วิธีการทำงาน
ติดต่อเรา
ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ
แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ
เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ
ยืนยันการจองของคุณ
เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA
ประเภทงานบริการ
พี่เลี้ยงเด็ก พี่เลี้ยงเด็กชั่วคราว รับเลี้ยงเด็กที่บ้านตัวเอง พี่เลี้ยงสองภาษา พี่เลี้ยงวันหยุดบริการในเมืองยอดนิยม
บางเขน บางกอกน้อย ป้อมปราบศัตรูพ่า พระนคร บางพลัด บางบอน พระโขนง ภาษีเจริญ คลองสามวา ตลิ่งชันHi my name is Sunee. I have an experince of babysitting for more than 2 years as well as raising my own kids. I was an exchange student and stay with a family in Canada in 1988. After graduated bechalor degree from Ramkhamhang University, I worked as a Thai Language Tutor for foreigners. I can communicate in English.
สวัสดีค่ะชื่อแพ็คนะคะเป็นคนซื่อสัตย์ค่ะเต็มที่กับงานสามารถแยกแยะเรื่องส่วนตัวกับการทำงานได้มีความรับผิดชอบ ชอบเล่นกับเด็กรักเด็กชอบทำอาหารขับรถได้ค่ะเรียนจบมหาวิทยาลัยรามคำแหงคณะรัฐศาสตร์
การทำงาน ทำงานกับเด็กมาตลอดชีวิตเลยถนัดในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเด็กทำแล้วมีความสุขค่ะอยากช่วยปลูกฝั่งเด็กๆทุกคนให้โตมาเเบบมีศักยภาพ
สวัสดีค่ะ พี่ชื่อ พัชรี อ่อนศรีค่ะ
เคยผ่านการทำงานเลี้ยงเด็กมา10ปีค่ะตั้งแต่แรกเกิดถึงเข้าโรงเรียนค่ะพี่ดูแลทุกอย่างเกี่ยวกับเด็กค่ะ
ช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กแต่ระช่วงวัยดูแลความปลอดภัยขั้นสูงสุดในแต่ระช่วงวัยค่ะ
ทำอาหารได้ทุกช่วงวัยของเด็กค่ะเน้นความสะอาด ใจเย็น มีสติในการทำงานตลอดเวลาค่ะ
เลี้ยงเด็กตามความประสงของพ่อและแม่ค่ะแต่ระบ้านจะมีวิธีการเลี้ยงแตกต่างกันค่ะ ใส่ใจรายระเอียดทุกอย่างค่ะ ขอบคุณมากๆๆค่ะ
1.ชื่อ-นามสกุล (ไทย) : นิศาชล ช่วยขุน(อังกฤษ) : nisachon chuaykhunสถานะ : โสด2.อายุ : 31 3.ตำแหน่งงานที่สมัคร : ครูผู้ช่วย พี่เลี้ยงเด็กส่วนสูง : 165 ซ.มน้ำหนัก : 44ก.ก.ไม่มีรอยสักไม่ใส่เหล็กดัดฟันไม่สูบบุหรี่กินเหล้านิสัยส่วนตัว ใจดีมีเมตตาชอบเด็กๆเป็นอย่างมาก เรียบร้อย พูดเพราะไม่พูดคำหยาบ ชอบดูแลคนอื่น ชอบให้คำปรึกษา ชอบให้แรงจูงใจให้ความรักพร้อมความรู้พร้อมกัน ชีวิตและการทำงานทุกทางผูกพันธ์กับเด็ก เป็นพี่สาวคนโตเลี้ยงๆน้องที่บ้านเกิด ขยันชอบเอนเตอร์เทรน ประวิติการทำงานสายอีเว้นท์ช่วงว่างงานหรือวันหยุด-MC โฟนของเล่นเด็ก บ.คิดส์โด-MC โฟนงานวัคซีน ม.ไทย-ญี่ปุ่น- Staff แจกใบปลิว งานโบกป้าย เอกตร้า-ครูสอนเสริม สอนการบ้านบ้านเด็กกำพร้างานประจำที่เคยผ่าน-ฝึกงาน สถาบันคอม ม.ราม-พี่เลี้ยงสถานสงเคราะห์ บ.มหาเมฆ กรมเด็ก-ปัจจุบัน ครูผู้ช่วยโรงเรียนเด็กก่อนเรียนรามคำแหง 7.ระดับการศึกษา :ป.ตรี คณะมนุษยศาสตร์ ม.รามคำแหง8.ความสามารถพิเศษ : ร้องเพลงลูกทุ่ง โฟนMC เต้น นำกิจกรรมเอนเตอร์เทน9.สื่อสารภาษาอังกฤษ : พอได้บ้าง10.รอยสัก : ไม่มี11. ที่อยู่ : รามคำแหงมหาดไทย12. สถานะการฉีดวัคซีนโควิด : ฉีดแล้ว2เข็ม
ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ
รีวิวล่าสุด
คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ดูแลเด็ก
1. ความอดทน พี่เลี้ยงเด็กต้องมีเข้าใจในธรรมชาติและอดทนต่อพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนที่แตกต่างกัน
2. ทักษะการต่อรอง พี่เลี้ยงเด็กต้องมีเทคนิคในการเจรจาสื่อสารเพื่อโน้มน้าวให้เด็กเชื่อฟังโดยไม่ใช้การบังคับ
3. ทักษะแก้ปัญหา พี่เลี้ยงเด็กต้องมีความสามารถในการจัดการและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างเหมาะสมโดยไม่ต้องรายงานคุณพ่อคุณแม่หากไม่ใช่เรื่องร้ายแรง
4. ความคิดสร้างสรรค์ พี่เลี้ยงเด็กควรมีความคิดสร้างสรรค์ หากิจกรรมที่เหมาะสำหรับเด็กในแต่ละช่วงวัยเพื่อให้เด็กได้เล่นเพลิดเพลินและฝึกช่วยเหลือตัวเอง
5. ตรงต่อเวลา พี่เลี้ยงเด็กต้องเป็นคนที่ตรงต่อเวลาและมีความรับผิดชอบในงานของตัวเอง คือต้องมาทำงานและเลิกงานตามเวลาที่ตกลงไว้กับคุณพ่อคุณแม่ หากมีเหตุสุดวิสัยทำให้มาสายควรแจ้งให้คุณพ่อคุณแม่ทราบโดยเร็วที่สุด
6. สุขภาพดี พี่เลี้ยงต้องเป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรงและดูแลตัวเองทั้งเสื้อผ้า หน้า ผมให้สะอาดอยู่เสมอ
7. วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ในกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดหรืออุบัติเหตุ พี่เลี้ยงต้องมีความรู้และทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และสามารถช่วยเหลือเด็กได้ทันที
1. คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยและทำความเข้าใจกับเด็ก ถึงความจำเป็นที่ต้องให้เด็กๆ อยู่กับพี่เลี้ยง ให้ความมั่นใจกับเด็กว่าคุณพ่อคุณแม่หาคนที่สามารถดูแลพวกเขาได้ดี
2. คุณพ่อคุณแม่ควรหาพี่เลี้ยงที่เข้ากันได้กับลูก ๆ และมีความพร้อมในการดูแลเด็ก
3. แนะนำให้ลูก ๆ ทำความรู้จักกับพี่เลี้ยง โดยอาจจะเล่าให้ฟังว่าพี่เลี้ยงเห็นใคร ชื่ออะไร คุยกับพี่ผ่านทางวิดีโอคอลก่อนวันเริ่มงานจริง เพื่อนลดความตึงเครียดในการเจอกันครั้งแรก
4. คุณพ่อคุณแม่ควรบันทึกเบอร์โทรศัพท์ของตัวเอง เบอร์โทรฉุกเฉิน และสอนให้ลูกใช้โทรศัพท์เพื่อโทรหาคุณพ่อคุณแม่ได้ หรือโทรขอความช่วยเหลือได้ในกรณีฉุกเฉิน
5. มอบหมายงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้เด็ก ๆ ทำระหว่างวัน เพื่อที่เด็ก ๆ จะได้มีกิจกรรมเบนความสนใจและไม่เอาแต่จดจ่อรอเวลาคุณพ่อคุณแม่กลับบ้าน
6. เมื่อถึงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องออกจากบ้านและต้องให้เด็ก ๆ อยู่กับพี่เลี้ยงเด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความมั่นใจกับเด็ก ๆ ว่าพี่เลี้ยงจะดูแลเด็ก ๆ เป็นอย่างดีและย้ำว่าพวกเขาสามารถโทรหาคุณได้เสมอ
1. วันและเวลาทำงาน คุณพ่อและคุณแม่ควรมีแผนการทำงานของพี่เลี้ยงที่ชัดเจน เช่นกำหนดวันทำงาน วันหยุด และเวลาทำงานในแต่ละวันให้ชัดเจน และควรถามความสมัครใจหากต้องการให้พี่เลี้ยงทำงานล่วงเวลา
2. ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบ คุณพ่อคุณแม่ควรระบุขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของพี่เลี้ยงเด็กให้ชัดเจน หากต้องการให้พี่เลี้ยงทำงานบ้านหรืองานอื่น ๆ นอกจากดูแลเด็ก ควรตกลงกันให้ชัดเจนก่อนเริ่มงาน
3. ระยะเวลาการทดลองงาน หาดคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้พี่เลี้ยงทดลองงานก่อนสักระยะหนึ่งก่อนทำสัญญาว่าจ้าง ควรระบุช่วงระยะเวลาและเงื่อนไขในการทดลองงานให้ชัดเจน
4. ค่าจ้าง คุณพ่อคุณแม่ควรสอบถามและตกลงค่าจ้างของพี่เลี้ยงให้ชัดเจน และค่าจ้างควรจะสอดคล้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบ และจำนวนชั่วโมงทำงานในแต่ละวัน ประสบการณ์ในการทำงานอาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้ประกอบการพิจารณาอัตราค่าจ้างได้
5. กรณีจ้างพี่เลี้ยงประจำแบบพักอาศัยร่วม คุณพ่อคุณแม่ต้องจัดการเรื่องที่พักให้กับพี่เลี้ยง รวมถึงอาหารในแต่ละวันตามตกลงกัน
6. ข้อตกลงในการอยู่อาศัยร่วมกัน คุณพ่อคุณแม่ควรบอกกล่าวพี่เลี้ยงให้ชัดเจนถึงกฎระเบียบต่าง ๆ สิ่งใดไม่ควรปฏิบัติของการอาศัยอยู่ร่วมกัน
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่คุณพ่อและคุณแม่ควรพูดคุยตกลงกับพี่เลี้ยงเด็กให้ชัดเจนก่อนเริ่มงาน
ทำความรู้จัก
"เขตบึงกุ่ม" ก่อนหน้าจะเป็นเขตบึงกุ่ม เดิมทีนั้นเขตนี้รวมอยู่ในพื้นที่ของเขตบางกะปิ และได้รับการจัดตั้งเป็นเขตอย่างเป็นทางการเมื่อได้มีการแยกพื้นที่ปกครองออกจากเขตบางกะปิ เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2532 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกะปิ และจัดตั้งเขตบึงกุ่ม และ เขตลาดพร้าว ลงวันที่ 4 กันยายน 2532 เป็นต้นมา โดยเขตบึงกุ่มประกอบด้วยเขตการปกครอง 3 แขวง คือ แขวงคลองกุ่ม แขวงคันนายาวและ แขวงสะพานสูง มีพื้นที่ทั้งสิ้น 81.12 ตารางกิโลเมตร ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบึงกุ่ม โดยยกระดับเขตการปกครองแขวงคันนายาวจัดตั้งเป็นเขตคันนายาว และเขตการปกครองแขวงสะพานสูงจัดตั้งเป็นเขตสะพานสูงเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2540 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2540 เขตบึงกุ่มปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด 24.31 ตารางกิโลเมตรและมีประชากร อยู่ที่143,835 คน (พ.ศ. 2560) ส่วนที่ที่มาของชื่อเขตนั้นคือ ประมาณปี พ.ศ. 2386 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้ยกทัพไปปราบกบฏที่เมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองหลวงพระบาง จนได้รับชัยชนะและได้กวาดต้อนครอบครัวจากหัวเมืองรายทางเข้ามายังกรุงเทพมหานคร โดยให้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่เขตบึงกุ่มและเขตคันนายาวในปัจจุบัน ในย่านนั้นมีคลองสายหนึ่งซึ่งแยกจากคลองแสนแสบและไหลผ่านบึงเก่าแก่ที่มีขนาดใหญ่ มีต้นกุ่มขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากจึงเรียกแหล่งน้ำสองแห่งนั้นว่า "คลองกุ่ม" และ "บึงกุ่ม" ส่วนตราสัญลักษณ์ประจำเขตบึงกุ่ม ที่สื่อความหมายได้ดีทีเดียวนั้นมีความหมายอยู่ว่า พื้นน้ำสีฟ้าคราม แทนความหมายของความสงบสุข ร่มเย็น เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ดอกกุ่มสามดอก แทนความหมายของประชาชนในพื้นที่เขตบึงกุ่ม ไม่ว่าจะเป็นไทยพุทธ คริสต์ อิสลามก็ล้วนแต่เป็นพี่น้องเพื่อนบ้านที่อยู่ร่วมกัน ด้วยความรัก สามัคคี นกสองตัวบินอยู่ บนท้องฟ้าเหนือพื้นดิน ผืนน้ำ แทนความหมายของความเป็นอิสระในความคิดแสดงถึงการเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี มีความสอดคล้อง และเดินไปในทิศทางเดียวกัน รูปวงกลมล้อมรอบ เครื่องหมายข้างต้นทั้งหมด แทนความหมายของความสมาน สามัคคี ความกลมเกลียว ของพี่น้องประชาชน ข้าราชการ ลูกจ้างเขตบึงกุ่ม หน่วยงานทุกภาคส่วนอยู่กันอย่างสงบสุข ร่มเย็น ล้อมรอบไปด้วยความรัก สามัคคี มีความกลมเกลียว ขณะเดียวกันก็มีอิสระในความคิด แต่ก็เป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตามที่ดี ทำงานเป็นทีมเดินไปในทิศทางเดียวกันในพื้นที่เขตบึงกุ่ม
เตรียมลูกน้อยก่อนไปโรงเรียน
เด็กเติบโตเร็วจนอาจทำให้คุณรู้สึกเหมือนเมื่อห้านาทีก่อนที่คุณอุ้มลูกน้อยของคุณไว้ในอ้อมแขนเป็นครั้งแรก แต่ในพริบตาพวกเขากำลังเตรียมตัวสำหรับวันแรกของการเตรียมอนุบาล คุณเริ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานรับเลี้ยงเด็กที่ดีและอยู่ใกล้คุณที่สุด จนพบสถานรับเลี้ยงเด็กที่คุณชื่นชอบ ซึ่งหมายความว่าถึงเวลาแล้วที่จะเริ่มเตรียมบุตรหลานของคุณให้พร้อมสำหรับการผจญภัยครั้งใหม่
เป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาว่าลูกของคุณจะตอบสนองอย่างไรที่ต้องห่างพ่อแม่และอยู่กับคนแปลกหน้าเป็นครั้งแรก แต่มั่นใจได้ว่าอีกไม่นานพวกเขาจะสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและกิจวัตรใหม่ และคุณสามารถช่วยเตรียมความพร้อมให้กับเด็กๆ ได้ดังนี้
สร้างความคุ้นเคยในการเข้าสังคมกับเพื่อนในวัยเดียวกัน
หากลูกน้อยของคุณเป็นลูกคนเดียว จู่ๆ การถูกดึงเข้าไปรวมกลุ่มกับเด็กคนอื่นๆ ที่สถานรับเลี้ยงเด็กอาจเป็นเรื่องที่น่าตกใจมาก ก่อนที่ลูกของคุณจะเริ่มต้นที่สถานรับเลี้ยงเด็ก ควรเพิ่มจำนวนวันที่เล่นกับเด็กในวัยใกล้เคียงกัน หรืออาจเข้าร่วมกลุ่มเด็กวัยหัดเดินบางกลุ่มเพื่อให้ลูกของคุณคุ้นเคยกับความคิดที่จะอยู่ร่วมกับเด็กคนอื่นๆ แบ่งปันของเล่น และผลัดกัน
มอบหมายงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ เพื่อฝึกความรับผิดชอบ
ฝึกให้เก็บของเล่นเมื่อไม่เล่นแล้ว เช่นเดียวกันกับที่สถานรับเลี้ยงเด็กที่มักจะให้เด็กช่วยกันทำงานต่างๆ เช่น จัดเก็บของเล่นหรือแจกจานสำหรับอาหารว่าง การให้บุตรหลานของคุณทำงานบ้านก่อนวัยเรียนสามารถช่วยเรื่องนี้ได้จริง ๆ และยังเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการสร้างความมั่นใจและความเป็นตัวของตัวเองในการเตรียมตัวสำหรับการเริ่มต้นสถานรับเลี้ยงเด็ก
พาเด็กไปดูโรงเรียนหรือสถานที่รับเลี้ยงก่อนเริ่มอยู่จริง
เมื่อเลือกสถานรับเลี้ยงเด็ก ควรพาเด็กเข้าเยี่ยมชมสถานที่เพื่อสำรวจสภาพแวดล้อมใหม่ และทำให้พวกเขาความมั่นใจว่าแม่หรือพ่อจะอยู่ที่นั่นด้วย วิธีนี้จะทำให้ลูกของคุณรู้สึกสบายใจที่จะทำความคุ้นเคยกับสถานรับเลี้ยงเด็ก การทำความคุ้นเคยกับสถานที่ อุปกรณ์และกิจกรรมจะทำให้พวกเขารู้สึกดีสถานรับเลี้ยงเด็กมากขึ้น
รับมืออย่างมีสติ
ไม่ว่าลูกของคุณจะมีปฏิกิริยาอย่างไรกับการไปสถานรับเลี้ยงเด็กเป็นครั้งแรก คุณต้องรับมืออย่างใจเย็น และให้ผู้ดูแลเป็นคนควบคุมสถานการณ์ คุณคือบุคคลที่ลูกของคุณมองหาเพื่อสร้างความมั่นใจและคุณคือ 'สถานที่ปลอดภัย' ของพวกเขา ความสงบจะทำให้พวกเขามั่นใจและสบายใจ การพูดเกี่ยวกับสถานรับเลี้ยงเด็กในทางที่ดียังสามารถช่วยให้ลูกน้อยของคุณเห็นว่า การไปสถานรับเลี้ยงเด็กเป็นการผจญภัยที่น่าสนุกและไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวเลย
เตรียมลูกให้พร้อมก่อนไปโรงเรียน ..(โลกกว้างในแรกของหนู)
1. ไม่ว่าลูกน้อยของคุณจะอายุเท่าไหร่ ให้เริ่มพูดคุยกับพวกเขาเกี่ยวกับสถานรับเลี้ยงเด็กในเชิงบวกเพื่อทำให้พวกเขารู้สึกดีกับสถานรับเลี้ยงเด็ก
2. พยายามหาเวลาไปสถานรับเลี้ยงเด็กเพื่อให้ลูกของคุณรู้จักสภาพแวดล้อมและคุณสามารถพูดคุยกับครูเกี่ยวกับสิ่งที่ชอบและไม่ชอบ คำพิเศษและของเล่น ฯลฯ
3. จงมองโลกในแง่ดีเสมอเกี่ยวกับการไปสถานรับเลี้ยงเด็กและดูว่าลูกของคุณจะสนุกไปกับมันมากแค่ไหน - เด็กน้อยสามารถรับความเครียดและความวิตกกังวลของเราได้ ดังนั้นในฐานะผู้ปกครอง คุณจะต้องยิ้มจริงๆ (แม้ในระหว่างที่ออกจากโรงเรียน!)
4. น้ำตาเป็นเรื่องปกติ แต่กลั้นไว้และเดินต่อไปโดยมั่นใจว่าเจ้าหน้าที่ของสถานรับเลี้ยงเด็กจะมีวิธีรับมือและปลอบโยนเด็ก ๆ ที่อาจจะร้องไห้งอแงไปบ้าง อย่าพยายามเล่นซ่อนหาหรือแอบย่องไปรอบ ๆ ห้องเรียน เพราะถ้าลูกของคุณจะรู้ว่าคุณอยู่ที่นั่นและจะทำให้พวกเขาสับสนและไม่ให้ความร่วมมือกับครูพี่เลี้ยง
5. ให้เด็กพักผ่อนอย่างเต็มที่ ให้แน่ใจว่าพวกเขาได้นอนหลับพักผ่อนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คือประมาณ 10-12 ชั่วโมง เพราะการพักผ่อนอย่างเต็มที่จะช่วยให้เด็กอารมณ์ดีและมีความกระตือรือร้นที่จะเล่นกับเพื่อน และสนใจกิจกรรมที่ครูพี่เลี้ยงนำเสนอ
6. การควบคุมอาหารก็มีความสำคัญเช่นกัน เตรียมอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะสิ่งที่พวกเขาบริโภคเข้าไปอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่ออารมณ์และพฤติกรรมของเด็ก
7. เมื่อคุณอยู่ที่บ้าน ให้แน่ใจว่าคุณพูดถึงวันไปโรงเรียนในแง่บวกเกี่ยวกับวันอนุบาลให้ลูกของคุณได้ยินอยู่เสมอ
8. สุดท้ายนี้ อดทนไว้ เด็กทุกคนต้องใช้เวลาในการปรับตัว ดังนั้นควรพูดคุยกับครูพี่เลี้ยง เพื่อช่วยกันผ่านพ้นความยากลำบาก และเพื่อให้แน่ใจว่าคุณและบุตรหลานของคุณมีความสุข
SAIJAI "ใส่ใจ" เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการดูแลเด็ก ดูแลผู้สูงอายุ ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ แม่บ้าน/ทำความสะอาด คนขับรถ ดูแลสัตว์เลี้ยง เสริมสวย และช่างซ่อมบำรุงเท่านั้น "SAIJAI" ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการหรือจ้างบุคคลใดให้บริการ ไม่มีสถานะเป็นนายจ้าง ผู้ว่าจ้าง ตัวแทน ผู้ร่วมทุน อย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเป็นผู้รับจ้างอิสระ ซึ่งผู้รับบริการเป็นผู้ว่าจ้าง คุณภาพการให้บริการเป็นความรับผิดชอบทั้งสิ้นของผู้ให้บริการเอง การเรียกใช้บริการจากผู้ให้บริการ อาจมีความเสี่ยง ซึ่งผู้รับบริการรับทราบและยินดีใช้บริการ บนความเสี่ยงใด ๆ ในความรับผิดชอบของตัวท่านเอง