ติว GAT ใน บางบัวทอง, นนทบุรี

ติว GAT ใน บางบัวทอง, นนทบุรี

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

มหาลัยที่ผมอยากเข้าต้องใช้คะแนน GAT สูงมากเลยครับ ส่วนตัวผมก็ยังไม่มั่นใจในการทำGATเชื่อมโยงเลย ไปเรียนติวเตอร์ออนไลน์ที่ไหนก็ยังไม่มั่นใจ จนคุณแม่ได้จ้างตัวเตอร์ส่วนตัวจากใส่ใจมาให้สอนผม ติวเตอร์ทั้งอธิบายและวิเคราะห์โจทย์ในปีก่อน ๆ ให้ผมรวมถึงหาโจทย์เก่ายาก ๆ มาให้ผมฝึกทำเยอะมากครับ สอนสนุก เข้าใจง่ายครับ
Saijai
ชัชชาต ตรีภพ
2 ปีที่แล้ว
ติวเตอร์คอยแนะนำเนื้อหาที่ต้องเตรียมตัวและเก็งข้อสอบให้ลูกเข้าใจได้ง่าย ๆ ตอนนี้เห็นได้ชัดถึงพัฒนาการของลูกจากผลคะแนนการทดลองทำโจทย์ปีก่อน ๆ มากเลยค่ะ รอลุ้นกับผลคะแนนของลูกมาก ๆ ขอบคุณติวเตอร์ค่ะะะะ
Saijai
ธิดาพร ถาวีสิน
3 ปีที่แล้ว
ติวเตอร์คุณภาพดีคุ้มค่ากับราคาที่จ่ายมาก ๆ ลูกชายสอบแกทได้ 270+ คะแนน ได้เข้าทันตะสมใจ คุณแม่ปลื้มมากค่ะ
Saijai
แม่ป้อม
3 ปีที่แล้ว
แม่อยากเน้นแกทภาษาอังกฤษให้ลูกชายเพิ่ม ลองหาที่สอนพิเศษแถว ๆ บ้านแต่ยังไม่ถูกใจเท่าไหร่ เลยลองเสิร์ชหาดูในเน็ต เจอเว็บใส่ใจพอดีเลยลองดูๆ มีติวเตอร์เยอะ ราคาดีมาก ๆ เลยค่ะ
Saijai
แม่เพ็ญ
3 ปีที่แล้ว
ผมหาที่ติว Gat Pat ให้ลูกชายครับ กลัวลูกสอบไม่ติด เลยหาข้อมูลเอาไว้ก่อน จริง ๆ มีหลายเว็บให้เลือก แต่มาลงตัวที่เว็บใส่ใจ เพราะมีตัวเลือกของติวเตอร์เยอะ มีประวัติของติวเตอร์ให้เราลองอ่านคร่าว ๆ ก่อนตัดสินใจด้วย ที่สำคัญเป็นติวเตอร์ที่มีประสบการณ์การสอนมาก่อน ผมเลยมั่นใจเลือกติวเตอร์จากที่นี่ และไม่ผิดหวังจริง ๆ ติวเตอร์เก่ง ลูกผมขยันและตั้งใจเรียนขึ้นมากเลย
Saijai
พิเชต มากพันธุ์
3 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ติว GAT

Gat คืออะไร สำคัญต่อเด็กไทยหรือไม่
GAT-General Aptitude Test คืออะไร GAT คือการสอบเพื่อประเมินว่านักเรียนคนหนึ่งมีความพร้อมในการจะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยมากน้อยแค่ไหน โดยจะทำการทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป ซึ่งเป็นการวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัย

ข้อสอบ GAT มี 2 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 ภาษาไทย คือ วัดความสามารถในการอ่าน การเขียน การคิดเชิงวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา
ส่วนที่ 2 ภาษาอังกฤษ คือ วัดความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย Speaking and Conversation, Vocabulary, Structure and Writing, and Reading Comprehension
รูปแบบข้อสอบจะมีทั้งปรนัยและอัตนัย รวมกันสองส่วนนี้ทั้งหมด 300 คะแนน

GAT มีความสำคัญในการยื่นคะแนนในระบบ ADMISSIONS มากถึง 10 – 50 % (ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละคณะวิชา โดยองค์ประกอบของการยื่นคะแนนในระบบ Admissions แบ่งเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย O-NET ,เกรดเฉลี่ยที่โรงเรียน (GPAX) , GAT, PAT)

ข้อสังเกต บางคณะใช้คะแนน GAT ในการพิจารณามากกว่า GPAX และอาจมากกว่าคะแนนจากการสอบ O – NET อีกด้วย ตัวอย่างคณะที่ใช้คะแนนจากการสอบ GAT สูงมากๆ เช่น การสอบ ADMISSIONS คณะนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ มีรูปแบบที่ยื่นคะแนน GAT สัดส่วนสูงถึง 50 % และ บางมหาวิทยาลัยต้องใช้คะแนน GAT ยื่นระบบรับตรงทุกคณะ เช่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นต้น
สำหรับผู้ที่ต้องใช้คะแนน GAT เป็นกลุ่มของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งต้องใช้คะแนนนี้ในการยื่นเข้าศึกษามหาวิทยาลัยตามระบบ TCAS (Thai University Central Admission System ) ที่ได้ประกาศไว้ และสามารถเลือกสนามสอบได้ทั้งในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัดตามระบบที่ได้กำหนด โดยสนามสอบนั้นอาจจะไม่ใช่โรงเรียนของตนเองที่สังกัดอยู่
ทำไมต้องติว GAT ก่อนเข้ามหาวิทยาลัย
การสอบ GAT (General Aptitude Test) เป็นการสอบเกี่ยวกับความถนัดทั่วไปเพื่อวัดระดับความพร้อมในการเข้าเรียนมหาวิทยาลัยของนักเรียน โดยการสอบ GAT จะจัดขึ้นทุก ๆ ปี โดยสถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ซึ่งการทดสอบนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 วิชา คือ GAT ภาษาไทยหรือที่นิยมเรียกกันว่า “แกทเชื่อมโยง” และ GAT ภาษาอังกฤษ โดยผลออกมาพบว่าผู้เข้าสอบสามารถทำคะแนนในส่วนของ GAT เชื่อมโยงได้เป็นอย่างดี แต่กลับกันผลคะแนนในส่วนของพาร์ท GAT ภาษาอังกฤษนั้นดันออกมาน้อยกว่าที่คิด ดังนั้น การที่จะช่วยพัฒนาทักษะเพื่อให้ทำคะแนนสอบ GAT ทั้งสองพาร์ทออกมาได้ดีเท่า ๆ กันนั้นคือการติวและทบทวนทำข้อสอบเก่าบ่อย ๆ เหตุผลง่าย ๆ ที่ว่าทำไมเราต้องติว GAT ก็คือ การสอบ ADMISSIONS เข้าแต่ละคณะสาขาในมหาวิทยาลัยนั้นส่วนใหญ่จะใช้สัดส่วนของคะแนน GAT มากสุด 10-50% เลยทีเดียว เรียกว่าครึ่งต่อครึ่งเลยก็ว่าได้ ซึ่งบางคณะก็อาจใช้สัดส่วนคะแนนของ PAT ร่วมด้วยเช่นกัน ดังนั้น หากเราติวข้อสอบ GAT อยู่บ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ ทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติม ติวกันเป็นกลุ่ม หรือจะจ้างครูสอนพิเศษมาติว GAT ให้โดยเฉพาะก็ตาม ทั้งหมดนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจระหว่างการทำโจทย์ข้อสอบ GAT ได้แน่นอน นอกจากรอบ ADMISSIONS ที่ใช้สัดส่วนคะแนน GAT/PAT เป็นเกณฑ์การคัดเลือกแล้ว บางมหาวิทยาลัยก็ใช้สัดส่วนคะแนนในส่วนนี้เพื่อคัดเลือกนักเรียนในการสอบแบบรับตรงและแบบโควตาด้วยเช่นกัน และบางคณะสาขากำหนดสัดส่วนผลคะแนน GAT ไว้ตั้งแต่ 10-50% เช่นกัน ฉะนั้น หากใครมีความเตรียมพร้อมที่ดีและทำผลคะแนนออกมาได้ดี ก็จะมีโอกาสสูงในการเลือกเรียนในคณะที่ตัวเองตั้งใจไว้แต่แรกได้เช่นกัน เป็นที่ชัดเจนว่าการติวสอบ GAT นั้นสำคัญเป็นอย่างมากต่อนักเรียนทุกคนที่ต้องการเข้าเรียนในคณะและมหาวิทยาลัยที่ตัวเองใฝ่ฝัน ดังนั้น ควรเตรียมความพร้อมให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่ออนาคตที่ดีของตัวเราเอง
ไม่สอบ GAT PAT สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยรัฐบาลได้หรือไม่
สำหรับผู้ที่สมัครสอบ GAT-PAT ไม่ทัน อาจมีคำถามว่าถ้าไม่ได้สอบ GAT PAT จะสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยรัฐบาลได้หรือไม่ คำตอบคือได้ค่ะ เช่น มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะที่ไม่ใช้ GAT-PAT ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (เฉพาะ เทคโนโลยีอาหาร/เทคโนโลยีชีวภาพ/ปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์/วิศวกรรมวัสดุและนาโนเทคโนโลยี/ธุรกิจวิศวกรรม) คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ (ยกเว้นสาขาฟิสิกส์ 5 ปีที่ใช้ GAT/PAT) คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาการจัดการ คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ เป็นต้น และยังมีอีกหลายมหาวิทยาลัย ให้นักเรียนศึกษารายละเอียดคณะในฝันได้ดี ๆ ก่อนตัดสินใจ เมื่อไม่มีคะแนน GAT-PAT นักเรียนต้องวางแผนการสอบเข้ามหาวิทยาลัยอย่างไร หากนักเรียนพลาดการสอบ GAT/PAT ต้องมั่นใจในตัวเองว่าตัวเองจะสอบติดในรอบที่ 1 รอบ ที่ไม่ใช้คะแนน GAT/PAT แต่ใช้การยื่น Portfolio (ใช้เกรด : 4-5 เทอม คะแนนที่ใช้ : Portfolio, เกรด, มีการ Audition ในสาขาที่ใช้ทักษะได้ และคุณสมบัติพิเศษ) ทั้งนี้ดูเหมือนว่าการรับสมัครรอบที่เหลือล้วนให้คะแนน GAT-PAT ประกอบการพิจารณาแทบทั้งสิ้น และที่สำคัญในทุก ๆ ปี อาจมีการเปลี่ยนกติกาบ้างเล็กน้อย นักเรียนควรศึกษาและวางแผนแต่เนิ่น ๆ เพราะก้าวนี้เป็นก้าวที่สำคัญต่อชีวิต สุดท้ายขอแจ้งไว้ว่า นอกเหนือจากการสมัครครั้งแรกแล้ว การที่ไม่มีคะแนน GAT – PAT นักเรียนจะไม่สามารถยื่นสมัคร รอบ 4 หรือ Admission ได้เลย เพราะรอบนี้มี GAT – PAT เป็นองค์ประกอบหลัก ของการสอบ Admission
ค่าสมัครสอบ GAT เท่าไหร่
เตรียมตัวสอบ GAT นอกจากเตรียมตัวอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น ติวมากขึ้น ยังต้องเตรียมค่าสอบด้วยนะคะ ค่าใช้จ่ายในการสอบ GAT เป็นอย่างไร
ค่าใช้จ่าย GAT วิชาละ 140 บาท สอบ 2 วิชา GAT เชื่อมโยงและ GAT ENG เป็น 280 บาท นับว่าเป็นจำนวนเงินที่ไม่มากเพราะหลายคนยังเข้าใจผิด คิดว่าสามารถยื่นคะแนนได้แค่รอบที่ 4 แต่ความจริงแล้ว คะแนน GAT สามารถใช้ยื่นได้ 4 รอบ ระบบ TCAS มีทั้งหมด 5 รอบ กำหนดให้ยื่นได้ 4 รอบ คือ รอบที่ 2 – 5 โดยในรอบที่ 4 GAT/PAT เป็นคะแนนหลัก เพราะทุกคณะกำหนดใช้คะแนน GAT เป็นพื้นฐานหลักในการคัดเลือก ส่วน PAT ขึ้นอยู่กับแต่ละสาขาว่าต้องการ PAT วิชาใดบ้าง ถัดมาก็คือรอบที่ 3 ส่วนในรอบที่ 2 และ 5 สามารถยื่นได้เช่นกัน แต่รอบนี้มีเพียงบางคณะ และบางมหาวิทยาลัยที่กำหนดใช้ ต้องศึกษาระเบียบการของแต่ละมหาวิทยาลัยให้ละเอียด ฉะนั้นถ้าน้องๆ นักเรียนมั่นใจว่าจะทำคะแนน GAT/PAT ออกมาได้ดี สามารถวางแผนการเข้ามหาวิทยาลัยได้ทั้ง 4 รอบ นั่นจึงเป็นความคุ้มค่าที่เราเสียค่าสมัครสอบเพียง 280 บาทกับโอกาสที่จะเลือกเดินสู่รั้วมหาวิทยาลัย