สอนหลักสูตรการศึกษา ใน พานทอง, ชลบุรี

สอนหลักสูตรการศึกษา ใน พานทอง, ชลบุรี

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

Saijai
ยังไม่มีข้อมูลการรีวิว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา สอนหลักสูตรการศึกษา

ติวเตอร์ที่รับสอนพิเศษสามารถสอนในระดับใดได้บ้าง
ในประเทศไทยมีจำนวนโรงเรียนสอนพิเศษและบริการติวเตอร์อยู่ทั่วทุกพื้นที่ โดยในแต่ละพื้นที่ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรและความต้องการ ปกติแล้วในจังหวัด *Region* มีจำนวนติวเตอร์ประมาณ *Percentage* และจำนวนโรงเรียนสอนพิเศษประมาณ *NoOfSchool* แห่งด้วยกัน เห็นได้ชัดว่าสังคมของเราให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษาเป็นอย่างดี นอกจากการเรียนรู้ภายในรั้วสถานศึกษาแล้ว การขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมนอกสถาบันการศึกษานั้นเป็นสิ่งที่แนะนำเช่นกัน
บริการติวเตอร์รับสอนพิเศษโดยทั่วไปนั้นมักเตรียมหลักสูตรการเรียนการสอนให้กับทุกระดับการศึกษา ดังต่อไปนี้

1. ระดับอนุบาล เป็นการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้เพิ่มเติมของเด็กในช่วงวัยที่กำลังเรียนรู้อย่างรวดเร็ว เพื่อเตรียมพร้อมสู่ระดับชั้นประถมศึกษา โดยการใช้เทคนิคสื่อการสอนและกิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถทำให้เด็กในวัยนี้เข้าใจอย่างรวดเร็ว และรู้สึกสนุกไปกับการเรียนรู้เช่นกัน
2. ระดับประถมศึกษา บริการติวเตอร์ที่ช่วยสอนเทคนิคพื้นฐานของการเรียนวิชาต่าง ๆ โดยเน้นไปที่การสอนทักษะในการคิด วิเคราะห์ โดยการใช้เหตุผลง่าย ๆ ไปจนถึงการสอนเทคนิคในการเตรียมพร้อมเป็นรายวิชาเพื่อเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาต่อไป
3. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ช่วยสอนทักษะรายวิชา เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ ฯลฯ และเตรียมความพร้อมในการสอบเข้าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ
4. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นการสอนพิเศษแบบเน้นเนื้อหารายวิชาแบบเจาะจง และเน้นตามความถนัดของวิชาต่าง ๆ เน้นการติวเพื่อสอบวัดระดับ เพื่อเตรียมพร้อมในการสอบเข้าคณะและมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับประเทศ
5. ระดับมหาวิทยาลัย เน้นการสอนเฉพาะในแต่ละภาควิชาของแต่ละคณะ ไม่ว่าจะเป็นการสอนแบบตัวต่อตัวและแบบกลุ่ม ทั้งหลักสูตรปกติและหลักสูตรอินเตอร์
การแข่งกันทางด้านการเรียนในระดับการศึกษาต่าง ๆ มีผลอย่างไร และนักเรียนควรรับมืออย่างไร
เนื่องจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ทำให้มีการแข่งขันทางการเรียนในระดับการศึกษาต่าง ๆ มากขึ้น สภาพแวดล้อมรอบจากโรงเรียนและครอบครัวของนักเรียน อาจเป็นตัวผลักดันให้เด็กต้องแข่งขันกันเรียน เช่น ความคาดหวังจากคนในครอบครัว ส่งผลให้นักเรียนทุ่มเทและพยายามเรียนให้เป็นลำดับต้น ๆ ของชั้นเรียน อีกหนึ่งปัจจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับการแข่งขันด้านการเรียน คือความเหลื่อมล้ำด้านฐานะของผู้เรียน เพราะคนที่มีต้นทุนหรือปัจจัยที่เอื้ออำนวยและพร้อมกว่า จะได้รับโอกาส ด้านการศึกษามากกว่าคนที่มีปัจจัยน้อย ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขัน สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในเรื่องของการแข่งขันทางการเรียนคือการผลวัดผลประเมิน ซึ่งอาจมาจากการสอบการประเมินผลจากงานที่ได้รับมอบหมาย เป็นต้น ผลของการแข่งขันด้านการเรียนสามารถส่งผลได้ทั้งด้านบวกและด้านลบต่อตัวนักเรียน ผลด้านบวกเช่น ผู้เรียนมีความตั้งใจความกระตือรือร้น ขยัน พร้อมเรียนรู้ตลอดเวลา ส่วนด้านลบเช่นความกดดัน ความคาดหวังที่มากขึ้น ทั้งจากตัวนักเรียนเอง และตัวคนรอบข้าง หากนักเรียนทำไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ จะเกิดความเครียด ความกดดันต่าง ๆ ตามมา อาจร้ายแรงถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้า

ใส่ใจมีคำแนะนำที่จะช่วยให้นักเรียนรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้ได้ดังต่อไปนี้ค่ะ

1.อย่ากดดันตัวเองและคาดหวังมากเกินไป แต่ให้พยายามทำสุดความสามารถและยอมรับในผลที่ตามมา หากกดดันตัวเองจนเกินไปจะกลายเป็นความเครียดสะสมและส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตในระยะยาวได้
2.การวางแผน วางเป้าหมายที่เป็นไปได้ วิธีนี้จะช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ และหากทำเป็นประจำในอนาคตก็จะมีความชำนาญเพิ่มขึ้น เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
3.พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ อยู่สม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยให้ นักเรียนสามารถพัฒนาความโดดเด่นของตัวเองได้มากขึ้น ซึ่งเป็นจุดแข็งด้านการเรียนได้
4.ไม่ต้องเปรียบเทียบ เพราะการแข่งขัน เกิดจากการเปรียบเทียบ ยิ่งเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่นมากเท่าไร ยิ่งทำให้ตัวเองกดดันขึ้นเท่านั้น
ทำไมนักเรียนในระดับชั้นมัธยมปลายจะต้องรักษาเกรดเพื่อที่จะได้เข้าเรียนในคณะที่ตัวเองต้องการในระดับมหาวิทยาลัย
การได้เข้าศึกษาต่อในคณะที่ต้องการของมหาวิทยาลัยในฝัน ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมปลาย ไม่ว่าจะศึกษาต่อในหรือต่างประเทศ สิ่งแรกที่มหาวิทยาลัยใช้เป็นเกณฑ์พิจารณารับนักศึกษาเข้าเรียน คือเกรดเฉลี่ยของระดับชั้นมัธยมปลาย ทำให้นักเรียนมัธยมปลายส่วนใหญ่ต้องรักษาเกรดของตัวเองให้อยู่ในระดับดีเพื่อใช้ยื่นสมัครเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมปลาย ต้องรักษาเกรดเพื่อที่จะเข้าเรียนในคณะที่ต้องการในระดับมหาวิทยาลัย มีดังต่อไปนี้

1. แต่ละคณะของมหาวิทยาลัยมีการกำหนดเกรดขั้นต่ำในการรับสมัคร หมายความว่าหากผู้สมัครได้เกรดไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่ทางมหาวิทยาลัยได้กำหนดเอาไว้ ทางมหาวิทยาลัยจะไม่รับพิจารณาให้ผู้สมัครเข้าเรียนในคณะนั้น
2. บางมหาวิทยาลัย นำเกรดแปลงมาเป็นคะแนน ในการคิดค่าน้ำหนัก หากได้เกรดสูงเท่ากับได้คะแนนมาก ได้เกรดต่ำคะแนนจะน้อยตามไปด้วย ซึ่งมีผลในการสมัครเรียนในระดับปริญญา
3. ได้เกรดสูงยิ่งได้เปรียบ ไม่เพียงแค่การสมัครสอบในประเทศเท่านั้นที่ใช้เกรดพิจารณา การศึกษาต่อในต่างประเทศจะพิจารณาจากเกรดด้วยเช่นกัน ข้อได้เปรียบอีกอย่างของคนที่รักษามาตรฐานของผลการเรียนไว้ได้เป็นอย่างดีนั้น สามารถใช้ในการสมัครทุนเรียนต่อได้ เพราะทุนการศึกษาส่วนใหญ่ได้กำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์รับทุนไว้แล้ว ซึ่งสิ่งแรกที่ดู คือผลการเรียนหรือเกรดนั่นเอง
4. นักเรียนที่มีผลการเรียนที่ดี มีตัวเลือกมากกว่า เพราะยิ่งมีเกรดสูง ถือว่าผ่านคุณสมบัติเกรดขั้นต่ำของหลาย ๆ คณะและมีโอกาสเลือกคณะที่ตัวเองใฝ่ฝันอยากจะเรียนได้

ทั้งหมดนี้คือข้อดีของการรักษาเกรดเพื่อเป็นประโยชน์แก่นักเรียนที่ต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย
ช่วงระดับการศึกษาใดที่นักเรียนนิยมเรียนพิเศษมากที่สุด เพราะเหตุใด
บ่อยครั้งที่เราเห็นเด็กนักเรียนตามสถาบันกวดวิชาต่าง ๆ ในเวลาหลังเลิกเรียน หรือแม้กระทั่งวันหยุดสุดสัปดาห์ โดยมีนักเรียนหลายระดับการศึกษาปะปนกันไป ซึ่งหากเราลองสังเกตดูดี ๆ แล้วจะพบว่านักเรียนส่วนใหญ่ที่มาเรียนพิเศษที่สถาบันกวดวิชาเหล่านั้นจะเป็นนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับชั้น ม.6 เนื่องจากการศึกษาในระดับชั้นมัธยมปลายจำเป็นต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการเตรียมความพร้อมเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย และคณะที่ต้องการ

ดังนั้นหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมปลายจึงเป็นหลักสูตรแบบเฉพาะเจาะจงรายวิชา เพื่อให้นักเรียนสามารถทำความเข้าใจและเข้าถึงเนื้อหาในวิชาที่ตัวเองถนัดมากยิ่งขึ้น และทำการตัดสินใจเลือกเข้าเรียนต่อในหลักสูตรคณะที่ตรงต่อความต้องการของตัวเองในระดับมหาวิทยาลัยต่อไป

บางครั้งการเรียนการสอนในห้องเรียนอาจไม่เพียงพอที่จะทำให้นักเรียนได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมรอบข้าง สิ่งอำนวยความสะดวกและข้อจำกัดของระยะเวลาในการเรียนการสอน ไปจนถึงปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายอย่างที่ไม่ดีพอ จึงทำให้เด็กนักเรียนต้องหาสถาบันกวดวิชาหรือจ้างติวเตอร์มาเพื่อสอนพิเศษเพิ่มเติมแทน

อีกหนึ่งสิ่งที่นักเรียนในชั้นมัธยมปลายต้องให้ความสำคัญคือ การเตรียมความพร้อมในการสอบวัดระดับความรู้ระดับประเทศ อย่าง GAT/PAT ซึ่งมีหลักสูตรและแนวข้อสอบที่เหมือนกันหมด ขึ้นอยู่กับว่าที่โรงเรียนจะสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนได้มากน้อยแค่ไหน หากยังไม่ตรงต่อความต้องการของเด็ก การเรียนพิเศษจึงเป็นตัวเลือกที่สามารถช่วยให้เด็กได้รับเทคนิคเสริมต่าง ๆ ที่อาจไม่มีสอนในห้องเรียนนั่นเอง เช่น เทคนิคในการเก็งข้อสอบ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามการเรียนพิเศษนั้นได้กลายเป็นค่านิยมในปัจจุบันไปแล้ว เหมือนเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวผู้เรียนเอง ว่าหากตนได้เรียนพิเศษและรู้เทคนิคเพิ่มเติมในการเรียนทางลัดจะช่วยให้หลักสูตรวิชานั้น ๆ ง่ายขึ้น และสามารถทำให้สอบเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำระดับประเทศได้เช่นกัน ดังนั้น ทั้งผู้ปกครองและเด็กหลาย ๆ คนจึงให้ความสำคัญกับการเรียนพิเศษเป็นอย่างยิ่งนั่นเอง