ติว GAT ใน เมืองสมุทรสาคร, สมุทรสาคร

ติว GAT ใน เมืองสมุทรสาคร, สมุทรสาคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

มหาลัยที่ผมอยากเข้าต้องใช้คะแนน GAT สูงมากเลยครับ ส่วนตัวผมก็ยังไม่มั่นใจในการทำGATเชื่อมโยงเลย ไปเรียนติวเตอร์ออนไลน์ที่ไหนก็ยังไม่มั่นใจ จนคุณแม่ได้จ้างตัวเตอร์ส่วนตัวจากใส่ใจมาให้สอนผม ติวเตอร์ทั้งอธิบายและวิเคราะห์โจทย์ในปีก่อน ๆ ให้ผมรวมถึงหาโจทย์เก่ายาก ๆ มาให้ผมฝึกทำเยอะมากครับ สอนสนุก เข้าใจง่ายครับ
Saijai
ชัชชาต ตรีภพ
3 ปีที่แล้ว
ติวเตอร์คอยแนะนำเนื้อหาที่ต้องเตรียมตัวและเก็งข้อสอบให้ลูกเข้าใจได้ง่าย ๆ ตอนนี้เห็นได้ชัดถึงพัฒนาการของลูกจากผลคะแนนการทดลองทำโจทย์ปีก่อน ๆ มากเลยค่ะ รอลุ้นกับผลคะแนนของลูกมาก ๆ ขอบคุณติวเตอร์ค่ะะะะ
Saijai
ธิดาพร ถาวีสิน
4 ปีที่แล้ว
ใกล้สอบแล้วก็กังวลไปหมด จะลงเรียนหลายคอร์สก็กลัวค่าใช้จ่าย หาข้อมูลเยอะ เปรียบเทียบราคาจากหลาย ๆ ที่ เว็บใส่ใจมีข้อมูลชัดเจน มีรีวิวดีด้วย ที่สำคัญได้ติวเตอร์ที่แม่เราจ่ายไหว คนเรียนก็ถูกใจ คนจ่ายตังค์ก็สบายใจ
Saijai
ธนวัฒน์ เจริญด้วยทรัพย์
4 ปีที่แล้ว
แม่อยากเน้นแกทภาษาอังกฤษให้ลูกชายเพิ่ม ลองหาที่สอนพิเศษแถว ๆ บ้านแต่ยังไม่ถูกใจเท่าไหร่ เลยลองเสิร์ชหาดูในเน็ต เจอเว็บใส่ใจพอดีเลยลองดูๆ มีติวเตอร์เยอะ ราคาดีมาก ๆ เลยค่ะ
Saijai
แม่เพ็ญ
4 ปีที่แล้ว
หนูติวแกทแพทกับติวเตอร์ที่่จองผ่านเว็บใส่ใจ พี่เค้าสอนดีมากค่ะ หนูคงจะเรียนต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะสอบค่ะ
Saijai
ภาวิดา จารุจินดาโชติ
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ติว GAT

Gat คืออะไร สำคัญต่อเด็กไทยหรือไม่
GAT-General Aptitude Test คืออะไร GAT คือการสอบเพื่อประเมินว่านักเรียนคนหนึ่งมีความพร้อมในการจะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยมากน้อยแค่ไหน โดยจะทำการทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป ซึ่งเป็นการวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัย

ข้อสอบ GAT มี 2 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 ภาษาไทย คือ วัดความสามารถในการอ่าน การเขียน การคิดเชิงวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา
ส่วนที่ 2 ภาษาอังกฤษ คือ วัดความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย Speaking and Conversation, Vocabulary, Structure and Writing, and Reading Comprehension
รูปแบบข้อสอบจะมีทั้งปรนัยและอัตนัย รวมกันสองส่วนนี้ทั้งหมด 300 คะแนน

GAT มีความสำคัญในการยื่นคะแนนในระบบ ADMISSIONS มากถึง 10 – 50 % (ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละคณะวิชา โดยองค์ประกอบของการยื่นคะแนนในระบบ Admissions แบ่งเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย O-NET ,เกรดเฉลี่ยที่โรงเรียน (GPAX) , GAT, PAT)

ข้อสังเกต บางคณะใช้คะแนน GAT ในการพิจารณามากกว่า GPAX และอาจมากกว่าคะแนนจากการสอบ O – NET อีกด้วย ตัวอย่างคณะที่ใช้คะแนนจากการสอบ GAT สูงมากๆ เช่น การสอบ ADMISSIONS คณะนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ มีรูปแบบที่ยื่นคะแนน GAT สัดส่วนสูงถึง 50 % และ บางมหาวิทยาลัยต้องใช้คะแนน GAT ยื่นระบบรับตรงทุกคณะ เช่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นต้น
สำหรับผู้ที่ต้องใช้คะแนน GAT เป็นกลุ่มของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งต้องใช้คะแนนนี้ในการยื่นเข้าศึกษามหาวิทยาลัยตามระบบ TCAS (Thai University Central Admission System ) ที่ได้ประกาศไว้ และสามารถเลือกสนามสอบได้ทั้งในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัดตามระบบที่ได้กำหนด โดยสนามสอบนั้นอาจจะไม่ใช่โรงเรียนของตนเองที่สังกัดอยู่
ข้อดีของการติว GAT ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
การสอบ GAT (ความถนัดทั่วไป) สอบกันครั้งแรกตั้งแต่ปี 2553 อย่างที่ทราบกันดีว่า GAT (General Aptitude Test) มีข้อสอบแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆ กัน คือ

1. GAT เชื่อมโยง ความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ คะแนนเต็ม 150 คะแนน
2. GAT อังกฤษ ส่วนของความถนัดด้านภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม 150 คะแนน

การสอบ GAT มีความซับซ้อนของข้อสอบและยากขึ้นทุกปี และนี่คือเหตุผลที่ควรติว Gat

1. การสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยทุกคณะและสาขาวิชา กำหนดใช้คะแนน GAT พิจารณาเข้าศึกษาต่อในสัดส่วน 10 – 50% นับว่าเป็นจำนวนที่สูงมากๆ เพราะบางคณะไม่ใช้องค์ประกอบ PAT แต่เน้น GAT ดังนั้นจะเห็นว่าในรอบ Admissions GAT มีความสำคัญเป็นอย่างมาก
2. การสอบตรงหรือการสอบโควตา หลายๆ มหาวิทยาลัยใช้ GAT ในการพิจารณาเข้าศึกษา บางสาขาให้ค่าน้ำหนัก GAT มากถึง 70% นอกจากนี้ยังมีโครงการพิเศษ หรือ โควตาพิเศษ ที่คณะจัดเปิดรับเอง แทบทุกมหาวิทยาลัยใช้ GAT ด้วย
3. อย่างที่ทราบกันดีว่า GAT มีการจัดสอบ 2 ครั้ง คือ เดือนตุลาคมและมีนาคม แต่ช่วงที่มีคนเข้าสอบมากที่สุด คือ การสอบครั้งที่ 1 เดือน ตุลาคมนั่นเอง จากคนสอบทั้งหมดทั่วประเทศ ถ้าใครสามารถทำคะแนนสอบ GAT ได้สูงกว่าคนอื่น โอกาสสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้จะสูงเช่นกัน
4. การติว GAT นอกจากจะเป็นการทบทวนเนื้อหาที่เรียนมาและรู้จักกับข้อสอบ รวมถึงกระดาษคำตอบแล้ว ก็จะทำให้เรารู้แนวข้อสอบที่น่าจะออกมากขึ้นอีกด้วย เพราะติวเตอร์จะมีเทคนิคในการคาดการณ์ข้อสอบล่วงหน้าว่าข้อสอบจะออกมาแนวไหน อย่างไร มีเทคนิคมากมาย เพื่อพิชิตข้อสอบ GAT ให้ได้
สมัครเข้ามหาวิทยาลัยรัฐบาลจำเป็นต้องสอบ GAT PAT หรือไม่
การสอบ GAT/PAT ที่ต้องเข้าระบบ TCAS เพื่อยื่นคะแนนเรียนต่อมหาวิทยาลัย จำนวนรอบใน TCAS ที่มีถึง 5 รอบ มาพร้อมกติกาที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะวิชายอดฮิตอย่าง GAT/PAT ที่เด็กหลายคนเลือกสอบเพื่อใช้ยื่นเข้าเรียนในคณะที่สนใจ วันนี้เรามาทำความเข้าใจกับการสอบ GAT/PAT กันค่ะ

1. หลายคนคิดว่า การเข้ามหาวิทยาลัยทุกคนต้องสอบ GAT/PAT ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว “ไม่ใช่ทุกคนที่จะต้องสอบ” วิธีตรวจสอบว่าเราต้องสอบหรือไม่ คือ การดูจากคณะที่เราเลือกเรียนและระเบียบการของคณะในแต่ละมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นตัวกำหนดเองว่าใช้คะแนนอะไรในการพิจารณา ถ้ามีระบุว่าใช้ GAT/PAT เราต้องสมัครสอบในวิชา GAT/PAT ด้วย
2. จากที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากไม่ต้องสอบ GAT/PAT ทุกคนแล้ว อีกหนึ่งเรื่องก็คือ “ไม่ต้องสอบ PAT ครบทุกวิชา” เลือกสอบเฉพาะวิชาที่ต้องใช้คะแนนยื่นในการพิจารณาเท่านั้น โดยดูจากการเลือกคณะแล้วอ่านระเบียบการ ถ้าระเบียบการกำหนดว่าใช้คะแนน GAT/PAT ต้องดูต่อไปอีกว่าคณะที่เราเลือกใช้คะแนน PAT อะไรบ้าง จากทั้งหมด 7 วิชา ไม่จำเป็นต้องสมัครทั้งหมด เพราะสอบไปคะแนนก็ไม่ได้นำมาใช้ และยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบอีก

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เด็กๆ ต้องเจอและทำความเข้าใจกับระบบ TCAS (Thai University Center Admission System) ซึ่งเป็นระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยระบบใหม่ เพื่อใช้ในการวางแผนเข้าเรียนในคณะที่ต้องการได้สำเร็จ

ค่าธรรมเนียมการสอบ GAT แต่ละวิชาเท่าไหร่
สมัยนี้นอกจากต้องตั้งใจเรียน ตั้งใจติวหนังสือสอบแล้ว อีกอย่างที่สำคัญคือเรื่องค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบต่างๆ ซึ่งเราสามารถประเมินได้คร่าว ๆ ก่อนตามนี้

รอบที่ 1 Portfolio ยื่นแฟ้มสะสมผลงาน การสมัครขึ้นอยู่กับคณะและมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนดเอง รอบนี้ค่าใช้จ่ายธรรมเนียมการสมัครสอบประมาณ 200 – 1,000 บาท ใน TCAS ปี 2564 ยังเพิ่มการสอบ GAT วัดสมรรถนะทั่วไป 3 ส่วน ใช้สำหรับการยื่นในรูปแบบแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือโควตา ทั้งยังมีค่าสมัครสอบวัดความถนัดเพิ่มเติมที่ทางคณะจะพิจารณาคะแนนวัดความสามารถต่างๆ
รอบที่ 2 รับตรงโควต้า รอบนี้เป็นรอบที่ใช้ความสามารถพิเศษ แต่ละโครงการจะมีค่าสมัครอยู่ที่โครงการละประมาณ 200-600 บาท เกณฑ์ในรอบนี้ มีทั้ง GAT-PAT, 9 วิชาสามัญ ต้องยื่นคะแนนความสามารถทางภาษาเพิ่ม และต้องเสียค่าสอบวิชาเฉพาะของทางมหาวิทยาลัยเพิ่มอีกด้วย
รอบที่ 3 Admission (รวม Admission 1 และ Admission 2) โดยประกาศผล 2 ครั้ง สำหรับ Admission สามารถใช้คะแนนสอบกลางเป็นเกณฑ์ในการสมัครได้เลย ซึ่งคะแนนที่ใช้คือ เกรดเฉลี่ยสะสม คะแนน O-NET, GAT/PAT ค่าสมัครรอบ Admission อันดับแรก 150 บาท อันดับ 2-4 เพิ่มอันดับละ 50 บาท อันดับ 5 เป็นต้นไป เพิ่มอันดับละ 100 บาท รวมสูงสุด 900 บาท
รอบที่ 4 รับตรงอิสระ รอบสุดท้ายคือ รับตรงอิสระ ที่มีอัตราค่าสมัครตั้งแต่ 200 - 1,000 บาท ซึ่งคณะและมหาวิทยาลัยจะกำหนดค่าธรรมเนียมในการรับสมัครเองอย่างอิสระ รอบนี้จะใช้คะแนน O-Net, GAT/PAT และ 9 วิชาสามัญด้วย