ดูแลเด็ก ใน บึงกุ่ม, กรุงเทพมหานคร

ดูแลเด็ก ใน บึงกุ่ม, กรุงเทพมหานคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ระบุวันที่
ผู้ให้บริการดูแลเด็ก ใน บึงกุ่ม, กรุงเทพมหานคร:

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ใจเย็น รักเด็ก มีความอดทนสูง สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ยิ้มแย้มแจ่มใจ เสริมสร้างพัฒนาการเด็กตามช่วงวัยได้ค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
กัญญาภัทร บุตรพรม
กัญญาภัทร บุตรพรม
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

สวัสดีค่ะ ชือ ภัทรค่ะ อายุ 52 ถนัดดูแลเด็กแรกคลอด คุณแม่หลังคลอดค่ะ นวดเด็กแรกเล็กได้ ช้วยให้เด็ก อารมณ์ดีไม่งอแง ช่วยระบบขับถ่าย เลือดลมไหลเวียนดี ร่างกายแข็งแรง.นวดประคบสมุนไพร คุณแม่หลังคลอดช่วยในการอยู่ไฟสมัยโบราณ ทำให้มดลูกเข้าอู่ไว้ ร่างกายแข็งแรง รับงานได้ทั้งในและต่างประเทศค่ะ รับดูแลทั้งคนไทยและต่างชาติ

แสดงเพิ่มเติม

มีความอดทน ขยัน รักความสะอาด ใจเย็น

แสดงเพิ่มเติม
ทิพวรรณ์ ราศรี
ทิพวรรณ์ ราศรี
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี
Saijai อายุ 27 ปี

เป็นคนอัธยาศัยดีค่ะ ใจเย็นค่ะชอบเล่นกับเด็ก ส่งเสริมพัฒนาการของน้องได้ค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
ฉันทนา สิทธิ
ฉันทนา สิทธิ
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี
Saijai อายุ 45 ปี

เป็นคนง่ายๆรักเด็กใจเย็นไม่เคยโกรธหรือโมโหอะไรง่ายๆนอนน้อยทําได้หมดแต่ไม่ชอบจู้จี้

แสดงเพิ่มเติม
วิไล นันต๊ะภาพ
วิไล นันต๊ะภาพ
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี
Saijai อายุ 47 ปี
เสาวณีย์ เขาพระจันทร์
เสาวณีย์ เขาพระจันทร์
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี
Saijai อายุ 38 ปี

ใส่ใจดูแลเหมือนลูกเจ้าของเองใจเย็น ดูแลได้ตลอด

แสดงเพิ่มเติม
มัณฑนา ศรีโชติ
มัณฑนา ศรีโชติ
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี
Saijai อายุ 49 ปี

ใจเย็น รักเด็ก พร้อมเรียนรู้ปรับตัว

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

พี่เลี้ยงเด็กที่จ้างผ่านเว็บใส่ใจคือดีจริง ๆ พี่เลี้ยงเด็กมีประสบการณ์ในการเลี้ยงดูเด็กและเป็นคนที่ซื่อสัตย์มาก ทำให้คนเป็นแม่อย่างเราหายห่วงลูกเลยจริง ๆ หากใครที่กำลังมองหาพี่เลี้ยงเด็ก บริการของทางใส่ใจถือเป็นตัวเลือกที่ดีเลยทีเดียวสำหรับคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ที่ต้องทำงานนอกบ้าน
Saijai
กรรชัย วงศ์พานิชญ์
4 ปีที่แล้ว
ดิฉันกับสามีทำงานประจำทั้งคู่ค่ะ ไม่มีใครคอยอยู่ดูแลลูกที่บ้านเลย ลูกติดนิสัยชอบอยู่แต่ในบ้านและซนกับพี่เลี้ยงมาก จนพี่เลี้ยงหลาย ๆ คนทนไม่ไหวถึงกับขอลาออกเอง โชคดีที่ได้เจอพี่เลี้ยงคนนี้บนเว็บใส่ใจ พี่ลี้ยงเข้ากับน้องได้ดีค่ะ
Saijai
วิลาภรณ์ สุทธิรักษ์
4 ปีที่แล้ว
บ้านอยู่แถว สุขุมวิท71 ลองใช้เว็บใส่ใจครั้งแรก เพราะเพื่อนๆ แนะนำมา อยากได้พี่เลี้ยงเด็ก มองหามาหลายที่ ที่นี่รายละเอียดครบ ราคาชัดเจน โทรปรึกษาพนักงานก็อธิบายเข้าใจง่ายมาก สะดวกสบาย ง่ายกว่า search หาเองใน Google ชอบมากๆ ค่ะ
Saijai
นงคราญ แซ่ตั้ง
4 ปีที่แล้ว
ลูกยังเล็กเราจ้างพี่เลี้ยงมา ตกลงเวลาเริ่มงาน 9.30-17.30 น. (พี่เลี้ยงมา 8.30 น. ทุกวัน ) ประสบการณ์ เคยดูแล เด็กเล็ก 4 เดือน – 2 ขวบ พอเด็กเข้าโรงเรียน ก็ว่าง พอดีที่บ้านช่วยกันหา เจอเว็บนี้เห็นรีวิวประสบการณ์คนเลี้ยงเลย คุยดู พี่เลี้ยงทำงานดีมาก่อนเวลา เตรียมของใช้ ทำงานเป็นระเบียบเหมือนอบรมมาดี อุ่นใจ คิดถูกที่ใช้บริการใส่ใจ แนะนำค่ะ
Saijai
ณัฐวรรณ แสงสีเงิน
4 ปีที่แล้ว
เราทำงานนอกบ้าน เลยหาพี่เลี้ยงเด็กมาดูแลน้องที่บ้าน ค้นหาข้อมูลดูเวปนี้ให้รายละเอียดพี่เลี้ยงน่าสนใจ ราคาเรารับได้ เราเลยให้น้องมาทดลองงานก่อนเราไปทำงาน น้องมีประสบการณ์มา เลยปรับตัวไม่ยาก เวลาเราอยู่น้องจะช่วยหยิบจับของทำโน่นทำนี่ไป ประทับใจคะ สองเดือนแล้วน้องทำงานดี มีระเบียบเรียบร้อย คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป เราไว้ใจให้น้องคนนี้ดูแล
Saijai
แม่น้องกัญ
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ดูแลเด็ก

หากคุณพ่อคุณแม่ต้องทำงานนอกบ้านและไม่มีเวลาเลี้ยงลูกเอง ลองเปรียบเทียบกันระหว่างส่งลูกไปเนอสเซอรี่และจ้างพี่เลี้ยงเด็กมาดูแลลูกที่บ้าน อะไรจะตรงใจคุณพ่อคุณแม่มากที่สุด
บริการรับเลี้ยงเด็กในปัจจุบันมีหลายทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นพี่เลี้ยงเด็ก หรือเนอสเซอรี่ เรามาดูข้อดีข้อเสียกันเลยค่ะ

ข้อดีของพี่เลี้ยงเด็กที่บ้านมีดังนี้

1) พี่เลี้ยงสามารถดูแลลูกน้อยของคุณได้อย่างใกล้ชิด ลูกของคุณจะได้รับความเอาใจใส่ที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กทางด้านอารมณ์
2) พี่เลี้ยงสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กผ่านการทำกิจกรรมต่าง
3) พ่อแม่ประหยัดเวลามากขึ้น หากจ้างพี่เลี้ยงมาดูแลที่บ้าน
4) เด็กจะไม่ป่วยบ่อย เนื่องจากเด็กจะอยู่ในบ้านของตนเอง

ข้อดีของเนอสเซอรี่

1) เด็ก ๆ จะรู้จักการเข้าสังคม
2) เนอสเซอรี่มีบริเวณกว้างเพื่อให้เด็กได้ทำกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ
3) เด็กจะได้ฝึกดูแลตัวเอง เพราะครูพี่เลี้ยงไม่ได้ดูแลเด็กแบบใกล้ชิด

ข้อเสียของพี่เลี้ยง

1) ค่าใช้จ่ายอาจจะสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเข้าศูนย์เนอสเซอรี่
2) เด็กอาจจะติดพี่เลี้ยงเกินไป
3) ลดความเป็นส่วนตัวของครอบครัว

ข้อเสียของเนอสเซอรี่

1) เด็กป่วยบ่อยเพราะมีภูมิคุ้มกันที่น้อยเนื่องจากอยู่กับเด็กหลายคน
2) ลูกจะไม่ได้รับการดูแลใกล้ชิดแบบตัวต่อตัวอาจส่งผลถึงอารมณ์ของเด็กได้
3) เด็กจะอยู่ห่างไกลจากพ่อแม่

หากคุณพ่อคุณแม่กำลังมองหาบริการพี่เลี้ยงเด็ก ใส่ใจมีบริการพี่เลี้ยงมืออาชีพที่พร้อมจะให้บริการคุณค่ะ
คุณสมบัติอะไรบ้างที่พ่อแม่ควรมองหาจากพี่เลี้ยงเด็กก่อนตกลงจ้าง
ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่คุณพ่อคุณแม่สักคนจะตัดสินใจหาใครมาดูแลลูกน้อยที่เปรียบเสมือนแก้วตาดวงใจ วันนี้ใส่ใจมีข้อมูลของทักษะและคุณสมบัติที่พี่เลี้ยงเด็กควรมีมาฝากให้คุณพ่อคุณแม่ลองเช็คกันดูก่อนตัดสินใจจ้างพี่เลี้ยงสักคน

1. พี่เลี้ยงเด็กต้องมีความอดทนสูง คุณพ่อคุณแม่ต้องมั่นใจว่าพี่เลี้ยงเด็กต้องมีความเข้าใจเด็ก สามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี และที่สำคัญที่สุดคือเป็นคนที่มีความอดทนสูง
2. พี่เลี้ยงเด็กควรรู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ในกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดหรืออุบัติเหตุ พี่เลี้ยงต้องมีความรู้และทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และสามารถช่วยเหลือเด็กได้ทันที เช่น เด็กที่อยู่ภายใต้การดูแลเกิดอุบัติเหตุหกล้ม มีแผลถลอก พี่เลี้ยงต้องรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อของแผล เป็นต้น ดังนั้นคุณพ่อและคุณแม่ควรเลือกพี่เลี้ยงที่มีทักษะด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพราะเป็นสิ่งจำเป็นมาก ๆ
3. พี่เลี้ยงเด็กควรมีทักษะการแก้ไขปัญหา พี่เลี้ยงจะต้องรู้วิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งผู้ว่าจ้างเสมอไปหากปัญหานั้นไม่ใช่ปัญหาที่ร้ายแรง
4. ทำอาหารเป็น ถือเป็นอีกหนึ่งทักษะที่พี่เลี้ยงเด็กจำเป็นต้องมี พี่เลี้ยงไม่ได้มีหน้าที่แค่ดูแลเด็กอย่างเดียวเท่านั้น แต่พี่เลี้ยงอาจจะต้องเตรียมอาหารให้เด็ก ๆ รับประทานในแต่ละมื้อด้วย หากอาหารอร่อยถูกปาก เด็กจะเจริญอาหารและอารมณ์ดี ที่สำคัญที่สุดที่พี่เลี้ยงต้องใส่ใจและจดจำด้วยว่าเด็ก ๆ ที่ดูแลนั้น แพ้อาหารอะไรบ้าง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นจากการรับประทานสิ่งที่แพ้เข้าไป
5. มีความคิดสร้างสรรค์ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก พี่เลี้ยงจะต้องเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ ในระหว่างวัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวิชาการหรือสันทนาการ เช่น พี่เลี้ยงเด็กอาจจะสอนเด็กนับเลข ฝึกการอ่าน หรือระบายสีเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่สร้างสรรค์เหล่านี้
อะไรที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่คลายความกังวลเมื่อต้องปล่อยให้ลูก ๆ อยู่กับพี่เลี้ยงตามลำพัง
เมื่อคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องจ้างพี่เลี้ยงมาดูแลลูก ๆ ของคุณ ความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือเป็นหัวใจสำคัญในการตัดสินใจ คุณพ่อคุณแม่มีวิธีการใดบ้างที่จะหาพี่เลี้ยงที่วางใจได้ ใส่ใจมีวิธีการที่ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รู้จักตัวตนของพี่เลี้ยงเด็กมากขึ้น

1. ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีหากครอบครัวหรือเพื่อนของคุณพ่อคุณแม่เป็นผู้แนะนำพี่เลี้ยงเด็กที่พวกเขารู้จัก อย่างน้อยก็มีคนรับรองพวกเขาได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือต้องทำการสัมภาษณ์พี่เลี้ยงเด็กและตรวจสอบประวัติของคุณเองเพื่อให้แน่ใจว่าเชื่อถือได้มากที่สุด
2. สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มองหาพี่เลี้ยงจากสื่อออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดีย (Social Media) เช่น เฟสบุ๊ค หรือไลน์ มองหาพี่เลี้ยงเด็กที่มีรีวิวจากผู้ที่เคยใช้บริการก่อนหน้า ใช้เวลาอ่านและศึกษารีวิวเหล่านั้น
3. เชื่อสัญชาตญาณของตัวเอง เมื่อคุณพ่อคุณแม่มีโอกาสสัมภาษณ์พี่เลี้ยงเด็กก่อนเริ่มงาน หากมีสัญญาณที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกไม่สบายใจ เช่น พี่เลี้ยงเด็กดูเป็นคนไม่กระตือรือร้น หรือไม่ยิ้มแย้มแจ่มใส จงเชื่อสัญชาตญาณของตัวเองที่ชี้ว่าคนคนนี้ไม่เหมาะสมกับงาน
4. ตรวจสอบประวัติ คุณพ่อคุณแม่อาจร้องขอให้พี่เลี้ยงตรวจสอบประวัติอาชญากรรมกับกองทะเบียนประวัติอาชญากร( http://www.criminal.police.go.th/ ) เพื่อให้แน่ใจว่าพี่เลี้ยงเด็กไม่มีประวัติกระทำผิดกฎหมายทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้เพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือและช่วยในการตัดสินใจ
ข้อตกลงสำคัญที่พ่อแม่ควรตกลงกับพี่เลี้ยงเด็กก่อนเริ่มงานมีอะไรบ้าง?
สัญญาหรือข้อตกลงในการทำงานเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่และพี่เลี้ยงเด็กต้องตกลงร่วมกันเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันในขอบเขตการทำงานและค่าตอบแทน การทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรอาจจะไม่จำเป็นเสมอไป แต่การร่างหรือการบันทึกรายการช่วยให้ทั้งสองฝ่ายจดจำรายละเอียดต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น มีอะไรบ้างที่คุณพ่อคุณแม่และพี่เลี้ยงเด็กควรตกลงกันก่อนเริ่มงาน

1. วันเริ่มงาน ควรมีวันเริ่มงานให้ชัดเจนเพื่อประโยชน์และไม่เป็นการเสียเวลาของทั้งคุณพ่อคุณแม่และพี่เลี้ยงเด็ก
2. ชั่วโมงการทำงานและวันหยุด ตกลงเรื่องเวลาทำงาน จำนวนชั่วโมงการทำงานในแต่ละวันและวันหยุด เพื่อให้ตารางการทำงานของพี่เลี้ยงเด็กสอดคล้องกับเวลาทำงานของพ่อคุณแม่มากที่สุด และทั้งสองฝ่ายควรรักษาเวลา
3. ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบ กำหนดความรับผิดชอบของพี่เลี้ยงเด็กให้ชัดเจน
4. ค่าแรงและกำหนดการจ่าย ค่าแรงของพี่เลี้ยงเด็กอาจขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงาน เช่นพี่เลี้ยงเด็กรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์และรายเดือน ซึ่งกำหนดการจ่ายเงินอาจจะแตกต่างกันไปตามลักษณะการทำงานนี้ด้วย
5. ค่าแรงในกรณีทำงานล่วงเวลา หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้พี่เลี้ยงเด็กทำงานล่วงเวลา ควรสอบถามความสมัครใจของพี่เลี้ยงและตกลงกันให้ชัดเจนเรื่องค่าแรง
6. การโพสต์รูปหรือข้อความเกี่ยวกับเด็กลงสื่อออนไลน์ (Social Medias) คุณพ่อคุณแม่คงไม่อยากให้มีรูปภาพ หรือข้อความเกี่ยวกับลูก ๆ ถูกโพสต์ลงในโซเชียลมีเดีย เช่น เฟสบุ๊ค หรืออินสตาแกรม โดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรทำความตกลงกับพี่เลี้ยงเด็กในเรื่องนี้ด้วย
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่คุณพ่อและคุณแม่ควรพูดคุยตกลงกับพี่เลี้ยงเด็กให้ชัดเจนก่อนเริ่มงาน

ทำความรู้จัก

"เขตบึงกุ่ม" ก่อนหน้าจะเป็นเขตบึงกุ่ม เดิมทีนั้นเขตนี้รวมอยู่ในพื้นที่ของเขตบางกะปิ และได้รับการจัดตั้งเป็นเขตอย่างเป็นทางการเมื่อได้มีการแยกพื้นที่ปกครองออกจากเขตบางกะปิ เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2532 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกะปิ และจัดตั้งเขตบึงกุ่ม และ เขตลาดพร้าว ลงวันที่ 4 กันยายน 2532 เป็นต้นมา โดยเขตบึงกุ่มประกอบด้วยเขตการปกครอง 3 แขวง คือ แขวงคลองกุ่ม แขวงคันนายาวและ แขวงสะพานสูง มีพื้นที่ทั้งสิ้น 81.12 ตารางกิโลเมตร ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบึงกุ่ม โดยยกระดับเขตการปกครองแขวงคันนายาวจัดตั้งเป็นเขตคันนายาว และเขตการปกครองแขวงสะพานสูงจัดตั้งเป็นเขตสะพานสูงเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2540 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2540 เขตบึงกุ่มปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด 24.31 ตารางกิโลเมตรและมีประชากร อยู่ที่143,835 คน (พ.ศ. 2560) ส่วนที่ที่มาของชื่อเขตนั้นคือ ประมาณปี พ.ศ. 2386 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้ยกทัพไปปราบกบฏที่เมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองหลวงพระบาง จนได้รับชัยชนะและได้กวาดต้อนครอบครัวจากหัวเมืองรายทางเข้ามายังกรุงเทพมหานคร โดยให้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่เขตบึงกุ่มและเขตคันนายาวในปัจจุบัน ในย่านนั้นมีคลองสายหนึ่งซึ่งแยกจากคลองแสนแสบและไหลผ่านบึงเก่าแก่ที่มีขนาดใหญ่ มีต้นกุ่มขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากจึงเรียกแหล่งน้ำสองแห่งนั้นว่า "คลองกุ่ม" และ "บึงกุ่ม" ส่วนตราสัญลักษณ์ประจำเขตบึงกุ่ม ที่สื่อความหมายได้ดีทีเดียวนั้นมีความหมายอยู่ว่า พื้นน้ำสีฟ้าคราม แทนความหมายของความสงบสุข ร่มเย็น เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ดอกกุ่มสามดอก แทนความหมายของประชาชนในพื้นที่เขตบึงกุ่ม ไม่ว่าจะเป็นไทยพุทธ คริสต์ อิสลามก็ล้วนแต่เป็นพี่น้องเพื่อนบ้านที่อยู่ร่วมกัน ด้วยความรัก สามัคคี นกสองตัวบินอยู่ บนท้องฟ้าเหนือพื้นดิน ผืนน้ำ แทนความหมายของความเป็นอิสระในความคิดแสดงถึงการเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี มีความสอดคล้อง และเดินไปในทิศทางเดียวกัน รูปวงกลมล้อมรอบ เครื่องหมายข้างต้นทั้งหมด แทนความหมายของความสมาน สามัคคี ความกลมเกลียว ของพี่น้องประชาชน ข้าราชการ ลูกจ้างเขตบึงกุ่ม หน่วยงานทุกภาคส่วนอยู่กันอย่างสงบสุข ร่มเย็น ล้อมรอบไปด้วยความรัก สามัคคี มีความกลมเกลียว ขณะเดียวกันก็มีอิสระในความคิด แต่ก็เป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตามที่ดี ทำงานเป็นทีมเดินไปในทิศทางเดียวกันในพื้นที่เขตบึงกุ่ม



เตรียมลูกน้อยก่อนไปโรงเรียน

เด็กเติบโตเร็วจนอาจทำให้คุณรู้สึกเหมือนเมื่อห้านาทีก่อนที่คุณอุ้มลูกน้อยของคุณไว้ในอ้อมแขนเป็นครั้งแรก แต่ในพริบตาพวกเขากำลังเตรียมตัวสำหรับวันแรกของการเตรียมอนุบาล คุณเริ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานรับเลี้ยงเด็กที่ดีและอยู่ใกล้คุณที่สุด จนพบสถานรับเลี้ยงเด็กที่คุณชื่นชอบ ซึ่งหมายความว่าถึงเวลาแล้วที่จะเริ่มเตรียมบุตรหลานของคุณให้พร้อมสำหรับการผจญภัยครั้งใหม่

เป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาว่าลูกของคุณจะตอบสนองอย่างไรที่ต้องห่างพ่อแม่และอยู่กับคนแปลกหน้าเป็นครั้งแรก แต่มั่นใจได้ว่าอีกไม่นานพวกเขาจะสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและกิจวัตรใหม่ และคุณสามารถช่วยเตรียมความพร้อมให้กับเด็กๆ ได้ดังนี้

สร้างความคุ้นเคยในการเข้าสังคมกับเพื่อนในวัยเดียวกัน

หากลูกน้อยของคุณเป็นลูกคนเดียว จู่ๆ การถูกดึงเข้าไปรวมกลุ่มกับเด็กคนอื่นๆ ที่สถานรับเลี้ยงเด็กอาจเป็นเรื่องที่น่าตกใจมาก ก่อนที่ลูกของคุณจะเริ่มต้นที่สถานรับเลี้ยงเด็ก ควรเพิ่มจำนวนวันที่เล่นกับเด็กในวัยใกล้เคียงกัน หรืออาจเข้าร่วมกลุ่มเด็กวัยหัดเดินบางกลุ่มเพื่อให้ลูกของคุณคุ้นเคยกับความคิดที่จะอยู่ร่วมกับเด็กคนอื่นๆ แบ่งปันของเล่น และผลัดกัน

มอบหมายงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ เพื่อฝึกความรับผิดชอบ

ฝึกให้เก็บของเล่นเมื่อไม่เล่นแล้ว เช่นเดียวกันกับที่สถานรับเลี้ยงเด็กที่มักจะให้เด็กช่วยกันทำงานต่างๆ เช่น จัดเก็บของเล่นหรือแจกจานสำหรับอาหารว่าง การให้บุตรหลานของคุณทำงานบ้านก่อนวัยเรียนสามารถช่วยเรื่องนี้ได้จริง ๆ และยังเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการสร้างความมั่นใจและความเป็นตัวของตัวเองในการเตรียมตัวสำหรับการเริ่มต้นสถานรับเลี้ยงเด็ก

พาเด็กไปดูโรงเรียนหรือสถานที่รับเลี้ยงก่อนเริ่มอยู่จริง

เมื่อเลือกสถานรับเลี้ยงเด็ก ควรพาเด็กเข้าเยี่ยมชมสถานที่เพื่อสำรวจสภาพแวดล้อมใหม่ และทำให้พวกเขาความมั่นใจว่าแม่หรือพ่อจะอยู่ที่นั่นด้วย วิธีนี้จะทำให้ลูกของคุณรู้สึกสบายใจที่จะทำความคุ้นเคยกับสถานรับเลี้ยงเด็ก การทำความคุ้นเคยกับสถานที่ อุปกรณ์และกิจกรรมจะทำให้พวกเขารู้สึกดีสถานรับเลี้ยงเด็กมากขึ้น

รับมืออย่างมีสติ

ไม่ว่าลูกของคุณจะมีปฏิกิริยาอย่างไรกับการไปสถานรับเลี้ยงเด็กเป็นครั้งแรก คุณต้องรับมืออย่างใจเย็น และให้ผู้ดูแลเป็นคนควบคุมสถานการณ์ คุณคือบุคคลที่ลูกของคุณมองหาเพื่อสร้างความมั่นใจและคุณคือ 'สถานที่ปลอดภัย' ของพวกเขา ความสงบจะทำให้พวกเขามั่นใจและสบายใจ การพูดเกี่ยวกับสถานรับเลี้ยงเด็กในทางที่ดียังสามารถช่วยให้ลูกน้อยของคุณเห็นว่า การไปสถานรับเลี้ยงเด็กเป็นการผจญภัยที่น่าสนุกและไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวเลย



เตรียมลูกให้พร้อมก่อนไปโรงเรียน ..(โลกกว้างในแรกของหนู)

1. ไม่ว่าลูกน้อยของคุณจะอายุเท่าไหร่ ให้เริ่มพูดคุยกับพวกเขาเกี่ยวกับสถานรับเลี้ยงเด็กในเชิงบวกเพื่อทำให้พวกเขารู้สึกดีกับสถานรับเลี้ยงเด็ก

2. พยายามหาเวลาไปสถานรับเลี้ยงเด็กเพื่อให้ลูกของคุณรู้จักสภาพแวดล้อมและคุณสามารถพูดคุยกับครูเกี่ยวกับสิ่งที่ชอบและไม่ชอบ คำพิเศษและของเล่น ฯลฯ

3. จงมองโลกในแง่ดีเสมอเกี่ยวกับการไปสถานรับเลี้ยงเด็กและดูว่าลูกของคุณจะสนุกไปกับมันมากแค่ไหน - เด็กน้อยสามารถรับความเครียดและความวิตกกังวลของเราได้ ดังนั้นในฐานะผู้ปกครอง คุณจะต้องยิ้มจริงๆ (แม้ในระหว่างที่ออกจากโรงเรียน!)

4. น้ำตาเป็นเรื่องปกติ แต่กลั้นไว้และเดินต่อไปโดยมั่นใจว่าเจ้าหน้าที่ของสถานรับเลี้ยงเด็กจะมีวิธีรับมือและปลอบโยนเด็ก ๆ ที่อาจจะร้องไห้งอแงไปบ้าง อย่าพยายามเล่นซ่อนหาหรือแอบย่องไปรอบ ๆ ห้องเรียน เพราะถ้าลูกของคุณจะรู้ว่าคุณอยู่ที่นั่นและจะทำให้พวกเขาสับสนและไม่ให้ความร่วมมือกับครูพี่เลี้ยง

5. ให้เด็กพักผ่อนอย่างเต็มที่ ให้แน่ใจว่าพวกเขาได้นอนหลับพักผ่อนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คือประมาณ 10-12 ชั่วโมง เพราะการพักผ่อนอย่างเต็มที่จะช่วยให้เด็กอารมณ์ดีและมีความกระตือรือร้นที่จะเล่นกับเพื่อน และสนใจกิจกรรมที่ครูพี่เลี้ยงนำเสนอ

6. การควบคุมอาหารก็มีความสำคัญเช่นกัน เตรียมอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะสิ่งที่พวกเขาบริโภคเข้าไปอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่ออารมณ์และพฤติกรรมของเด็ก

7. เมื่อคุณอยู่ที่บ้าน ให้แน่ใจว่าคุณพูดถึงวันไปโรงเรียนในแง่บวกเกี่ยวกับวันอนุบาลให้ลูกของคุณได้ยินอยู่เสมอ

8. สุดท้ายนี้ อดทนไว้ เด็กทุกคนต้องใช้เวลาในการปรับตัว ดังนั้นควรพูดคุยกับครูพี่เลี้ยง เพื่อช่วยกันผ่านพ้นความยากลำบาก และเพื่อให้แน่ใจว่าคุณและบุตรหลานของคุณมีความสุข