ติว PAT ใน จอมทอง, เชียงใหม่

ติว PAT ใน จอมทอง, เชียงใหม่

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

ลงคอร์สติวแพทญี่ปุ่นกับติวเตอร์ ขั้นตอนและวิธีการจองง่ายและรวดเร็วมากเลยค่ะ
Saijai
สุชาดา จงใจรัก
3 ปีที่แล้ว
หลังจากติวไปสักพัก ผมรู้สึกมีความมั่นใจในการทำโจทย์มากขึ้น ตัวของพี่ติวเตอร์นอกจากจะหาโจทย์มาให้ทดลองทำแล้วยังคอยอธิบายเหตุผลและสาเหตุที่ผมตอบผิดหรือจุดที่ผมพลาดไปให้ด้วยครับ
Saijai
ศิวกร อุดมภักดี
3 ปีที่แล้ว
ติวเตอร์สอนดีครับ ให้ฝึกทำข้อสอบเก่า ๆ บอกทริคในการทำข้อสอบGAT PAT ให้ด้วย สุดยอดครับ
Saijai
ปริญญา ทองนำดี
3 ปีที่แล้ว
จ้างติวเตอร์ส่วนตัวอาจจะราคาสูงกว่าเรียนเป็นกลุ่มใหญ่ แต่คุณพ่อคุณแม่ผมยอมลงทุนเพื่อแลกกับความสำเร็จของผม ตอนนี้ผมสอบติดแล้ว ใครต้องการที่จะเรียนติวก่อนสอบ ผมแนะนำเลย รับรองเลยว่าคุณจะไม่ผิดหวัง
Saijai
วรากรณ์ เรืองแก้ว
3 ปีที่แล้ว
ผมว่าวิชาเลขของการสอบ GAT/PAT และเป็นโจทย์เลขที่ยากที่สุดในการสอบแอดมิชชั่นแล้วครับ ผมว่ายากกว่าข้อสอบ ONET อีก แต่ผมเลือกเรียนกับติวเตอร์ที่จองผ่านเว็บใส่ใจ แบบตัวต่อตัว ไม่เข้าใจตรงไหน ผมถามติวเตอร์ได้ทันที ติวเตอร์สอนได้ตรงจุด ชัดเจน มีการบ้านให้ผมฝึกทำด้วย ค่าเรียนแพงขึ้นมานิดหน่อยแต่ผมว่าผมคิดไม่ผิดจริง ๆ ครับ
Saijai
ภุชงค์ คงทรัพย์เจริญ
3 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ติว PAT

PAT คืออะไร สำคัญต่อเด็กไทยหรือไม่
PAT คืออะไร

PAT เป็นการทดสอบวิชาความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (Professional and Academic Aptitude Test) คือ การวัดความรู้ที่เป็นพื้นฐาน กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆ ให้ประสบความสำเร็จมี 7 วิชา คือ
PAT 1 คือ ความถนัดทางคณิตศาสตร์
PAT 2 คือ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
PAT 3 คือ ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
PAT 4 คือ ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
PAT 5 คือ ความถนัดทางวิชาชีพครู
PAT 6 คือ ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
PAT 7 คือ ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย
PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน
PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ
PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี

PAT เป็นการสอบเพื่อประเมินว่านักเรียนคนหนึ่งมีแววเข้าสู่เส้นทางอาชีพในคณะที่เลือกหรือไม่ ข้อสอบในส่วนนี้แต่ละคณะสามารถเลือกได้ว่าจะใช้วิชาไหนในการยื่นคะแนนบ้าง แบ่งออกย่อยๆ เป็นข้อสอบทั้งหมด 7 วิชาครับ แต่ละวิชามีคะแนนเต็ม 300 คะแนน ใช้เวลาในการสอบ 3 ชั่วโมงเต็ม ทั้งหมดเป็นข้อสอบที่ยากที่สุดในระบบแอดมิชชั่น เช่น ข้อสอบ PAT ที่2 ซึ่งรวมเอาสามวิชาคือ ฟิสิกส์ เคมี และชีวะ รวมเข้าในวิชาวิทยาศาสตร์วิชาเดียว สอบ 3 ชั่วโมง ที่เราเรียนกันในโรงเรียนแยกเป็นสามวิชา แต่ละวิชาหน่วยกิตหนักๆ ทั้งนั้น แต่ตอนสอบเอามารวมกันเป็นวิชาเดียว ข้อสอบ PAT ถือเป็นข้อสอบที่ยาก ถ้าใครคิดว่าอ่านหนังสือแล้วจะไปสอบได้ต้องคิดใหม่แล้ว สมมุติว่ามีเวลา 4 เดือนในการเตรียมตัวสอบ PAT ลองแบ่งเวลา 1 เดือนแรกในการให้ติวเตอร์ ติวทบทวนเนื้อหาให้หมด และให้ความสำคัญกับ 3 เดือนที่เหลือในการเน้นทำข้อสอบ PAT ปีเก่าๆ ให้หมด ทำหลายๆ รอบจนกว่าจะเห็นข้อสอบปุ๊บบอกได้ปั๊บเลยว่าข้อนี้ใช้เนื้อหาอะไรบ้าง ต้องคิดอย่างไร สับขาหลอกตรงไหน ซึ่งตรงนี้แหละที่ติวเตอร์มีส่วนช่วยเพราะถ้าเราลองทำเองแล้วทำไม่ได้เอามาก ๆ เกิดความท้อไม่อยากไปต่อ แต่หากมีคนคอยแนะแนวทางให้แก้ข้อสงสัยให้ เรื่องยากกลายเป็นเรื่องง่าย เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เราจะสามารถทำคะแนน PAT ได้สูงแน่นอน
Pat คืออะไรมีความสำคัญอย่างไรต่อนักเรียนที่กำลังจะเข้ามหาวิทยาลัย
ตั้งแต่ปี 2561 ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ได้ออกแบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย (ทปอ.) ที่เรียกว่าTCAS หรือ Thai University Center Admission System เป็นระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย และ 4 ใน 5 ขั้นตอนในการรับนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัย ต้องใช้คะแนน PAT ร่วมด้วย ซึ่ง PAT หรือชื่อเต็มว่า (Professional and Academic Aptitude Test) เป็นการทดสอบความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ คือ วัดความรู้พื้นฐานกับศักยภาพที่จะเรียนวิชาชีพนั้น ๆ โดยมีทั้งหมด 7 วิชา คือ
PAT1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
PAT2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
PAT3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
PAT4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
PAT5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
PAT6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
PAT7 ความถนัดทางภาษา
คะแนน GAT/PAT นำไปยื่น TCAS ในรอบ 2, 3, 4, 5 แล้วแต่มหาวิทยาลัยกำหนด แต่ละรอบให้ความค่าน้ำหนักกับคะแนนไม่เท่ากัน
- รอบ 2 โควต้า (Quota)โครงการส่วนใหญ่เป็นโควตา สอบสัมภาษณ์ หรือสอบวิชาเฉพาะ มีบางโครงการที่ใช้คะแนน GAT/PAT แต่ยังเป็นแค่ส่วนน้อย
- รอบ 3 รับตรงร่วมกัน รอบนี้จะเน้นใช้คะแนน 9 วิชาสามัญ และ GAT/PAT แล้วแต่คณะ/สาขาวิชากำหนด บางที่ใช้ GAT/PAT อย่างเดียว บางที่ใช้ 9 วิชาสามัญ อย่างเดียว บางที่ใช้ทั้งสองอย่าง!
- รอบ 4 แอดมิชชั่น (Admission) GAT/PAT คือหัวใจสำคัญของรอบนี้ ใครไม่มีคะแนน GAT บอกเลยว่า สมัครรอบนี้ไม่ได้ เพราะใช้ GAT ทุกสาขาวิชา! ส่วน PAT ตามคณะ/สาขากำหนด
- รอบ 5 รับตรงอิสระ เป็นรับตรงเก็บตก ทางมหาวิทยาลัยจะกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกเอง แต่ส่วนใหญ่จะใช้เกณฑ์เดียวกับ รอบ 3 และ รอบ 4
ตลอดสามปีที่นักเรียน เรียนในระดับมัธยมปลายความรู้จะถูกนำมาเป็นข้อสอบความถนัด (PAT) เพื่อชี้วัดตัวนักเรียนเองเข้าไปศึกษาในคณะที่ฝันมหาวิทยาลัยที่ชอบ
PAT แต่ละประเภทเหมาะสำหรับนักเรียนที่จะเข้าคณะอะไรบ้าง
PAT คือการสอบความถนัดด้านวิชาการ (Professional and Academic Aptitude Test) คือ การสอบวัดศักยภาพของนักเรียนที่จะเรียนต่อในมหาวิทยาลัย PAT แต่ละประเภทเหมาะสำหรับนักเรียนที่จะเข้าคณะอะไรบ้าง
วิทยาศาสตร์กายภาพและเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, คณะวิทยาศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติ ใช้คะแนน GAT, PAT1 และ PAT2
คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะสัตวแพทยศาสตร์, คณะเทคนิคการแพทย์, คณะพยาบาลศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา และคณะจิตวิทยา เป็นต้น
หมายเหตุ คณะแพทยศาสตร์จะมีเกณฑ์คะแนนที่ใช้ในการสมัครสอบตามที่ กสพท. เป็นผู้กำหนด
ใช้คะแนน GAT, PAT1 และ PAT2
คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ใช้คะแนน GAT, PAT1, PAT2 และ PAT3
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ใช้คะแนน GAT และ PAT4
คณะเกษตรศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ คณะประมง ใช้คะแนน GAT, PAT1 และ PAT2
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์, คณะอักษรศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์, คณะนิติศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์, คณะมานุษยวิทยา ใช้คะแนน GAT, PAT1 เลือกสอบแต่ละสาขา และ PAT7 เลือกสอบแต่ละสาขา
คณะศึกษาศาสตร์ และครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์, และคณะศึกษาศาสตร์ (พลศึกษาและสุขศึกษา) ใช้คะแนน GAT, PAT5 และ PAT1-7 เลือกสอบแต่ละสาขา
คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะวิจิตรศิลป์, คณะศิลปะประยุกต์, คณะดุริยางคศิลป์, คณะนาฏศิลป์, คณะศิลปะการออกแบบ, คณะศิลปกรรมศาสตร์, คณะศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ ใช้คะแนน GAT, PAT4 เลือกสอบแต่ละสาขา และ PAT6 เลือกสอบแต่ละสาขา
คณะทางบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ, คณะเศรษฐศาสตร์, คณะการท่องเที่ยวและโรงแรม, คณะพาณิชยศาสตร์, คณะการบัญชี
สำหรับ PAT7 ที่สามารถเลือกสอบได้ คือ คณะการท่องเที่ยวและโรงแรม ใช้คะแนน GAT, PAT1 และ PAT7 เลือกสอบแต่ละสาขา
ทั้งนี้ ในแต่ละมหาวิทยาลัย จะกำหนดองค์รายละเอียดของการใช้ คะแนน แตกต่างกันออกไป หรือแม้แต่ในมหาวิทยาลัยเดียวกัน อาจกำหนดองค์ประกอบการใช้คะแนนไว้หลายรูปแบบด้วย ดังนั้นนักเรียนควรศึกษารายละเอียดการใช้คะแนนให้ดีก่อนสมัครสอบ PAT
ค่าธรรมเนียมการสอบ PAT แต่ละวิชาเท่าไหร่
นอกจากน้อง ๆ ที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยต้องเตรียมตัวติวหนังสือแล้ว แน่นอนว่าพ่อแม่ผู้ปกครองและเด็ก ๆ ยังต้องเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับทำการสอบอีกด้วย หลายคนคงกำลังกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายว่าควรเตรียมเท่าไหร่ ทางเราทำการประเมินและมีข้อมูลคร่าว ๆ ให้ดังนี้ค่ะ

รอบที่ 1 Portfolio ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 300-700 บาท โดยจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าทำแฟ้มสะสมงานหรือการสอบพิเศษ เช่น การสอบภาษา
รอบที่ 2 โควต้า ไม่จำเป็นต้องสมัครสอบทั้งหมด
• GPAX หรือ เกรดเฉลี่ย : ไม่มีค่าใช้จ่าย
• GAT/PAT : วิชาละ 140 บาท
• 9 วิชาสามัญ : วิชาละ 100 บาท
• O-NET : ไม่มีค่าใช้จ่าย
• วิชาเฉพาะแพทย์ : 800 บาท
• วิชาเฉพาะอื่นๆ : ขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด
รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน ค่าใช้จ่าย TCAS รอบ 3 รับตรงร่วมกัน และ กสพท. เฉลี่ย 800-1,500 บาท (ขึ้นกับการสอบ) 1 GAT/PAT (ขึ้นอยู่กับวิชาที่เลือกสอบ) 2 9 วิชาสามัญ 3 สอบวิชาเฉพาะ(ความถนัดแพทย์)
รอบที่ 4 Admission ค่าใช้จ่าย TCAS รอบ 4 Admission เฉลี่ย 250 บาท เลือกได้ 4 อันดับ อันดับแรก และมีค่าสมัคร 100 อันดับถัดไป บอกเพิ่มอันดับละ 50 บาท ถ้าเลือกทั้งหมด 250 บาท
รอบที่ 5 รับตรงอิสระ ค่าใช้จ่าย TCAS รอบ 4 รับตรงร่วม เฉลี่ย 200-1,000 บาท (รวมค่าสอบ) ถ้าสอบ GAT/PAT/9 วิชาสามัญแล้ว เสียแค่สมัครคัดเลือก ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่กล่าวมาอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย

น้องๆ ที่มีคณะในดวงใจแล้ว จะได้วางแผนอ่านหนังสือว่าต้องโฟกัสที่การสอบวิชาอะไร โดยไม่เสียเวลา รือเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์นะคะ