ติวเตอร์ภาษาไทย

ติวเตอร์ภาษาไทย

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

รีวิวล่าสุด

ผลการเรียนวิชาภาษาไทยของลูก ไม่ดีเลยค่ะยิ่งขึ้นชั้นม.ปลายผลการเรียนวิชาภาษาไทยลูกก็ยิ่งแย่ลง ได้ติวเตอร์ภาษาไทยผ่านเว็บใส่ใจ ให้มาลองสอนลูกเป็นการส่วนตัวมาระยะหนึ่ง ทางตัวติวเตอร์ได้มีการเตรียมสื่อการสอนและวิธีการสอนให้ง่ายต่อการเข้าใจของลูกด้วยค่ะ คะแนนวิชาภาษาไทยของลูกดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดค่ะ
Saijai
สาธินี มณีกุล
3 ปีที่แล้ว
เจอครูประจำชั้นลูกครั้งล่าสุด ครูบอกว่าลูกเรามีปัญหาด้านภาษาไทย เราเองก็เพิ่งย้ายมาทำงานแถวทองหล่อ ไม่แน่ใจสถานที่เรียน คุยกับแม่ ๆ หลายคนส่งลูกไปติววิชาภาษาไทยกับติวเตอร์ที่นี่ ลองเข้าไปศึกษาดูข้อมูลในเว็บ ก็น่าสนใจจริง ๆ ที่สำคัญราคาไม่แพงอย่างที่คิด บอกตามตรงช่วงนี้ก็ต้องประหยัดค่าใช้จ่าย แต่สุดท้ายคิดว่าอยากให้ลูกมีพัฒนาการด้านภาษาที่ดีตั้งแต่เด็ก เลยให้ลูกเรียนดีกว่าค่ะ
Saijai
สรัญภร สุวรรณ
3 ปีที่แล้ว
จ้างติวเตอร์วิชาภาษาไทยส่วนตัวให้ลูกจากสถาบันสอนภาษาไทย ราคาค่อนข้างแพง จนได้มาเจอติวเตอร์บนหน้าเว็บใส่ใจ ราคาก็อยู่ในระดับเดียวกับติวเตอร์ทั่วไปเลยค่ะ ตอนแรกแอบลังเลกลัวไม่คุ้มค่าจ้าง แต่ลูกบอกว่าสอนสนุกและทำให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายมาก
Saijai
ชลธร สุวรรณสว่าง
3 ปีที่แล้ว
เรทค่าจ้างติวเตอร์มีหลากหลายแล้วแต่ระยะเวลาที่เราต้องการให้สอนเลย มีให้เลือกตามความสะดวกเลยค่ะ ติวเตอร์ก็คุณภาพดีคุ้มค่าคุ้มราคาจริง ๆ
Saijai
เฮนน่า ก้องพิทักษ์
3 ปีที่แล้ว
อ่อนภาษาไทยครับ บอกตรง ๆ เลย เรียนในห้องไม่ค่อยเข้าใจเลย ต้องหาติวเตอร์มาช่วยสอน จองติวเตอร์ผ่านเว็บใส่ใจ เพราะเว็บให้ข้อมูลไว้ละเอียด เจอติวเตอร์ตัวจริง สอนดีครับ จบเอกภาษาไทยมาโดยตรง
Saijai
ณฤดี วรกฤตติกา
1 วินาทีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ติวเตอร์ภาษาไทย

ปัญหาใดที่พบบ่อยในการใช้ภาษาไทยของเด็กไทยในปัจจุบัน มีวิธีการแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง
ปัญหาการใช้ภาษาไทยของเด็กไทยในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและยาวนานมากแล้ว ยกตัวอย่างคำง่าย ๆ เช่น ค่ะ หรือ นะคะ เป็นคำยอดฮิตทุกยุคทุกสมัยที่คนยังคงสะกดไม่ถูกต้อง ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เราใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องคือ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ได้รับจากสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นเป็นกลุ่มที่นิยมใช้ภาษาเฉพาะกลุ่มในการติดต่อสื่อสาร ไม่ว่าจะทาง Facebook หรือ Line Application โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องเหมาะสมของภาษา ในบางครั้งมีการสร้างค่านิยมที่ผิด ๆ สร้างคำศัพท์ใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อใช้สื่อสารกันและทำให้เด็กรุ่นใหม่เรียนรู้และจดจำคำศัพท์ที่ผิดไปด้วย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเคยนำนิสิตนักศึกษาจำนวน 398 คน มาทำการทดสอบเพื่อวัดสมรรถภาพในการใช้ภาษาไทย หัวข้อทักษะการเขียนภาษาไทยเพื่อการประกอบอาชีพ ผลที่ได้คือ มีนักศึกษาอยู่ในระดับดีเพียง 28 คนเท่านั้น และไม่มีผู้เข้าทดสอบคนใดที่มีผลอยู่ในเกณฑ์ "ดีมาก" ข้อผิดพลาดที่พบคือ เรื่องการเว้นวรรคตอนผิด จากจำนวนผู้ผ่านเกณฑ์การทดสอบทั้งหมด 250 คน ที่สื่อความคิดได้ครบถ้วนแต่ยังคงต้องปรับปรุงเรื่องการใช้คำเชื่อม การใช้คำให้ตรงความหมายและการสะกดคำ และมีผู้ไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบถึง 120 คน

แนวทางในการแก้ปัญหาการใช้ภาษาไทยของเด็กไทย อาจจะต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยสอดส่องดูแลอย่างใกล้ชิดแต่ถึงอย่างไรการจัดการกับปัญหานี้ไม่ใช่หน้าที่ของหน่วยงานรัฐเพียงอย่างเดียว ปัจจัยหลัก ๆ ที่จะช่วยจัดการกับปัญหาการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่นได้ง่ายที่สุด คือ สถาบันครอบครัว เช่น พ่อ แม่ หรือญาติผู้ใหญ่ ผู้อาวุโสในบ้าน ซึ่งเป็นบุคคลใกล้ตัวและมีบทบาทสำคัญที่สุดที่จะช่วยในการแก้ปัญหา โดยเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก สอนให้เด็กเขียนหนังสือให้ถูกต้อง พูดให้สุภาพ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านยิ่งช่วยให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
อยากเพิ่มเกรดวิชาภาษาไทยจ้างครูสอนพิเศษส่วนตัวดีหรือไม่
การใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องนั้นมีความซับซ้อนระดับหนึ่ง จนทำให้หลาย ๆ คนคิดว่าการเรียนภาษาไทยนั้นเป็นเรื่องยากและน่าเบื่อ ทำให้นักเรียนไม่ให้ความสนใจกับการเรียนภาษาไทยเท่าที่ควร ผลที่ออกมาคือระดับความรู้ในการใช้ภาษาไทยของนักเรียนไทยเองกลับอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก แม้ว่าเราจะใช้ภาษาไทยกันอยู่ทุก ๆ วันก็ตาม การเรียนเสริมหรือเรียนพิเศษแบบตัวต่อตัวกับติวเตอร์เป็นการช่วยให้นักเรียนมีความสนใจและเข้าใจวิชาภาษาไทยมากขึ้น เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วครูสอนพิเศษที่มีประสบการณ์จะมีเทคนิคต่าง ๆ ในการสอน เพื่อให้นักเรียนนั้นเข้าใจบทเรียนได้ง่าย โดยบางครั้งอาจไม่จำเป็นต้องอ่านในตำราหนังสือด้วยซ้ำ แผนการสอนของครูสอนพิเศษยังมีรูปแบบที่ชัดเจน ทำให้นักเรียนสามารถเห็นภาพรวมได้ชัดเจน และครูสอนพิเศษมักจะให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดที่หลากหลายเพื่อเป็นการฝึกฝนทักษะการใช้ภาษาไทยให้แก่นักเรียน ไม่ว่าจะเป็นแบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำราชาศัพท์ บทกลอนและวรรณคดีไทย ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้นั้นอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทยและแน่นอนว่าจำเป็นต้องมีอยู่ในข้อสอบเช่นกัน หากนักเรียนหมั่นฝึกฝนและทำแบบฝึกหัดบ่อย ๆ จะช่วยให้นักเรียนเกิดความเคยชินและสามารถเพิ่มเกรดวิชาภาษาไทยให้แก่ตัวนักเรียนได้ ที่สำคัญการเรียนพิเศษแบบตัวต่อตัวสามารถทำให้นักเรียนได้รับการอธิบายเนื้อหาจากครูอย่างใกล้ชิดและไม่จำกัดเวลา เมื่อนักเรียนไม่เข้าใจตรงไหนครูก็จะสามารถช่วยอธิบายจนกว่าจะเข้าใจได้ โดยไม่ปล่อยผ่านเนื้อหาใดเนื้อหาหนึ่งไปเหมือนตอนเรียนในห้องเรียนเนื่องจากเวลาการสอนที่จำกัด เมื่อนักเรียนได้รับการเรียนการสอนอย่างละเอียดจากครูสอนพิเศษแล้ว จะทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในภาษาไทยมากยิ่งขึ้น และสุดท้ายภาษาไทยก็จะไม่ได้ยากอีกต่อไป

ใส่ใจมีติวเตอร์ที่สอนภาษาไทยให้กับชาวต่างชาติหรือไม่
บนแพลตฟอร์มใส่ใจ (SAIJAI) มีผู้ให้บริการหรือติวเตอร์สอนภาษาไทยหลักสูตรที่เหมาะสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการพูดภาษาไทยระดับพื้นฐานและพัฒนาก้าวไปจนถึงการสื่อสารในภาคธุรกิจ และสามารถใช้ภาษาได้อย่างเจ้าของภาษา สามารถเรียนรู้ควบคู่ไปกับการเรียนรู้วัฒนธรรมไทย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและใช้ภาษาได้อย่างสอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย

ติวเตอร์ที่มีความเข้าใจเรื่องของภาษาศาสตร์ ไม่ได้เป็นเพียงเจ้าของภาษาและพูดภาษาไทยได้เท่านั้น เพราะความสำคัญของการสอนภาษานั้น ต้องสามารถอธิบายทักษะของภาษาไทยได้ ว่าทำไมเราจึงใช้ภาษาไทยสื่อสารอย่างนั้น และสามารถเปรียบเทียบกับภาษาเดิมของชาวต่างชาติที่เรียนได้ด้วย เพื่อให้เกิดความเข้าใจและมีประสิทธิภาพ ติวเตอร์จะดูแลการเรียนการสอน ภาษาไทย ให้ใช้ได้ถูกต้องยืดหยุ่นได้ตามศักยภาพของผู้เรียน ติวเตอร์ได้เลือกและสร้างสรรค์หลักสูตรและเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียนเพราะชาวต่างชาติซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่ (ต่างกับเราที่เรียนภาษาไทย ภาษาอังกฤษตั้งแต่เด็ก) เช่น คนต่างชาติที่เพิ่งมาอยู่ไทย เพิ่งรู้จักสังคมไทย และบางประเทศมีวัฒนธรรมและโครงสร้างของภาษาที่ต่างจากภาษาไทยมาก เช่น ไม่มีคำลักษณะนาม แต่ภาษาไทยมีการใช้คำลักษณะนามที่ชัดเจน เช่น จดหมาย 1 ฉบับ, ปากกา 1 ด้าม, ไข่ 1 ฟอง ฯลฯ เพื่อจะให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง

ลองเลือกดูข้อมูลของติวเตอร์สอนภาษาไทยที่ตรงใจคุณที่สุดได้เลยค่ะ
บทเรียนเริ่มต้นสำหรับชาวต่างชาติที่อยากเรียนภาษาไทย ควรเริ่มด้วยอะไร
อยากเรียนภาษาไทย ควรเริ่มต้นจากตรงไหนดี ? สำหรับชาวต่างชาติที่อยากเรียนภาษาไทยกับครูสอนพิเศษหรือติวเตอร์ภาษาไทยควรเริ่มต้นอย่างไรมาดูกันค่ะ

1. ฝึดการฟัง ฟังคำง่ายๆ ประกอบท่าทาง เช่น สวัสดี ขอบคุณ ขอโทษ หรือ มีภาพประกอบเป็นคำเกี่ยวกับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย สิ่งของรอบตัว สัตว์เลี้ยง โดยติวเตอร์จะพูดซ้ำ 3-5 ครั้ง ให้ผู้เรียนจดจำได้ และอาจจะมีการสอนการฟังสอดแทรกวันละ 15-20 นาที และวันแรกไม่เกิน 10 คำ เพราะถ้าสอนมากไปจะจำไม่ได้และสับสน ค่อย ๆ เพิ่มคำศัพท์ในวันต่อ ๆ ไป
2. ฝึกการพูด ให้ฝึกพูดเกี่ยวกับสิ่งใกล้ตัวผู้เรียนก่อน ได้แก่ คำทักทาย สวัสดี ขอโทษ ขอบคุณ ต่อมาให้รู้จักพูดชื่อครูและชื่อตนเอง พูดเกี่ยวกับอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น หน้า ผม ตา จมูก มือ เท้า แขน ขา และอิริยาบถต่างๆ ของร่างกาย เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน วิ่ง ต่อมาให้ผู้เรียนสามารถ เรียกชื่อวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น สมุด ดินสอ ปากกา ยางลบ ไม้บรรทัด หน้าต่าง ประตู โต๊ะ เก้าอี้ กระดาษ
3. ฝึกการอ่าน อาจฝึกอ่านได้หลายวิธี แล้วแต่ความพร้อมของผู้เรียน โดยฝึกอ่านจากตัวพยัญชนะ เริ่มจาก ก ไปจนถึง ฮ แต่ให้ติวเตอร์จะสอนอ่านวันละ 5-10 ตัว และอาจฝึกอ่านคำจากภาพ เช่น ไก่ ไข่ ขวด ควาย ระฆัง งู จนถึงนกฮูก ต่อมาฝึกอ่านประโยค และอ่านเรื่อง ตามลำดับ
4. เริ่มฝึกเขียนพยัญชนะ ก ถึง ฮ ซึ่งวิธีนี้มักนิยมกันอย่างแพร่หลาย หรืออาจลองฝึกหัดเขียนโดยเน้นเขียนตัวที่ฝึกง่ายก่อนก็ได้ หรือตัวที่เขียนคล้าย ๆ กันก่อน เพราะฝึกเขียนง่ายและเป็นมีรูปแบบใกล้เคียงกัน
5 ฝึกถาม-ตอบ คำถามง่าย ๆ ที่ใช้บ่อยและสามารถนำไปใช้ต่อไปในชีวิตประจำวันได้ด้วย

เริ่มต้นง่าย ๆ กับติวเตอร์ภาษาไทยบนแพลตฟอร์มใส่ใจ ทำให้คุณค้นหาผู้ให้บริการที่ตรงใจคุณที่สุด