ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้ ใน กะทู้, ภูเก็ต

ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้ ใน กะทู้, ภูเก็ต

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

อติมา  สเล่ราษ
อติมา สเล่ราษ
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

อายุ 30 ปีค่ะ ปัจจุบันทำงานเป็นผู้ช่วยพยาบาลค่ะ สามารถดูแลผู้ป่วย ผู้สูงอายุได้ เป็นคนใจเย็น พูดเพราะ สุขภาพแข็งแรงดีค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
ยุพาพร จันทศรี
ยุพาพร จันทศรี
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

ทำงานด้านนี้มามากกว่า5+++เคสธรรมดา+ติดเตียง+กายภาพเบื้องตนขับรถยนต์พาผู่ป่วยหาหมอ+เที่ยว

แสดงเพิ่มเติม
เจนจิรา  ชูเกิด
เจนจิรา ชูเกิด
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี

สามารถทำอาหารได้ทำอาหารเป็นปั่นได้ฟิตอาหารเป็นแซ็กชั่นได้

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

Saijai
ยังไม่มีข้อมูลการรีวิว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้

หน้าที่หลัก ๆ ของคนเฝ้าไข้มีอะไรบ้าง
ผู้สูงอายุบางคนที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังเป็นเวลานานอาจไม่สะดวกที่จะต้องเข้ารับการรักษาและพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลตลอดเวลา เพราะการพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลนั้นอาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป นอกจากในกรณีที่เจ็บป่วยกะทันหันหรือต้องการตรวจรักษาจากแพทย์จริง ๆ ฉะนั้นอีกทางเลือกหนึ่งคือการให้ผู้ป่วยทำการพักฟื้นที่บ้าน พร้อมกับจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้นมาทำการดูแลอย่างใกล้ชิดนั่นเอง

หน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้นมีดังต่อไปนี้

1. ดูแลจัดการกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยได้อย่างคล่องแคล่ว เช่น เช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า ป้อนอาหาร เป็นต้น เนื่องจากผู้ดูแลได้รับการฝึกอบรมและผ่านประสบการณ์ทางด้านนี้โดยตรง โดยจะคำนึงถึงความสะอาดและความปลอดภัยทั้งตนเอง ผู้ป่วย และสมาชิกคนอื่น ๆ ภายในบ้านเช่นกัน
2. ดูแลรักษาความสะอาดและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ผู้ป่วยพักพื้นบางคนอาจมีโรคที่สามารถแพร่ระบาดสู่สมาชิกภายในบ้านได้ ดังนั้นผู้ดูแลควรแยกให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องเดี่ยวและระวังไม่ให้สมาชิกภายในบ้านสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยจนเกินไป
3. ระวังเรื่องการทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้ของผู้ป่วย เช่น ภาชนะที่ใช้รับประทานอาหาร เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น และระวังเรื่องการชำระสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ เช่น ปัสสาวะ อุจจาระ กระดาษเช็ดปาก เป็นต้น ซึ่งควรทำลายโดยการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคก่อนทิ้งทุกครั้ง
4. หมั่นตรวจวัดชีพจรและสังเกตอาการของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ สังเกตดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ หรือไม่ เพื่อนำไปรายงานกับสมาชิกในครอบครัวเพื่อขอคำปรึกษาจากแพทย์ต่อไป
5. ช่วยผู้ป่วยทำกายภาพบำบัดเบื้องต้นได้ สำหรับผู้ป่วยพักฟื้นบางคนที่ได้รับการรักษาและต้องนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายมากขึ้น
คนเฝ้าไข้ควรมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
การพิจารณาคุณสมบัติของคนที่จะมาเฝ้าไข้ให้กับผู้ป่วยพักฟื้นนั้นเป็นอีกสิ่งที่สำคัญอย่างมาก ซึ่งคุณสมบัติหลัก ๆ ที่จำเป็นเหล่านั้นมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

1. ผู้ดูแลหรือคนเฝ้าไข้ผู้ป่วยต้องเป็นคนที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยพักฟื้น และมีความเชี่ยวชาญด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยด้วยเช่นกัน หากได้ผู้เฝ้าไข้ที่เคยผ่านการฝึกอบรมในด้านการพยาบาลพิเศษมาจะยิ่งดีต่อตัวผู้ป่วยเลยทีเดียว
2. ผู้เฝ้าไข้ต้องเป็นคนที่บรรลุนิติภาวะแล้ว และมีใจรักในงานด้านการบริการ สามารถดูแลผู้ป่วยพักฟื้นได้ตลอดเวลา อีกทั้งยังสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างคล่องแคล่ว เช่น การเช็ดตัว ป้อนข้าว ป้อนยา ดูแลการขับถ่ายของผู้ป่วย เป็นต้น
3. มีความสามารถในการทำกายภาพบำบัดเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยได้ เพราะผู้ป่วยพักฟื้นบางรายอาจนอนบนเตียงเป็นเวลานานเกินจนเสี่ยงทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนล้า ดังนั้นผู้ดูแลจำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วยอยู่บ่อย ๆ ด้วยเช่นกัน
4. ผู้เฝ้าไข้สามารถอยู่เป็นเพื่อนและพูดคุยกับผู้ป่วยได้ ผู้ป่วยบางรายอาจใช้เวลารักษานานจนอาจส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วย ทำให้เกิดอาการเครียดหรือภาวะซึมเศร้าได้ ดังนั้น การมีเพื่อนคอยรับฟังปัญหาหรือชวนพูดคุยเรื่องราวต่าง ๆ ในแต่ละวันจะช่วยลดอาการเหล่านี้ของผู้ป่วยได้
5. สามารถทำกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมกันกับผู้ป่วยได้ตลอดเวลา บางครั้งผู้ป่วยพักฟื้นอาจไม่ได้แค่ต้องการนอนอยู่เฉย ๆ อย่างเดียว การทำกิจกรรมง่าย ๆ อย่างอ่านหนังสือ พาเดินเล่นใกล้ ๆ บริเวณห้องพักก็อาจทำให้ผู้ป่วยมีความสุขได้เช่นกัน
6. ผู้ดูแลหรือคนเฝ้าไข้จำเป็นต้องมีความรอบคอบ และหมั่นสังเกตอาการในแต่ละวันของผู้ป่วย เพื่อคอยรายงานให้กับผู้ว่าจ้างและขอคำปรึกษาจากแพทย์ต่อไป
ทั้งหมดนี้คือคุณสมบัติสำคัญที่จะทำให้การดูแลผู้ป่วยนั้นเป็นไปอย่างราบรื่นตลอดระยะเวลาที่ต้องพักฟื้นเลยก็ว่าได้
สิ่งที่กวนใจคุณเมื่อจำเป็นต้องจ้างคนเฝ้าไข้ แนวทางแก้ไขมีอย่างไรบ้าง
หากคุณจำเป็นต้องจ้างผู้ดูแลเพื่อมาดูแลผู้ป่วยที่กำลังอยู่ในระยะพักฟื้นที่บ้านนั้น แน่นอนว่าอาจมีสิ่งที่คอยกวนใจจนทำให้เป็นกังวลอยู่ไม่น้อย ซึ่งปัญหาโดยส่วนใหญ่ที่จะทำให้คุณต้องคอยพะวงอยู่ตลอดเวลาคือการที่ต้องคอยกังวลว่าผู้ดูแลจะมีความรับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยที่เปรียบเสมือนคนในครอบครัวที่คุณรักได้ดีหรือไม่นั่นเอง

แนวทางในการแก้ไขคือการเลือกพิจารณาเลือกผู้ดูแลจากคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เหมาะสมและตรงต่อความต้องการของคุณ จึงควรพิจารณาเลือกผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมาไม่ต่ำกว่า 3 ปี หรือเป็นผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมด้านการดูแลปฐมพยาบาลผู้ป่วยทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติจะดีที่สุด เพราะถือเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่จะช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าผู้ดูแลนั้นมีความมืออาชีพจริง ๆ และสามารถอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับผู้ป่วยแทนเราได้นั่นเอง

อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกกังวลเป็นอย่างมาก คงหนีไม่พ้นเรื่องความปลอดภัยทั้งของตัวผู้ป่วยเองและทรัพย์สินต่าง ๆ ภายในบ้าน วิธีแก้ปัญหาคือควรตรวจสอบประวัติของผู้ดูแลให้ละเอียดก่อนทำการจ้างนั่นเอง โดยสามารถตรวจสอบจากการค้นหารีวิวเพิ่มเติมจากผู้จ้างก่อนหน้านี้ ที่สำคัญต้องมั่นใจว่าผู้ดูแลที่จะจ้างมานั้นไม่เคยมีประวัติการกระทำผิดทางอาชญากรรมใด ๆ มาก่อนด้วย

อีกหนึ่งทางที่สามารถคลายกังวลให้คุณได้คือการนัดสัมภาษณ์ก่อนการจ้างงานเพื่อที่คุณจะได้ทำความรู้จักนิสัยใจคอของผู้ดูแล อีกทั้งคุณสามารถสังเกตวิธีการตอบคำถามของผู้ดูแลเพื่อประกอบการตัดสินใจของคุณได้ เพราะฉะนั้นหากคุณจะเลือกใครสักคนมาดูแลคนใกล้ชิด ควรตรวจสอบทุกอย่างให้ละเอียดเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายภาคหน้า และเพื่อคุณจะได้ผู้ดูแลที่ดีที่สุดมาดูแลคนที่คุณรัก
ผู้ป่วยโรคใดบ้างที่ผู้ให้บริการบน Platform ของใส่ใจที่ทางใส่ใจไม่รับดูแล
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีโรคที่อาจเป็นอันตรายและอาจทำให้ผู้ดูแลเสี่ยงอันตราย ซึ่งหมายถึงผู้ป่วยที่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อหรือได้รับการรักษาที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ดูแลได้ ผู้ดูแลต้องปฏิบัติตามการแนะนำของแพทย์จึงไม่สามารถให้บริการเฝ้าไข้ ผู้ป่วยที่มีโรคต่าง ๆ ดังนี้

• วัณโรคที่ตรวจเสมหะพบเชื้อ โดยเชื้อวัณโรคจะแพร่โดยเชื้อจนอยู่ในเสมหะที่มีขนาด 1-5 ไมครอน เชื้อจะไปถึงถุงลมในปอดและทำให้เกิดการติดเชื้อ เสมหะเกิดจากการไอ จาม พูด เชื้อโรคอาจจะอยู่ที่กล่องเสียงหรือในปอด ซึ่งสามารถติดต่อได้หากอยู่ใกล้ผู้ติดเชื้อโดยไม่ระมัดระวัง
• ไข้หวัดใหญ่ ผู้มีอาการน้ำมูกไหล ไข้ไม่สูงมาก ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่สามารถติดต่อกันได้ง่าย ผ่านการไอหรือจาม เชื้อจะเข้าทางเยื่อบุตาและปาก สัมผัสเสมหะของผู้ป่วยทางแก้วน้ำ ผ้า จูบ สัมผัสทางมือที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
• ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดต่อที่สามารถแพร่จากคนสู่คนผ่านทางละอองน้ำมูก น้ำลายจากจมูกหรือปาก ซึ่งออกมาเมื่อผู้ป่วยโรคโควิด 19 ไอ จามหรือพูด ละอองเหล่านี้ค่อนข้างหนัก กระจายไปได้ไม่ไกลและตกลงสู่พื้นอย่างรวดเร็ว เรารับเชื้อโรคโควิด 19 ได้จากการหายใจเอาละอองเข้าไปจากผู้ป่วย
• ผู้ป่วยที่กำลังรักษาการรักษาโรคด้วยเรเดียมและสารกัมมันตรังสีระยะอันตราย