ติว PAT ใน วังทองหลาง, กรุงเทพมหานคร

ติว PAT ใน วังทองหลาง, กรุงเทพมหานคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ธีรกานต์ อาจสอน
ธีรกานต์ อาจสอน
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

เป็นติวเตอร์ที่รับผิดชอบ ตรงต่อเวลา สอนสนุกค่ะ

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

ลงคอร์สติวแพทญี่ปุ่นกับติวเตอร์ ขั้นตอนและวิธีการจองง่ายและรวดเร็วมากเลยค่ะ
Saijai
สุชาดา จงใจรัก
3 ปีที่แล้ว
หาที่ติวสอบ Pat ให้ลูกค่ะ เจอเว็บใส่ใจที่มีตัวเลือกของติวเตอร์เยอะ ส่วนมากมีประสบการณ์การสอนมาทั้งนั้น แถมจบจากที่ดัง ๆ ด้วย เลยตัดสินใจเลือกติวเตอร์ที่นี่ ขี้เกียจไปหาเว็บอื่นแล้วเพราะส่วนมากไม่ค่อยลงราคาให้ชัดเจน ต้องติดต่อหลายขั้นตอน ที่ใส่ใจติดต่อง่าย เว็บไซต์ใช้งานง่ายสุดแล้วค่ะ
Saijai
จิรภา จิตไพรี
4 ปีที่แล้ว
ติวเตอร์สอนดีครับ ให้ฝึกทำข้อสอบเก่า ๆ บอกทริคในการทำข้อสอบGAT PAT ให้ด้วย สุดยอดครับ
Saijai
ปริญญา ทองนำดี
4 ปีที่แล้ว
ที่เลือกจ้างติวเตอร์ PAT เพราะติวเตอร์คนนี้ได้รับรีวิวดีมาก ครบจบในที่เดียว คุ้มค่ามากค่ะ
Saijai
ชลชนก ทองคำ
4 ปีที่แล้ว
ผมว่าวิชาเลขของการสอบ GAT/PAT และเป็นโจทย์เลขที่ยากที่สุดในการสอบแอดมิชชั่นแล้วครับ ผมว่ายากกว่าข้อสอบ ONET อีก แต่ผมเลือกเรียนกับติวเตอร์ที่จองผ่านเว็บใส่ใจ แบบตัวต่อตัว ไม่เข้าใจตรงไหน ผมถามติวเตอร์ได้ทันที ติวเตอร์สอนได้ตรงจุด ชัดเจน มีการบ้านให้ผมฝึกทำด้วย ค่าเรียนแพงขึ้นมานิดหน่อยแต่ผมว่าผมคิดไม่ผิดจริง ๆ ครับ
Saijai
ภุชงค์ คงทรัพย์เจริญ
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ติว PAT

PAT มีความสำคัญอย่างไรกับเด็กไทย
การสอบ PAT (Professional and Academic Aptitude Test) เป็นการทดสอบความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ เพื่อวัดระดับความรู้ขั้นพื้นฐานของสายอาชีพนั้น ๆ และทดสอบว่านักเรียนมีศักยภาพในการเรียนสายอาชีพของคณะที่เลือกหรือไม่ โดยการสอบ PAT นั้นแบ่งตามสาขาวิชาชีพทั้งหมด 7 สาขาด้วยกัน ดังนี้

• PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ คณะที่จำเป็นต้องใช้ผลคะแนนของ PAT1 เช่น คณะเศรษฐศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ เป็นต้น
• PAT2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ คณะที่ต้องยื่นผลคะแนนของ PAT2 ได้แก่ กลุ่มคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและกายภาพ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ เป็นต้น
• PAT3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มคณะที่ต้องใช้ผลคะแนนตรงนี้คือ กลุ่มคณะวิศวกรรมศาสตร์
• PAT4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ กลุ่มคณะที่ใช้คือ กลุ่มคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
• PAT5 ความถนัดทางวิชาชีพครู คณะที่ใช้คือ คณะครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์ - PAT6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ กลุ่มคณะที่ใช้คือ กลุ่มคณะศิลปกรรมศาสตร์ วิจิตรศิลป์ เป็นต้น
• PAT7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ ซึ่งสามารถแบ่งออกไปได้อีก 6 สาขาวิชาชีพด้วยกัน ได้แก่
PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน
PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ
PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี

โดยกลุ่มคณะที่จะต้องใช้ผลคะแนนของ PAT 7 นี้ได้แก่ กลุ่มคณะมนุษยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ อักษรศาสตร์ กลุ่มคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ กลุ่มคณะวารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์ กลุ่มคณะรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ เป็นต้น รูปแบบของข้อสอบจะมีทั้งแบบปรนัย และอัตนัย โดยมีคะแนนเต็มวิชาละ 300 คะแนน ความสำคัญของสัดส่วนคะแนน GAT/PAT นั้นรวมกันแล้วมีมากถึง 50% เลยทีเดียว เป็นที่แน่ชัดว่าหากนักเรียนต้องการเข้าเรียนคณะที่ต้องการนั้น นอกจากเกรดเฉลี่ยที่โรงเรียนแล้วก็จำเป็นต้องใช้ผลคะแนนของ GAT/PAT ด้วยเช่นกัน
Pat คืออะไรมีความสำคัญอย่างไรต่อนักเรียนที่กำลังจะเข้ามหาวิทยาลัย
ตั้งแต่ปี 2561 ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ได้ออกแบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย (ทปอ.) ที่เรียกว่าTCAS หรือ Thai University Center Admission System เป็นระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย และ 4 ใน 5 ขั้นตอนในการรับนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัย ต้องใช้คะแนน PAT ร่วมด้วย ซึ่ง PAT หรือชื่อเต็มว่า (Professional and Academic Aptitude Test) เป็นการทดสอบความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ คือ วัดความรู้พื้นฐานกับศักยภาพที่จะเรียนวิชาชีพนั้น ๆ โดยมีทั้งหมด 7 วิชา คือ
PAT1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
PAT2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
PAT3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
PAT4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
PAT5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
PAT6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
PAT7 ความถนัดทางภาษา
คะแนน GAT/PAT นำไปยื่น TCAS ในรอบ 2, 3, 4, 5 แล้วแต่มหาวิทยาลัยกำหนด แต่ละรอบให้ความค่าน้ำหนักกับคะแนนไม่เท่ากัน
- รอบ 2 โควต้า (Quota)โครงการส่วนใหญ่เป็นโควตา สอบสัมภาษณ์ หรือสอบวิชาเฉพาะ มีบางโครงการที่ใช้คะแนน GAT/PAT แต่ยังเป็นแค่ส่วนน้อย
- รอบ 3 รับตรงร่วมกัน รอบนี้จะเน้นใช้คะแนน 9 วิชาสามัญ และ GAT/PAT แล้วแต่คณะ/สาขาวิชากำหนด บางที่ใช้ GAT/PAT อย่างเดียว บางที่ใช้ 9 วิชาสามัญ อย่างเดียว บางที่ใช้ทั้งสองอย่าง!
- รอบ 4 แอดมิชชั่น (Admission) GAT/PAT คือหัวใจสำคัญของรอบนี้ ใครไม่มีคะแนน GAT บอกเลยว่า สมัครรอบนี้ไม่ได้ เพราะใช้ GAT ทุกสาขาวิชา! ส่วน PAT ตามคณะ/สาขากำหนด
- รอบ 5 รับตรงอิสระ เป็นรับตรงเก็บตก ทางมหาวิทยาลัยจะกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกเอง แต่ส่วนใหญ่จะใช้เกณฑ์เดียวกับ รอบ 3 และ รอบ 4
ตลอดสามปีที่นักเรียน เรียนในระดับมัธยมปลายความรู้จะถูกนำมาเป็นข้อสอบความถนัด (PAT) เพื่อชี้วัดตัวนักเรียนเองเข้าไปศึกษาในคณะที่ฝันมหาวิทยาลัยที่ชอบ
PAT แต่ละประเภทเหมาะสำหรับนักเรียนที่จะเข้าคณะอะไรบ้าง
PAT คือการสอบความถนัดด้านวิชาการ (Professional and Academic Aptitude Test) คือ การสอบวัดศักยภาพของนักเรียนที่จะเรียนต่อในมหาวิทยาลัย PAT แต่ละประเภทเหมาะสำหรับนักเรียนที่จะเข้าคณะอะไรบ้าง
วิทยาศาสตร์กายภาพและเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, คณะวิทยาศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติ ใช้คะแนน GAT, PAT1 และ PAT2
คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะสัตวแพทยศาสตร์, คณะเทคนิคการแพทย์, คณะพยาบาลศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา และคณะจิตวิทยา เป็นต้น
หมายเหตุ คณะแพทยศาสตร์จะมีเกณฑ์คะแนนที่ใช้ในการสมัครสอบตามที่ กสพท. เป็นผู้กำหนด
ใช้คะแนน GAT, PAT1 และ PAT2
คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ใช้คะแนน GAT, PAT1, PAT2 และ PAT3
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ใช้คะแนน GAT และ PAT4
คณะเกษตรศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ คณะประมง ใช้คะแนน GAT, PAT1 และ PAT2
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์, คณะอักษรศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์, คณะนิติศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์, คณะมานุษยวิทยา ใช้คะแนน GAT, PAT1 เลือกสอบแต่ละสาขา และ PAT7 เลือกสอบแต่ละสาขา
คณะศึกษาศาสตร์ และครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์, และคณะศึกษาศาสตร์ (พลศึกษาและสุขศึกษา) ใช้คะแนน GAT, PAT5 และ PAT1-7 เลือกสอบแต่ละสาขา
คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะวิจิตรศิลป์, คณะศิลปะประยุกต์, คณะดุริยางคศิลป์, คณะนาฏศิลป์, คณะศิลปะการออกแบบ, คณะศิลปกรรมศาสตร์, คณะศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ ใช้คะแนน GAT, PAT4 เลือกสอบแต่ละสาขา และ PAT6 เลือกสอบแต่ละสาขา
คณะทางบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ, คณะเศรษฐศาสตร์, คณะการท่องเที่ยวและโรงแรม, คณะพาณิชยศาสตร์, คณะการบัญชี
สำหรับ PAT7 ที่สามารถเลือกสอบได้ คือ คณะการท่องเที่ยวและโรงแรม ใช้คะแนน GAT, PAT1 และ PAT7 เลือกสอบแต่ละสาขา
ทั้งนี้ ในแต่ละมหาวิทยาลัย จะกำหนดองค์รายละเอียดของการใช้ คะแนน แตกต่างกันออกไป หรือแม้แต่ในมหาวิทยาลัยเดียวกัน อาจกำหนดองค์ประกอบการใช้คะแนนไว้หลายรูปแบบด้วย ดังนั้นนักเรียนควรศึกษารายละเอียดการใช้คะแนนให้ดีก่อนสมัครสอบ PAT
ค่าสมัครสอบ PAT ของนักเรียนที่จะเข้ามหาวิทยาลัยวิชาละเท่าไหร่
น้อง ๆ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมปลาย และกำลังอยู่ในช่วงตัดสินใจที่จะเลือกเรียนคณะที่ต้องการของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้น จำเป็นที่จะต้องเตรียมตัวในการติวข้อสอบเพื่อวัดระดับความรู้ความถนัดของสาขาวิชาชีพนั้น ๆ อีกด้วย หรือที่เราเรียนกันว่าการสอบ PAT นั่นเอง โดยอย่างที่ทราบโดยทั่วกันคือการสอบ PAT จะแบ่งวิชาออกตามสาขาชีพทั้งหมด 7 วิชาด้วยกัน แต่น้อง ๆ นักเรียนไม่จำเป็นต้องสอบ PAT หมดทั้ง 7 วิชา แต่ให้เลือกสอบแค่วิชาที่เราคิดว่าจะต้องนำผลคะแนนไปยื่นเข้าคณะสาขานั้นในมหาวิทยาลัยแทน โดยต้องเป็นวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับคณะสาขานั้น ๆ ตามที่ทางมหาวิทยาลัยได้กำหนดเอาไว้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากน้อง ๆ อยากเข้าเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ทางมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้กำหนดให้น้อง ๆ ต้องใช้ผลคะแนน GAT/PAT ในการยื่นเข้า นั่นคือ คะแนน GAT และ PAT1 (ความถนัดทางคณิตศาสตร์) PAT2 (ความถนัดทางวิทยาศาสตร์) และPAT3 (ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์) นั่นเอง หรือหากน้อง ๆ ต้องการศึกษาต่อในคณะมนุษยศาสตร์และอักษรศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีน ทางมหาวิทยาลัยก็อาจกำหนดให้นักเรียนใช้ผลคะแนนสอบของ GAT PAT1 และ PAT7.4 ซึ่งเป็นวิชาความถนัดทางภาษาจีนนั่นเอง ซึ่งค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบของ PAT นั้นจะอยู่ 140 บาทต่อวิชา โดยน้อง ๆ นักเรียนสามารถทำการสมัครสอบได้ผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ตามลิงก์นี้ https://www.niets.or.th/th/ อย่างไรก็ตาม น้อง ๆ ต้องศึกษาเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่แต่ละคณะและมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนดให้ละเอียดถี่ถ้วน เพื่อให้ไม่พลาดโอกาสในการเข้าเรียนในคณะที่ต้องการนั่นเอง