ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้ ใน เชียงใหม่

ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้ ใน เชียงใหม่

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

Saijai
ยังไม่มีข้อมูลการรีวิว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้

จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีคนเฝ้าไข้ผู้ป่วยตอนอยู่โรงพยาบาล
การที่ผู้ป่วยเข้ารับรักษาโรคในโรงพยาบาลและมีการเข้ารับรักษาเป็นผู้ป่วยใน (IPD : In Patient Department) แล้วนั้น การมีคนเฝ้าไข้ผู้ป่วยตอนอยู่โรงพยาบาลนั้นถือเป็นสิ่งจำเป็น ไม่ว่าสาเหตุการเข้ารับรักษาจะเกิดขึ้นเนื่องจากโรคประจำตัว เจ็บป่วยหนักจนต้องนอนโรงพยาบาล การเข้าผ่าตัด หรือการประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น แต่ละอาการอาจมีความรุนแรงแตกต่างกันไป ผู้ป่วยบางส่วนที่ไม่ได้มีอาการเจ็บป่วยหนักหรือร้ายแรงมากอาจยังพอสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง แต่สำหรับผู้ป่วยบางคนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ไม่ว่าสาเหตุจะมาจากอาการข้างเคียงของยาที่ได้รับ หรือลักษณะความเจ็บป่วยของโรค การมีญาติหรือคนเฝ้า จะช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับผู้ป่วยได้ เช่น พยุงไปห้องน้ำ ป้อนข้าว ซื้อของให้ และแจ้งแพทย์หรือพยาบาล หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติใด ๆ เพราะพยาบาลไม่ได้เฝ้าอยู่ดูอาการผู้ป่วยตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องมีคนเฝ้าไข้ที่คอยดูแล สังเกตอาการ เพื่อที่จะได้รักษาทันท่วงที

ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีญาติ ไม่มีผู้ที่สามารถเฝ้าไข้ตอนอยู่โรงพยาบาล หรือญาติจำเป็นต้องไปทำกิจธุระบางอย่างในช่วงเวลาหนึ่ง ทางเลือกที่น่าสนใจอีกทางหนึ่งคือ จ้างพยาบาลพิเศษเฝ้าไข้ผู้ป่วยนั้นเอง โดยในโรงพยาบาลทั่วไปมีบริการทางเลือกพิเศษนี้ให้แก่ผู้ป่วยในและญาติอยู่แล้ว แต่อัตราค่าบริการค่อนข้างสูง เพราะผู้ให้บริการเป็นพยาบาลวิชาชีพ แต่เนื่องจากผู้ป่วยยังอยู่ในโรงพยาบาลและอยู่ในความดูแลของแพทย์ อาจไม่จำเป็นต้องจ้างพยาบาลวิชาชีพเสริม ตัวเลือกอีกแบบสำหรับการเฝ้าไข้ อาจเป็นบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพแข็งแรงและรักงาน อัตราค่าบริการจะถูกกว่าแบบแรก การใช้บริการทั้งสองแบบทำให้ครอบครัวของผู้ป่วยนั้นอุ่นใจว่าผู้ทำหน้าที่เฝ้าไข้และผู้ป่วยไม่ต้องอยู่ตามลำพัง
ก่อนทำการจ้างคนเฝ้าไข้ไม่ว่าจะเฝ้าที่บ้านหรือโรงพยาบาล คุณสมบัติของผู้เฝ้าไข้ถือเป็นสิ่งสำคัญ คุณสมบัติดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ก่อนเลือกใครสักคนมาเป็นคนเฝ้าไข้ ให้กับคนในครอบครัวของเรา เราควรพิจารณาคุณสมบัติต่อไปนี้

1. ตรวจสอบหลักฐานไม่ว่าจะเป็นบัตรประชาชนหรือหลักฐานการผ่านงานต่าง ๆ เพื่อความมั่นใจว่าบุคคลที่เราจะจ้างมาเป็นคนเฝ้าไข้ไม่ว่าจะที่บ้านของเราเองหรือที่โรงพยาบาลมีความน่าเชื่อถือและไม่มีประวัติอาชญากรรมใด ๆ
2. ควรเป็นผู้ที่ไม่เสพสารเสพติดหรือของมึนเมาต่าง ๆ เพราะงานเฝ้าไข้นั้น นอกจากต้องคอยดูแลผู้ป่วยแล้วยังต้องคอยสังเกตอาการของผู้ป่วยอยู่ตลอดเวลา หากเป็นผู้ที่ไม่มีสติสัมปชัญญะครบถ้วนแล้วย่อมทำงานในลักษณะนี้ไม่ได้อย่างแน่นอน
3. เป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะและมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีความอดทนสูงและรักในงานบริการ เพราะต้องดูแลผู้ป่วยซึ่งอาจจะต้องใช้ความอดทนเป็นอย่างมาก
4. ควรผ่านการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น
5. เป็นคนรักสะอาด สามารถช่วยอาบน้ำเช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า เปลี่ยนซักผ้าปูเตียง ปลอกหมอน ผ้าห่ม ให้คนไข้ได้
6. ควรเป็นผู้มีประสบการณ์ในการเฝ้าไข้มาก่อน เพื่อความคล่องตัวในการทำงานและผู้ว่าจ้างไม่ต้องเหนื่อยในการสอนงานมาก
7. เป็นบุคคลที่รู้จักการดูแลเอาใจใส่คนไข้ อารมณ์ดี ใจเย็น พูดคุยกับคนไข้ได้ดี และคอยหากิจกรรมต่าง ๆ ให้คนไข้ได้ทำอีกทั้งยังต้องช่วยสังเกตอาการเจ็บป่วยที่ผิดปกติเบื้องต้นของคนไข้ได้ โดยอาชีพนี้จะไม่เหมาะกับคนใจร้อน
สิ่งที่กวนใจคุณเมื่อจำเป็นต้องจ้างคนเฝ้าไข้ แนวทางแก้ไขมีอย่างไรบ้าง
หากคุณจำเป็นต้องจ้างผู้ดูแลเพื่อมาดูแลผู้ป่วยที่กำลังอยู่ในระยะพักฟื้นที่บ้านนั้น แน่นอนว่าอาจมีสิ่งที่คอยกวนใจจนทำให้เป็นกังวลอยู่ไม่น้อย ซึ่งปัญหาโดยส่วนใหญ่ที่จะทำให้คุณต้องคอยพะวงอยู่ตลอดเวลาคือการที่ต้องคอยกังวลว่าผู้ดูแลจะมีความรับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยที่เปรียบเสมือนคนในครอบครัวที่คุณรักได้ดีหรือไม่นั่นเอง

แนวทางในการแก้ไขคือการเลือกพิจารณาเลือกผู้ดูแลจากคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เหมาะสมและตรงต่อความต้องการของคุณ จึงควรพิจารณาเลือกผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมาไม่ต่ำกว่า 3 ปี หรือเป็นผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมด้านการดูแลปฐมพยาบาลผู้ป่วยทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติจะดีที่สุด เพราะถือเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่จะช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าผู้ดูแลนั้นมีความมืออาชีพจริง ๆ และสามารถอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับผู้ป่วยแทนเราได้นั่นเอง

อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกกังวลเป็นอย่างมาก คงหนีไม่พ้นเรื่องความปลอดภัยทั้งของตัวผู้ป่วยเองและทรัพย์สินต่าง ๆ ภายในบ้าน วิธีแก้ปัญหาคือควรตรวจสอบประวัติของผู้ดูแลให้ละเอียดก่อนทำการจ้างนั่นเอง โดยสามารถตรวจสอบจากการค้นหารีวิวเพิ่มเติมจากผู้จ้างก่อนหน้านี้ ที่สำคัญต้องมั่นใจว่าผู้ดูแลที่จะจ้างมานั้นไม่เคยมีประวัติการกระทำผิดทางอาชญากรรมใด ๆ มาก่อนด้วย

อีกหนึ่งทางที่สามารถคลายกังวลให้คุณได้คือการนัดสัมภาษณ์ก่อนการจ้างงานเพื่อที่คุณจะได้ทำความรู้จักนิสัยใจคอของผู้ดูแล อีกทั้งคุณสามารถสังเกตวิธีการตอบคำถามของผู้ดูแลเพื่อประกอบการตัดสินใจของคุณได้ เพราะฉะนั้นหากคุณจะเลือกใครสักคนมาดูแลคนใกล้ชิด ควรตรวจสอบทุกอย่างให้ละเอียดเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายภาคหน้า และเพื่อคุณจะได้ผู้ดูแลที่ดีที่สุดมาดูแลคนที่คุณรัก
ผู้ป่วยด้วยโรคประเภทใดที่ผู้ให้บริการบน Platform ของใส่ใจไม่รับดูแล
บน Platform ของใส่ใจ มีผู้ให้บริการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการป่วยต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดรวมไปถึงการดูแลเรื่องการช่วยทำกิจวัตรและอาหารการกินที่จัดเตรียมและปฏิบัติความคำแนะนำของแพทย์หรือความต้องการของตัวผู้จ้างอย่างเคร่งครัด ยกเว้นผู้ป่วยที่มีอาการเสี่ยงหรือมีอาการเป็นโรคติดต่อที่เสี่ยงมีอันตรายถึงแก่ชีวิต ดังต่อไปนี้

1. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นตระกูลของไวรัสที่ก่อให้อาการป่วยตั้งแต่โรคไข้หวัดธรรมดาไปจนถึงโรคที่มีความรุนแรงมาก เช่น โรคระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS-CoV) และโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS-CoV) เป็นต้น
2. โรคไข้ทรพิษ ไข้ทรพิษหรือฝีดาษเป็นโรคติดต่อร้ายแรง มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว ไข้สูง ปวดศีรษะ ชัก และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน มีอัตราการเสียชีวิต 30% เกิดจากเชื้อไวรัส แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ไข้ทรพิษชนิดร้ายแรง เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา เมเจอร์” และไข้ทรพิษชนิดอ่อน ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าชนิดแรก เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา ไมเนอร์”
3. โรควัณโรค เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีหลายชนิด เชื้อที่พบบ่อยที่สุดและเป็นปัญหาในประเทศไทย คือ เชื้อ Mycobacterium tuberculosis วัณโรคเกิดได้ในทุกอวัยวะของร่างกาย ส่วนใหญ่มักเกิดที่ปอดพบร้อยละ 80 ส่วนวัณโรคนอกปอดเป็นผลมาจากการแพร่กระจายของการติดเชื้อไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้แก่ เยื่อหุ้มปอด ต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

ผู้ให้บริการดูแลผู้ป่วยขอสงวนสิทธิ์ในการดูแลโรคข้างต้น รวมไปถึงโรคติดต่ออันตราย ทั้ง 12 โรคตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขวันที่ 19 พฤษภาคม 2559 คือ กาฬโรค ไข้ทรพิษ ไข้เลือดออกไครเมียนคองโก ไข้เวสต์ไนล์ ไข้เหลือง ไข้ลาสซา โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา โรคติดเชื้อไวรัสเฮนดรา โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส) โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (เมอร์ส)อีกด้วย