วิธีการทำงาน
ติดต่อเรา
ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ
แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ
เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ
ยืนยันการจองของคุณ
เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA
ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ
รีวิวล่าสุด
คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ดูแลผู้สูงอายุ
1. เป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะ คืออายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถคิดและตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผล มีวุฒิภาวะที่ดี
2. เนื่องจากการดูแลผู้สูงอายุเป็นเรื่องละเอียดอ่อน คนดูแลผู้สูงอายุจึงควรเป็นคนที่มีความรู้ทั้งในเรื่องจิตวิทยา และด้านโภชนาการอาหาร รวมทั้งความสะอาดทั่วไปด้วย แม้ว่าการจ้างคนดูแลผู้สูงอายุที่มีความรู้อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายเยอะกว่าการจ้างคนทั่วไป แต่ก็ถือว่าคุ้มค่า เพราะหากผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ไม่ดี คนดูแลขาดความรู้แล้ว อาจส่งผลต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจอีกด้วย
3. มีความน่าไว้วางใจ เมื่อจ้างคนดูแลผู้สูงอายุเข้ามาอยู่ในบ้าน อาจจะต้องรับรู้ในส่วนของที่เก็บของต่างๆ รู้ตารางชีวิตประจำวันของคนในครอบครัว คนดูแลผู้สูงอายุจึงต้องเป็นคนที่ไว้ใจได้ มีประวัติที่ดี และมีทัศนคติที่ดี
4. มีความอดทน เนื่องจากการดูแลผู้สูงอายุไม่ใช่เรื่องง่ายๆ บางครั้งอาจจะต้องดูแลทั้งร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุอีกด้วย โดยเฉพาะหากเป็นผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหรือโรคประจำตัว ก็จะมีความยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้นไปอีก
5. ควรจบหลักสูตรผู้ช่วยการพยาบาล หรือสาขาที่เกี่ยวข้องและหากมีประสบการณ์มักจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ แต่หากไม่จบหลักสูตรดังกล่าว แต่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุมาก่อน ก็จะได้รับการพิจารณาเช่นกัน
6. มีความซื่อสัตย์สุจริต เนื่องจากในบางครั้งอาจจะต้องอยู่กับผู้สูงอายุเพียงลำพัง
7. มีความขยันและสามารถช่วยเหลืองานอย่างอื่นได้ตามความเหมาะสม
1. ตรวจสอบประวัติย้อนหลังของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ทำการว่าจ้างมา เพื่อให้แน่ใจว่าคนดูแลที่จ้างมานั้นไม่เคยมีประวัติการกระทำที่ผิดกฎหมายมาก่อน โดยสามารถตรวจสอบประวัติอาชญากรรมกับกองทะเบียนประวัติอาชญากรได้ที่ http://www.criminal.police.go.th/
2. สอบถามประวัติการทำงานต่าง ๆ ที่ผ่านมา โดยอาจสอบถามจากผู้ว่าจ้างโดยตรงว่าเคยดูแลผู้สูงอายุมาอย่างไรบ้าง มีประสบการณ์มากน้อยแค่ไหนในการดูแลผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง ขณะเดียวกันก็สามารถสอบถามจากผู้ว่าจ้างที่เคยทำการจ้างก่อนหน้านี้ได้เช่นเดียวกัน
3. ฝากฝังทางเพื่อนบ้านให้ช่วยสอดส่องดูแลอีกทีหนึ่ง ซึ่งเพื่อนบ้านจะสามารถติดต่อหาเราได้ทันทีหากมีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น
4. หากว่าจ้างคนดูแลผู้สูงอายุโดยหาจากสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ควรศึกษาคำวิจารณ์หรือรีวิวจากผู้ใช้ก่อนหน้าว่ามีความคิดเห็นต่อการบริการอย่างไร เพื่อให้มั่นใจว่าคนดูแลที่จ้างมานั้นน่าเชื่อถือและเป็นคนมีความเป็นมืออาชีพจริง ๆ
5. การติดตั้งกล้องวงจรปิดบริเวณบ้านช่วยให้สามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวได้ตลอดเวลา ถือเป็นการป้องกันความปลอดภัยที่ดีอย่างหนึ่งเช่นกัน
1. ทำสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยสิ่งที่ควรระบุอยู่ในสัญญาอย่างชัดเจนได้แก่ ระยะเวลาการดูแล วันที่เท่าไหร่ถึงเท่าไหร่ ชั่วโมงการทำงาน จำนวนค่าจ้าง รวมไปถึงสวัสดิการและวันหยุดที่ผู้ดูแลควรได้รับตามกฎหมายแรงงาน โดยที่ทั้งสองฝ่ายต้องเซ็นยินยอมเพื่อเป็นการรับรู้ต่อสัญญาและข้อกำหนดที่ได้ตกลงกันไว้
2. ผู้ว่าจ้างควรอธิบายข้อมูลส่วนตัวของผู้สูงอายุให้กับผู้ดูแลอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุปนิสัย ความชอบส่วนตัว อาหารที่กินได้และไม่ได้ ที่สำคัญหากผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว ผู้ว่าจ้างควรบอกให้ผู้ดูแลรับรู้ก่อนเพื่อให้ผู้ดูแลสามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้
3. อธิบายขอบเขตและวิธีการทำงานให้กับผู้ดูแลอย่างชัดเจน สิ่งใดที่ทำได้และไม่ได้ เพื่อเป็นการป้องกันขั้นเบื้องต้น
4. ข้อตกลงเรื่องที่อยู่อาศัย หากผู้ว่าจ้างต้องการให้ผู้ดูแลอาศัยอยู่ที่บ้านตลอดช่วงระยะการดูแลผู้สูงอายุ ควรจัดเตรียมที่พักอาศัยให้กับผู้ดูแล รวมไปถึงแจกแจงเรื่องกฎในการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในบ้านตลอดช่วงระยะเวลาเช่นกัน
5. ใส่ใจในเรื่องของสุขอนามัยของผู้ดูแลที่ทำการว่าจ้างมา หากผู้ดูแลมีอาการป่วยกะทันหัน ผู้ว่าจ้างควรออกค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งสวัสดิการที่ผู้ดูแลควรได้รับ และควรให้ผู้ดูแลลางานได้ทันที เพื่อเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อต่อผู้สูงอายุภายในบ้าน
การทำข้อตกลงในการว่าจ้างนั้นนอกจากจะเป็นการช่วยให้ทำความเข้าใจอย่างชัดเจนแล้ว ยังช่วยสร้างความสบายใจให้กับทั้งสองฝ่ายได้อีกด้วย
ประเพณีรับบัว วัดบางพลีใหญ่
ประเพณีเก่าแก่ที่น่าจะเรียกได้ว่ามีที่เดียวในประเทศไทยในช่วงใกล้วันออกพรรษา จัดขึ้นที่จังหวัดสมุทรปราการ คือ ประเพณีรับบัว หรือบางคนก็เรียกว่า ประเพณีโยนบัว เป็นประเพณีโบราณที่ถือเป็นมรดกอันล้ำค่า สืบทอดมาถึงปัจจุบัน ประเพณีรับบัวที่ยิ่งใหญ่นี้ จัดขึ้นทุกปีในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ที่ วัดบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มีการอัญเชิญหลวงพ่อโตองค์จำลองจากวัดบางพลีใหญ่ใน มาลงเรือที่ตกแต่งอย่างวิจิตรตระการตาด้วยดอกไม้ ขบวนเรือจะล่องไปตามคลองสำโรง เพื่อให้ชาวบ้านได้สักการะ มีความเชื่อกันว่า หากอธิษฐานแล้วโยนบัวลงไปยังเรือที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต จะทำให้คำอธิษฐานสมความปรารถนา
ในสมัยก่อน อำเภอบางพลีมีผู้คนอาศัยอยู่ 3 เชื้อชาติ คือ คนไทย คนลาว และคนรามัญ หรือชาวมอญปากลัด (คนมอญพระประแดง) ประเพณีรับบัวนี้ เกิดขึ้นจากความมีน้ำใจต่อกันระหว่างคนในท้องถิ่นและคนมอญปากลัด ซึ่งในช่วงออกพรรษาคนมอญจะกลับไปทำบุญที่อำเภอพระประแดง โดยล่องมาเก็บดอกบัวหลวงที่อำเภอบางพลี เพื่อนำกลับไปบูชาพระหรือถวายพระ บางคนนำไปฝากเพื่อนบ้าน โดยชาวบางพลีจะช่วยอำนวยความสะดวกด้วยการเก็บดอกบัวไว้รอมอบให้คนมอญ ต่อมาชาวอำเภอเมือง และชาวพระประแดง ต่างพร้อมใจกันพายเรือมาเก็บบัวที่อำเภอบางพลี และถือโอกาสมีนมัสการหลวงพ่อโตที่วัดบางพลีใหญ่ด้วย แต่เนื่องจากระยะทางระหว่างอำเภอเมืองและอำเภอพระประแดงไกลกันมาก เรือแต่ละรำจึงต่างร้องรำทำเพลงเพื่อให้เกิดความสนุกสนานตลอดเส้นทาง และมีการส่งดอกบัวให้กันมือต่อมือ หากสนิทกันก็จะโยนดอกบัวให้กัน จึงเป็นที่มาของประเพณีรับบัวมาจนถึงทุกวันนี้
สำหรับหลวงพ่อโตที่มีการอัญเชิญลงเรือให้ประเพณีรับบัว สืบเนื่องมาจาก พ.ศ. 2467 ที่ชาวบ้านบางพลีได้ร่วมกันสร้างองค์ปฐมเจดีย์ ณ วัดบางพลีใหญ่ใน มีการจัดงานเฉลิมฉลองแห่ผ้าห่มองค์พระ และวิวัฒนาการมาเป็นประเพณีแห่องค์หลวงพ่อโตจำลอง โดยอัญเชิญไปตามลำคลองบางพลี และใช้ "ดอกบัว" เป็นดอกไม้สำหรับใช้นมัสการหลวงพ่อโต
ระหว่างขบวนเรือแห่ไปลำคลอง ชาวบ้านและประชาชนต่างถิ่นที่มาร่วมงานประเพณีจะมายืนรออยู่ทั้งสองฝั่งคลอง เพื่ออธิษฐานและโยนบัวให้ลงเรือลำที่มีองค์หลวงพ่อโตประดิษฐาน เพื่อความเป็นสิริมงคล รวมทั้งมีการโยนบัวให้กับคนต่างบ้านที่พายเรือมาเที่ยวด้วยอย่างสนุกสนาน ประเพณีโยนบัวจะจัดขึ้นก่อนวันออกพรรษา ปกติจะจัดในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน11 โดยเริ่มงานตั้งแต่เช้ามืด ปัจจุบันมีการจัดประกวดเรือประเภทต่างๆ การแข่งขันพายเรือ การแสดงและการละเล่นพื้นเมือง รวมทั้งการสาธิตและจำหน่ายขนมพื้นบ้าน และอาหารพื้นเมืองของชาวบางพลี ผู้สนใจมาร่วมสืบทอดงานประเพณีรับบัวที่มีที่เดียวในประเทศ สามารถติดตามข่าวสารการจัดงานได้ที่ วัดบางพลีใหญ่ ต. บางพลีใหญ่ อ. บางพลี จ. สมุทรปราการ
วันหยุดพาแม่เที่ยว ตลาดโบราณบางพลี พ.ศ. 2400
ใครยังไม่รู้จะพาคุณพ่อคุณแม่ไปเที่ยวที่ไหนในวันหยุดที่ใกล้จะถึงนี้ เรามีสถานที่เที่ยวใกล้กรุงเทพมหานครมาแนะนำ รับรองว่าเดินเพลิน อิ่มทั้งท้อง อิ่มทั้งบุญ สถานที่ท่องเที่ยวที่จะแนะนำนี้คือ ตลาดโบราณบางพลี เป็นตลาดเก่าแก่ตั้งอยู่ริมคลองสำโรง ใกล้กับวัดบางพลีใหญ่ใน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เดิมชื่อว่า ตลาดศิริโสภณเป็นลักษณะห้องแถวไม้โบราณ 2 ชั้น ปลูกติดต่อกันยาวกว่า 500 เมตร สันนิษฐานว่ามีกลุ่มชาวจีนเข้ามาเปิดร้านในตลาดนี้เมื่อราว พ.ศ. 2400 ตรงกับ สมัยรัชกาล 4 ตลาดโบราณบางพลี แต่เดิมเป็นตลาดขนส่งภาคตะวันออก ชายฝั่งทะเลสู่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเคยมีความรุ่งเรืองมากในอดีต
ปัจจุบันภายในตลาดมีการจำหน่ายสินค้านานาชนิดตลอดสองฝั่งคลอง อาทิเช่น อาหาร ขนมโบราณ เครื่องดื่ม ของใช้และของประดับตกแต่งบ้าน เสื้อผ้า สัตว์เลี้ยง มีร้านก๋วยเตี๋ยวเรือ ร้านกวยจั๊บ ร้านขนมเจ้าเก่าแก่ ที่เป็นลูกหลานชาวบางพลีโดยแท้ และยังมีร้านกาแฟเล็กๆ ตกแต่งน่ารัก ให้นั่งจิบกาแฟไปพร้อมๆกับชมทิวทัศน์ของคลองสำโรง และบรรยากาศของตลาดน้ำที่มีเรือพายขายขนม และผลไม้ตามฤดูกาลมากมาย ช่วงกลางๆตลาดจะค่อนข้างได้บรรยากาศความสงบ งดงาม ทำให้ได้ดื่มด่ำความเป็นตลาดโบราณที่แสนคลาสสิค มีมุมให้นั่งพักผ่อน และสามารถให้อาหารนก อาหารปลาได้ ระหว่างสองฝั่งคลองเชื่อมถึงกันด้วยสะพานไม้สูงพอประมาณที่เรือจะพายลอดผ่านได้ และที่สะดุดตาอีกอย่างคือ สะพานเรือ เป็นการนำเรือมาผูกต่อกันเพื่อทำเป็นสะพานข้ามฟาก ค่าข้ามคนละ 1 บาท
ตลาดโบราณบางพลี เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 08:00-16:00 น. แต่จะยิ่งคึกคักมากในวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ การเดินทางมาได้หลายวิธี สำหรับรถยนต์ส่วนตัว ให้จอดรถที่วัดบางพลีใหญ่ เข้าไปไหว้สักการะหลวงพ่อโตในอุโบสถเสียก่อน เสร็จแล้วค่อยไปเดินเที่ยว ซื้อของติดไม้ติดมือที่ตลาด หากนั่งรถเมล์ สามารถนั่งได้ทุกสายที่มาลงสำโรง แล้วต่อรถสองแถว หรือรถตู้บางบ่อ มาลงยังปากทางวัดบางพลีใหญ่ก็ได้ และอีกวิธีคือ ใช้บริการรถตู้โดยสารจากหมอชิต 2 มาลงโฮมโปร หรือห้างโลตัสบางพลีตรงถนนบางนาตราด แล้วต่อรถสองแถวไปลงบิ๊กซีบางพลี เดินผ่านด้านหลังบิ๊กซีมาสู่ตลาดโบราณบางพลีได้เลย
7 โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ร่างกายที่เคยแข็งแรงก็จะค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลง การทำงานในส่วนต่างๆของร่างกายเริ่มถดถอย อาจทำให้เป็นโรคต่างๆได้ง่าย ลูกหลานจึงควรหมั่นดูแล และสังเกตอาการ เพื่อหาวิธีป้องกันหรือพบแพทย์เพื่อทำการรักษาแต่เนิ่นๆ โรคที่มักบ่อยในผู้สูงอายุ คือ
1. โรคทางสมอง ที่พบบ่อยคือ โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน และ โรคอัลไซเมอร์ โดยโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน เกิดจากหลอดเลือดเสื่อมสภาพ เส้นเลือดแคบลง ส่งผลให้เลือดไหลเวียนน้อย และสมองขาดเลือด พบมากในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ ผู้ที่สูบบุหรี่ และขาดการออกกำลังกาย ส่วนโรคอัลไซเมอร์ เกิดจากภาวะสมองเสื่อม เซลล์ในสมองบางส่วนตายหรือหยุดทำงาน ทำให้มีการหลงลืม จนอาจไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด
2. โรคทางกระดูก ที่พบบ่อยคือ โรคกระดูกพรุน และ โรคข้อเข่าเสื่อม โรคกระดูกพรุน พบบ่อยในผู้หญิงสูงอายุ เนื่องจากการทำงานของฮอร์โมนลดลง โดยเฉพาะในวัยหมดประจำเดือน เมื่อความหนาแน่นของกระดูกลดลง ทำให้กระดูกบางและเปราะหักง่าย อาการของโรคได้แก่ ฟันผุกร่อน เสียวฟันเนื่องจากการร้าวของฟัน ส่วนสูงลดลง หลังงองุ้ม ปวดบริเวณเอว หลัง ข้อมือ ส่วนโรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อเสื่อมลง จะเกิดอาการเจ็บปวดของข้อ ข้อบวม ข้อขัด ขาโก่งผิดปกติ ข้อเข่าผิดรูป หรือเหยียดขาได้ไม่สุด ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
3. โรคหัวใจขาดเลือด เกิดจากหลอดเลือดเลี่ยงหัวใจตีบหรือตัน ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ พบมากในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ความเครียด อ้วน สูบบุหรี่ และขาดการออกกำลังกาย
4. โรคเบาหวาน ถือเป็นโรคยอดฮิตในผู้สูงอายุ เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากไม่รักษาอาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้ เช่น ตาบอด ไตเสื่อม ชาตามปลายมือปลายเท้า และติดเชื้อ
5. โรคความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน มักพบโรคนี้ โดยปกติคนทั่วไปจะมีความดันโลหิตอยู่ที่ 120/80 – 139/89 มิลลิเมตรปรอท หากเกินกว่านี้ถือว่าเป็นความดันโลหินสูง โรคนี้ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ อาจมีบางครั้งที่มีอาการใจสั่น หน้ามืด ตาพร่า หรือปวดหัวรุนแรง หากปล่อยไว้อาจเกิดโรคหัวใจ โรคไต หรือโรคทางสมองแทรกซ้อนได้
6. โรคไต โรคนี้มักไม่แสดงอาการในช่วงแรกๆ ต่อเมื่อไตเริ่มเสื่อมมากขึ้น ทำให้เกิดการคั่งของของเสียในร่างกาย ความผิดปกติและอาการจึงจะแสดงออกมา นำไปสู่ภาวะไตวายเรื้อรัง มีอาการตัวซีด คันตามตัว เบื่ออาหาร บวม ระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติ การรักษาโรคไต ต้องทำการล้างไต ฟอกเลือด และอาจต้องเปลี่ยนไตในที่สุด
7. โรคตา โรคที่พบบ่อยคือ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคต้อกระจก โรคต้อหิน ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ และมีอาการแตกต่างกัน ทำให้การมองเห็นลดลง ดังนั้น เมื่อเกิดอาการผิดปกติของการมองเห็น ควรรับปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษา
SAIJAI "ใส่ใจ" เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการดูแลเด็ก ดูแลผู้สูงอายุ ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ แม่บ้าน/ทำความสะอาด คนขับรถ ดูแลสัตว์เลี้ยง เสริมสวย และช่างซ่อมบำรุงเท่านั้น "SAIJAI" ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการหรือจ้างบุคคลใดให้บริการ ไม่มีสถานะเป็นนายจ้าง ผู้ว่าจ้าง ตัวแทน ผู้ร่วมทุน อย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเป็นผู้รับจ้างอิสระ ซึ่งผู้รับบริการเป็นผู้ว่าจ้าง คุณภาพการให้บริการเป็นความรับผิดชอบทั้งสิ้นของผู้ให้บริการเอง การเรียกใช้บริการจากผู้ให้บริการ อาจมีความเสี่ยง ซึ่งผู้รับบริการรับทราบและยินดีใช้บริการ บนความเสี่ยงใด ๆ ในความรับผิดชอบของตัวท่านเอง