พี่เลี้ยงเด็ก ใน บ้านแพ้ว, สมุทรสาคร

พี่เลี้ยงเด็ก ใน บ้านแพ้ว, สมุทรสาคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

	ปรีชญา ขัดเรือน
ปรีชญา ขัดเรือน
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

ใจเย็น รักเด็ก มีความอดทนสูง สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ยิ้มแย้มแจ่มใจ เสริมสร้างพัฒนาการเด็กตามช่วงวัยได้ค่ะ

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

เราหาพี่เลี้ยงจากเว็บไซต์ใส่ใจ พี่เลี้ยงคนนี้น่าประทับใจมาก รู้งานดีทุกอย่าง เราแทบไม่ต้องบอกอะไรเลย
Saijai
สุดารัตน์ ไกรภพ
3 ปีที่แล้ว
ประทับใจตรงที่บริการพี่เลี้ยงเด็กแต่ละประเภทมีหลากหลายราคาให้เปรียบเทียบและเลือกตัดสินใจเลยค่ะ ที่สำคัญไม่แพงด้วย
Saijai
กรรณิการ์ รัตนเดชานุวัฒน์
3 ปีที่แล้ว
ย้ายที่ทำงานจากพระโขนงมาอยู่แถวบางแค นอกจากจะยุ่ง ๆ เรื่องย้ายที่อยู่แล้วยังวุ่นวายเรื่องหาพี่เลี้ยงเด็กคนใหม่อีก นั่ง search หาใน google อยู่หลายวัน มาลงตัวที่เว็บใส่ใจ เพราะใช้งานง่าย มีตัวเลือกให้เยอะ ทั้งพี่เลี้ยงแบบรายวันและรายเดือน มีคุณสมบัติของพี่เลี้ยงให้เลือกตามที่เราต้องการด้วย พูดง่าย ๆ ก็คือ ครบจบในเว็บเดียวเลยจริง ๆ ค่ะ
Saijai
วราภรณ์ รังสรรค์
3 ปีที่แล้ว
พี่เลี้ยงทำงานดี ช่วยได้เยอะมากค่ะ เตรียมขวดนม เตรียมน้ำอาบน้ำลูก ตุ๋นข้าว น้องทานอาหารเช้า พอเราตื่นส่งลูกให้น้องพร้อมทำงานเลย เล่นกับลูกป้อนข้าว ทำงานเป็นระเบียบมากเลยค่ะ
Saijai
จินตนา แคลล์
4 ปีที่แล้ว
ตัวเว็บใช้งานง่ายมากครับ เป็นขั้นตอนเลยเริ่มตั้งแต่เลือกบริการ เช็คโปรไฟล์แม่บ้านพร้อมคุณสมบัติต่าง ๆ ไม่เข้าใจตรงไหนก็สามารถสอบถามเพิ่มเติมผ่านทางเว็บไซต์ได้เลย รู้สึกสะดวกมากครับ
Saijai
ปฐวี เลิศศรีไชย
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา พี่เลี้ยงเด็ก

บทบาทและหน้าที่ของพี่เลี้ยงมีความสำคัญอย่างไรต่อพัฒนาการของเด็ก
คำกล่าวที่ว่าเด็กเปรียบเสมือนผ้าขาวนั้นถือเป็นคำกล่าวที่ถูกต้อง โดยเฉพาะเด็กในช่วงวัย 1-10 ขวบ เป็นวัยที่เรียนรู้โดยการซึมซับ จดจำ และปฏิบัติตามสิ่งที่เด็กได้พบเจอหรือถูกปฏิบัติต่อ อีกทั้งเป็นช่วงระยะเวลาที่สมองส่วน ความจำมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว และพร้อมที่จะซึมซับและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่พบเห็น ซึ่งเปรียบเสมือนกับแก้วเปล่าใบหนึ่งที่มีพื้นที่พร้อมที่จะรองรับทุกสิ่งทุกอย่างที่ถูกรินหรือเทใส่แก้วนั้น

พี่เลี้ยงถือเป็นอีกคนหนึ่งนอกเหนือจากพ่อแม่หรือผู้ปกครองของเด็ก พี่เลี้ยงมีส่วนสำคัญมากต่อพัฒนาการ พฤติกรรมการแสดงออก การเรียนรู้ หรือวามเข้าใจของเด็ก โดยเฉพาะพี่เลี้ยงที่ต้องอยู่กับเด็กแบบตลอดเวลา โอกาสที่เด็กจะเรียนรู้และจดจำพฤติกรรม การแสดงออกของพี่เลี้ยงนั้นเป็นไปได้สูงมาก อีกทั้งช่วงวัยเด็กยังเป็นช่วงวัยที่เด็กยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องเหตุและผล ไม่รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควรปฏิบัติ ยังแยกแยะความถูกผิดไม่ได้ บทบาทหน้าที่ของพี่เลี้ยงจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในบางกรณีอาจเทียบเท่าหรือสำคัญมากกว่าผู้ปกครองไปเสียด้วย

ดังนั้นผู้ที่จะเป็นพี่เลี้ยงเด็ก จึงจำเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจต่อพฤติกรรมของเด็กในแต่ละช่วงวัยเป็นอย่างดี ต้องเป็นผู้ที่มีความใส่ใจต่อเด็กเป็นอย่างมาก คอยสังเกตสิ่งต่าง ๆ และต้องคอยชี้แนะว่าอะไรทำได้หรือไม่ สิ่งใดถูกหรือผิด และสิ่งที่สำคัญมาก ๆ คือจะต้องมีใจรักในงานนี้จริง ๆ เพราะพี่เลี้ยงเด็กเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็ก ดังนั้นผู้ที่เป็นพ่อแม่หรือผู้ปกครองของเด็กจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ที่สามารถตรวจสอบได้ และมีพฤติกรรมที่ดีที่คุณจะสามารถไว้วางใจให้พี่เลี้ยงนั้นดูแลลูกของคุณ
วิธีการสังเกตว่าพี่เลี้ยงเด็กของคุณน่าเชื่อถือหรือไม่
พ่อแม่ผู้ปกครองจะมีวิธีสังเกตอย่างไรว่าพี่เลี้ยงที่เราเลือกมาดูแลบุตรหลานของเรานั้นเชื่อถือได้หรือไม่

1. เมื่อเราให้พี่เลี้ยงดูแลเด็ก เราต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมของเด็กว่ามีความเปลี่ยนแปลงจากที่เคยเป็นก่อนอยู่กับพี่เลี้ยงหรือไม่ หากเด็กมีอาการงอแงเมื่อเจอพี่เลี้ยง หรือมีความวิตกกังวลเมื่อพี่เลี้ยงเข้ามาใกล้ อาจจะมีสาเหตุมาจากการที่เด็กได้รับผลกระทบทางจิตใจ เพราะพี่เลี้ยงที่ดูแลตี ขู่ หรือใช้เสียงดังกับเด็ก
2. รอยแผลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นรอย ยุงกัด มดกัด ทำให้เกิดเป็นตุ่มตามตัว มาจากการละเลยที่จะดูแล เช่นมีนมหกบนที่นอนแล้วไม่ทำความสะอาด มดหรือแมลงเข้ามาทานแล้วกัดลูก เป็นต้น อุบัติเหตุแม้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แต่ถ้าเกิดขึ้นบ่อยอาจเป็นเพราะขาดความใส่ใจและขาดการระมัดระวัง
3. เรื่องสุขอนามัย การหมั่นดูแลเปลี่ยนผ้าอ้อม หรือทำความสะอาดภาชนะที่ใช้ ขวดนมและจานชาม แม้เด็กจะมีภูมิคุ้มกันในระดับหนึ่งแต่ยังไม่เท่ากับผู้ใหญ่ หากพี่เลี้ยงผู้ดูแลละเลยเรื่องสุขอนามัย เช่น การทำความสะอาดขวดนมที่ควรมีขั้นตอนนึ่งหรือใช้ความร้อนเพื่อฆ่าเชื้อโรค หากพี่เลี้ยงเด็กข้ามขั้นตอนนี้ไปอาจทำให้เด็กป่วยจากการรับประทานจากภาชนะที่ไม่อาดได้ เป็นต้น
4. หมั่นตรวจสอบทรัพย์สินของมีค่า ว่าไม่มีการสูญหาย เสียหาย หรืออยู่ผิดที่ผิดทาง พ่อแม่ผู้ปกครองอาจลองใจพี่เลี้ยงด้วยการวางเงินหรือของมีค่า(ที่ราคาไม่สูงมาก) ไว้ในที่เปิดเผย หากทรัพย์สินดังกล่าวยังอยู่ดี นั้นถือว่าพี่เลี้ยงของคุณเป็นคนที่ไว้ใจได้ในระดับหนึ่ง
5. หากมีอุบัติเหตเกิดขึ้นพี่เลี้ยงต้องสามารถรับมือและตัดสินใจได้ ไม่จงใจปกปิดเรื่องราวและรายงานให้พ่อแม่ผู้ปกครองทราบอย่างทันทวงที เพื่อช่วยกันแก้ปัญหา

พ่อแม่ผู้ปกครองต้องใช้บริการพี่เลี้ยงเด็กเพื่อดูแลบุตรหลาน คงไม่มีใครอยากกังวลใจอยู่ตลอดเวลาจึงต้องตรวจสอบกันเพื่อความสบายใจและมั่นใจว่าบุตรหลานจะได้รับการดูแลอย่างดี
คุณพ่อคุณแม่ควรถามอะไรพี่เลี้ยงเด็กก่อนตัดสินใจเลือกพี่เลี้ยงให้กับลูกของคุณ
ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะตัดสินใจเลือกพี่เลี้ยงเด็กให้กับลูกของคุณนั้น การนัดเจอพี่เลี้ยงเพื่อสัมภาษณ์และพูดคุยกับพี่เลี้ยงเด็กก่อนจะยิ่งช่วยให้ทุกอย่างนั้นตรงต่อความต้องการของพ่อแม่มากยิ่งขึ้น โดยในระหว่างการสัมภาษณ์นั้นพ่อแม่ควรเลือกถามคำถามที่จะช่วยให้เข้าถึงตัวตนของพี่เลี้ยงเด็กได้มากที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นผลดีในการคัดเลือกคนที่เหมาะสมที่สุดให้ลูกน้อยของคุณนั่นเอง ใส่ใจขอแนะนำแนวคำถามที่คุณพ่อคุณแม่ควรถามขณะทำการสัมภาษณ์พี่เลี้ยงเด็ก ดังนี้

1. พ่อแม่ควรถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของพี่เลี้ยง เช่น ชื่อ อายุ ที่อยู่ งานอดิเรก ไปจนถึงความสามารถในการดูแลกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ให้เด็ก เช่น การทำอาหาร การอาบน้ำให้เด็ก การพาเด็กเข้านอน เป็นต้น
2. ถามเกี่ยวกับประสบการณ์ในอดีต พ่อแม่อาจถามพี่เลี้ยงเด็กว่าเคยเป็นพี่เลี้ยงเด็กมานานกี่ปี เคยรับดูแลเด็กมาแล้วกี่ครอบครัว ในขณะเดียวกันพ่อแม่อาจขอให้พี่เลี้ยงเล่าถึงประสบการณ์ที่เลวร้ายที่สุดที่เคยพบเจอมากับการเป็นพี่เลี้ยงเด็ก และถามว่าผ่านเหตุการณ์เหล่านั้นมาได้อย่างไร
3. คำถามเกี่ยวกับการรับมือต่อสถานการณ์ฉุกเฉินของพี่เลี้ยงเด็ก เช่น ถามว่าพี่เลี้ยงเด็กเคยมีประสบการณ์ในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินบ้างหรือไม่ เมื่อเกิดปัญหา หรือมีเหตุด่วนเหตุร้ายเกิดขึ้น พี่เลี้ยงจะสามารถติดต่อใครเพื่อขอความช่วยเหลือได้บ้าง เป็นต้น
4. ถามเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่พี่เลี้ยงเด็กสามารถทำร่วมกันกับเด็ก ได้ในยามว่าง พ่อแม่อาจลองยกตัวอย่างสถานการณ์มา เช่น หากอยากให้เด็กหลีกเลี่ยงการจับโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต พี่เลี้ยงจะชวนเด็กทำกิจกรรมใดแทน เป็นต้น ทั้งหมดนี้คือแนวคำถามที่คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปถามพี่เลี้ยงเด็กขณะทำการสัมภาษณ์ได้ โดยระหว่างการสัมภาษณ์นั้นควรทำให้บรรยากาศเป็นไปอย่างเรียบง่ายและไม่กดดันเกิดไป เพื่อให้พี่เลี้ยงเด็กรู้สึกผ่อนคลายและสามารถบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างเป็นตัวเองมากขึ้น ซึ่งโอกาสที่พ่อแม่จะเข้าถึงตัวตนของพี่เลี้ยงก็มีมากขึ้นเช่นเดียวกัน
กิจกรรมที่พี่เลี้ยงเด็กดูแลเด็กที่บ้านควรทำเพื่อส่งเสริมพัฒนาการมีอะไรบ้าง
มาตรฐานของพี่เลี้ยงเด็กที่ดูแลลูกของเรามีความสำคัญมาก ๆ ต่อพัฒนาการของลูก ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการตามวัยอย่างเหมาะสมพี่เลี้ยงเด็กควรทำกิจกรรมใดกับเด็กบ้าง

1. แฝงการเรียนรู้กฎกติกาในกิจกรรม เพื่อให้เด็กเข้าใจหน้าที่ของตัวเอง เช่นเก็บของเล่นเมื่อเล่นเสร็จ หรือไม่เล่นขณะรับประทานอาหาร เพราะการฝึกวินัยผ่านการใช้กติกา จะช่วยให้เด็กสามารถควบคุมตนเอง (Self – Regulation) การควบคุมตนเองเป็นกระบวนการที่สมองของเด็กดำเนินการซึ่งทำให้พวกเขาสามารถควบคุมพฤติกรรมและอารมณ์เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์เฉพาะได้
2. ฝึกร้องเพลง สิ่งที่ได้จากกิจกรรมที่มีความสุขสนุกสนานอย่างการร้อง คือกิจกรรมการพัฒนา (Working memory) หน่วยความจำในการทำงานเป็นระบบความ ความจำในการทำงานมีความสำคัญต่อการใช้เหตุผลและแนวทางในการตัดสินใจและพฤติกรรม
3. กิจกรรมเข้าจังหวะ เต้นตามเพลงช้า เร็ว ตามจังหวะเพลง เมื่อเพลงจบเด็กต้องหยุดรอ ก่อนขึ้นเพลงต่อไป การรอ คือการควบคุมยับยั้งชั่งใจ (Self-Inhibition) ได้เป็นอย่างดี
4. ฝึกขว้างสิ่งของ เด็กเล็ก ๆ มักสนุกกับการขว้างสิ่งของ เปลี่ยนเป็นกิจกรรมรับส่งลูกบอล เช่น ขอให้เด็กส่งบอลสีฟ้ามาให้ หรือใช้ให้เด็กหยิบนิทานมาให้ เป็นการฝึกพัฒนาการประสาทมือประสาทสายตา การเข้าใจความหมายของสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัว
5. ฝึกเล่าเรื่อง เริ่มจากพี่เลี้ยงเล่านิทาน ที่เด็ก ๆ สนใจ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่แฝงพัฒนาการทางด้านภาษา อาจใช้ตุ๊กตาหรือของเล่นเป็นบทบาทสมมุติ เป็นการฝึกการคิดแก้ปัญหา เช่น ถ้าหนูเดินไปเจอหมาป่าตรงนั้นหนูจะทำอย่างไรคะ เด็กจะฉุกคิด คำตอบอาจเป็นให้วิ่งไปหาคุณพ่อคุณแม่ หรือกลับมาหาพี่เลี้ยง เป็นการฝึกให้คุ้นเคยกับการฉุกคิดแก้ปัญหา

กิจกรรมเหล่านี้เสริมพัฒนาการ ทางด้าน EQ (Emotional Quotient) และ IQ (Intelligence Quotient) ไปในตัว