วิธีการทำงาน
ติดต่อเรา
ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ
แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ
เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ
ยืนยันการจองของคุณ
เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA
ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ
รีวิวล่าสุด
คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายสามารถช่วยดูแลผู้ป่วยทั้งทางด้านกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ รวมทั้งช่วยดูแลความรู้สึกของผู้ป่วยและครอบครัว เพราะเมื่อมีบุคคลในครอบครัวป่วยหนัก ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะทำให้คนอื่น ๆในครอบครัวได้รับผลกระทบจากการป่วยโดยเฉพาะทางด้านจิตใจ
2. ผู้ดูแลสามารถประเมินผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้อย่างถี่ถ้วนและรอบด้าน ให้การดูแลโดยมุ่งลดความทุกข์ทรมานทั้งจากอาการทางกาย เช่น ลดอาการปวด อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน หรือจากอาการทางจิตใจ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล เครียด เบื่ออาหาร เป็นต้น
3. เป็นคนรักษาความลับของผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ดี โดยให้ความเคารพสิทธิของผู้ป่วยและครอบครัวในการรับทราบข้อมูลการเจ็บป่วย และให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมตัดสินใจเรื่องแนวทางและเป้าหมายของการดูแล รวมไปถึงการให้ความเคารพในความเชื่อทางศาสนาของผู้ป่วยและครอบครัว
4. ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องมีความรู้เบื้องต้นในการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อช่วยดูแลผู้ป่วยได้
ทั้งหมดนี้คือคุณสมบัติหลัก ๆ ที่ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมี เพราะการดูแลชีวิตของผู้ป่วยถือเป็นสิ่งสำคัญ หากคนดูแลและครอบครัวดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ดีจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอีกด้วย
แนวทางในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีดังนี้
1. ต้องมีการประเมินสภาพของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ เช่น รับประทานอาหารได้น้อยลง ร่างกายอ่อนเพลีย นอนหลับมากขึ้น การหายใจที่สั้นลง และหยุดเป็นพักๆ รวมถึงความเจ็บปวดต่างๆที่เกิดกับตัวผู้ป่วย หากมีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อที่จะได้รักษาได้ถูกต้องต่อไป แต่หากผู้ป่วยไม่สามารถพูดคุยหรือแจ้งอาการเจ็บป่วยของตัวเองได้ ผู้ดูแลต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วย เช่น ซึมเศร้า ตกใจ เป็นต้น
2. หากผู้ป่วยมีอาการเมื่อยล้า อ่อนเพลีย แม้จะได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ผู้ดูแลควรหากิจกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น เช่น การดูหนัง ฟังเพลง โดยผู้ดูแลจะต้องอำนวยความสะดวกต่างๆให้ผู้ป่วยใช้พลังงานน้อยที่สุด เช่น ช่วยประคองผู้ป่วยเมื่อ เดิน หรือยืน
3. การดูแลด้านอาหารการกิน ผู้ป่วยระยะสุดท้ายอาจมีอาการปฏิเสธอาหารและความอยากที่ลดลง สาเหตุจาก การรับรสและกลิ่นที่เปลี่ยนไปทำให้ผู้ป่วยไม่อยากรับประทานอาหาร สิ่งเหล่านี้เป็นกลไกของร่างกายที่ไม่สามารถควบคุมได้ ไม่ควรฝืนให้ผู้ป่วยรับประทาน เพราะจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัดทั้งกายและใจ บางครั้งอาจบรรเทาได้โดยการ ให้แพทย์ให้ยากระตุ้นความอยาก เป็นต้น
4. ผู้ป่วยระยะสุดท้ายอาจเผชิญปัญหาด้านสภาวะอารมณ์ เช่น ความกลัว วิตกกังวล ญาติและผู้ดูแลควรพูดให้กำลังใจ เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย บรรเทาความทุกข์ใจ
5. ผู้ป่วยและทางญาติ สามารถตัดสินใจได้ว่า ต้องการการดูแลในสถานที่ใด หากดูแลที่บ้าน แพทย์จะแนะนำวิธีการดูแลให้สมาชิกในครอบครัว หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้ช่วยผู้ป่วยบรรเทาจากความเจ็บป่วยทางกาย และให้กำลังใจผู้ป่วย เพื่อลดความกังวลต่างๆ แต่หากต้องการดูแลที่สถานพยาบาล เนื่องจาก ไม่มีผู้ดูแลที่บ้าน หรืออาการเจ็บปวดที่ไม่บรรเทาเมื่อได้รับการดูแลที่บ้าน แม้ว่าการดูแลในโรงพยาบาลจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยกว่า แต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่าง ซึ่งมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป
SAIJAI "ใส่ใจ" เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการดูแลเด็ก ดูแลผู้สูงอายุ ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ แม่บ้าน/ทำความสะอาด คนขับรถ ดูแลสัตว์เลี้ยง เสริมสวย และช่างซ่อมบำรุงเท่านั้น "SAIJAI" ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการหรือจ้างบุคคลใดให้บริการ ไม่มีสถานะเป็นนายจ้าง ผู้ว่าจ้าง ตัวแทน ผู้ร่วมทุน อย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเป็นผู้รับจ้างอิสระ ซึ่งผู้รับบริการเป็นผู้ว่าจ้าง คุณภาพการให้บริการเป็นความรับผิดชอบทั้งสิ้นของผู้ให้บริการเอง การเรียกใช้บริการจากผู้ให้บริการ อาจมีความเสี่ยง ซึ่งผู้รับบริการรับทราบและยินดีใช้บริการ บนความเสี่ยงใด ๆ ในความรับผิดชอบของตัวท่านเอง