ติว PAT ใน บางใหญ่, นนทบุรี

ติว PAT ใน บางใหญ่, นนทบุรี

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

ดูตัวเลือกและรายละเอียดเงื่อนไขต่าง ๆ แล้วถือว่าไม่แพงเลยค่ะ แถมได้ติวเตอร์ฝีมือคุณภาพเหมาะสมกับราคาเลย
Saijai
อรทัย ใจงาม
3 ปีที่แล้ว
ลงคอร์สติวแพทญี่ปุ่นกับติวเตอร์ ขั้นตอนและวิธีการจองง่ายและรวดเร็วมากเลยค่ะ
Saijai
สุชาดา จงใจรัก
3 ปีที่แล้ว
ติวเตอร์สอนดีครับ ให้ฝึกทำข้อสอบเก่า ๆ บอกทริคในการทำข้อสอบGAT PAT ให้ด้วย สุดยอดครับ
Saijai
ปริญญา ทองนำดี
4 ปีที่แล้ว
PAT2 วิชาวิทยาศาสตร์ ตัวเดียวเน้นๆ คลื่นแสง, อะตอมนิวเคลียร์ ปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี ฯลฯ พี่ติวเตอร์สอนดี พี่เขาสรุปตรงประเด็นเน้น ๆ เข้าใจ สร้างความมั่นใจได้มาก ๆ ค่ะ
Saijai
นทีนาถ วิวัฒน์ไพศาล
4 ปีที่แล้ว
ติวเตอร์ทำให้หนูเข้าใจในเนื้อหาที่ยาก ๆ ได้ แถมมีวิธีคิดแบบลัด ๆ หนูชอบมาก ทำให้หนูรู้สึกว่าเรียนง่ายขึ้น หนูต้องสอบเข้าคณะที่อยากเรียนให้ได้ค่ะ
Saijai
กรณ์ภัชรมล ตระการ
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ติว PAT

PAT คืออะไร สำคัญต่อเด็กไทยหรือไม่
PAT คืออะไร

PAT เป็นการทดสอบวิชาความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (Professional and Academic Aptitude Test) คือ การวัดความรู้ที่เป็นพื้นฐาน กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆ ให้ประสบความสำเร็จมี 7 วิชา คือ
PAT 1 คือ ความถนัดทางคณิตศาสตร์
PAT 2 คือ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
PAT 3 คือ ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
PAT 4 คือ ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
PAT 5 คือ ความถนัดทางวิชาชีพครู
PAT 6 คือ ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
PAT 7 คือ ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย
PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน
PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ
PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี

PAT เป็นการสอบเพื่อประเมินว่านักเรียนคนหนึ่งมีแววเข้าสู่เส้นทางอาชีพในคณะที่เลือกหรือไม่ ข้อสอบในส่วนนี้แต่ละคณะสามารถเลือกได้ว่าจะใช้วิชาไหนในการยื่นคะแนนบ้าง แบ่งออกย่อยๆ เป็นข้อสอบทั้งหมด 7 วิชาครับ แต่ละวิชามีคะแนนเต็ม 300 คะแนน ใช้เวลาในการสอบ 3 ชั่วโมงเต็ม ทั้งหมดเป็นข้อสอบที่ยากที่สุดในระบบแอดมิชชั่น เช่น ข้อสอบ PAT ที่2 ซึ่งรวมเอาสามวิชาคือ ฟิสิกส์ เคมี และชีวะ รวมเข้าในวิชาวิทยาศาสตร์วิชาเดียว สอบ 3 ชั่วโมง ที่เราเรียนกันในโรงเรียนแยกเป็นสามวิชา แต่ละวิชาหน่วยกิตหนักๆ ทั้งนั้น แต่ตอนสอบเอามารวมกันเป็นวิชาเดียว ข้อสอบ PAT ถือเป็นข้อสอบที่ยาก ถ้าใครคิดว่าอ่านหนังสือแล้วจะไปสอบได้ต้องคิดใหม่แล้ว สมมุติว่ามีเวลา 4 เดือนในการเตรียมตัวสอบ PAT ลองแบ่งเวลา 1 เดือนแรกในการให้ติวเตอร์ ติวทบทวนเนื้อหาให้หมด และให้ความสำคัญกับ 3 เดือนที่เหลือในการเน้นทำข้อสอบ PAT ปีเก่าๆ ให้หมด ทำหลายๆ รอบจนกว่าจะเห็นข้อสอบปุ๊บบอกได้ปั๊บเลยว่าข้อนี้ใช้เนื้อหาอะไรบ้าง ต้องคิดอย่างไร สับขาหลอกตรงไหน ซึ่งตรงนี้แหละที่ติวเตอร์มีส่วนช่วยเพราะถ้าเราลองทำเองแล้วทำไม่ได้เอามาก ๆ เกิดความท้อไม่อยากไปต่อ แต่หากมีคนคอยแนะแนวทางให้แก้ข้อสงสัยให้ เรื่องยากกลายเป็นเรื่องง่าย เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เราจะสามารถทำคะแนน PAT ได้สูงแน่นอน
Pat คืออะไรมีความสำคัญอย่างไรต่อนักเรียนที่กำลังจะเข้ามหาวิทยาลัย
ตั้งแต่ปี 2561 ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ได้ออกแบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย (ทปอ.) ที่เรียกว่าTCAS หรือ Thai University Center Admission System เป็นระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย และ 4 ใน 5 ขั้นตอนในการรับนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัย ต้องใช้คะแนน PAT ร่วมด้วย ซึ่ง PAT หรือชื่อเต็มว่า (Professional and Academic Aptitude Test) เป็นการทดสอบความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ คือ วัดความรู้พื้นฐานกับศักยภาพที่จะเรียนวิชาชีพนั้น ๆ โดยมีทั้งหมด 7 วิชา คือ
PAT1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
PAT2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
PAT3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
PAT4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
PAT5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
PAT6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
PAT7 ความถนัดทางภาษา
คะแนน GAT/PAT นำไปยื่น TCAS ในรอบ 2, 3, 4, 5 แล้วแต่มหาวิทยาลัยกำหนด แต่ละรอบให้ความค่าน้ำหนักกับคะแนนไม่เท่ากัน
- รอบ 2 โควต้า (Quota)โครงการส่วนใหญ่เป็นโควตา สอบสัมภาษณ์ หรือสอบวิชาเฉพาะ มีบางโครงการที่ใช้คะแนน GAT/PAT แต่ยังเป็นแค่ส่วนน้อย
- รอบ 3 รับตรงร่วมกัน รอบนี้จะเน้นใช้คะแนน 9 วิชาสามัญ และ GAT/PAT แล้วแต่คณะ/สาขาวิชากำหนด บางที่ใช้ GAT/PAT อย่างเดียว บางที่ใช้ 9 วิชาสามัญ อย่างเดียว บางที่ใช้ทั้งสองอย่าง!
- รอบ 4 แอดมิชชั่น (Admission) GAT/PAT คือหัวใจสำคัญของรอบนี้ ใครไม่มีคะแนน GAT บอกเลยว่า สมัครรอบนี้ไม่ได้ เพราะใช้ GAT ทุกสาขาวิชา! ส่วน PAT ตามคณะ/สาขากำหนด
- รอบ 5 รับตรงอิสระ เป็นรับตรงเก็บตก ทางมหาวิทยาลัยจะกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกเอง แต่ส่วนใหญ่จะใช้เกณฑ์เดียวกับ รอบ 3 และ รอบ 4
ตลอดสามปีที่นักเรียน เรียนในระดับมัธยมปลายความรู้จะถูกนำมาเป็นข้อสอบความถนัด (PAT) เพื่อชี้วัดตัวนักเรียนเองเข้าไปศึกษาในคณะที่ฝันมหาวิทยาลัยที่ชอบ
รายชื่อคณะที่ต้องใช้คะแนน PAT มีคณะอะไรบ้าง และคณะนั้นใช้PAT วิชาอะไรบ้าง
รายชื่อคณะที่ต้องใช้คะแนน PAT มีคณะอะไรบ้าง และคณะนั้น ๆ จำเป็นต้องใช้ PAT วิชาอะไรบ้าง

1. กลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพและเทคโนโลยี เช่น คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และคณะวิทยาศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งทั้งหมดนี้จำเป็นต้องสอบ GAT PAT 1 และ PAT 2 ซึ่งก็คือวิชาความถนัดทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์นั่นเอง
2. กลุ่มวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ GAT PAT1 PAT2 และ PAT3 ในการยื่นเข้าคณะ
3. กลุ่มสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรม จำเป็นต้องสอบ GAT และ PAT4
4. กลุ่มเกษตรศาสตร์ เช่น คณะเกษตรศาสตร์ คณะประมง คณะเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการเกษตร เป็นต้น โดยทั้งหมดนี้จำเป็นต้องสอบ GAT และวิชา PAT1 และ PAT2
5. กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ คณะนิเทศศาสตร์ คณะวารสารศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะมานุษยวิทยา เป็นต้น คะแนนที่ต้องใช้ยื่นคือคะแนนสอบ GAT PAT1 และ PAT7 โดยเลือกประเภทของภาษาที่ต้องการเรียนในสาขานั้น ๆ
6. กลุ่มศิลปกรรมศาสตร์ ได้แก่ คณะวิจิตรศิลป์ คณะศิลปะประยุกต์ คณะดุริยางคศิลป์ คณะนาฏศิลป์ เป็นต้น ใช้คะแนนสอบ GAT PAT4 และ PAT6
7. กลุ่มบริหาร ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะการท่องเที่ยวและโรงแรม คณะการบัญชี เป็นต้น ใช้คะแนนสอบ GAT PAT1 และ PAT7
ค่าสมัครสอบ PAT ของนักเรียนที่จะเข้ามหาวิทยาลัยวิชาละเท่าไหร่
น้อง ๆ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมปลาย และกำลังอยู่ในช่วงตัดสินใจที่จะเลือกเรียนคณะที่ต้องการของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้น จำเป็นที่จะต้องเตรียมตัวในการติวข้อสอบเพื่อวัดระดับความรู้ความถนัดของสาขาวิชาชีพนั้น ๆ อีกด้วย หรือที่เราเรียนกันว่าการสอบ PAT นั่นเอง โดยอย่างที่ทราบโดยทั่วกันคือการสอบ PAT จะแบ่งวิชาออกตามสาขาชีพทั้งหมด 7 วิชาด้วยกัน แต่น้อง ๆ นักเรียนไม่จำเป็นต้องสอบ PAT หมดทั้ง 7 วิชา แต่ให้เลือกสอบแค่วิชาที่เราคิดว่าจะต้องนำผลคะแนนไปยื่นเข้าคณะสาขานั้นในมหาวิทยาลัยแทน โดยต้องเป็นวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับคณะสาขานั้น ๆ ตามที่ทางมหาวิทยาลัยได้กำหนดเอาไว้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากน้อง ๆ อยากเข้าเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ทางมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้กำหนดให้น้อง ๆ ต้องใช้ผลคะแนน GAT/PAT ในการยื่นเข้า นั่นคือ คะแนน GAT และ PAT1 (ความถนัดทางคณิตศาสตร์) PAT2 (ความถนัดทางวิทยาศาสตร์) และPAT3 (ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์) นั่นเอง หรือหากน้อง ๆ ต้องการศึกษาต่อในคณะมนุษยศาสตร์และอักษรศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีน ทางมหาวิทยาลัยก็อาจกำหนดให้นักเรียนใช้ผลคะแนนสอบของ GAT PAT1 และ PAT7.4 ซึ่งเป็นวิชาความถนัดทางภาษาจีนนั่นเอง ซึ่งค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบของ PAT นั้นจะอยู่ 140 บาทต่อวิชา โดยน้อง ๆ นักเรียนสามารถทำการสมัครสอบได้ผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ตามลิงก์นี้ https://www.niets.or.th/th/ อย่างไรก็ตาม น้อง ๆ ต้องศึกษาเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่แต่ละคณะและมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนดให้ละเอียดถี่ถ้วน เพื่อให้ไม่พลาดโอกาสในการเข้าเรียนในคณะที่ต้องการนั่นเอง