ดูแลเด็ก ใน ดินแดง, กรุงเทพมหานคร

ดูแลเด็ก ใน ดินแดง, กรุงเทพมหานคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ณัฐมน ถาเป็นบุญ
ณัฐมน ถาเป็นบุญ
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 28 ปี

รู้หน้าที่ตัวเอง รับผิดชอบในงานตัวเองได้ดี เป็นคนตลก ร่าเริง สดใส ชอบเล่นกับเด็กๆ ขยันทำงาน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้

แสดงเพิ่มเติม
ญาณิศา  เฟื่องฟู
ญาณิศา เฟื่องฟู
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี

สวัสดีค่ะชื่อแพ็คนะคะเป็นคนซื่อสัตย์ค่ะเต็มที่กับงานสามารถแยกแยะเรื่องส่วนตัวกับการทำงานได้มีความรับผิดชอบ ชอบเล่นกับเด็กรักเด็กชอบทำอาหารขับรถได้ค่ะเรียนจบมหาวิทยาลัยรามคำแหงคณะรัฐศาสตร์

การทำงาน ทำงานกับเด็กมาตลอดชีวิตเลยถนัดในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเด็กทำแล้วมีความสุขค่ะอยากช่วยปลูกฝั่งเด็กๆทุกคนให้โตมาเเบบมีศักยภาพ

แสดงเพิ่มเติม

ใจเย็น มีความรู้ด้านศิลปะ ช่วยเสิรมสร้างพัฒนาเด็ก

แสดงเพิ่มเติม
อคัมย์สิริ ศศิชลพินทุ์
อคัมย์สิริ ศศิชลพินทุ์
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 41 ปี
ภาวิณี  พรมสี
ภาวิณี พรมสี
Saijai ประสบการณ์ 3-4 ปี
Saijai อายุ 48 ปี

เป็นคนมีความรับผิดชอบและต้องใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย มีประสบการณ์ในการดูแลเด็กเล็ก อายุ 1 ปี 5 เดื่อน และ 2 ปี ได้รับวัคซีน 2 เข็มแล้วค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
ณัฐิยาภรณ์ ต้นคำ
ณัฐิยาภรณ์ ต้นคำ
Saijai อายุ 48 ปี

เคยทำงานประจำกับบริษัทเอกชน ตำแหน่งฝ่ายบัญชี มีครอบครัวแล้ว ปัจจุบันมี ลูก 2 คน อายุ 12 ปี กับ 11 ปี นิสัยส่วนตัวใจเย็น

แสดงเพิ่มเติม
นรีรัตน์  ฝอยทอง
นรีรัตน์ ฝอยทอง
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

สนใจงานพี่เลี้ยงเด็กค่ะ มีประสบการณ์บ้านนายจ้างมา8ปี เลี้ยงได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงเด็กโต ตอนนี้ว่างงานอยู่ค่ะ กำลังมองหางาน สามารถรับฟังและเรียนรุ้สิ่งใหม่ๆ ได้ค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
บุศรินทร์ พลอยศุภผล
บุศรินทร์ พลอยศุภผล
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี
Saijai อายุ 36 ปี
วริวรรณ อยู่ไพร
วริวรรณ อยู่ไพร
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 36 ปี
ณิชชา อภิปาลกุล
ณิชชา อภิปาลกุล
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

ทำงานบ้านนายเลี้ยงเด็กที่ไม่ใช่ลูกมามากกว่า 5 ปี สามารถขับรถได้ ดูแลเด็กได้ดี ใจเย็น ทำอาหารได้ สามารถทำงานตามที่นายสั่งได้

แสดงเพิ่มเติม
พิมพ์พิชญา แสนลุน
พิมพ์พิชญา แสนลุน
Saijai ประสบการณ์ 3-4 ปี
Saijai อายุ 19 ปี

ยิ้มเก่ง มีมารยาท รักเด็ก

แสดงเพิ่มเติม
Beya Ruangdech
Beya Ruangdech
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี

สามารถเล่นกับเด็ก ๆ เสริมพัฒนาการทุก ๆ ด้าน

แสดงเพิ่มเติม
วิมลทิพย์  โถสโมสร
วิมลทิพย์ โถสโมสร
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี

กำลังศีกษาหลักสูตร NA ค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
เจนจิรา เจริญลาภ
เจนจิรา เจริญลาภ
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

ดิฉันชื่อเจนค่ะ รักเด็ก มีความอดทนสูง มีบุตรมาแล้วเข้าใจการดูแลเด็กค่ะ สามารถพาเด็กทำกิจกรรมที่มีประโยชน์กับเด็กค่ะ ได้รับวัคซีนครบสองเข็มแล้วค่ะ ฝากคุณลูกค้าพิจารณาด้วยนะคะ😊

แสดงเพิ่มเติม
มัณฑนา ศรีโชติ
มัณฑนา ศรีโชติ
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี
Saijai อายุ 49 ปี

ใจเย็น รักเด็ก พร้อมเรียนรู้ปรับตัว

แสดงเพิ่มเติม
กัญญาภัทร บุตรพรม
กัญญาภัทร บุตรพรม
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

สวัสดีค่ะ ชือ ภัทรค่ะ อายุ 52 ถนัดดูแลเด็กแรกคลอด คุณแม่หลังคลอดค่ะ นวดเด็กแรกเล็กได้ ช้วยให้เด็ก อารมณ์ดีไม่งอแง ช่วยระบบขับถ่าย เลือดลมไหลเวียนดี ร่างกายแข็งแรง.นวดประคบสมุนไพร คุณแม่หลังคลอดช่วยในการอยู่ไฟสมัยโบราณ ทำให้มดลูกเข้าอู่ไว้ ร่างกายแข็งแรง รับงานได้ทั้งในและต่างประเทศค่ะ รับดูแลทั้งคนไทยและต่างชาติ

แสดงเพิ่มเติม
อารตี อับดลราหมาน
อารตี อับดลราหมาน
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 26 ปี
อังคณา ภักดิ์ชัยภูมิ
อังคณา ภักดิ์ชัยภูมิ

อดทน มีความตั้งใจในการทำงาน ขยัน

แสดงเพิ่มเติม
เบญญาภา โฉมแพ
เบญญาภา โฉมแพ
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี

สวัสดีคะ ชื่อเบญ จบป.ตรี มีประสบการณ์ครูพี่เลี้ยงเนอสซารี่ รร.นานาชาติ ครูพี่เลี้ยงตามบ้าน ไม่มีลูกคะ อยากมีลูกเลยมารับเลี้ยงเด็กแทน

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

ลาคลอดได้แค่ 3 เดือน ค่ะ ต้องกลับไปทำงานต่อ จะฝากลูกไว้กับยายก็กลัวแกจะดูไม่ไหว เลยลองหาพี่เลี้ยงจากเว็บใส่ใจดู ตอนแรกก็กังวลอยู่เหมือนกันค่ะ ไม่กล้าทิ้งลูกไว้กับพี่เลี้ยง แต่ก็วางใจอย่างนึงว่าพี่เลี้ยงมีประสบการณ์ ตอนนี้ทุกอย่างลงตัว โอเคมาก ๆ ค่ะ
Saijai
สุชาดา มิ่งมงคล
3 ปีที่แล้ว
ดิฉันเป็นคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวค่ะ ทำงานทุกวัน ไม่มีเวลาดูแลลูก บางครั้งต้องเอาไปฝากญาติ ๆ แต่ตอนนี้เลยตัดสินใจจ้างพี่เลี้ยงเด็กของทางใส่ใจ ตอนแรกก็ไม่รู้เลยค่ะว่ามีขั้นตอนในการจ้างพี่เลี้ยงเด็กอย่างไรบ้าง เลยติดต่อเบอร์ของทางใส่ใจไป อยากจะบอกว่าประทับใจการให้บริการมาก ๆ ค่ะ ทางใส่ใจให้ข้อมูลทุกอย่างครบถ้วนตามที่เราต้องการอยากทราบ ประทับใจจริง ๆ ค่ะ
Saijai
ปารีณา ภักดีดำรงค์ศักดิ์
4 ปีที่แล้ว
บ้านอยู่แถว สุขุมวิท71 ลองใช้เว็บใส่ใจครั้งแรก เพราะเพื่อนๆ แนะนำมา อยากได้พี่เลี้ยงเด็ก มองหามาหลายที่ ที่นี่รายละเอียดครบ ราคาชัดเจน โทรปรึกษาพนักงานก็อธิบายเข้าใจง่ายมาก สะดวกสบาย ง่ายกว่า search หาเองใน Google ชอบมากๆ ค่ะ
Saijai
นงคราญ แซ่ตั้ง
4 ปีที่แล้ว
เราทำงานนอกบ้าน เลยหาพี่เลี้ยงเด็กมาดูแลน้องที่บ้าน ค้นหาข้อมูลดูเวปนี้ให้รายละเอียดพี่เลี้ยงน่าสนใจ ราคาเรารับได้ เราเลยให้น้องมาทดลองงานก่อนเราไปทำงาน น้องมีประสบการณ์มา เลยปรับตัวไม่ยาก เวลาเราอยู่น้องจะช่วยหยิบจับของทำโน่นทำนี่ไป ประทับใจคะ สองเดือนแล้วน้องทำงานดี มีระเบียบเรียบร้อย คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป เราไว้ใจให้น้องคนนี้ดูแล
Saijai
แม่น้องกัญ
4 ปีที่แล้ว
เป็นครั้งแรกที่เลือกใช้บริการพี่เลี้ยงเด็กในเว็บใส่ใจ ตอนแรกคิดว่าจะยุ่งยากในจอง แต่พอเข้าไปในเว็บไซต์ เว็บไซต์ใช้งานง่ายมาก ๆ มีความสะดวกในการใช้งาน อีกทั้งยังมี Guideline ให้อีกด้วย และขั้นตอนการนัดสัมภาษณ์พี่เลี้ยงเด็กก็ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิดเพราะมีตัวเลือกให้เลือกด้วยว่าเราสะดวกสัมภาษณ์ทางไหน เหมาะแก่คนที่ไม่มีเวลาอย่างเราจริง ๆ
Saijai
สุริยา ดำรงรักษ์
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ดูแลเด็ก

พี่เลี้ยงเด็กส่วนตัวหรือเนอสเซอรี่ (Nursery) อะไรคือคำตอบสำหรับคุณพ่อคุณแม่ยุคนี้
ข้อดีของการให้พี่เลี้ยงดูแลเด็กที่บ้านของคุณเอง

1. ลูกน้อยของคุณได้รับการดูแลจากพี่เลี้ยงแบบใกล้ชิด ทำให้เด็กรู้สึกได้ถึงความเอาใจใส่ และมีพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดี
2. มีความยืดหยุ่นในการทำกิจวัตรประจำวันเพราะเด็กไม่ต้อง กิน นอน หรือ เล่นตามตารางเหมือนอยู่ในศูนย์รับเลี้ยงเด็กหรือเนอสเซอรี่ (Nursery)
3. พี่เลี้ยงเด็กสามารถปรับเวลาการทำงานให้สอดคล้องกับเวลาทำงานและวันหยุดของคุณพ่อคุณแม่
4. คุณพ่อคุณแม่มีเวลาอยู่กับลูกมากขึ้นเพราะไม่ต้องเผื่อเวลาในการรับส่ง ก่อนและหลังเลิกงาน
5. เด็กได้รับการดูแลในบรรยากาศที่คุ้นเคยและรู้สึกปลอดภัย
6. คุณพ่อคุณแม่ประหยัดเวลาในการเดินทางรับส่ง หมดปัญหาเรื่องรถติดและมลภาวะบนท้องถนน
7. คุณพ่อคุณแม่ประหยัดเวลาในการเตรียมตัวหรือจัดเตรียมของใช้ให้ลูก เช่น ขวดนม เสื้อผ้า หรือแพมเพิส
8. ลดความเสี่ยงของโรคติดต่อ โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ภูมิต้านทานยังน้อยจะเจ็บป่วยได้ง่าย หากต้องอยู่ปะปนกับเด็ก ๆ อื่น
9. มีคนอยู่บ้านตลอดเวลาในขณะที่คุณพ่อคุณแม่ออกไปทำงาน

ข้อดีของการเข้าเนอสเซอรี่ (Nursery)

1. ฝึกทักษะการเข้าสังคมเพราะเด็กต้องอยู่ร่วมกับเด็กคนอื่น ๆ และครูพี่เลี้ยง
2. ค่าใช้จ่ายไม่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับการจ้างพี่เลี้ยงส่วนตัว
3. เนอสเซอรี่มีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อให้เด็กฝึกทักษะผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ
ทักษะสำคัญที่พี่เลี้ยงเด็กควรมีคืออะไร
6 ทักษะสำคัญที่พี่เลี้ยงเด็กควรมี

1. ความรู้ด้านการส่งเสริมพัฒนาการ การส่งเสริมพัฒนาการทำได้ทั้งผ่านการเล่นและการทำกิจวัตรประจำวัน พี่เลี้ยงเด็กที่ดีควรหากิจกรรมเพื่อให้เด็กมีส่วนร่วมและช่วยเหลือตัวเองได้ตามวัยที่เหมาะสม
2. ความอดทนและใจรักเด็ก เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งลักษณะนิสัย อารมณ์และการแสดงออก บางคนว่านอนสอนง่าย บางคนชอบเล่นซนทั้งวัน หรือบางคนงอแง พี่เลี้ยงเด็กที่ดีควรมีใจรักเด็กเป็นพื้นฐาน พร้อมทำความเข้าใจและมีความอดทน พยายามหาวิธีที่ทำให้เด็กรู้สึกวางใจ ปลอดภัย และยอมเชื่อฟังพี่เลี้ยงในที่สุด
3. ความรู้ด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและรู้เบอร์โทรศัพท์ในกรณีฉุกเฉิน ถ้าเด็กหกล้มมีแผลถลอกพี่เลี้ยงเด็กต้องรู้ว่าจะจัดการกับแผลถลอกอย่างไร ในกรณีฉุกเฉินพี่เลี้ยงเด็กต้องสามารถติดต่อหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือได้
4. ทักษะการสื่อสาร เด็กมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ พี่เลี้ยงเด็กต้องเข้าใจการสื่อสารกับเด็ก เช่น เข้าใจภาษากายของทารก การสื่อสารของเด็กเล็ก สำหรับเด็กที่สามารถสื่อสารด้วยทำพูดได้แล้ว พี่เลี้ยงเด็กต้องพูดคุยเพื่อให้เด็กเชื่อฟังโดยไม่ใช้การบังคับและให้เด็กรู้สึกสบายใจ
5. ทักษะการแก้ปัญหา หากไม่ใช่เรื่องที่ร้ายแรงพี่เลี้ยงเด็กต้องรู้วิธีแก้ปัญหาหรือสถานการณ์ตรงหน้าตามสมควรโดยไม่จำเป็นต้องรายงานหรือรอให้คุณพ่อคุณแม่ตัดสินใจทุกครั้ง
6. ความคิดสร้างสรรค์ คงไม่ดีแน่หากพี่เลี้ยงเด็กดูแลเด็กด้วยการให้เด็กดูสมาร์ทโฟนเป็นชั่วโมง พี่เลี้ยงเด็กที่ดีควรมีความคิดสร้างสรรค์เล่นกับเด็กเพื่อให้เด็กเพลิดเพลินได้นานหลายชั่วโมงและให้เด็กได้พักผ่อนตามเวลา

ทั้งหมดนี้คือคุณสมบัติและทักษะที่ดีที่คุณพ่อและคุณแม่ควรมองหาในตัวพี่เลี้ยงเด็กที่คุณเลือกมาเพื่อดูแลลูกน้อยของคุณค่ะ
อะไรที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่คลายความกังวลเมื่อต้องปล่อยให้ลูก ๆ อยู่กับพี่เลี้ยงตามลำพัง
เมื่อคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องจ้างพี่เลี้ยงมาดูแลลูก ๆ ของคุณ ความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือเป็นหัวใจสำคัญในการตัดสินใจ คุณพ่อคุณแม่มีวิธีการใดบ้างที่จะหาพี่เลี้ยงที่วางใจได้ ใส่ใจมีวิธีการที่ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รู้จักตัวตนของพี่เลี้ยงเด็กมากขึ้น

1. ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีหากครอบครัวหรือเพื่อนของคุณพ่อคุณแม่เป็นผู้แนะนำพี่เลี้ยงเด็กที่พวกเขารู้จัก อย่างน้อยก็มีคนรับรองพวกเขาได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือต้องทำการสัมภาษณ์พี่เลี้ยงเด็กและตรวจสอบประวัติของคุณเองเพื่อให้แน่ใจว่าเชื่อถือได้มากที่สุด
2. สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มองหาพี่เลี้ยงจากสื่อออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดีย (Social Media) เช่น เฟสบุ๊ค หรือไลน์ มองหาพี่เลี้ยงเด็กที่มีรีวิวจากผู้ที่เคยใช้บริการก่อนหน้า ใช้เวลาอ่านและศึกษารีวิวเหล่านั้น
3. เชื่อสัญชาตญาณของตัวเอง เมื่อคุณพ่อคุณแม่มีโอกาสสัมภาษณ์พี่เลี้ยงเด็กก่อนเริ่มงาน หากมีสัญญาณที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกไม่สบายใจ เช่น พี่เลี้ยงเด็กดูเป็นคนไม่กระตือรือร้น หรือไม่ยิ้มแย้มแจ่มใส จงเชื่อสัญชาตญาณของตัวเองที่ชี้ว่าคนคนนี้ไม่เหมาะสมกับงาน
4. ตรวจสอบประวัติ คุณพ่อคุณแม่อาจร้องขอให้พี่เลี้ยงตรวจสอบประวัติอาชญากรรมกับกองทะเบียนประวัติอาชญากร( http://www.criminal.police.go.th/ ) เพื่อให้แน่ใจว่าพี่เลี้ยงเด็กไม่มีประวัติกระทำผิดกฎหมายทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้เพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือและช่วยในการตัดสินใจ
ข้อตกลงสำคัญที่พ่อแม่ควรตกลงกับพี่เลี้ยงเด็กก่อนเริ่มงานมีอะไรบ้าง?
สัญญาหรือข้อตกลงในการทำงานเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่และพี่เลี้ยงเด็กต้องตกลงร่วมกันเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันในขอบเขตการทำงานและค่าตอบแทน การทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรอาจจะไม่จำเป็นเสมอไป แต่การร่างหรือการบันทึกรายการช่วยให้ทั้งสองฝ่ายจดจำรายละเอียดต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น มีอะไรบ้างที่คุณพ่อคุณแม่และพี่เลี้ยงเด็กควรตกลงกันก่อนเริ่มงาน

1. วันเริ่มงาน ควรมีวันเริ่มงานให้ชัดเจนเพื่อประโยชน์และไม่เป็นการเสียเวลาของทั้งคุณพ่อคุณแม่และพี่เลี้ยงเด็ก
2. ชั่วโมงการทำงานและวันหยุด ตกลงเรื่องเวลาทำงาน จำนวนชั่วโมงการทำงานในแต่ละวันและวันหยุด เพื่อให้ตารางการทำงานของพี่เลี้ยงเด็กสอดคล้องกับเวลาทำงานของพ่อคุณแม่มากที่สุด และทั้งสองฝ่ายควรรักษาเวลา
3. ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบ กำหนดความรับผิดชอบของพี่เลี้ยงเด็กให้ชัดเจน
4. ค่าแรงและกำหนดการจ่าย ค่าแรงของพี่เลี้ยงเด็กอาจขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงาน เช่นพี่เลี้ยงเด็กรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์และรายเดือน ซึ่งกำหนดการจ่ายเงินอาจจะแตกต่างกันไปตามลักษณะการทำงานนี้ด้วย
5. ค่าแรงในกรณีทำงานล่วงเวลา หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้พี่เลี้ยงเด็กทำงานล่วงเวลา ควรสอบถามความสมัครใจของพี่เลี้ยงและตกลงกันให้ชัดเจนเรื่องค่าแรง
6. การโพสต์รูปหรือข้อความเกี่ยวกับเด็กลงสื่อออนไลน์ (Social Medias) คุณพ่อคุณแม่คงไม่อยากให้มีรูปภาพ หรือข้อความเกี่ยวกับลูก ๆ ถูกโพสต์ลงในโซเชียลมีเดีย เช่น เฟสบุ๊ค หรืออินสตาแกรม โดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรทำความตกลงกับพี่เลี้ยงเด็กในเรื่องนี้ด้วย
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่คุณพ่อและคุณแม่ควรพูดคุยตกลงกับพี่เลี้ยงเด็กให้ชัดเจนก่อนเริ่มงาน

ชุมชนดินแดง

เมื่อชีวิตดำเนินมาถึงวัยหนึ่ง ส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นคงในการใช้ชีวิต คือการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง ทั้งเพื่อความเป็นส่วนตัว เพื่อสร้างครอบครัวและเพื่อสร้างฐานะ และบ้านยังเป็นที่ที่สร้างความมั่นคงทางอารมณ์ ทำให้เรารู้สึกปลอดภัย การจะมีบ้านสักหลัง หรือคอนโดสักห้องมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเป็นตัวแปรในการเลือกที่อยู่อาศัย หนึ่งในปัจจัยหลัก คืองบประมาณหรือรายได้ของผู้ซื้อ ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าเราจะมีบ้านแบบใด บ้านตั้งอยู่ในชุมชนแบบใด หลายคนยอมจ่ายแพงกว่าเพื่อซื้อความสบายใจ ว่าบ้านที่ตนเลือกนั้นตั้งอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ในที่นี้หมายถึงอยู่ในพื้นที่ที่มีความปลอดภัย และมีเพื่อนบ้านที่น่ารัก แต่อีกหลายคนอาจไม่สารถเลือกได้โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งทำงานและมีรายได้ไม่มากนัก อาจต้องจำยอมอยู่ในสภาพแวดล้อมหรือชุมชนที่ไม่สะดวกและไม่ปลอดภัยนัก

หากพูดถึงชุมชนที่เป็นที่อยู่อาศัยของผู้ที่เข้ามาทำมาหากินในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ยุค 60 ปีก่อน มีชุมชนหนึ่งซึ่งตั้งอยู่กลางกรุงเทพมหานครที่ชื่อว่า “ชุมชนดินแดง” พื้นที่บริเวณนี้แต่เดิมเคยเป็นบริเวณที่ทิ้งขยะของกรุงเทพมหานคร แต่มีผู้ซึ่งหาโอกาสของชีวิต เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นชุมชนแออัด และเมื่อกรุงเทพมหานครต้องการใช้พื้นที่จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่การสร้างที่อยู่อาศัยของผู้ที่มีรายได้น้อยราวปี พ.ศ. 2503 รัฐบาลจึงมีโครงการสร้างแฟลต ให้เช่า 5,000 หน่วย ในชื่อ “โครงการอาคารสงเคราะห์ดินแดง” รูปแบบการก่อสร้างอาคาร สร้างเป็นอาคารแฟลตสูง 5 ชั้น อยู่อาศัย 4 ชั้น และชั้นล่างสุดเป็นใต้ถุนโล่ง มีบันไดสองข้างอาคาร มีทางเดินร่วม โดยมีหน่วยพักอาศัยอยู่ด้านเดียว (Single Loaded Corridor) ซึ่งแต่ละห้องมีพื้นที่ใช้สอย 38-39 ตารางเมตร มีส่วนอเนกประสงค์ ครัว ห้องน้ำ ระเบียง มีช่องสำหรับเปิดทิ้งขยะลงปล่อง 1 ปล่อง ต่อ 2 หน่วยห้องพัก สามารถรองรับผู้มีรายได้ครัวเรือน ไม่เกิน 1,500 บาท/เดือน จ่ายค่าเช่าเพียง 100-125 บาท/เดือน เพื่อรองรับการอพยพของผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัดเดิมบนพื้นที่ทิ้งขยะของกรุงเทพมหานคร และกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ต้องการที่พักอาศัยในช่วงเวลานั้นต่อมาในปี พ.ศ. 2516 การเคหะแห่งชาติได้เข้ามาดูแลและรับโอนแฟลตดินแดงจากกรมประชาสงเคราะห์ และได้สร้างที่พักอาศัยเพิ่มขึ้นรวมเป็น 94 อาคาร โดยมีผู้อยู่อาศัยมากกว่า 36,000 คน วันเวลาผ่านไปจวบจนปัจจุบันแฟลตดินแดงรุ่นแรก นับเป็นอาคารที่มีอายุการใช้งานอย่างยาวนานถึง 50 ปี เปรียบเทียบเป็นมนุษย์ก็คงอยู่ในช่วงอายุที่รอวันร่วงโรย 50 ปีผ่านมาสภาพอาคารและโครงสร้างทรุดโทรม เป็นอันตรายต่อผู้พักอาศัย

ด้วยความห่วงใยในชีวิตและทรัพย์สินของคนที่อยู่อาศัยในแฟลตดินแดง ทางการเคหะแห่งชาติจึงได้ว่าจ้าง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) เข้าศึกษาตรวจสอบสภาพความแข็งแรงของอาคารในเคหะชุมชนดินแดงทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2546 และปี พ.ศ. 2550 โดยจากการตรวจสอบพบว่า ร้อยละ 60 ของอาคารทั้งหมด มีสภาพเก่าทรุดโทรม และชำรุดเสียหายอย่างรุนแรง โครงการปรับปรุงฟื้นฟูชุมชนดินแดงดำเนินงานผ่านมาถึง 5 รัฐบาล รวมระยะเวลามากกว่า 16 ปีไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งในการสร้างความเข้าใจแก่ผู้อาศัย คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ลงมติว่าเห็นชอบในหลักการแผนแม่บทโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง พ.ศ. 2559 – 2567 ซึ่งอนาคตชุมชนชาวดินแดงก็จะได้ที่อยู่ใหม่ที่มั่นคงในเร็ววันนี้



วิธีจัดการกับพฤติกรรมก้าวร้าวของลูก

พ่อแม่ควรให้ความสำคัญและให้เด็กได้เรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ได้เหมาะสมตามวัย เมื่อเด็กมีอารมณ์ฉุนเฉียว โกรธ ไม่พอใจ หรือ และอ่อนไหวกับสิ่งเร้าต่างๆ เด็กบางคนใช้เวลาในการควบคุมตนเองนานกว่าคนอื่น แล้วคุณจะทราบได้อย่างไรว่าพฤติกรรมก้าวร้าวหรือรุนแรงของลูก ไม่ได้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของช่วงการเรียนรู้ และคุณจะช่วยอะไรได้บ้าง

ก่อนอื่นเรามาดูว่า เด็กส่วนใหญ่แสดงท่าทางแบบนี้หรือไม่

การแสดงออกหรือพฤติกรรมของเด็ก ขึ้นอยู่กับวัยเป็นสำคัญ นักจิตวิทยาเด็กกล่าวว่า "เราจะไม่เห็นพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กวัยหัดเดิน” เนื่องจากเด็กวัยนี้ยังไม่มีทักษะในการสื่อสารด้วยภาษาพูด จึงแสดงออกทางกายมากกว่า ตัวอย่างเช่น การผลักเพื่อนบนสนามเด็กเล่นอาจถือเป็นเรื่องปกติ เราไม่จำเป็นต้องเรียกว่าความก้าวร้าว เว้นแต่ว่าเด็กจะแสดงออกอย่างก้าวร้าวและรุนแรง

คุณรู้จักความก้าวร้าวที่แท้จริงได้อย่างไร

เมื่อถึงวัยหนึ่งที่เด็กโตพอที่จะมีทักษะทางคำพูดในการสื่อสารความรู้สึกของตน ประมาณอายุ 7 ขวบ การแสดงอารมณ์ก้าวร้าวทางกายก็จะลดลง หากไม่เป็นเช่นนั้น ก็ถึงเวลาที่ต้องกังวล

สัญญาณเตือนที่ไม่ควรละเลย

หากเด็กมีพฤติกรรม เช่นทำลายข้าวของ ตั้งใจก่อกวนหรือสร้างความให้กับคนรอบข้าง สิ่งเหล่านี้อาจมีสาเหตุมาจาก อาการสมาธิสั้น ความวิตกกังวล ความบกพร่องทางการเรียนรู้ และความหมกมุ่น จนกลายเป็นพฤติกรรมก้าวร้าว และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด พ่อแม่ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแต่เนิ่นๆ

เริ่มต้นด้วยการปรึกษากับกุมารแพทย์ และหากจำเป็นแพทย์จะส่งต่อให้ไปหาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อวินิจฉัยและรักษาปัญหาที่อาจก่อให้เกิดความก้าวร้าวได้

พ่อแม่จะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยลูก

กลยุทธ์เหล่านี้เพื่อช่วยให้ลูกของคุณควบคุมความก้าวร้าวของเขาหรือเธอให้อยู่ในความสงบ “เมื่อเด็กแสดงอารมณ์ออกมามาก และพ่อแม่ตอบสนองด้วยอารมณ์ที่มากขึ้น ก็จะเพิ่มความก้าวร้าวของเด็กได้” ให้พยายามจำลองการควบคุมอารมณ์สำหรับบุตรหลานของคุณแทน อย่ายอมแพ้ต่อความโกรธเคืองหรือพฤติกรรมก้าวร้าว ตัวอย่างเช่น เวลาไปซื้อของตามห้างแล้วลูกงอแง ร้องไห้เสียงดัง เพราะอยากได้ของเล่น พ่อแม่ต้องไม่ยอมซื้อให้ เพื่อเป็นการบอกลูกว่าหากลูกทำตัวไม่น่ารัก จะไม่ได้ของที่ต้องการ ในทางตรงกันข้ามพ่อแม่ควรกล่าวชมเมื่อลูกทำตัวน่ารัก และควรสอนให้เด็กรู้จักชื่นชมและขอบคุณเมื่อได้รับการปฏิบัติที่ดีจากผู้อื่น

ช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะแสดงออกทางอารมณ์ด้วยการใช้คำพูดแทนการแสดงทางพฤติกรรม เช่น เมื่อเด็กแสดงอาการไม่พอใจ พ่อแม่อาจพูดว่า “แม่รู้เลยว่าหนูกำลังโกรธมาก” ซึ่งการทำแบบนี้จะเป็นการกระตุ้นให้เด็กพูดออกว่า “โกรธ” แทนการแสดงท่าทางฉุนเฉียวที่อาจนำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าวได้



วิธีหยุดบุตรหลานของคุณจากความรุนแรง

เราจะป้องกันไม่ให้เด็กใช้ความรุนแรงได้อย่างไร ต่อไปนี้คือสิ่งที่ผู้ปกครองผู้ซึ่งเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อเด็ก ควรทำเพื่อหยุดการใช้ความรุนแรงในเด็ก และวัยรุ่น

เป็นแบบอย่างที่ดี การวิจัยพบว่าเด็ก ๆ ต้องการผู้ใหญ่ที่เอาใจใส่อย่างน้อยห้าคนเพื่อช่วยให้พวกเขาเติบโตขึ้นอย่างมีความสุขและมีสุขภาพดี ไม่ใช่แค่พ่อแม่เท่านั้นที่มีผลกระทบต่อลูก ปู่ย่า ตายาย ป้า น้าอา ครูที่ปรึกษาและเพื่อนในครอบครัวสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก ๆ ของเราได้ โดยการสร้างสภาพแวดล้อมรอบตัวพวกเขาที่ส่งเสริมให้พวกเขาเป็นคนที่ใจดี เห็นอกเห็นใจ และมีจริยธรรม

มีมโนธรรม คือสอนให้เด็กรู้จักผิดชอบชั่วดี ซึ่งสามารถทำได้โดย

1) ปรับตัวให้เข้ากับพวกเขา

2) ไม่ใช้ความรุนแรงในครอบครัว

3) เป็นที่พักพิงที่ปลอดภัยสำหรับพวกเขา

4) แก้ไขในสิ่งที่ผิดพลาด เราทุกคนเคยทำผิดพลาดในฐานะพ่อแม่ แต่การยอมรับและขอโทษอย่างเปิดเผยสำหรับความผิดพลาดเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าลูก ๆ เมื่อทำผิดต้องกล้ายอมรับและหาทางแก้ไข ไม่ควรตำหนิแต่ควรแสดงความห่วงใยและแก้ปัญหาไปด้วยกัน

มีความเห็นอกเห็นใจ สอนให้เด็กมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ยกตัวอย่างเหตุการณ์สมมุติ ลูกของคุณตีเด็กอีกคนที่เล่นด้วยกัน คุณอาจจะบังคับให้ลูกขอโทษเด็กคนนั้น ลูกอาจจะขอโทษเพราะถูกคุณบังคับแต่เขาไม่ได้รู้สึกเห็นใจ การขอโทษจึงไม่มีความหมายหากเด็กไม่ได้หมายความอย่างนั้นจริง ๆ ดังนั้นแทนที่คุณจะบังคับให้ลูกพูดขอโทษ ให้ลองคุยกับลูกว่า ลูกจะรู้สึกอย่างไรถ้าเราเป็นคนที่ถูกตี สิ่งนี้ช่วยให้เด็กเข้าใจและรู้สึกเห็นอกเห็นใจว่าการทำร้ายใครบางคนหมายถึงอะไร

แสดงความสนใจ โดยเฉพาะในวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่มีความเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกายที่กำลังเติบโตสู่วัยผู้ใหญ่ ด้านสังคมที่เด็กอาจต้องเจอเพื่อนใหม่หรือมีเพื่อนเพศตรงข้าม เด็กไม่สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ตามลำพัง และต้องการความเอาใจใส่และคำแนะนำจากพ่อแม่และผู้ปกครอง หากพ่อแม่เพิกเฉย เด็กอาจแสดงพฤติกรรมด้านลบเพื่อเรียกร้องความสนใจ พ่อแม่ควรเข้าใจ พยายามพูดคุยแบบเปิดใจแบบมีเหตุผล เคารพการตัดสินใจ รับฟัง คอยอยู่เคียงข้าง ไม่ใช่เอาแต่ตำหนิ ดุด่า เมื่อเกิดปัญหา

สร้างความภูมิใจและความนับถือตนเอง

ช่วยให้บุตรหลานของคุณค้นพบสิ่งที่พวกเขาทำได้ดีและชื่นชมความสำเร็จเหล่านั้นอย่างแท้จริง เพื่อให้เขารู้สึกถึงคุณค่าในตนเองหรือความภาคภูมิใจในตนเองที่