ติวเตอร์ภาษาไทย

ติวเตอร์ภาษาไทย

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

รีวิวล่าสุด

คนส่วนใหญ่คิดว่า ภาษาไทยก็พูดได้กันอยู่แล้ว จะเรียนไปทำไม จริงๆ ภาษาไทยมีความซับซ้อนมาก เขียนผิดนิดเดียว วรรคผิดนิดนึง ความหมายก็เปลี่ยนโดยเฉพาะลูกเราเป็นเด็ก 2 ภาษา พ่อพูดภาษาอังกฤษ แม่พูดภาษาไทย บางครั้งลูกค่อนข้างสับสน จะสอนเองก็ไม่เก่ง มองหาติวเตอร์ภาษาไทย คิดว่าจะหายาก แต่พอมาเจอเว็บใส่ใจ เปลี่ยนความคิดเลยค่ะ ได้ติวเตอร์คุณภาพ มีคุณสมบัติที่ครบถ้วน ตรงตามความต้องการทุกอย่างเลยค่ะ
Saijai
ช่อลัดดา รัตนภูมิ
3 ปีที่แล้ว
ขั้นตอนการติดต่อและหาติวเตอร์สะดวกมาก ๆ เลยค่ะ แพลทฟอร์มใช้ง่าย ประทับใจมากค่ะ ไว้ครั้งหน้าจะมาใช้บริการอื่น ๆ อีกนะคะ
Saijai
อลิสา แย้มสมัย
3 ปีที่แล้ว
คือว่าหนูอยากเข้าเรียนเอกภาษาไทยค่ะ เพราะว่าตัวเองพอมีทักษะทางด้านภาษาไทยอยู่บ้างคะ เคยแต่งคำประพันธ์ เขียนเรียงความ แล้วก็เคยแข่งอะไรที่เกี่ยวกับภาษาไทยอีกมากมาย การเลือกมาติวเพิ่ม เพื่อฝึกฝนทักษะเพิ่มเติม ทำความเข้าใจให้มากขึ้น ภาษาไทยเป็นภาษาที่สวยงาม ความฝันของหนูคือการเป็นนักเขียน ติวเตอร์ที่นี่ให้แนวทางดีมากๆ เลยคะ
Saijai
ณัชชา โสภณวัชรากุล
3 ปีที่แล้ว
เรทค่าจ้างติวเตอร์มีหลากหลายแล้วแต่ระยะเวลาที่เราต้องการให้สอนเลย มีให้เลือกตามความสะดวกเลยค่ะ ติวเตอร์ก็คุณภาพดีคุ้มค่าคุ้มราคาจริง ๆ
Saijai
เฮนน่า ก้องพิทักษ์
3 ปีที่แล้ว
อ่อนภาษาไทยครับ บอกตรง ๆ เลย เรียนในห้องไม่ค่อยเข้าใจเลย ต้องหาติวเตอร์มาช่วยสอน จองติวเตอร์ผ่านเว็บใส่ใจ เพราะเว็บให้ข้อมูลไว้ละเอียด เจอติวเตอร์ตัวจริง สอนดีครับ จบเอกภาษาไทยมาโดยตรง
Saijai
ณฤดี วรกฤตติกา
1 วินาทีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ติวเตอร์ภาษาไทย

ปัญหาใดที่พบบ่อยในการใช้ภาษาไทยของเด็กไทยในปัจจุบัน มีวิธีการแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง
ปัญหาการใช้ภาษาไทยของเด็กไทยในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและยาวนานมากแล้ว ยกตัวอย่างคำง่าย ๆ เช่น ค่ะ หรือ นะคะ เป็นคำยอดฮิตทุกยุคทุกสมัยที่คนยังคงสะกดไม่ถูกต้อง ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เราใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องคือ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ได้รับจากสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นเป็นกลุ่มที่นิยมใช้ภาษาเฉพาะกลุ่มในการติดต่อสื่อสาร ไม่ว่าจะทาง Facebook หรือ Line Application โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องเหมาะสมของภาษา ในบางครั้งมีการสร้างค่านิยมที่ผิด ๆ สร้างคำศัพท์ใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อใช้สื่อสารกันและทำให้เด็กรุ่นใหม่เรียนรู้และจดจำคำศัพท์ที่ผิดไปด้วย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเคยนำนิสิตนักศึกษาจำนวน 398 คน มาทำการทดสอบเพื่อวัดสมรรถภาพในการใช้ภาษาไทย หัวข้อทักษะการเขียนภาษาไทยเพื่อการประกอบอาชีพ ผลที่ได้คือ มีนักศึกษาอยู่ในระดับดีเพียง 28 คนเท่านั้น และไม่มีผู้เข้าทดสอบคนใดที่มีผลอยู่ในเกณฑ์ "ดีมาก" ข้อผิดพลาดที่พบคือ เรื่องการเว้นวรรคตอนผิด จากจำนวนผู้ผ่านเกณฑ์การทดสอบทั้งหมด 250 คน ที่สื่อความคิดได้ครบถ้วนแต่ยังคงต้องปรับปรุงเรื่องการใช้คำเชื่อม การใช้คำให้ตรงความหมายและการสะกดคำ และมีผู้ไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบถึง 120 คน

แนวทางในการแก้ปัญหาการใช้ภาษาไทยของเด็กไทย อาจจะต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยสอดส่องดูแลอย่างใกล้ชิดแต่ถึงอย่างไรการจัดการกับปัญหานี้ไม่ใช่หน้าที่ของหน่วยงานรัฐเพียงอย่างเดียว ปัจจัยหลัก ๆ ที่จะช่วยจัดการกับปัญหาการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่นได้ง่ายที่สุด คือ สถาบันครอบครัว เช่น พ่อ แม่ หรือญาติผู้ใหญ่ ผู้อาวุโสในบ้าน ซึ่งเป็นบุคคลใกล้ตัวและมีบทบาทสำคัญที่สุดที่จะช่วยในการแก้ปัญหา โดยเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก สอนให้เด็กเขียนหนังสือให้ถูกต้อง พูดให้สุภาพ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านยิ่งช่วยให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
ครูสอนพิเศษหรือติวเตอร์ส่วนตัวช่วยพัฒนาการเรียนและทักษะการใช้ภาษาไทยได้หรือไม่
เพราะหลาย ๆ คนคิดว่าภาษาไทยเป็นเรื่องใกล้ตัว จึงไม่ให้ความสำคัญมากนัก แต่จริง ๆ แล้วทุกกิจกรรมในชีวิตคนไทยล้วนผูกพันกับภาษาไทย หากเราต้องเขียนรายงาน ที่ดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย แต่ถ้าเราไม่รู้หลักการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง หรือไม่ได้ฝึกฝนการอ่านและเขียน จะทำให้เนื้อหาวนไปวนมาหาสาระไม่ได้ รวมถึงการสื่อสารในประจำวันมีทั้งฟัง (ฟังแล้วต้องสรุปให้เข้าใจ) พูด (พูดอย่างไรให้เข้าใจง่าย กระชับ) อ่าน (ใช้ทักษะการอ่าน ฝึกอ่านออกเสียง ฝึกอ่านในใจ ฝึกใช้วิจารณญาณในการอ่าน ฝึกนิสัยรักการอ่าน) เขียน (เขียนอย่างไรให้น่าอ่าน) สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาของหลาย ๆ คน จึงจำเป็นต้องให้ครูสอนพิเศษส่วนตัว มาช่วยพัฒนาการเรียนและทักษะการใช้ภาษาไทย โดยติวเตอร์คือคนที่สรุปองค์ความรู้บางอย่างที่มันดูซับซ้อนและเข้าใจยาก ให้ง่ายขึ้นและเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว

การเรียนภาษาไทยด้วยการท่องจำหลักภาษา ท่องจำวรรณคดี ท่องจำตัวละครในวรรณคดี เป็นการเรียนที่น่าเบื่อ แต่เวลาที่ติวเตอร์สอน ติวเตอร์จะขยายความว่า อะไรที่ควรนำไปใช้และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร เมื่อน้อง ๆ นักเรียน สามารถ ตีความการอ่านได้แล้ว จะเกิดความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์เนื้อหาได้และประยุกต์ใช้เนื้อหาจากการอ่านได้ แนวทางและเทคนิคที่ติวเตอร์แนะนำ ทำให้ผู้เรียนสนุกกับการเรียนซึ่งเป็นประโยชน์กับการเรียนวิชาอื่น ๆ ด้วย ดังนั้นภาษาไทยจึงไม่ใช่แค่วิชาภาษาไทย แต่เป็นเครื่องมือสื่อสารรับและส่งข้อความ ที่ต้องอาศัยความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนทุกวิชา
ใส่ใจมีติวเตอร์ที่สอนภาษาไทยให้กับชาวต่างชาติหรือไม่
บนแพลตฟอร์มใส่ใจ (SAIJAI) มีผู้ให้บริการหรือติวเตอร์สอนภาษาไทยหลักสูตรที่เหมาะสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการพูดภาษาไทยระดับพื้นฐานและพัฒนาก้าวไปจนถึงการสื่อสารในภาคธุรกิจ และสามารถใช้ภาษาได้อย่างเจ้าของภาษา สามารถเรียนรู้ควบคู่ไปกับการเรียนรู้วัฒนธรรมไทย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและใช้ภาษาได้อย่างสอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย

ติวเตอร์ที่มีความเข้าใจเรื่องของภาษาศาสตร์ ไม่ได้เป็นเพียงเจ้าของภาษาและพูดภาษาไทยได้เท่านั้น เพราะความสำคัญของการสอนภาษานั้น ต้องสามารถอธิบายทักษะของภาษาไทยได้ ว่าทำไมเราจึงใช้ภาษาไทยสื่อสารอย่างนั้น และสามารถเปรียบเทียบกับภาษาเดิมของชาวต่างชาติที่เรียนได้ด้วย เพื่อให้เกิดความเข้าใจและมีประสิทธิภาพ ติวเตอร์จะดูแลการเรียนการสอน ภาษาไทย ให้ใช้ได้ถูกต้องยืดหยุ่นได้ตามศักยภาพของผู้เรียน ติวเตอร์ได้เลือกและสร้างสรรค์หลักสูตรและเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียนเพราะชาวต่างชาติซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่ (ต่างกับเราที่เรียนภาษาไทย ภาษาอังกฤษตั้งแต่เด็ก) เช่น คนต่างชาติที่เพิ่งมาอยู่ไทย เพิ่งรู้จักสังคมไทย และบางประเทศมีวัฒนธรรมและโครงสร้างของภาษาที่ต่างจากภาษาไทยมาก เช่น ไม่มีคำลักษณะนาม แต่ภาษาไทยมีการใช้คำลักษณะนามที่ชัดเจน เช่น จดหมาย 1 ฉบับ, ปากกา 1 ด้าม, ไข่ 1 ฟอง ฯลฯ เพื่อจะให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง

ลองเลือกดูข้อมูลของติวเตอร์สอนภาษาไทยที่ตรงใจคุณที่สุดได้เลยค่ะ
เพื่อไม่ให้ภาษาไทยเป็นเรื่องยากสำหรับชาวต่างชาติที่อยากเรียนภาษาไทย ควรเริ่มต้นเรียนจากอะไร
เพื่อไม่ให้ภาษาไทยเป็นเรื่องยากสำหรับชาวต่างชาติที่อยากเรียนภาษาไทย เทคนิคการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติที่ได้ผลมากที่สุดมีดังต่อไปนี้

1. เริ่มฝึกจากการฟัง โดยติวเตอร์อาจเริ่มจากการพูดประโยคต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สวัสดี ขอบคุณ ขอโทษ หรือคำศัพท์เกี่ยวกับอวัยวะต่าง ๆ ตามร่างกาย สัตว์เลี้ยงหรือสิ่งของรอบตัว โดยอาจเริ่มจากคำที่มีพยางค์เดียวเพื่อง่ายต่อการออกเสียง และสอนโดยการพูดซ้ำคำละ 3-5 รอบเพื่อให้ผู้เรียนจดจำคำศัพท์และสำเนียงที่ถูกต้อง ติวเตอร์สามารถสอนคำศัพท์ผู้เรียนวันละไม่เกิน 10 คำและอาจอยู่ในหมวดหมู่เดียวกันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสับสน
2. ฝึกการพูดและออกเสียงที่ชัดเจน เริ่มจากการฝึกให้ผู้เรียนออกเสียงคำศัพท์ต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นคำศัพท์ง่าย ๆ เกี่ยวกับอวัยวะในร่างกาย เช่น หู ตา จมูก ปาก ฯลฯ คำศัพท์เกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ เช่น ปากกา ดินสอ สมุด ฯลฯ ไปจนถึงประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวันบ่อย ๆ เช่น สวัสดี ขอบคุณ ลาก่อน เป็นต้น
3. ฝึกการอ่าน ควรเริ่มต้นจากการสอนตัวพยัญชนะภาษาไทย ตั้งแต่ ก-ฮ บางครั้งอาจสอดแทรกรูปภาพความหมายของพยัญชนะ เช่น ก ไก่ ข ไข่ ค ควาย ง งู เป็นต้น โดยการฝึกอ่านพยัญชนะนั้นควรสอนอ่านวันละ 5-10 ตัวเพื่อให้ผู้เรียนจดจำได้ง่ายขึ้น และเมื่อสอนเกี่ยวกับตัวพยัญชนะเสร็จแล้ว ก็ให้เริ่มสอนและออกเสียงสระ ไปจนถึงการผันวรรณยุกต์ตามลำดับ
4. ฝึกการเขียน โดยเริ่มจากการเขียนตัวพยัญชนะที่ได้เรียนมา ติวเตอร์อาจสอนโดยการให้ฝึกคัดตัวพยัญชนะบ่อย ๆ เพื่อให้ผู้เรียนมีความคุ้นชินกับพยัญชนะเหล่านั้น เมื่อฝึกการเขียนพยัญชนะครบแล้ว ก็ต่อด้วยสระต่าง ๆ ไปจนถึงการผสมพยัญชนะและสระออกมาเป็นคำง่าย ๆ ตามลำดับ

สำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการเรียนภาษาไทย ติวเตอร์บนแพลตฟอร์มของใส่ใจพร้อมแล้วที่จะให้บริการคุณค่ะ