ผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา ใน บึงกุ่ม, กรุงเทพมหานคร

ผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา ใน บึงกุ่ม, กรุงเทพมหานคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่
ผู้ให้บริการผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา ใน บึงกุ่ม, กรุงเทพมหานคร:

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

จันทร์ทิพย์ ธีระ
จันทร์ทิพย์ ธีระ
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี
Saijai อายุ 42 ปี
สิริมา ทวีสิทธิ์
สิริมา ทวีสิทธิ์
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี
Saijai อายุ 51 ปี

มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุมามากกว่า5ปี สามารถขับรถพาไปหาหมอ อยู่เป็นเพื่อน เฝ้าไข้

แสดงเพิ่มเติม
อธิวุฒิ สมัครการ
อธิวุฒิ สมัครการ
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 35 ปี

เป็นคนใจเย็น รักการช่วยเหลือผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หากมีที่พักให้เช่าใกล้สถานที่ทำงานจะดีมาก หรือจะให้อยู่บ้านเฝ้า 24 ชั่วโมงเลยก็ได้ครับ

แสดงเพิ่มเติม

I am an honest woman without bad habits. I have experience in caring for post-stroke patients and patients with diabetes. You can also cook Thai and European food. If necessary, I can drive a car. (I have a driver's license) And keep the house clean at the request of the owner. Conscientious and kind attitude towards the patient is guaranteed.

แสดงเพิ่มเติม
เมธาวี ธีระธัมปิยปัญญา
เมธาวี ธีระธัมปิยปัญญา
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 40 ปี

ขยันทำงาน รับผิดชอบ มีจรรยาบรรณ ใส่ใจดูแลผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดีค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
อคัมย์สิริ ศศิชลพินทุ์
อคัมย์สิริ ศศิชลพินทุ์
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 42 ปี

ใจเย็น รักในการดูเอาใจใส่

แสดงเพิ่มเติม
ศิริกานต์ จาวะลา
ศิริกานต์ จาวะลา
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 29 ปี
กัญญาภัทร บุตรพรม
กัญญาภัทร บุตรพรม
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

ใจเย็น รักสงบ ไม่ชอบความวุ่นวาย นวดได้ ภาษาได้ อาหารได้ ขอบคุณค่ะ

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

สามีเป็นคนอเมริกัน ให้ดิฉันช่วยหาคนมาดูแลคุณพ่อของเค้าที่เป็นอัมพฤกษ์ มีภาวะแขนขาอ่อนแรง แต่ยังพอใช้งานได้ ซึ่งปกติคนดูแลที่เชี่ยวชาญด้านนี้ก็หายากอยู่แล้ว ยิ่งเป็นคนดูแลแบบที่สื่อสารภาษาอังกฤษได้อีก ยิ่งหายากเข้าไปใหญ่ โชคดีที่มาเจอเว็บใส่ใจ มีข้อมูลพร้อม
Saijai
ดรุณี เชอร์แมน
4 ปีที่แล้ว
คุณพ่อของสามีเป็นคนอเมริกันค่ะ มาพักผ่อนอยู่ไทยหลายเดือน เลยจ้างผู้ดูแลที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ มาช่วยดูแลคุณพ่อสามี ผู้ดูแลทำหน้าที่ดูแลดีมากค่ะ ทั้งเรื่องกิจวัตร อาหารการกิน รวมถึงเรื่องเสื้อผ้าเครื่องใช้ให้อีกด้วย แถมยังมีความรู้เรื่องวัฒนธรรมของคนอเมริกันเป็นอย่างดีด้วยคุณพ่อสามีชอบมาก ๆ ค่ะ เรื่องราคาเราไม่รู้สึกกังวลเลยค่ะ เพราะอยู่ในระดับมาตราฐาน คุ้มกับที่จ่ายไปมาก พ่อสามีสบายใจ เราก็สบายใจด้วย
Saijai
ญาดาวดี โพธิ์ทองแก้ว
4 ปีที่แล้ว
วันก่อนลองสอบถามญาติ ๆ ดูว่าพอจะรู้จักใครที่พูดภาษาอังกฤษได้บ้างมั้ยเพราะต้องการให้มาดูแลแม่สามีที่เป็นชาวแคนาดา ญาติส่งลิงก์ของเว็บใส่ใจมาให้ดูค่ะ ตัวเว็บบอกข้อมูลค่อนข้างละเอียดเลย อยากได้บริการแบบไหนก็แค่กรอก ๆ ข้อมูลและความต้องการเพิ่มเติมเอา รอไม่นานทางเว็บก็ติดต่อกลับมาแล้วค่ะ ประทับใจมาก
Saijai
อังคณา แมกซ์เวิร์ธ
4 ปีที่แล้ว
พนักงานดูแลที่จ้างมา สุภาพแถมมีมารยาทกับคนในบ้านมากๆ
Saijai
อารีนา เกศุมณี
4 ปีที่แล้ว
คุณปู่ที่บ้านแกเป็นคนเชื้อสายจีนครับ ปกติเป็นคนดื้อ ไม่ชอบให้ใครมาวุ่นวาย แต่ตอนนี้ดีขึ้นตั้งแต่ได้คนมาช่วยดูแล
Saijai
เมรี รัตนชัยกุล
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา

ข้อดีของผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษาในกรณีที่ต้องดูแลผู้สูงอายุชาวต่างชาติมีอะไรบ้าง
ด้วยจุดเด่นในด้านงานบริการด้วยรอยยิ้ม ค่าครองชีพที่ไม่สูง สภาพอากาศที่อบอุ่น ศิลปวัฒนธรรมที่สวยงาม และการบริการทางการแพทย์ที่ได้รับการยอมรับ ทำให้มีผู้สูงอายุจากทั่วทุกมุมโลกเดินทางเข้ามาประเทศไทยเพื่อท่องเที่ยว พักผ่อน หรือใช้ชีวิตยามบั้นปลายหลังเกษียณ จนประเทศไทยถูกจัดอยู่ใน 1 ใน 5 ของประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางในการเดินทางของผู้สูงอายุ และเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเติบโตอย่างต่อเนื่องราว 6.5% ต่อปี ตั้งแต่ปี 2558-2560 อาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ขยายตัวตามเทรนด์นี้ด้วย โดยเฉพาะผู้ดูแลสองภาษาที่สามารถสื่อสารกับผู้สูงอายุต่างชาติได้ ทำให้ผู้สูงอายุชาวต่างชาติสามารถมั่นใจได้ว่าผู้ดูแลนั้นตอบสนองต่อความต้องการของตนได้อย่างถูกต้อง และสร้างบรรยากาศที่ดีในการอยู่ร่วมกัน ที่สำคัญเมื่อสามารถสื่อสารกันได้เข้าใจ จะทำให้เข้าใจในความต่างทางวัฒนธรรมและมีความเคารพซึ่งกันและกัน การสื่อสารด้วยภาษาเดียวกันไม่ได้ส่งผลดีแค่ต่อตัวผู้สูงอายุเองเท่านั้น แต่ยังเป็นผลดีต่อครอบครัวของผู้สูงอายุด้วย อย่างในกรณีที่ผู้ดูแลต้องการติดต่อขอคำแนะ หรือแจ้งข่าวสารให้กับครอบครัวผู้สูงอายุ อาจเนื่องจากภาวะการเจ็บป่วยในผู้สูงอายุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ผู้สูงอายุบางท่านมีโรคประจำตัวต่างๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง สามารถทำได้โดยตรงและทันท่วงที โดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือให้ผู้อื่นช่วยแปล ถือเป็นการรักษาความเป็นส่วนตัวและข้อมูลที่ไม่ควรเปิดเผยให้กับผู้สูงอายุด้วย
ต้องรู้อะไรบ้างเมื่ออยากจ้างคนต่างด้าวมาดูแลผู้สูงอายุ
ปัจจุบันผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ส่วนมากมาจากประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN) เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ พม่า ลาว และกัมพูชา ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง มีตั้งแต่อายุน้อย ๆ ไปจนถึงวัยกลางคน

หากต้องจ้างคนดูแลผู้สูงอายุเป็นชาวต่างด้าว เราควรมีหลักการในการพิจารณาอย่างไร

1. ตรวจสอบประวัติส่วนตัว เช่น ชื่อ อายุ ภูมิลำเนาเดิม รวมถึงโรคประจำตัว เพราะย่อมมีผลกับผู้สูงอายุที่ร่างกายอ่อนแอและมีโอกาสติดโรคได้ง่าย อีกทั้งควรตรวจสอบว่าไม่มีความประพฤติที่เสื่อมเสีย ไม่เป็นผู้วิกลจริตไม่สมประกอบ ไม่ติดสารเสพติดทุกชนิด โดยอาจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ว่าจ้างคนเก่าและสอบถามสาเหตุของการออกจากที่ทำงานเดิมด้วย
2. ผู้ดูแลคนสูงอายุต่างด้าวต้องขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยจะมีการตรวจสุขภาพและมีการทำใบอนุญาตทำงาน (work permit) ให้ถูกต้อง
3. สังเกตบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยของผู้ดูแลผู้สูงอายุจากการสัมภาษณ์ โดยลองถามคำถามที่จะประเมินว่าผู้ดูแลผู้สูงอายุมีใจรักงานบริการหรือมีความอดทนมากน้อยเพียงใดต่อสถานการณ์ที่เอามายกเป็นตัวอย่าง
4. แจ้งรายละเอียดการทำงานให้ชัดเจน ตกลงเรื่องเงินเดือนและหน้าที่รับผิดชอบให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุเข้าใจตั้งแต่เริ่มต้น เกี่ยวกับเรื่องวันหยุดพักผ่อนและสวัสดิการที่มีให้ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นหลังจากรับเข้าทำงานแล้ว
5. อธิบายข้อมูลคร่าว ๆ เกี่ยวกับกฎระเบียบในบ้าน ว่ามีกฎข้อบังคับใดๆ ภายในบ้านหรือไม่ เพื่อความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันและหลีกเลี่ยงปัญหาหากต้องเข้ามาทำงานและอยู่ในบ้านร่วมกัน
ระหว่างผู้ดูแลผู้สูงอายุชาวไทยที่มีทักษะภาษาอังกฤษกับผู้ดูแลผู้สูงอายุต่างด้าว แบบไหนค่าจ้างจะสูงกว่ากัน
ก่อนอื่นต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า แรงงานไทยที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ จะต้องการค่าจ้างที่สูง ดังนั้นเมื่อเราจ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษหรือภาษาที่สองได้ ย่อมทำให้มีรายจ่ายที่สูงขึ้นเป็นธรรมดา หากเราลองมองตัวเลือกที่เป็นผู้ให้บริการชาวต่างชาติ (ต่างด้าว) เช่น ฟิลิปปินส์ ลาว หรือพม่า เป็นต้น ผู้ให้บริการเหล่านี้มาเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุนั้นจะมีข้อดีอย่างไรบ้าง เรามีข้อมูลบางส่วนเพื่อประกอบการตัดสินใจให้ง่ายขึ้น

1. ค่าจ้างแรงงานต่างด้าวถูกกว่าค่าจ้างแรงงานคนไทย ค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายกำหนดไว้ที่ 300 กว่าบาทต่อวัน ซึ่งแรงงานไทยน้อยคนที่จะยอมรับได้ ทำให้พยายามหางานใหม่ที่ค่าจ้างสูงกว่า ลาออกบ่อย แต่สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในประเทศไทยค่าจ้างขั้นต่ำในอัตรานี้ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับค่าแรงในบ้านเกิด ทำให้มีการลาออกน้อยและสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
2. ทักษะและฝีมือในการทำงานใกล้เคียงกับแรงงานชาวไทย
3. แรงงานต่างด้าวมีความยืดหยุ่น มีความอดทนสูงและมีความพร้อมทำงานอย่างเต็มที่อยู่ตลอดเวลา

เว็บไซต์ของใส่ใจมีข้อมูลผู้ให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่พูดภาษาอังกฤษได้หรือไม่
สำหรับท่านที่กำลังมองหาผู้ดูแลผู้สูงอายุที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ท่านสามารถค้นหาผู้ดูแลที่มีคุณสมบัติดังกล่าวโดยระบุในตัวคัดกรอง (Filters) เพื่อให้ระบบแสดงข้อมูลของผู้ให้บริการที่ตรงตามความต้องการของท่าน และท่านสามารถเลือกดูประวัติของผู้ให้บริการที่ท่านสนใจ รวมถึงอัตรค่าบริการและรีวิวจากผู้ที่เคยใช้บริการ เพื่อเป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจเลือกผู้ดูแลผู้สูงอายุ