ติว PAT ใน พานทอง, ชลบุรี

ติว PAT ใน พานทอง, ชลบุรี

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

หลังจากติวไปสักพัก ผมรู้สึกมีความมั่นใจในการทำโจทย์มากขึ้น ตัวของพี่ติวเตอร์นอกจากจะหาโจทย์มาให้ทดลองทำแล้วยังคอยอธิบายเหตุผลและสาเหตุที่ผมตอบผิดหรือจุดที่ผมพลาดไปให้ด้วยครับ
Saijai
ศิวกร อุดมภักดี
3 ปีที่แล้ว
หาที่ติวสอบ Pat ให้ลูกค่ะ เจอเว็บใส่ใจที่มีตัวเลือกของติวเตอร์เยอะ ส่วนมากมีประสบการณ์การสอนมาทั้งนั้น แถมจบจากที่ดัง ๆ ด้วย เลยตัดสินใจเลือกติวเตอร์ที่นี่ ขี้เกียจไปหาเว็บอื่นแล้วเพราะส่วนมากไม่ค่อยลงราคาให้ชัดเจน ต้องติดต่อหลายขั้นตอน ที่ใส่ใจติดต่อง่าย เว็บไซต์ใช้งานง่ายสุดแล้วค่ะ
Saijai
จิรภา จิตไพรี
4 ปีที่แล้ว
ติวเตอร์สอนดีครับ ให้ฝึกทำข้อสอบเก่า ๆ บอกทริคในการทำข้อสอบGAT PAT ให้ด้วย สุดยอดครับ
Saijai
ปริญญา ทองนำดี
4 ปีที่แล้ว
PAT2 วิชาวิทยาศาสตร์ ตัวเดียวเน้นๆ คลื่นแสง, อะตอมนิวเคลียร์ ปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี ฯลฯ พี่ติวเตอร์สอนดี พี่เขาสรุปตรงประเด็นเน้น ๆ เข้าใจ สร้างความมั่นใจได้มาก ๆ ค่ะ
Saijai
นทีนาถ วิวัฒน์ไพศาล
4 ปีที่แล้ว
จ้างติวเตอร์ส่วนตัวอาจจะราคาสูงกว่าเรียนเป็นกลุ่มใหญ่ แต่คุณพ่อคุณแม่ผมยอมลงทุนเพื่อแลกกับความสำเร็จของผม ตอนนี้ผมสอบติดแล้ว ใครต้องการที่จะเรียนติวก่อนสอบ ผมแนะนำเลย รับรองเลยว่าคุณจะไม่ผิดหวัง
Saijai
วรากรณ์ เรืองแก้ว
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ติว PAT

PAT มีความสำคัญอย่างไรกับเด็กไทย
การสอบ PAT (Professional and Academic Aptitude Test) เป็นการทดสอบความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ เพื่อวัดระดับความรู้ขั้นพื้นฐานของสายอาชีพนั้น ๆ และทดสอบว่านักเรียนมีศักยภาพในการเรียนสายอาชีพของคณะที่เลือกหรือไม่ โดยการสอบ PAT นั้นแบ่งตามสาขาวิชาชีพทั้งหมด 7 สาขาด้วยกัน ดังนี้

• PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ คณะที่จำเป็นต้องใช้ผลคะแนนของ PAT1 เช่น คณะเศรษฐศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ เป็นต้น
• PAT2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ คณะที่ต้องยื่นผลคะแนนของ PAT2 ได้แก่ กลุ่มคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและกายภาพ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ เป็นต้น
• PAT3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มคณะที่ต้องใช้ผลคะแนนตรงนี้คือ กลุ่มคณะวิศวกรรมศาสตร์
• PAT4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ กลุ่มคณะที่ใช้คือ กลุ่มคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
• PAT5 ความถนัดทางวิชาชีพครู คณะที่ใช้คือ คณะครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์ - PAT6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ กลุ่มคณะที่ใช้คือ กลุ่มคณะศิลปกรรมศาสตร์ วิจิตรศิลป์ เป็นต้น
• PAT7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ ซึ่งสามารถแบ่งออกไปได้อีก 6 สาขาวิชาชีพด้วยกัน ได้แก่
PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน
PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ
PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี

โดยกลุ่มคณะที่จะต้องใช้ผลคะแนนของ PAT 7 นี้ได้แก่ กลุ่มคณะมนุษยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ อักษรศาสตร์ กลุ่มคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ กลุ่มคณะวารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์ กลุ่มคณะรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ เป็นต้น รูปแบบของข้อสอบจะมีทั้งแบบปรนัย และอัตนัย โดยมีคะแนนเต็มวิชาละ 300 คะแนน ความสำคัญของสัดส่วนคะแนน GAT/PAT นั้นรวมกันแล้วมีมากถึง 50% เลยทีเดียว เป็นที่แน่ชัดว่าหากนักเรียนต้องการเข้าเรียนคณะที่ต้องการนั้น นอกจากเกรดเฉลี่ยที่โรงเรียนแล้วก็จำเป็นต้องใช้ผลคะแนนของ GAT/PAT ด้วยเช่นกัน
สอบเข้ามหาวิทยาลัยต้องเตรียมสอบ PAT หรือไม่
PAT สำคัญอย่างไร? ทำไมต้องสอบ?

การสอบ GAT และ PAT เป็นระบบการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยด้วยระบบกลาง (Admissions) รูปแบบใหม่ที่เปิดใช้ในปี พ.ศ. 2553 โดยกำหนดขึ้นมาใช้แทนรูปแบบการสอบ A-net แบบเก่า
PAT ย่อมมาจาก Professional and Academic Aptitude Test เป็นการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานเฉพาะด้านในสาขาที่ต้องการเข้าศึกษาต่อ ซึ่งข้อสอบ GAT และ PAT มีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในคณะที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกข้อสอบ ลักษณะข้อสอบ PAT เน้นความซับซ้อนมากกว่าความยาก มีทั้งแบบปรนัยและอัตนัยขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละวิชา ในการสอบ PAT มีข้อกำหนดคือ ผู้ที่เข้าสอบต้องเป็นนักเรียนในชั้น ม.5 – ม.6 หรือเทียบเท่า หรือจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าแล้ว โดยจะมีการเปิดสอบ 3 ครั้งต่อปี คะแนนเต็ม 300 คะแนน ใช้เวลาในการสอบ 3 ชั่วโมง และสามารถเก็บคะแนนสอบได้นานถึง 2 ปี
PAT เป็นการสอบวัดระดับความรู้ทางวิชาการเฉพาะด้านของแต่ละสาขาวิชา ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการเข้าศึกษาต่อในแต่ละคณะที่มหาวิทยาลัยกำหนด เช่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ต้องใช้คะแนนใน PAT 4 เพื่อเข้าศึกษาต่อ หรือคณะวิศวกรรมศาสตร์ต้องใช้คะแนนใน PAT 3 เพื่อเข้าศึกษาต่อ เป็นต้น ซึ่งผลคะแนนที่ได้นั้นจะใช้ยื่นสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยทั้งในแบบรับตรงและระบบกลาง (Admissions) เพื่อเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย
ดังนั้น PAT เป็นรูปแบบการสอบเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย โดยเป็นการสอบความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพเฉพาะด้านที่มีให้เลือกสอบถึง 7 สาขาวิชาด้วยกัน ซึ่งผู้ที่จะสอบนั้นต้องเป็นผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในบางคณะและบางสาขาวิชาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด แล้วจึงใช้ผลคะแนนสอบยื่นสมัครเพื่อเป็นเกณฑ์การพิจารณาเข้าศึกษาต่อ
PAT แต่ละประเภทเหมาะสำหรับนักเรียนที่จะเข้าคณะอะไรบ้าง
PAT คือการสอบความถนัดด้านวิชาการ (Professional and Academic Aptitude Test) คือ การสอบวัดศักยภาพของนักเรียนที่จะเรียนต่อในมหาวิทยาลัย PAT แต่ละประเภทเหมาะสำหรับนักเรียนที่จะเข้าคณะอะไรบ้าง
วิทยาศาสตร์กายภาพและเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, คณะวิทยาศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติ ใช้คะแนน GAT, PAT1 และ PAT2
คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะสัตวแพทยศาสตร์, คณะเทคนิคการแพทย์, คณะพยาบาลศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา และคณะจิตวิทยา เป็นต้น
หมายเหตุ คณะแพทยศาสตร์จะมีเกณฑ์คะแนนที่ใช้ในการสมัครสอบตามที่ กสพท. เป็นผู้กำหนด
ใช้คะแนน GAT, PAT1 และ PAT2
คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ใช้คะแนน GAT, PAT1, PAT2 และ PAT3
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ใช้คะแนน GAT และ PAT4
คณะเกษตรศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ คณะประมง ใช้คะแนน GAT, PAT1 และ PAT2
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์, คณะอักษรศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์, คณะนิติศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์, คณะมานุษยวิทยา ใช้คะแนน GAT, PAT1 เลือกสอบแต่ละสาขา และ PAT7 เลือกสอบแต่ละสาขา
คณะศึกษาศาสตร์ และครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์, และคณะศึกษาศาสตร์ (พลศึกษาและสุขศึกษา) ใช้คะแนน GAT, PAT5 และ PAT1-7 เลือกสอบแต่ละสาขา
คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะวิจิตรศิลป์, คณะศิลปะประยุกต์, คณะดุริยางคศิลป์, คณะนาฏศิลป์, คณะศิลปะการออกแบบ, คณะศิลปกรรมศาสตร์, คณะศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ ใช้คะแนน GAT, PAT4 เลือกสอบแต่ละสาขา และ PAT6 เลือกสอบแต่ละสาขา
คณะทางบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ, คณะเศรษฐศาสตร์, คณะการท่องเที่ยวและโรงแรม, คณะพาณิชยศาสตร์, คณะการบัญชี
สำหรับ PAT7 ที่สามารถเลือกสอบได้ คือ คณะการท่องเที่ยวและโรงแรม ใช้คะแนน GAT, PAT1 และ PAT7 เลือกสอบแต่ละสาขา
ทั้งนี้ ในแต่ละมหาวิทยาลัย จะกำหนดองค์รายละเอียดของการใช้ คะแนน แตกต่างกันออกไป หรือแม้แต่ในมหาวิทยาลัยเดียวกัน อาจกำหนดองค์ประกอบการใช้คะแนนไว้หลายรูปแบบด้วย ดังนั้นนักเรียนควรศึกษารายละเอียดการใช้คะแนนให้ดีก่อนสมัครสอบ PAT
ค่าธรรมเนียมการสอบ PAT แต่ละวิชาเท่าไหร่
นอกจากน้อง ๆ ที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยต้องเตรียมตัวติวหนังสือแล้ว แน่นอนว่าพ่อแม่ผู้ปกครองและเด็ก ๆ ยังต้องเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับทำการสอบอีกด้วย หลายคนคงกำลังกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายว่าควรเตรียมเท่าไหร่ ทางเราทำการประเมินและมีข้อมูลคร่าว ๆ ให้ดังนี้ค่ะ

รอบที่ 1 Portfolio ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 300-700 บาท โดยจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าทำแฟ้มสะสมงานหรือการสอบพิเศษ เช่น การสอบภาษา
รอบที่ 2 โควต้า ไม่จำเป็นต้องสมัครสอบทั้งหมด
• GPAX หรือ เกรดเฉลี่ย : ไม่มีค่าใช้จ่าย
• GAT/PAT : วิชาละ 140 บาท
• 9 วิชาสามัญ : วิชาละ 100 บาท
• O-NET : ไม่มีค่าใช้จ่าย
• วิชาเฉพาะแพทย์ : 800 บาท
• วิชาเฉพาะอื่นๆ : ขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด
รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน ค่าใช้จ่าย TCAS รอบ 3 รับตรงร่วมกัน และ กสพท. เฉลี่ย 800-1,500 บาท (ขึ้นกับการสอบ) 1 GAT/PAT (ขึ้นอยู่กับวิชาที่เลือกสอบ) 2 9 วิชาสามัญ 3 สอบวิชาเฉพาะ(ความถนัดแพทย์)
รอบที่ 4 Admission ค่าใช้จ่าย TCAS รอบ 4 Admission เฉลี่ย 250 บาท เลือกได้ 4 อันดับ อันดับแรก และมีค่าสมัคร 100 อันดับถัดไป บอกเพิ่มอันดับละ 50 บาท ถ้าเลือกทั้งหมด 250 บาท
รอบที่ 5 รับตรงอิสระ ค่าใช้จ่าย TCAS รอบ 4 รับตรงร่วม เฉลี่ย 200-1,000 บาท (รวมค่าสอบ) ถ้าสอบ GAT/PAT/9 วิชาสามัญแล้ว เสียแค่สมัครคัดเลือก ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่กล่าวมาอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย

น้องๆ ที่มีคณะในดวงใจแล้ว จะได้วางแผนอ่านหนังสือว่าต้องโฟกัสที่การสอบวิชาอะไร โดยไม่เสียเวลา รือเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์นะคะ