วิธีการทำงาน
ติดต่อเรา
ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ
แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ
เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ
ยืนยันการจองของคุณ
เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA
ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ
รีวิวล่าสุด
คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ดูแลผู้สูงอายุ
2. การฝึกอบรมเพื่อให้มีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ และมีความรู้ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุให้ถูกวิธี เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
3. อุปนิสัย ผู้ดูแลผู้สูงอายุต้องมีใจรักในงานบริการ มีบุคลิกชอบช่วยเหลือผู้อื่น มีความจริงใจ มีความรัก ความสงสาร ความเห็นอกเห็นใจ ปรารถนาดีต่อผู้สูงอายุ เข้าใจและรับฟังเรื่องราวของผู้สูงอายุ เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุให้มีความสุข
4. รู้จักผิดชอบชั่วดี ต้องรู้จักแยกแยะว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำและเข้าใจในเหตุผลของความถูกต้องดีงาม (moral reasoning)
5. อายุที่เหมาะสม หลายคนอาจมองข้ามเรื่องของช่วงอายุไป แต่ต้องเข้าใจว่าช่วงอายุมีผลต่อวุฒิภาวะ ถ้าเด็กมากเกินไปก็อาจจะมีความอดทนที่ต่ำเพราะประสบการณ์การในชีวิตยังน้อย หรือถ้าอายุมากเกินไปก็ทำให้ความคล่องตัวในการดูแลผู้สูงวัยอาจจะมีน้อยลง
6. ประสบการณ์นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะบ่งบอกว่าคนคนนั้นเคยผ่านงานดูแลผู้สูงวัยมาก่อน ทำให้เข้าใจเนื้องานได้อย่างรวดเร็ว เข้าใจรายละเอียดของการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งโดยรวมแล้วผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุจำเป็นต้องมีใจรักในงานเป็นพิเศษ ต้องใช้ความอดทนและใช้ความรู้ความสามารถที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้สามารถดูแลได้ถูกวิธีและถูกใจกันทุกฝ่ายอีกด้วย
7. เป็นผู้ประสานงานและเชื่อมโยงระหว่างบุตรหลานและญาติมิตรกับผู้สูงอายุ เมื่อได้รับความไว้วางใจให้มาดูแลผู้สูงอายุแล้ว ผู้ดูแลต้องสามารถสื่อสารส่งต่อข้อมูลที่จะช่วยให้ทำงานได้ดีและเข้าใจผู้สูงอายุมากขึ้น
1. ตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของคนดูแลผู้สูงอายุ โดยสามารถร้องขอให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุทำการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมกับกองทะเบียนประวัติอาชญากรได้ที่ http://www.criminal.police.go.th/
2. ตรวจสอบประวัติการทำงานกับนายจ้างคนเก่า ในกรณีที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุเคยผ่านประสบการณ์การทำงานมาก่อน
3. หากเป็นผู้ดูแลที่มาจากบริษัท ทางบริษัทควรจะมีการส่งตัวแทนจากบริษัทเข้ามาเยี่ยมและตรวจสอบการทำงานของผู้ดูแลเป็นระยะๆ
4. คนในครอบครัวหมั่นตรวจตราและสอดส่องการทำงานของผู้ดูแลคนสูงอายุอยู่ตลอดเวลาในระยะแรกๆของการทำงาน
5. หากมีเพื่อนบ้านที่ไว้ใจได้ สามารถฝากให้เพื่อนบ้านช่วยสอดส่องดูแลขณะที่ผู้ดูแลอยู่ลำพังกับผู้สูงอายุ
6. ปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะทำการติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้ตามจุดต่างๆ ภายในบ้าน เพื่อตรวจสอบความเคลื่อนไหวภายในบ้านได้ตลอด 24 ชม.
จากข้อมูลสำรวจการจ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีผู้ดูแลผู้สูงอายุ 2 รูปแบบ
รูปแบบที่ 1: ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ผ่านการอบรมมาเพื่อดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ บุคคลเหล่านี้มีความเข้าใจผู้สูงอายุ และสามารถทำงานพยาบาลได้ เช่นช่วยอาบน้ำ ช่วยป้อนอาหาร ช่วยดูแลเรื่องยา ตรวจสุขภาพเบื้องต้น รวมถึงดูแลสุขอนามัยของผู้สูงอายุ
รูปแบบที่ 2: แม่บ้านทั่วไป อาจมีความชำนาญเรื่องงานบ้านแต่เรื่องดูแลใส่ใจรายละเอียดอาจจะไม่เท่าผู้ที่ผ่านการอบรมมา
1. สิ่งที่ควรตกลงกันอย่างแรกคือขอบข่ายงานและวิธีการ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง เช่น งานอะไรที่ทำได้หรือทำไม่ได้
2. ชั่วโมงการทำงาน ด้วยลักษณะงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุ บางครั้งต้องมาอาศัยใกล้ชิดเพื่อดูแลผู้สูงอายุตลอดเวลา ตื่นพร้อมกันนอนพร้อมกัน หรือแค่ช่วงเวลาหนึ่งที่เราต้องการให้ผู้ดูแลเข้ามา ดูแลผู้สูงอายุ หากเกินเวลาที่ตกลงไว้จะต้องมีค่าจ้างพิเศษ หรือค่าล่วงเวลาที่ตามตกลงไว้ หากต้องการวันหยุดหรือวันลา ต้องแจ้งล่วงหน้าหรือหาคนมาทดแทนได้
3. ยุคปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าการไว้ใจใครสักคนที่เข้ามาทำงานใกล้ชิดในบ้านนั้นยากยิ่ง ทางเลือกหนึ่งผู้ดูแลผู้สาอายุ ต้องยินยอมให้ตรวจสอบประวัติอาชญากรรม แม้ไม่อาจการันตีได้ร้อยเปอร์เซ็นต์แต่อย่างน้อยเป็นการคัดกรองผู้ดูแลผู้สูงอายุที่จะเข้ามาใกล้ชิดบุคคลในครอบครัวได้ ประวัติการทำงานและประสบการณ์การทำงาน การได้พูดคุย ถึงประวัติการทำงาน ทำให้เราได้รู้จักผู้ดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น อาจมีการยกตัวอย่างเหตุการณ์ เพื่อเปรียบเทียบหากเกิดขึ้นกับเราต้องทำอย่างไร เราจะได้รู้ว่าผู้ที่จะเข้ามาดูแลผู้สูงอายุของเราจะทำอย่างไรในเหตุการณ์ที่เราสมมุติขึ้น หากเคยทำที่หนึ่งได้แต่ทำกับเราไม่ได้เราได้บอกผู้สูงอายุไว้ก่อน หรือตกลงกันก่อนจะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง
4. ค่าจ้าง ควรพิจารณาให้เหมาะสมและคุ้มค่าตามเนื้องานในการดูแลผู้สูงอายุในแต่ละคน
2 กลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังคงอยู่ในอำเภอดอนตูม
จังหวัดนครปฐมมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายเช่น คนมอญ ชาวไทยทรงดำหรือลาวโซ่ง และลาวคั่ง หลายตำบลใน อำเภอดอนตูม เป็นพื้นที่ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ลาวคั่งมากถึง 90% โดยเฉพาะในตำบลห้วยด้วน กลุ่มชาติพันธุ์ลาวคั่งเหล่านี้สืบเชื้อสายมาจากหลวงพระบาง สมัยสงครามโลก เมื่อปี พ.ศ. 2556 สมัยที่นายวันชาติ วงษ์ชัยชนะ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม มีการเปิดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น กลุ่มชาติพันธุ์ลาวคั่ง ขึ้นที่อำเภอดอนตูม ตั้งอยู่ในวัดทุ่งผักกูด ตำบลห้วยด้วน พร้อมกับมีการเปิดศูนย์อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยทรงดำ ที่บ้านหัวถนน ต. ดอนพุทรา อ. ดอนตูม ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายลาวโซ่งที่อพยพมาจากจังหวัดเพชรบุรี ลาวโซ่งกลุ่มนี้สืบเชื้อสายมาจากเมืองเดียนเบียนฟู ประเทศเวียดนาม ปัจจุบันกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสองกลุ่มยังคงสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีเดิม วัฒนธรรมการแต่งกาย อาหาร ภาษาพูด พิธีกรรมตามความเชื่อและวิถีการดำเนินชีวิตตามที่บรรพบุรุษได้ปฏิบัติไว้ ภายในพิพิธภัณฑ์ทั้งสองแห่งมีสิ่งของ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ได้รับมาจากผู้นำชุมชนและชาวบ้านมากมาย ล้วนเป็นของที่เก็บสะสมมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษเพื่อนำมาจัดแสดง เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรมและความเชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้แก่คนรุ่นหลัง จัดแสดงทั้งส่วนที่เป็นภาพถ่าย และการจำลองการดำรงชีวิต วิถีการเกษตร การแต่งกาย ทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้แก่ชุมชนอีกด้วย พิพิธภัณฑ์เปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่ 8:00-17:00 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม จึงขอเชิญชวนผู้ที่ผ่านไปมา หรือผู้สนใจศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังคงอยู่ในปัจจุบันเข้ามาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ทั้งสองแห่งได้ทุกวันทำการ
หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม
จังหวัดนครปฐมเป็นอีกจังหวัดที่มีวัดดังหลายวัด มีชื่อเสียงในเรื่องพระเกจิอาจารย์ชื่อดังและเครื่องรางของขลังมากมาย มีตลาดพระที่องค์พระปฐมเจดีย์ทุกวันจันทร์ ทุกอำเภอจะมีวัดดังที่มีชื่อเสียงที่ทั้งคนในจังหวัดและต่างจังหวัดต่างพากันมาทำบุญไหว้พระ วัดสามง่าม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม เป็นอีกวัดที่เป็นที่รู้จักของคนต่างจังหวัด ด้วยประวัติของวัดและชื่อเสียงของเครื่องรางของขลัง
วัดสามง่าม ตั้งอยู่บ้านสามง่าม เลขที่ 81 หมู่ 5 ต. สามง่าม อ. ดอนตูม จ. นครปฐม สร้างขึ้นโดยหลวงพ่อแดงและชาวบ้านในสมัยนั้นเมื่อราวปี พ.ศ. 2444 โดยพัฒนาจากวัดร้างเก่าแก่สมัยโบราณ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวัดดอนตูม เดิมทีสถานที่ตั้งวัดสามง่ามอยู่ไกลจากชุมชน ทำให้ชาวบ้านมาทำบุญลำบาก หลวงพ่อแดงจึงได้ย้ายไปสร้างวัดที่บ้านสามง่ามซึ่งเป็นที่ตั้งปัจจุบัน โดยได้รับบริการที่ดินมาจากครอบครัวเจ๊กไป๋ เจ้าของโรงหีบอ้อยสมัยนั้น ในปี พ.ศ. 2447 ให้ชื่อวัดว่า “วัดอรัญญิการาม” หลวงพ่อแดงได้พาหลานชายชื่อเต๋มาอยู่ด้วย และบวชให้เด็กชายเต๋เป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 15 ปี ถือเพศสามเณรจนกระทั่งครบบวชพระ สามเรณเต๋ได้ทำการบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุ 21 ปี ในปี พ.ศ. 2454 โดยมีพระครูอุตตรการบดี (หลวงพ่อทา) วัดพะเนียงแตก เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า คงทอง (ภายหลังเปลี่ยนเป็น คงสุวัณโณ แต่ชาวบ้านยังคงเรียกขานติดปากกันว่า หลวงพ่อเต๋ คงทอง) ได้มีโอกาสศึกษาวิชาจากหลวงพ่อทา เล่าเรียนพระปริยัติธรรม กัมมัฏฐาน และเรียนรู้สืบทอดพุทธาคมต่างๆ จนมาในปี พ.ศ. 2455 หลวงพ่อแดงมรณภาพ ท่านได้ฝากให้พระภิกษุเต๋ดูแลวัดสามง่ามต่อ
พระภิกษุเต๋ออกธุดงค์เป็นเวลา 17 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2455-2472 ระหว่างนี้พระภิกษุเต๋ได้ไปอยู่ที่วัดพะเนียงแตกกับหลวงพ่อทา และเมื่อหลวงพ่อทามรณภาพ ก็ย้ายไปอยู่กับหลวงพ่อแช่ม ศิษย์เอกหลวงพ่อทา ที่วัดตาก้อง จนกระทั่งธุดงค์ไปถึงเขาตะลุง กาญจนบุรี ได้พบกับสมณพราหม์เขมรท่านหนึ่งที่เชี่ยวชาญคาถาอาคมและวิชาไสยศาสตร์มาก พระภิกษุเต๋จึงฝากตัวเป็นศิษย์ รับถ่ายทอดวิชาต่างๆ จนได้รับมอบตำราและ “ฤๅษีปู่ครู” มาเป็นกรรมสิทธิ์ เมื่อพระภิกษุเต๋เดินทางกลับมายังวัดสามง่าม ได้มีการจัดพิธีไหว้ครูบูชา “ฤๅษีปู่ครู” ทุกปีที่วัด มาจนทุกวันนี้
เมื่อกลับมาจำพรรษาที่วัดสามง่าม มีการเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดอรัญญิการามเป็นวัดสามง่าม ตามแนวปฏิบัติของทางการคณะสงฆ์ที่ให้ใช้ชื่อวัดตามตำบลที่อยู่ พระภิกษุเต๋ได้พัฒนาวัดสามง่ามต่อจากหลวงพ่อแดง สร้างอนามัย บ้านพักนายแพทย์และพยายาม สร้างโรงเรียนประถมและมัธยม สถานีตำรวจ และ ถนนหนทาง รวมทั้งขุดบ่อน้ำ บาดาล เพื่อความเจริญและความสะดวกสบายในชุมชน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2475 ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าอาวาสวัดสามง่าม และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลในปี พ.ศ. 2476 หลวงพ่อเต๋มีความเมตตาปรานีต่อศิษย์ทุกคน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง อีกทั้งยังมีเมตตาต่อสัตว์เลี้ยงทั้ง สุนัข แมว ไก่ วัว และชะนี เป็นต้น ท่านจะให้ข้าวสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ก่อนจะฉันมื้อเช้าเสมอ นอกจากนี้หลวงพ่อเต๋ยังได้สร้างวัตถุมงคลไว้มากมาย ทั้งพระเนื้อดิน เนื้อผง เนื้อว่าน เหรียญรูปเหมือน พระกริ่ง ตะกรุด เครื่องรางของขลังมากมายที่มีพุทธคุณด้าน เมตตามหานิยม เป็นที่รู้จักโด่งดัง และวัตถุบูชาที่เป็นที่นิยมอย่างมากคือ กุมารทองเนื้อดินเจ็ดป่าช้า หลวงพ่อเต๋มรณภาพอย่างสงบเมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2524 สิริอายุ 80 ปี พรรษา 59 และปัจจุบันทางวัดได้บรรจุสังขารของหลวงพ่อเต๋ไว้ให้ลูกหลานได้ไปกราบบูชาจนทุกวันนี้
สัญญาณโรคพาร์กินสัน
โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์สมองของก้านสมองส่วนกลาง (Midbrain) ค่อยๆถูกทำลายจนเกิดความเสียหาย และแสดงอาการออกทางการเคลื่อนไหว (Motor symptoms) จนส่งผลให้การเคลื่อนไหวของร่างกายผิดปกติ คนไทยบางคนเรียกโรคนี้ว่า “โรคสันนิบาตลูกนก” โรคนี้มักพบในผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 1.5 เท่า ซึ่งโรคนี้จะกระทบกับผู้ป่วยได้ในระยะยาว แล้วเราจะสังเกตได้จากอาการอะไรบ้างถึงจะทราบว่าผู้สูงอายุในบ้านเข้าข่ายเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคพาร์กินสันหรือไม่ โรคนี้มีสัญญาณเตือนดังนี้
1. มีอาการสั่นเล็กน้อยบริเวณ นิ้วมือ ข้อมือ เวลาอยู่เฉยๆ หรืออาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อร่วมด้วย แต่หากมีอาการสั่นที่มือหลังการออกกำลังกายหรือมีความเครียด วิตกกังวล อาจพบเจอได้ในคนปกติ
2. ลายมือเริ่มเปลี่ยนแปลง เวลาเขียนหนังสืออย่างต่อเนื่อง ตัวหนังสือจะค่อยๆเล็กลง
3. สูญเสียการได้กลิ่นหรือรับรส โดยไม่เกี่ยวกับอาการเป็นหวัด คัดจมูก เนื่องจากการไม่ได้กลิ่นและไม่รับรสชาติอาหารต้องใช้ประสาทการรับกลิ่นช่วยด้วย
4. มีอาการนอนละเมอในลักษณะออกท่าทางมาก จนอาจเป็นสาเหตุให้มีอาการบาดเจ็บ ฟกช้ำได้
5. มีอาการเดินลำบาก หรือขยับตัวลำบาก แขนติดไม่แกว่งให้เป็นปกติ หรือก้าวขาไม่ค่อยออก หรือก้าวเดินสั้นๆ ล้มบ่อยๆ
6. ท้องผูก ถ่ายยากเป็นประจำ
7. พูดเสียงเบาเกินไป หรือมีอาการพูดไม่ค่อยชัด ฟังไม่ออก หรือในทางกลับกันอาจมีอาการพูดรัวเร็ว ฟังไม่รู้เรื่อง อาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคพาร์กินสัน
8. สีหน้าเฉยเมย ไม่แสดงอารมณ์ เวลาพูดมุมปากจะไม่ค่อยขยับ
9. วิงเวียนศีรษะ เป็นลม หรือมีอาการหน้ามืดเวลาเปลี่ยนแปลงท่าทางต่างๆ ซึ่งอาจมาจากความดันโลหิตต่ำขณะมีการเปลี่ยนแปลงท่าทาง
10. หลังโค้งงอ ยืดตัวตรงไม่ได้ เดินหลังโค้งลงมากกว่าปกติ หรือลำตัวเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
โรคพาร์กินสันมีวิธีรักษาทั้งการรับประทานยา การทำกายภาพบำบัด และการผ่าตัด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีผู้ป่วยอาจจะพิการ หรือกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงได้ ดังนั้น ลูกหลานควรพยายามสังเกตผู้สูงอายุในบ้าน หากมีอาการดังกล่าวข้างต้นมากกว่า 1 ข้อ อาจเข้าข่ายเป็นโรคพาร์กินสันได้ ควรรีบพาพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป
SAIJAI "ใส่ใจ" เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการดูแลเด็ก ดูแลผู้สูงอายุ ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ แม่บ้าน/ทำความสะอาด คนขับรถ ดูแลสัตว์เลี้ยง เสริมสวย และช่างซ่อมบำรุงเท่านั้น "SAIJAI" ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการหรือจ้างบุคคลใดให้บริการ ไม่มีสถานะเป็นนายจ้าง ผู้ว่าจ้าง ตัวแทน ผู้ร่วมทุน อย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเป็นผู้รับจ้างอิสระ ซึ่งผู้รับบริการเป็นผู้ว่าจ้าง คุณภาพการให้บริการเป็นความรับผิดชอบทั้งสิ้นของผู้ให้บริการเอง การเรียกใช้บริการจากผู้ให้บริการ อาจมีความเสี่ยง ซึ่งผู้รับบริการรับทราบและยินดีใช้บริการ บนความเสี่ยงใด ๆ ในความรับผิดชอบของตัวท่านเอง