ติว PAT ใน ปากเกร็ด, นนทบุรี

ติว PAT ใน ปากเกร็ด, นนทบุรี

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

หาที่ติวสอบ Pat ให้ลูกค่ะ เจอเว็บใส่ใจที่มีตัวเลือกของติวเตอร์เยอะ ส่วนมากมีประสบการณ์การสอนมาทั้งนั้น แถมจบจากที่ดัง ๆ ด้วย เลยตัดสินใจเลือกติวเตอร์ที่นี่ ขี้เกียจไปหาเว็บอื่นแล้วเพราะส่วนมากไม่ค่อยลงราคาให้ชัดเจน ต้องติดต่อหลายขั้นตอน ที่ใส่ใจติดต่อง่าย เว็บไซต์ใช้งานง่ายสุดแล้วค่ะ
Saijai
จิรภา จิตไพรี
4 ปีที่แล้ว
ติวเตอร์สอนดีครับ ให้ฝึกทำข้อสอบเก่า ๆ บอกทริคในการทำข้อสอบGAT PAT ให้ด้วย สุดยอดครับ
Saijai
ปริญญา ทองนำดี
4 ปีที่แล้ว
ที่เลือกจ้างติวเตอร์ PAT เพราะติวเตอร์คนนี้ได้รับรีวิวดีมาก ครบจบในที่เดียว คุ้มค่ามากค่ะ
Saijai
ชลชนก ทองคำ
4 ปีที่แล้ว
ผมว่าวิชาเลขของการสอบ GAT/PAT และเป็นโจทย์เลขที่ยากที่สุดในการสอบแอดมิชชั่นแล้วครับ ผมว่ายากกว่าข้อสอบ ONET อีก แต่ผมเลือกเรียนกับติวเตอร์ที่จองผ่านเว็บใส่ใจ แบบตัวต่อตัว ไม่เข้าใจตรงไหน ผมถามติวเตอร์ได้ทันที ติวเตอร์สอนได้ตรงจุด ชัดเจน มีการบ้านให้ผมฝึกทำด้วย ค่าเรียนแพงขึ้นมานิดหน่อยแต่ผมว่าผมคิดไม่ผิดจริง ๆ ครับ
Saijai
ภุชงค์ คงทรัพย์เจริญ
4 ปีที่แล้ว
ติวเตอร์ทำให้หนูเข้าใจในเนื้อหาที่ยาก ๆ ได้ แถมมีวิธีคิดแบบลัด ๆ หนูชอบมาก ทำให้หนูรู้สึกว่าเรียนง่ายขึ้น หนูต้องสอบเข้าคณะที่อยากเรียนให้ได้ค่ะ
Saijai
กรณ์ภัชรมล ตระการ
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ติว PAT

PAT มีความสำคัญอย่างไรกับเด็กไทย
การสอบ PAT (Professional and Academic Aptitude Test) เป็นการทดสอบความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ เพื่อวัดระดับความรู้ขั้นพื้นฐานของสายอาชีพนั้น ๆ และทดสอบว่านักเรียนมีศักยภาพในการเรียนสายอาชีพของคณะที่เลือกหรือไม่ โดยการสอบ PAT นั้นแบ่งตามสาขาวิชาชีพทั้งหมด 7 สาขาด้วยกัน ดังนี้

• PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ คณะที่จำเป็นต้องใช้ผลคะแนนของ PAT1 เช่น คณะเศรษฐศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ เป็นต้น
• PAT2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ คณะที่ต้องยื่นผลคะแนนของ PAT2 ได้แก่ กลุ่มคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและกายภาพ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ เป็นต้น
• PAT3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มคณะที่ต้องใช้ผลคะแนนตรงนี้คือ กลุ่มคณะวิศวกรรมศาสตร์
• PAT4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ กลุ่มคณะที่ใช้คือ กลุ่มคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
• PAT5 ความถนัดทางวิชาชีพครู คณะที่ใช้คือ คณะครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์ - PAT6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ กลุ่มคณะที่ใช้คือ กลุ่มคณะศิลปกรรมศาสตร์ วิจิตรศิลป์ เป็นต้น
• PAT7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ ซึ่งสามารถแบ่งออกไปได้อีก 6 สาขาวิชาชีพด้วยกัน ได้แก่
PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน
PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ
PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี

โดยกลุ่มคณะที่จะต้องใช้ผลคะแนนของ PAT 7 นี้ได้แก่ กลุ่มคณะมนุษยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ อักษรศาสตร์ กลุ่มคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ กลุ่มคณะวารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์ กลุ่มคณะรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ เป็นต้น รูปแบบของข้อสอบจะมีทั้งแบบปรนัย และอัตนัย โดยมีคะแนนเต็มวิชาละ 300 คะแนน ความสำคัญของสัดส่วนคะแนน GAT/PAT นั้นรวมกันแล้วมีมากถึง 50% เลยทีเดียว เป็นที่แน่ชัดว่าหากนักเรียนต้องการเข้าเรียนคณะที่ต้องการนั้น นอกจากเกรดเฉลี่ยที่โรงเรียนแล้วก็จำเป็นต้องใช้ผลคะแนนของ GAT/PAT ด้วยเช่นกัน
Pat คืออะไรมีความสำคัญอย่างไรต่อนักเรียนที่กำลังจะเข้ามหาวิทยาลัย
ตั้งแต่ปี 2561 ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ได้ออกแบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย (ทปอ.) ที่เรียกว่าTCAS หรือ Thai University Center Admission System เป็นระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย และ 4 ใน 5 ขั้นตอนในการรับนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัย ต้องใช้คะแนน PAT ร่วมด้วย ซึ่ง PAT หรือชื่อเต็มว่า (Professional and Academic Aptitude Test) เป็นการทดสอบความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ คือ วัดความรู้พื้นฐานกับศักยภาพที่จะเรียนวิชาชีพนั้น ๆ โดยมีทั้งหมด 7 วิชา คือ
PAT1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
PAT2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
PAT3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
PAT4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
PAT5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
PAT6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
PAT7 ความถนัดทางภาษา
คะแนน GAT/PAT นำไปยื่น TCAS ในรอบ 2, 3, 4, 5 แล้วแต่มหาวิทยาลัยกำหนด แต่ละรอบให้ความค่าน้ำหนักกับคะแนนไม่เท่ากัน
- รอบ 2 โควต้า (Quota)โครงการส่วนใหญ่เป็นโควตา สอบสัมภาษณ์ หรือสอบวิชาเฉพาะ มีบางโครงการที่ใช้คะแนน GAT/PAT แต่ยังเป็นแค่ส่วนน้อย
- รอบ 3 รับตรงร่วมกัน รอบนี้จะเน้นใช้คะแนน 9 วิชาสามัญ และ GAT/PAT แล้วแต่คณะ/สาขาวิชากำหนด บางที่ใช้ GAT/PAT อย่างเดียว บางที่ใช้ 9 วิชาสามัญ อย่างเดียว บางที่ใช้ทั้งสองอย่าง!
- รอบ 4 แอดมิชชั่น (Admission) GAT/PAT คือหัวใจสำคัญของรอบนี้ ใครไม่มีคะแนน GAT บอกเลยว่า สมัครรอบนี้ไม่ได้ เพราะใช้ GAT ทุกสาขาวิชา! ส่วน PAT ตามคณะ/สาขากำหนด
- รอบ 5 รับตรงอิสระ เป็นรับตรงเก็บตก ทางมหาวิทยาลัยจะกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกเอง แต่ส่วนใหญ่จะใช้เกณฑ์เดียวกับ รอบ 3 และ รอบ 4
ตลอดสามปีที่นักเรียน เรียนในระดับมัธยมปลายความรู้จะถูกนำมาเป็นข้อสอบความถนัด (PAT) เพื่อชี้วัดตัวนักเรียนเองเข้าไปศึกษาในคณะที่ฝันมหาวิทยาลัยที่ชอบ
อยากเข้าคณะที่ต้องการ ควรเลือกสอบ PAT วิชาไหน
น้อง ๆ ที่กำลังจะสอบ GAT/PAT ต้องสอบวิชาไหนให้ตรงกับคณะที่เราใฝ่ฝัน เราจะได้วางแผนเตรียมตัวกันได้อย่างถูกต้องตรงวิชาและไม่พลาด มาดูกันค่ะ

1. วิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบด้วย คณะสัตวแพทยศาสตร์, คณะเทคนิคการแพทย์, คณะพยาบาลศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา, คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์, คณะจิตวิทยา (วิชาที่ต้องสอบ GAT, PAT1, PAT2)
2. วิทยาศาสตร์กายภาพ/ชีวภาพและเทคโนโลยี ประกอบด้วย คณะวิทยาศาสตร์, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, คณะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์, คณะวิทยาศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติ (วิชาที่ต้องสอบ GAT, PAT1, PAT2)
3. วิศวกรรมศาสตร์ (วิชาที่ต้องสอบ GAT, PAT1, PAT2, PAT3)
4. สถาปัตยกรรมศาสตร์ (วิชาที่ต้องสอบ GAT, PAT4)
5. เกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย คณะเกษตรศาสตร์, คณะประมง, คณะวนศาสตร์, คณะเทคโนโลยีการเกษตร, คณะอุตสาหกรรมการเกษตร (วิชาที่ต้องสอบ GAT, PAT1, PAT2)
6. บริหาร คณะบริหารธุรกิจ, คณะพาณิชยศาสตร์, คณะการบัญชี, คณะเศรษฐศาสตร์, คณะการท่องเที่ยว โรงแรม การบิน (วิชาที่ต้องสอบ GAT, PAT)
7. ครุศาสตร์ ประกอบด้วย คณะครุศาสตร์, คณะศึกษาศาสตร์ (วิชาที่ต้องสอบ GAT, PAT5)

ข้อสอบ PAT ถือเป็นข้อสอบที่ยาก คนที่จะทำข้อสอบ PAT ได้คะแนนสูงกว่าคนอื่นคือ คนที่ตั้งใจมากและหมั่นทำข้อสอบเก่าๆ เพื่อที่จะได้ทำคะแนน PAT สูง อย่างไรก็ตามแนะนำว่าให้ลองอ่านข้อมูลและศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการสอบ GAT/PAT ในคณะที่ตนเองสนใจอยู่ตลอด เพราะบางคณะอาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เพื่อจะได้วางแผนเตรียมตัวกันได้อย่างถูกต้องตรงวิชาและไม่พลาดกันนะคะ
ค่าธรรมเนียมการสอบ PAT แต่ละวิชาเท่าไหร่
นอกจากน้อง ๆ ที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยต้องเตรียมตัวติวหนังสือแล้ว แน่นอนว่าพ่อแม่ผู้ปกครองและเด็ก ๆ ยังต้องเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับทำการสอบอีกด้วย หลายคนคงกำลังกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายว่าควรเตรียมเท่าไหร่ ทางเราทำการประเมินและมีข้อมูลคร่าว ๆ ให้ดังนี้ค่ะ

รอบที่ 1 Portfolio ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 300-700 บาท โดยจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าทำแฟ้มสะสมงานหรือการสอบพิเศษ เช่น การสอบภาษา
รอบที่ 2 โควต้า ไม่จำเป็นต้องสมัครสอบทั้งหมด
• GPAX หรือ เกรดเฉลี่ย : ไม่มีค่าใช้จ่าย
• GAT/PAT : วิชาละ 140 บาท
• 9 วิชาสามัญ : วิชาละ 100 บาท
• O-NET : ไม่มีค่าใช้จ่าย
• วิชาเฉพาะแพทย์ : 800 บาท
• วิชาเฉพาะอื่นๆ : ขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด
รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน ค่าใช้จ่าย TCAS รอบ 3 รับตรงร่วมกัน และ กสพท. เฉลี่ย 800-1,500 บาท (ขึ้นกับการสอบ) 1 GAT/PAT (ขึ้นอยู่กับวิชาที่เลือกสอบ) 2 9 วิชาสามัญ 3 สอบวิชาเฉพาะ(ความถนัดแพทย์)
รอบที่ 4 Admission ค่าใช้จ่าย TCAS รอบ 4 Admission เฉลี่ย 250 บาท เลือกได้ 4 อันดับ อันดับแรก และมีค่าสมัคร 100 อันดับถัดไป บอกเพิ่มอันดับละ 50 บาท ถ้าเลือกทั้งหมด 250 บาท
รอบที่ 5 รับตรงอิสระ ค่าใช้จ่าย TCAS รอบ 4 รับตรงร่วม เฉลี่ย 200-1,000 บาท (รวมค่าสอบ) ถ้าสอบ GAT/PAT/9 วิชาสามัญแล้ว เสียแค่สมัครคัดเลือก ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่กล่าวมาอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย

น้องๆ ที่มีคณะในดวงใจแล้ว จะได้วางแผนอ่านหนังสือว่าต้องโฟกัสที่การสอบวิชาอะไร โดยไม่เสียเวลา รือเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์นะคะ