สอนหลักสูตรการศึกษา ใน บางกรวย, นนทบุรี

สอนหลักสูตรการศึกษา ใน บางกรวย, นนทบุรี

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

Saijai
ยังไม่มีข้อมูลการรีวิว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา สอนหลักสูตรการศึกษา

ติวเตอร์ที่รับสอนพิเศษสามารถสอนในระดับใดได้บ้าง
ในประเทศไทยมีจำนวนโรงเรียนสอนพิเศษและบริการติวเตอร์อยู่ทั่วทุกพื้นที่ โดยในแต่ละพื้นที่ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรและความต้องการ ปกติแล้วในจังหวัด *Region* มีจำนวนติวเตอร์ประมาณ *Percentage* และจำนวนโรงเรียนสอนพิเศษประมาณ *NoOfSchool* แห่งด้วยกัน เห็นได้ชัดว่าสังคมของเราให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษาเป็นอย่างดี นอกจากการเรียนรู้ภายในรั้วสถานศึกษาแล้ว การขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมนอกสถาบันการศึกษานั้นเป็นสิ่งที่แนะนำเช่นกัน
บริการติวเตอร์รับสอนพิเศษโดยทั่วไปนั้นมักเตรียมหลักสูตรการเรียนการสอนให้กับทุกระดับการศึกษา ดังต่อไปนี้

1. ระดับอนุบาล เป็นการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้เพิ่มเติมของเด็กในช่วงวัยที่กำลังเรียนรู้อย่างรวดเร็ว เพื่อเตรียมพร้อมสู่ระดับชั้นประถมศึกษา โดยการใช้เทคนิคสื่อการสอนและกิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถทำให้เด็กในวัยนี้เข้าใจอย่างรวดเร็ว และรู้สึกสนุกไปกับการเรียนรู้เช่นกัน
2. ระดับประถมศึกษา บริการติวเตอร์ที่ช่วยสอนเทคนิคพื้นฐานของการเรียนวิชาต่าง ๆ โดยเน้นไปที่การสอนทักษะในการคิด วิเคราะห์ โดยการใช้เหตุผลง่าย ๆ ไปจนถึงการสอนเทคนิคในการเตรียมพร้อมเป็นรายวิชาเพื่อเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาต่อไป
3. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ช่วยสอนทักษะรายวิชา เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ ฯลฯ และเตรียมความพร้อมในการสอบเข้าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ
4. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นการสอนพิเศษแบบเน้นเนื้อหารายวิชาแบบเจาะจง และเน้นตามความถนัดของวิชาต่าง ๆ เน้นการติวเพื่อสอบวัดระดับ เพื่อเตรียมพร้อมในการสอบเข้าคณะและมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับประเทศ
5. ระดับมหาวิทยาลัย เน้นการสอนเฉพาะในแต่ละภาควิชาของแต่ละคณะ ไม่ว่าจะเป็นการสอนแบบตัวต่อตัวและแบบกลุ่ม ทั้งหลักสูตรปกติและหลักสูตรอินเตอร์
ยิ่งระดับการศึกษาสูงขึ้น เกิดการแข่งขันกันสูง เด็กนักเรียนในปัจจุบันมีวิธีการจัดการกับการแข่งขันในด้านการเรียนอย่างไร
ตลอดระยะทางของความอุตสาหะใน 12 ปีที่ ชีวิตต้องผ่านการแข่งขันมาตลอด เหมือนนักเรียนกำลังวิ่งแข่งกันบนถนนเส้นกว้าง ๆ ที่ปลายทางแคบลงและมีทางแยกหลาย ๆ ทาง เพื่อเดินทางสู่ความฝัน แต่ทางแยกนั้นถูกจำกัดด้วยปริมาณ ผู้มีความพร้อมที่สุดจะผ่านเข้าไปถึงปลายทางได้ แล้วนักเรียนจะจัดการกับการแข่งขันอย่างไร

1. มีความตั้งใจอย่างแท้จริงและซื่อสัตย์กับความฝัน แน่วแน่กับเป้าหมายและตั้งใจเรียน อ่านหนังสือ ทบทวน เตรียมตัวก่อนสอบให้พร้อม หากมีจุดไหนที่ไม่เข้าใจ ต้องพยายามหาความกระจ่าง ไม่ว่าจะเป็นการเรียนเพิ่มเติมสถาบันเรียนพิเศษเพิ่มหรือ ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มด้วยตัวเอง
2. เมื่อมีความตั้งใจที่แน่วแน่แล้ว ถึงเวลาวางแผนการอ่านหนังสือ ดูตรงใหนเป็นจุดเด่นจุดด้อย เราจะมีเวลาให้อ่านหนังสือก่อนสอบ วางแผนการอ่านให้ดี ๆ กำหนดทบทวนในวิชาที่เข้าใจ และเพิ่มเติมในวิชาที่อ่อน ตั้งตารางทบทวนไม่ให้ตึงเครียดเกินไป และไม่หย่อนจนขี้เกียจ
3. เมื่ออ่านหนังสือแล้ว ฝึกทำโจทย์ หาโจทย์จากปีก่อน ๆ มาลองทำให้บ่อย การทำซ้ำจะทำให้เกิดความชำนาญ เป็นการเตรียมตัวก่อนสอบ เหมือนเรามีภูมิคุ้มกันอย่างหนึ่ง ถ้าเราผ่านการทำซ้ำมากพอ เมื่อถึงเวลาจริงเราจะตื่นเต้นน้อยลงเพราะเราคุ้นเคยกับข้อสอบที่เราทำซ้ำ ๆ มาแล้ว
4. อย่าลืมพักผ่อนให้เพียงพอ สมองที่พร้อมรับความรู้ และสดใสไม่ใช่สมองที่ใช้งานหนักเกินไป หากเราวางแผนการจัดการที่ดี ทุกอย่างจะพอดี เพิ่มพลังด้วยอาหารบำรุงสมอง ควรทานอาหารที่มีประโยชน์ บางคนเตรียมขนมขบเคี้ยวที่มีแต่แป้งและโซเดียม (Sodium) ไม่เพียงพอกับสมอง มื้อหลักควรเป็นอาหาที่มีประโยชน์ เช่น ข้าวกล้อง ไข่ต้ม ของว่างเป็น ขนมปังโฮลวีท ถั่วชนิดต่างๆ และมีอาหารเสริมเป็น นม แอปเปิ้ล กล้วย โยเกิร์ต เป็นต้น เพื่อช่วยในการทำงานของสมอง ให้พลังงานแก่ร่างกาย เพื่อเตรียมพร้อมสู่การสอบ ยิ่งระดับการศึกษาสูงขึ้น เกิดการแข่งขันกันสูง เด็กนักเรียนในปัจจุบันมีวิธีการจัดการกับการแข่งขันในด้านการเรียนอย่างไร
ทำไมนักเรียนในระดับชั้นมัธยมปลายจะต้องรักษาเกรดเพื่อที่จะได้เข้าเรียนในคณะที่ตัวเองต้องการในระดับมหาวิทยาลัย
การได้เข้าศึกษาต่อในคณะที่ต้องการของมหาวิทยาลัยในฝัน ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมปลาย ไม่ว่าจะศึกษาต่อในหรือต่างประเทศ สิ่งแรกที่มหาวิทยาลัยใช้เป็นเกณฑ์พิจารณารับนักศึกษาเข้าเรียน คือเกรดเฉลี่ยของระดับชั้นมัธยมปลาย ทำให้นักเรียนมัธยมปลายส่วนใหญ่ต้องรักษาเกรดของตัวเองให้อยู่ในระดับดีเพื่อใช้ยื่นสมัครเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมปลาย ต้องรักษาเกรดเพื่อที่จะเข้าเรียนในคณะที่ต้องการในระดับมหาวิทยาลัย มีดังต่อไปนี้

1. แต่ละคณะของมหาวิทยาลัยมีการกำหนดเกรดขั้นต่ำในการรับสมัคร หมายความว่าหากผู้สมัครได้เกรดไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่ทางมหาวิทยาลัยได้กำหนดเอาไว้ ทางมหาวิทยาลัยจะไม่รับพิจารณาให้ผู้สมัครเข้าเรียนในคณะนั้น
2. บางมหาวิทยาลัย นำเกรดแปลงมาเป็นคะแนน ในการคิดค่าน้ำหนัก หากได้เกรดสูงเท่ากับได้คะแนนมาก ได้เกรดต่ำคะแนนจะน้อยตามไปด้วย ซึ่งมีผลในการสมัครเรียนในระดับปริญญา
3. ได้เกรดสูงยิ่งได้เปรียบ ไม่เพียงแค่การสมัครสอบในประเทศเท่านั้นที่ใช้เกรดพิจารณา การศึกษาต่อในต่างประเทศจะพิจารณาจากเกรดด้วยเช่นกัน ข้อได้เปรียบอีกอย่างของคนที่รักษามาตรฐานของผลการเรียนไว้ได้เป็นอย่างดีนั้น สามารถใช้ในการสมัครทุนเรียนต่อได้ เพราะทุนการศึกษาส่วนใหญ่ได้กำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์รับทุนไว้แล้ว ซึ่งสิ่งแรกที่ดู คือผลการเรียนหรือเกรดนั่นเอง
4. นักเรียนที่มีผลการเรียนที่ดี มีตัวเลือกมากกว่า เพราะยิ่งมีเกรดสูง ถือว่าผ่านคุณสมบัติเกรดขั้นต่ำของหลาย ๆ คณะและมีโอกาสเลือกคณะที่ตัวเองใฝ่ฝันอยากจะเรียนได้

ทั้งหมดนี้คือข้อดีของการรักษาเกรดเพื่อเป็นประโยชน์แก่นักเรียนที่ต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย
ระดับการศึกษาระดับใดที่มีเด็กนักเรียนเรียนพิเศษเยอะที่สุด เพราะเหตุใด
ผลวิจัยของสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งพบว่า จากจำนวนผู้ลงทะเบียนเรียนพิเศษทั้งหมดสามารถแยกออกเป็นเปอร์เซ็นต์ตามระดับการเรียนได้ดังนี้ ระดับมัธยมปลาย 17 % , ระดับประถมปลาย 16 % , ระดับประถมต้น 16 % , ระดับมัธยมต้น 12 % , ระดับอุดมศึกษา 10 % , และระดับอนุบาล 7 %

เราต้องยอมรับความจริงกันก่อนว่า ในทุก ๆ ระดับการศึกษามีการแข่งขันกันสูง ตั้งแต่โรงเรียนอนุบาลไปจนถึงการเข้ามหาวิทยาลัย แม้ในประเทศไทยเราจะสนับสนุนและกระจายการศึกษาไปทุก ๆ พื้นที่ แต่ด้วยการแข่งขันที่สูงขึ้นในสมัยนี้ผลักดันให้นักเรียนหลาย ๆ คนตัดสินใจเรียนพิเศษ เพราะปัจจุบันเด็กไม่ได้แข่งขันแต่ในห้องเรียนแล้ว ต้องเตรียมตัว entrance เตรียมสอบตรง สอบโควตาอีก พ่อแม่จะมั่นใจได้ยังไงว่าลูกจะสู้นักเรียนโรงเรียนอื่นได้ เพราะเป็นที่รู้กันดีว่าแต่ละโรงเรียนมีคุณภาพและความสามารถในการผลิตนักเรียนไม่เท่ากัน และความสามารถของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนสามารถทำความเข้าใจได้จากห้องเรียนและอีกหลาย ๆ คนต้อง ทบทวนหาโจทย์เพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น ในทุกๆ ระดับความรู้เราสามารถเลือกคุณครูหรือสถาบันที่เราจะเรียนพิเศษได้ หากสังเกตเปอร์เซ็นต์ของจำนวนนักเรียน ม. ปลาย 17 % , ประถมต้น และประถมปลาย 16 % ทั้งสามช่วงเวลานี้มีความเหมือนและแตกต่างกัน ระดับประถมเป็นการปูพื้นฐานเมื่อเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษา หากเป็นในกรุงเทพฯ เป้าหมายอยู่ที่โรงเรียนที่มีชื่อเสียง ส่วนต่างจังหวัด นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการเข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัด ส่วนระดับมัธยมปลาย เป็นที่รู้กันว่า ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นการสอบที่ยาก และยิ่งยากหากเป้าหมายของนักเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยชั้นนำ คณะที่ต้องการนักเรียนที่มีความชำนาญและสนใจเป็นพิเศษ

ผลสำรวจของกรุงเทพฯ โพลชี้ว่า นักเรียน ม.ปลาย 60.2% ต้องเรียนพิเศษ และ 64.4% บอกระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปัจจุบันเหมาะสมดีอยู่แล้ว โดย 55.7% จะเลือกคณะที่ชอบโดยไม่สนใจเรื่องสถาบัน สุดท้ายการเรียนพิเศษจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้นักเรียนได้รู้วิธีการทำข้อสอบมากขึ้น