคะแนน GAT มากสุด 10-50% เลยทีเดียว เรียกว่าครึ่งต่อครึ่งเลยก็ว่าได้ ซึ่งบางคณะก็อาจใช้สัดส่วนคะแนนของ PAT ร่วมด้วยเช่นกัน ดังนั้น หากเราติวข้อสอบ GAT อยู่บ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ ทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติม ติวกันเป็นกลุ่ม หรือจะจ้างครูสอนพิเศษมาติว GAT ให้โดยเฉพาะก็ตาม ทั้งหมดนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจระหว่างการทำโจทย์ข้อสอบ GAT ได้แน่นอน นอกจากรอบ ADMISSIONS ที่ใช้สัดส่วนคะแนน GAT/PAT เป็นเกณฑ์การคัดเลือกแล้ว บางมหาวิทยาลัยก็ใช้สัดส่วนคะแนนในส่วนนี้เพื่อคัดเลือกนักเรียนในการสอบแบบรับตรงและแบบโควตาด้วยเช่นกัน และบางคณะสาขากำหนดสัดส่วนผลคะแนน GAT ไว้ตั้งแต่ 10-50% เช่นกัน ฉะนั้น หากใครมีความเตรียมพร้อมที่ดีและทำผลคะแนนออกมาได้ดี ก็จะมีโอกาสสูงในการเลือกเรียนในคณะที่ตัวเองตั้งใจไว้แต่แรกได้เช่นกัน เป็นที่ชัดเจนว่าการติวสอบ GAT นั้นสำคัญเป็นอย่างมากต่อนักเรียนทุกคนที่ต้องการเข้าเรียนในคณะและมหาวิทยาลัยที่ตัวเองใฝ่ฝัน ดังนั้น ควรเตรียมความพร้อมให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่ออนาคตที่ดีของตัวเราเอง
ไม่มีคะแนน GAT PAT สามารถยื่นตรงเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐได้หรือไม่
อย่างที่ทราบกันดีว่าการเข้ามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้นจำเป็นจะต้องใช้สัดส่วนคะแนนของการสอบ GAT PAT เพื่อยื่นเข้าแต่ละคณะสาขา และจำเป็นต้องใช้สัดส่วนคะแนนที่มากเกือบ 50% เลยทีเดียว และการสอบ GAT PAT นั้นก็ไม่ได้มีสอบอยู่ตลอด เพราะทางสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) จะเป็นผู้กำหนดวันสอบให้นั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม หลาย ๆ คนอาจคิดว่า การจะเข้าแต่ละคณะนั้นจำเป็นต้องสอบ GAT PAT ทุกมหาวิทยาลัย แต่ในความเป็นจริงนั้น “ไม่ใช่ทุกคณะและทุกมหาวิทยาลัย” ที่จำเป็นต้องใช้คะแนน GAT PAT ในการยื่น เพราะในประเทศไทยนั้นก็มีบางมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้ใช้สัดส่วนคะแนนของ GAT PAT เช่นกัน โดยส่วนใหญ่จะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่นมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งคณะที่ไม่จำเป็นต้องใช้ผลคะแนน GAT PAT คือ บางสาขาในคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เช่น เทคโนโลยีอาหาร เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น บางสาขาในคณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร คณะจิตรกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอีกหลายมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้ใช้ผลคะแนนสอบ GAT PAT เป็นสัดส่วนหลักที่ใช้ในการยื่นเข้าแต่คณะ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละคณะและมหาวิทยาลัยที่จะเป็นผู้กำหนดเกณฑ์อื่น ๆ ในการยื่นเข้าเรียนแทน ดังนั้นจึงเป็นที่สรุปได้ว่านักเรียนไม่จำเป็นจะต้องสอบ GAT และ PAT ทุกวิชาก็ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นนักเรียนต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแบบใหม่หรือ TCAS เพื่อดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างและเตรียมตัวให้พร้อมอยู่ตลอดเวลาด้วยเช่นกัน
ค่าสมัครสอบ GAT ของนักเรียนที่จะเข้ามหาวิทยาลัยวิชาละเท่าไหร่
นอกจากการเตรียมตัวสอบ GAT/PAT แล้ว สิ่งที่จำเป็นอีกอย่างคือการเตรียมค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบนั่นเอง ใส่ใจมีข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ และการใช้ผลคะแนนยื่นในแต่ละรอบให้คุณแล้ว การสมัครสอบ GAT ทั้งสองวิชา นั่นคือ GAT ภาษาไทย (เชื่อมโยง) และ GAT ภาษาอังกฤษ นั้นจะมีค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบอยู่ที่วิชา ละ 140 บาท ดังนั้น หากต้องการสอบ GAT ทั้ง2 วิชา จะต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งหมด 280 บาทนั่นเอง โดยการใช้ผลคะแนนสอบของ GAT นั้นสามารถยื่นได้ทั้ง4 รอบเลยทีเดียว หลาย ๆ คนอาจยังคิดว่าผลคะแนนสอบ GAT นั้นสามารถใช้ยื่นได้เพียงแค่รอบเดียว นั่นคือรอบที่ 4 แต่ความเป็นจริงแล้วผลคะแนน GAT สามารถใช้ยื่นได้ทั้ง 4 รอบด้วยกัน ในส่วนของระบบ TCAS จะสามารถยื่นได้ตั้งแต่รอบที่ 2 ถึงรอบที่ 5 โดยผลคะแนนของ GAT/PAT นั้นจะใช้ในการยื่นเข้าในรอบที่ 4 เป็นหลัก ส่วนรอบที่ 2 และ 5 อาจจะต้องดูจากข้อกำหนดเพิ่มเติมที่ทางคณะและมหาวิทยาลัยนั้น ๆ กำหนดและใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกอีกที เช่น อาจต้องใช้ความสามารถพิเศษอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย เป็นต้น ส่วนในรอบที่ 3 จะเป็นแบบ Admission หรือรับตรงร่วม โดยสามารถใช้ผลคะแนนในการสอบแบบอื่นที่ทางคณะของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้น ๆ กำหนด อย่างการสอบ O-NET และเกรดเฉลี่ยสะสม เป็นต้น ดังนั้น นักเรียนต้องศึกษาและทำความเข้าใจของกฎเกณฑ์ในการยื่นผลคะแนน GAT/PAT ของแต่ละคณะและมาวิทยาลัยให้ละเอียดถี่ถ้วน จะได้ไม่พลาดโอกาสในการเข้าเรียนคณะและมหาวิทยาลัยที่ตั้งใจไว้นั่นเอง