ผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราว ใน สมุทรสาคร

ผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราว ใน สมุทรสาคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ธมลวรรณ สังข์แก้ว
ธมลวรรณ สังข์แก้ว
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี
Saijai อายุ 38 ปี

ใส่ใจ เข้าใจ สะอาด ดูแลเปรียญเสมือนญาติ

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

เลือกใช้บริการผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราว โดยติดต่อผ่านทางเว็บใส่ใจ ผมได้คนดูแลที่ดีมากเลยครับ นอกจากจะช่วยดูแลเรื่องทั่วไปแล้ว ยังช่วยอ่านหนังสือ พาคุณตาของผมไปเดินเล่น และยังคอยสังเกตอาการของคุณตาเป็นระยะ ๆ ผมสบายใจและหายห่วงไปได้เยอะเลยครับ
Saijai
ณัฐดนัย พินิจนิภัติ
3 ปีที่แล้ว
ขั้นตอนการจองง่ายมาก ๆ ค่ะ แต่ยังแอบเป็นห่วงว่าคนดูแลจะดูแลคุณแม่ได้ดีหรือเปล่า หรือจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นหรือเปล่า แต่ทุกอย่างราบรื่นดี
Saijai
รริดา ชะมิด
3 ปีที่แล้ว
เป็นครั้งแรกที่ใช้บริการผู้ดูแลผู้สูงอายุแบบชั่วคราว เพราะต้องไปสัมนาที่ตจว. เลยหาคนมาดูแลยายแทนสักพัก ไม่ผิดหวังค่ะ คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปเลย
Saijai
สมฤดี มีชัย
3 ปีที่แล้ว
ขอบคุณเว็บใส่ใจจริง ๆ ค่ะ ใช้งานง่าย มีคยให้เลือกเยอะเลย
Saijai
วรรณี ศรีสุตโต
3 ปีที่แล้ว
น้องดูแลได้ดีมากค่ะ มีความรู้เกี่ยวกับอาการและมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องฟอกปอดดีมากค่ะ แถมสุภาพมาก ๆ คุณพ่อเองก็ยังอยากให้จ้างต่อเป็นผู้ดูแลประจำ
Saijai
ภารดี ไตรภพ
3 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราว

ผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราวมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง
การใช้บริการดูแลผู้สูงอายุแบบชั่วคราวนั้นอาจเกิดมาจากหลาก ๆ สาเหตุไม่ว่าจะเป็นการรับช่วงดูแลผู้สูงอายุต่อจากผู้ดูแลประจำเป็นระยะเวลาชั่วคราว หรือการได้รับติดต่อเพื่อให้ไปดูแลผู้สูงอายุ ยามที่บุคคลในครอบครัวไม่สามารถมีเวลามาดูแลผู้สูงอายุเองได้ รวมถึงการดูแลผู้สูงอายุที่เข้ามาทำการพักฟื้นสุขภาพกายหรือสุขภาพจิต ณ สถานที่พักหรือสถานที่บำบัดก็ตาม ผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราวมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ

1. การรับช่วงดูแลผู้สูงอายุต่อจากผู้ดูแลคนก่อนหน้าหรือครอบครัว ซึ่งหน้าที่นี้เป็นหน้าที่สำคัญที่สุดเพราะการรับช่วงต่อหรือการเข้าไปดูแลผู้สูงอายุนั้น ต้องมีการศึกษาและตรวจสอบข้อมูลของผู้นั้นเป็นอย่างดีก่อน เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุเกิดความไม่คุ้นเคย หรือต้องปรับตัวกับผู้ดูแลคนใหม่
2. การดูแลเรื่อง อาการเจ็บป่วยหรืออาการทางจิต ในกรณีที่ผู้สูงอายุคนนั้นเป็นผู้สูงอายุที่ป่วย และเข้ามาทำการพักฟื้นชั่วคราว ไม่ว่าจะเป็นการดูแลผู้สูงอายุให้รับประทานอาหารและยาตรงตามเวลา หรือ การทำกายภาพบำบัดต่างๆ ให้แก่ผู้สูงอายุ
3. การดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวัน เนื่องจากผู้สูงอายุบางท่านอาจมีปัญหาด้านสุขภาพหนัก จากการแก่ตัวของอายุ ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจวัตรหลายๆ อย่างได้ด้วยตนเอง ผู้ดูแลชั่วคราวจึงมีหน้าที่เรียนรู้และศึกษากิจวัตรของผู้สูงอายุบุคคลนั้นๆ เพื่อเข้าไปช่วยเหลือในกิจวัตรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำ เช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า เปลี่ยนชุดชั้นใน แพมเพิร์ส และรวมถึงการนอน
4. การดูแลเรื่องอาหารการกิน ผู้สูงอายุบางท่านอาจรับประทานอาหารไม่เหมือนกันและร่างกายก็ยังต้องการสารอาหารเป็นพิเศษที่ต่างกันในแต่ละคน ทำการดูแลเรื่องอาหารการกินนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ
5. การคอยพูดคุยเพื่อเป็นเพื่อนคลายเหงาและสร้างกำลังใจให้แก่ผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่ต้องมีคนดูแลนั้นมาจากสาเหตุหลักๆ เลยคือครอบครัวไม่มีเวลาให้ หรือถูกทอดทิ้งทำให้บ่อยครั้งที่ผู้สูงอายุเกิดความน้อยใจและตัดพ้อคิดสั้น การคอยอยู่ข้างๆ และพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวกันจึงเป็นอีกหนึ่งหน้าที่สำคัญ

เมื่อจำเป็นต้องใช้บริการผู้ดูแลผู้สูงอายุแบบชั่วคราว เราจะมีวิธีการสังเกตอย่างไรว่าผู้ดูแลเป็นคนที่ไว้ใจได้
ผู้สูงอายุเป็นวัยที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษทั้งด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ ต้องการอยู่ใกล้ชิดครอบครัวและลูกหลาน แต่ด้วยสภาพสังคมปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่ต้องทำงานนอกบ้าน หลายครอบครัวพยายามปรับเวลาทำงานเพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้มีเวลาผลัดกันช่วยดูแลผู้สูงอายุ และจ้างผู้ดูแลแบบชั่วคราวเพื่อดูแลผู้สูงอายุในเวลาที่ไม่สามารถดูแลผู้อายุได้ด้วยตัวเอง เมื่อจำเป็นต้องจ้างคนดูแลผู้สูงอายุ หลายคนยังเป็นกังวลใจทั้งเรื่องความปลอดภัยทั้งต่อตัวผู้สูงอายุเองและทรัพย์สินภายในบ้าน จึงควรเลือกผู้ดูแลที่มีความรู้และประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุเพื่อให้มั่นใจว่าผู้สูงอายุจะได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี อาจเป็นคนที่ได้รับการแนะนำจากเพื่อนหรือคนรู้จักที่ไว้ใจได้ หาจากตัวแทนจัดหางาน เว็บไซต์หรือสื่อออนไลน์
ใส่ใจให้ความสำคัญกับการคัดกรองผู้ให้บริการก่อนอนุมัติเข้าสู่เว็บไซต์ของใส่ใจ ผู้ให้บริการทุกคนต้องกรอกข้อมูลประวัติส่วนตัว ข้อมูลการติดต่อ เอกสารระบุตัวบุคคล เช่น บัตรประชาชน ใบอนุญาตขับขี่ หรือหนังสือเดินทาง และข้อมูลประวัติการทำงานและหลักสูตรการอบรม นอกจากนั้นผู้ใช้บริการที่เคยใช้บริการนั้น ๆ สามารถแบ่งปันประสบการณ์ความพึงพอใจ(รีวิว) ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้จะถูกแสดงให้ผู้ใช้บริการเรียกดูเพื่อประกอบการตัดสินใจ นอกจากข้อมูลด้านคุณสมบัติและประสบการณ์แล้ว การเลือกผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ผ่านการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกมั่นใจยิ่งขึ้น

ค่าจ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราวครั้งละเท่าไหร่
วัยที่สูงขึ้นผู้สูงอายุของทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ ผู้สูงอายุทุกคนต้องการความรักความเอาใจใส่จากคนใกล้ชิด คนในครอบครัวโดยเฉพาะลูกหลานควรให้เวลาดูแลเพื่อให้ท่านไม่รู้สึกเหงาและซึมเศร้า แต่ด้วยสภาพสังคมในปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านทำให้ไม่สามารถดูแลผู้สูงอายุได้ด้วยตัวเอง เลยต้องจ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุ โดยอัตราค่าจ้างผู้ดูแลจะแตกต่างกันไปตามความรู้และประสบการณ์ สำหรับอัตราค่าจ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราวโดยทั่วไป สำหรับพยาบาลวิชาชีพมีอัตราค่าจ้างอยู่ที่ประมาณ 1,600 – 2,500 บาท ต่อเวร เวรของพยาบาล นับเป็น เช้า บ่าย ดึก เวรละ 8 ชั่วโมง 8.00-16.00., 16.00-24.00, 24.00-8.00. ส่วนผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ไม่ใช่พยาบาล แต่ผ่านการอบรมมีวุฒิบัตรรับรอง อัตราค่าจ้างสำหรับไป-กลับ ใช้เวลาทำงานประมาณ 12 ชั่วโมง จะอยู่ที่ วันละ 1,200-1,600 บาท (อัตราจ้างในกรุงเทพและต่างจังหวัดอาจมีราคาแตกต่างกัน) ซึ่งผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมการดูแลผู้สูงอายุ มีความเข้าใจและมีจิตบริการ สามารถมาช่วยดูแลผู้สูงอายุได้ตามความต้องการของผู้ว่าจ้าง เช่น ดูแลกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ เช่น การรับประทานอาหาร การนอนหลับพักผ่อน การเคลื่อนย้าย การขับถ่าย ให้ถูกสุขลักษณะ อาบน้ำ เช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า พูดคุยกับผู้สูงอายุ ให้ท่านเพลิดเพลินไปกับกิจกรรมที่คุ้นเคย เป็นต้น อีกทั้งดูแลทางการแพทย์เบื้องต้น เช่น จัดยา ป้อนอาหาร ดูดเสมหะ พลิกตะแคงตัวเพื่อป้องกันแผลกดทับ นวดหรือทำกายภาพบำบัดเบื้องต้น ตามความจำเป็นของผู้สูงอายุแต่ละท่าน
อุปกรณ์อำนวยความสะดวกใดบ้างที่จำเป็นต่อการดูแลผู้สูงอายุ
การดูแลผู้สูงอายุที่นอกจากจะต้องมีคนดูแลแล้ว ยังมีอุปกรณ์และของใช้ที่จำเป็นเพื่อให้ผู้สูงอายุสะดวกสบายและปลอดภัย เช่นตัวอย่างดังต่อไปนี้

1. ราวจับกันลื่นล้มในห้องน้ำ อุปกรณ์ชิ้นนี้มีความสำคัญอย่างมากเวลาผู้สูงอายุต้องอาบน้ำ หากพื้นห้องน้ำลื่นมีความเสี่ยงจะเกิดอุบัติเหตุกับผู้สูงอายุในห้องน้ำ ทำให้ลื่นล้มบาดเจ็บหรืออาจร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต
2. ราวจับพยุงตัวเวลานั่งชักโครก ผู้สูงอายุส่วนมากมักมีปัญหาในการลุกยืนจากการนั่งนาน ๆ เช่น การนั่งทำธุระส่วนตัวในตอนเช้า อุปกรณ์นี้ช่วยให้ผู้สูงอายุพยุงตัวเองได้สะดวกและปลอดภัย
3. แผ่นรองกันลื่นในห้องน้ำ ป้องกันอุบัติเหตุจากความลื่นบนพื้นห้องน้ำ
4. เก้าอี้นั่งอาบน้ำ สำหรับผู้สูงอายุการยืนอาบน้ำเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดความเมื่อยล้า และเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เก้าอี้นั่งอาบน้ำเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในจุดนี้
5. กริ่ง เพื่อความสะดวกควรเป็นกริ่งแบบไร้สาย ใช้ในกรณีที่ผู้สูงอายุต้องการความช่วยเหลือ
6. ราวกั้นเตียง เตียงของผู้สูงอายุควรเป็นเตียงที่มีราวกั้นเตียงเพื่อป้องกันการพลัดตกเตียง อาจเลือกเตียงที่มีราวกั้นเตียงแบบถอดเก็บหรือพับได้ เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุรู้สึกอึดอัด นอกจากนี้ราวกั้นเตียงยังมีประโยชน์ในการเป็นที่ยึดหรือจับ เหมือนเป็นราวพยุงตัวเวลาจะลุกนั่งได้อีกด้วย