ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน นครปฐม

ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน นครปฐม

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

อธิวุฒิ สมัครการ
อธิวุฒิ สมัครการ
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 35 ปี

เป็นคนใจเย็น รักการช่วยเหลือผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หากมีที่พักให้เช่าใกล้สถานที่ทำงานจะดีมาก หรือจะให้อยู่บ้านเฝ้า 24 ชั่วโมงเลยก็ได้ครับ

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

ดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยค่ะ ได้คนมาทำงานแต่ส่วนมากทำได้ระยะสั้น ๆ มีคนล่าสุดนี่แหล่ะ เจอที่เว็บใส่ใจ นอกจากจะมีประสบการณ์ ขยัน อดทน แล้วยังไว้วางใจให้ดูแลบ้านได้ด้วย พี่เค้าเก่งมากเลยค่ะ
Saijai
ศิริรัตน์ รักษาการณ์
3 ปีที่แล้ว
ผมว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นงานที่หนักอยู่นะ ถ้าเราทำเองไม่ได้ ควรจ้างคนดูแลที่มีความรู้และประสบการณ์มาช่วย ลองจ้างคนดูแลผ่านเว็บใส้ใจ โชคดีมากที่ได้พี่นีมาช่วยดูแลคุณพ่อ พี่นีดูแลแผลกดทับไม่ให้อักเสบมากขึ้น คอยเฝ้าคอยเช็ด นวด ชวนพูดคุย เปิดเพลงให้ฟัง ได้เห็นแววตามีความสุขของคุณพ่อ ผมว่าคุ้มกับเงินที่จ่ายไป
Saijai
ปิ่นปินัทธ์ ธนภูดินันท์
4 ปีที่แล้ว
เรทค่าจ้างมีหลายราคาหลายตัวเลือกเลยค่ะ อยากได้คนดูแลผู้ป่วยติดเตียงระยะสั้นหรือยาวก็ได้หมด เพราะตรงหน้าเว็บไซต์ใส่ใจมีบอกรายละเอียดของผู้ให้บริการครบ ทั้งประวัติการทำงาน เรทราคาค่าจ้าง คุณสมบัติที่มี ทุกอย่างลงตัวหมดค่ะ
Saijai
ทิวากรณ์ อนุสาวรีย์
4 ปีที่แล้ว
คนดูแลคุณยายคนที่ผ่าน ๆ มา ราคาสูงทั้งนั้น แต่ทำงานได้ไม่คุ้มกับราคาที่จ่ายไป บางคนไม่มีประสบการณ์แถมไม่มีความอดทนอีก เจอคนใหม่ผ่านใส่ใจ ช่างแตกต่างจากคนเก่า ๆ เยอะมาก ถึงแม้ราคาอาจจะสูงพอ ๆ กัน แต่ได้คนมีประสบการณ์ และมีพื้นฐานเกี่ยวกับงานพยาบาลมาก่อน การดูแลและการบริการของน้องเค้าก็ดีมาก
Saijai
ดุษฏี ธีระโยธา
4 ปีที่แล้ว
ไม่ใช่แค่ดูแลแค่เรื่องกิจวัตร แต่พี่ีที่เฝ้าคุณพ่อยังดูแลเรื่องกิจกรรมสันทนาการต่างๆให้กับคุณพ่อผมอีกด้วยครับ ดีเกินกว่าที่คิดไว้จริง พี่เค้าอัธยาศัยดีมากครับ ตอนนี้นอกจากอาการของคุณพ่อผมดีขึ้นแล้วยังมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้นอีกด้วยครับ
Saijai
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

หน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีอะไรบ้าง
ผู้ป่วยติดเตียง คือ ผู้ป่วยที่เจ็บป่วยเรื้อรังจนทำให้สภาวะร่างกายเสื่อมโทรมลง ส่งผลให้ไม่สามารถใช้ชีวิตหรือทำกิจวัตรประจำวันได้เหมือนคนปกติทั่วไป อีกทั้งยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เพราะต้องนอนอยู่แต่บนเตียงตลอดเวลานั่นเอง ผู้ป่วยติดเตียงนั้นจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด หากเป็นผู้ดูแลที่มีประสบการณ์และมีความมืออาชีพในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นยิ่งดี เพราะผู้ดูแลจะมีวิธีการดูแลอย่างถูกวิธีนั่นเอง

หน้าที่หลักของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีดังนี้

1. ดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วย การที่ผู้ป่วยต้องนอนนิ่ง ๆ เป็นเวลานานนั้นอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลาย ๆ อย่างตามมา เช่น แผลกดทับ เนื่องจากกล้ามเนื้อไม่ได้ขยับเป็นเวลานานนั่นเอง ผู้ดูแลจำเป็นต้องดูแลเรื่องการจัดท่านอนอย่างถูกต้อง จับผู้ป่วยพลิกตัวอยู่เสมอ คอยช่วยขยับแขนหรือขา เพื่อลดอาการกล้ามเนื้อฝ่อและไม่ให้เกิดอาการบวมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
2. ผู้ดูแลมีหน้าที่ใส่ใจเรื่องความสะอาดของผู้ป่วยติดเตียง โดยจะดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ เช่น การขับถ่าย การชำระร่างกาย เป็นต้น รวมไปถึงดูแลเรื่องความสะอาดของอุปกรณ์และสิ่งของทั้งหลายที่ผู้ป่วยใช้ เช่น ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน เครื่องมือแพทย์ต่าง ๆ เป็นต้น
3. ดูแลไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะขาดสารอาหาร ผู้ป่วยติดเตียงบางคนอาจต้องให้อาหารทางสายยาง ดังนั้นผู้ดูแลต้องหมั่นตรวจสอบและติดตามอาการจากแพทย์บ่อย ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอ หากไม่เพียงพอจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เรื่องอาหารเสริมหรือวิธีแก้ไขอื่น ๆ ต่อไป
4. ดูแลเรื่องสภาวะจิตใจของผู้ป่วย ผู้ป่วยบางคนที่อยู่บนเตียงเป็นเวลานานอาจส่งผลให้สภาพจิตใจแย่ลง ผู้ดูแลควรหากิจกรรมหรือพูดคุยและอยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วยอยู่บ่อย ๆ เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
ปัญหาที่พบบ่อยเมื่อจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงและวิธีการแก้
เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ระบบการทำงานต่าง ๆ และสภาพร่างกายย่อมเสื่อมโทรมลง และนำไปสู่การเป็นผู้เป็นผู้ป่วยติดเตียงได้ ซึ่งการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นผู้ดูแลจำเป็นต้องเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลเป็นอย่างดี อีกทั้งจำเป็นจะต้องให้ความใส่ใจอย่างใกล้ชิด

ปัญหาที่พบได้บ่อยในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงและวิธีการแก้ไข มีดังต่อไปนี้

1. แผลกดทับ เนื่องจากขยับตัวได้ยากหรือทำไม่ได้เลย ผู้ป่วยติดเตียงส่วนใหญ่ต้องนอนกับที่อยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดแผลกดทับตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น บริเวณ ท้ายทอย ข้อศอก สะโพก ก้นกบ เป็นต้น ถ้าไม่ได้รับการดูแลที่ดี อาการแผลกดทับเหล่านี้อาจลุกลามไปเป็นแผลติดเชื้อที่มีความรุนแรงถึงชีวิตได้ วิธีแก้ไขคือผู้ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยติดเตียงต้องพลิกตัวผู้ป่วยบ่อย ๆ หรือพยายามเปลี่ยนท่านอนของผู้ป่วยอยู่เสมอ ห้ามทิ้งผู้ป่วยให้นอนในท่าเดียวซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน หมั่นทำความสะอาดผิวหนังไม่ให้เปียกชื้น และอาจใช้อุปกรณ์เสริมในการลดแรงกดดันของกระดูก
2. ปัญหาเรื่องความสะอาดและสุขอนามัยของผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยต้องนอนอยู่กับที่ตลอดเวลา การทำความสะอาดร่างกายเป็นไปได้ยากและจำกัด ต้องให้ผู้ป่วยขับถ่ายด้วยกระโถนบนที่นอน บางรายต้องใช้สายสวนปัสสาวะ ดังนั้นการดูแลรักษาความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ ในรายที่ใช้สายสวนปัสสาวะ ผู้ดูแลจำเป็นต้องเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะเป็นประจำทุกสองสัปดาห์ และควรทำความสะอาดสายด้วยสบู่อ่อนเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ควรทำความสะอาดร่างกาย ของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีการขับถ่ายต้องรีบทำความสะอาดทันทีอย่าปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานเป็นอันขาด ทำความสะอาดและเช็ดให้แห้งอยู่เสมอ สุขภาพปากและฟันสำคัญควรทำความสะอาดช่องปากทุกครั้งหลังมื้ออาหาร
3. ปัญหาด้านสภาพจิตใจของผู้ป่วย สิ่งนี้นับเป็นอีกสิ่งสำคัญ เพราะผู้ป่วยติดเตียงอาจมีภาวะเครียดและอาการซึมเศร้าได้ ผู้ดูแลควรชวนพูดคุย หรืออ่านหนังสือ หรือเปิดเพลงที่ผู้ป่วยชื่นชอบเพื่อเป็นการสร้างความผ่อนคลาย ผู้ดูแลต้องไม่แสดงอาการไม่พอใจ หงุดหงิด กับผู้ป่วยเพราะอาจกระทบต่อความรู้สึกของผู้ป่วยได้
สิ่งที่ญาติควรเตรียมก่อนทำการจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา ดังนั้นญาติของผู้ป่วยจำเป็นต้องพิจารณาถึงปัจจัยหลักต่าง ๆ ก่อนเพื่อให้ตอบสนองความต้องการให้ได้มากที่สุด

ซึ่งสิ่งที่ญาติผู้ป่วยควรรู้และเตรียมตัวก่อนทำการจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นมีดังนี้

1. ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงด้วยวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ป่วยที่สุด เพื่อเตรียมตัวในการกำหนดและจัดหาผู้ดูแลที่มีคุณสมบัติตรงต่อความต้องการในการดูแลผู้ป่วยนั่นเอง
2. เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการจัดหาอุปกรณ์ในการดูแลผู้ป่วย และต้องมั่นใจว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยได้ดีที่สุด เช่น เตียงที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ที่นอนลม รถเข็นในกรณีที่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปไหนมาไหน รวมไปถึงอุปกรณ์การทำแผล อุปกรณ์ทำความสะอาดผู้ป่วย และอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่หายใจเองลำบาก อย่างเครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น
3. ความพร้อมทางด้านการเงิน อย่างที่ทราบกันดีว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นเป็นการดูแลในระยะยาว ดังนั้นจึงอาจมีค่าใช้จ่ายที่ไม่แน่นอน และอาจสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งค่าอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น ครอบครัวของผู้ป่วยจึงต้องวางแผนและบริหารจัดการการเงินในการดูแลผู้ป่วยให้ดีที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง
4. จัดเตรียมสถานที่ในการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเตียงให้เหมาะสม ครอบครัวควรจัดหาสถานที่ในบ้านที่เหมาะสมต่อการให้ผู้ป่วยอยู่ เช่น ห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก อยู่ชั้นล่างเพื่อง่ายต่อการขนย้ายผู้ป่วย และมีพื้นที่กว้างพอที่จะวางอุปกรณ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยเช่นกัน




วิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ให้เกิดแผลกดทับ
สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังเมื่อผู้ป่วยนอนติดเตียง ได้แก่ แผลกดทับ โดยแผลกดทับมักเกิดขึ้นบริเวณผิวหนังที่หุ้มกระดูก เช่น ท้ายทอย ข้อศอก ส้นเท้า ข้อเท้า สะโพก หรือกระดูกก้นกบ เป็นต้น สาเหตุการเกิดแผลกดทับ คือการที่ผู้ป่วยนอนนาน ๆ บริเวณที่เป็นปุ่มกระดูกต่าง ๆ เหล่านี้จะขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงที่ผิวหนังทำให้เซลล์บางตัวตายจนเป็นแผลไปเรื่อย ๆ ระยะแรกอาจเกิดอาการลอกที่ผิว แต่พอนานเข้าก็จะลอกไปจนถึงชั้นกล้ามเนื้อหรือถึงชั้นกระดูก และเมื่อร่างกายปราศจากผิวหนังซึ่งทำหน้าที่ปกคลุมแล้วโอกาสเกิดการติดเชื้อจะมากขึ้นและอาจรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ การป้องกันการเกิดแผลกดทับ เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถพลิกตัวเองได้เองจึงเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลที่จะช่วยปรับเปลี่ยนท่าทางของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ และควรมีอุปกรณ์เสริมเพื่อช่วยลดแรงกดทับ เช่น ฟองน้ำ ที่นอนลม หมอนผ้านุ่มๆ เจลรองปุ่มกระดูก ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเลี่ยงแรงกดทับจากการนอนหรือนั่งไปที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นเวลานาน

การจัดท่าทางสำหรับเลี่ยงการเกิดแรงกดทับทำได้ดังนี้

1. ปรับเปลี่ยนท่าทางทุก ๆ 15 นาทีหากต้องนั่งบนรถเข็นและพลิกตัวเปลี่ยนท่านอนอย่างน้อยทุก ๆ 2 ชั่วโมง
2. ปรับเตียงนอนให้สูงขึ้นไม่เกิน 30 องศาเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังบริเวณก้นกบดึงรั้งจนเกิดแผลกดทับได้
3. เบาะรองนั่งหรือเตียงนอนควรเลือกแบบที่ช่วยผ่อนแรงกดทับและปรับท่าทางให้นั่งหรือนอนได้สบาย
4. รถเข็นควรเลือกแบบที่ปรับระดับได้ เพื่อช่วยลดแรงกดทับ