วิธีการทำงาน
ติดต่อเรา
ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ
แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ
เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ
ยืนยันการจองของคุณ
เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA
ประเภทงานบริการ
พี่เลี้ยงเด็ก พี่เลี้ยงเด็กชั่วคราว รับเลี้ยงเด็กที่บ้านตัวเอง พี่เลี้ยงสองภาษา พี่เลี้ยงวันหยุดบริการในเมืองยอดนิยม
บางเขน บางกอกน้อย ป้อมปราบศัตรูพ่า พระนคร บางพลัด บางบอน พระโขนง ภาษีเจริญ คลองสามวา ตลิ่งชันข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ
รีวิวล่าสุด
คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ดูแลเด็ก
1. ความอดทน พี่เลี้ยงเด็กต้องมีเข้าใจในธรรมชาติและอดทนต่อพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนที่แตกต่างกัน
2. ทักษะการต่อรอง พี่เลี้ยงเด็กต้องมีเทคนิคในการเจรจาสื่อสารเพื่อโน้มน้าวให้เด็กเชื่อฟังโดยไม่ใช้การบังคับ
3. ทักษะแก้ปัญหา พี่เลี้ยงเด็กต้องมีความสามารถในการจัดการและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างเหมาะสมโดยไม่ต้องรายงานคุณพ่อคุณแม่หากไม่ใช่เรื่องร้ายแรง
4. ความคิดสร้างสรรค์ พี่เลี้ยงเด็กควรมีความคิดสร้างสรรค์ หากิจกรรมที่เหมาะสำหรับเด็กในแต่ละช่วงวัยเพื่อให้เด็กได้เล่นเพลิดเพลินและฝึกช่วยเหลือตัวเอง
5. ตรงต่อเวลา พี่เลี้ยงเด็กต้องเป็นคนที่ตรงต่อเวลาและมีความรับผิดชอบในงานของตัวเอง คือต้องมาทำงานและเลิกงานตามเวลาที่ตกลงไว้กับคุณพ่อคุณแม่ หากมีเหตุสุดวิสัยทำให้มาสายควรแจ้งให้คุณพ่อคุณแม่ทราบโดยเร็วที่สุด
6. สุขภาพดี พี่เลี้ยงต้องเป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรงและดูแลตัวเองทั้งเสื้อผ้า หน้า ผมให้สะอาดอยู่เสมอ
7. วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ในกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดหรืออุบัติเหตุ พี่เลี้ยงต้องมีความรู้และทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และสามารถช่วยเหลือเด็กได้ทันที
1. คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยและทำความเข้าใจกับเด็ก ถึงความจำเป็นที่ต้องให้เด็กๆ อยู่กับพี่เลี้ยง ให้ความมั่นใจกับเด็กว่าคุณพ่อคุณแม่หาคนที่สามารถดูแลพวกเขาได้ดี
2. คุณพ่อคุณแม่ควรหาพี่เลี้ยงที่เข้ากันได้กับลูก ๆ และมีความพร้อมในการดูแลเด็ก
3. แนะนำให้ลูก ๆ ทำความรู้จักกับพี่เลี้ยง โดยอาจจะเล่าให้ฟังว่าพี่เลี้ยงเห็นใคร ชื่ออะไร คุยกับพี่ผ่านทางวิดีโอคอลก่อนวันเริ่มงานจริง เพื่อนลดความตึงเครียดในการเจอกันครั้งแรก
4. คุณพ่อคุณแม่ควรบันทึกเบอร์โทรศัพท์ของตัวเอง เบอร์โทรฉุกเฉิน และสอนให้ลูกใช้โทรศัพท์เพื่อโทรหาคุณพ่อคุณแม่ได้ หรือโทรขอความช่วยเหลือได้ในกรณีฉุกเฉิน
5. มอบหมายงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้เด็ก ๆ ทำระหว่างวัน เพื่อที่เด็ก ๆ จะได้มีกิจกรรมเบนความสนใจและไม่เอาแต่จดจ่อรอเวลาคุณพ่อคุณแม่กลับบ้าน
6. เมื่อถึงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องออกจากบ้านและต้องให้เด็ก ๆ อยู่กับพี่เลี้ยงเด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความมั่นใจกับเด็ก ๆ ว่าพี่เลี้ยงจะดูแลเด็ก ๆ เป็นอย่างดีและย้ำว่าพวกเขาสามารถโทรหาคุณได้เสมอ
1. วันและเวลาทำงาน คุณพ่อและคุณแม่ควรมีแผนการทำงานของพี่เลี้ยงที่ชัดเจน เช่นกำหนดวันทำงาน วันหยุด และเวลาทำงานในแต่ละวันให้ชัดเจน และควรถามความสมัครใจหากต้องการให้พี่เลี้ยงทำงานล่วงเวลา
2. ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบ คุณพ่อคุณแม่ควรระบุขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของพี่เลี้ยงเด็กให้ชัดเจน หากต้องการให้พี่เลี้ยงทำงานบ้านหรืองานอื่น ๆ นอกจากดูแลเด็ก ควรตกลงกันให้ชัดเจนก่อนเริ่มงาน
3. ระยะเวลาการทดลองงาน หาดคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้พี่เลี้ยงทดลองงานก่อนสักระยะหนึ่งก่อนทำสัญญาว่าจ้าง ควรระบุช่วงระยะเวลาและเงื่อนไขในการทดลองงานให้ชัดเจน
4. ค่าจ้าง คุณพ่อคุณแม่ควรสอบถามและตกลงค่าจ้างของพี่เลี้ยงให้ชัดเจน และค่าจ้างควรจะสอดคล้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบ และจำนวนชั่วโมงทำงานในแต่ละวัน ประสบการณ์ในการทำงานอาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้ประกอบการพิจารณาอัตราค่าจ้างได้
5. กรณีจ้างพี่เลี้ยงประจำแบบพักอาศัยร่วม คุณพ่อคุณแม่ต้องจัดการเรื่องที่พักให้กับพี่เลี้ยง รวมถึงอาหารในแต่ละวันตามตกลงกัน
6. ข้อตกลงในการอยู่อาศัยร่วมกัน คุณพ่อคุณแม่ควรบอกกล่าวพี่เลี้ยงให้ชัดเจนถึงกฎระเบียบต่าง ๆ สิ่งใดไม่ควรปฏิบัติของการอาศัยอยู่ร่วมกัน
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่คุณพ่อและคุณแม่ควรพูดคุยตกลงกับพี่เลี้ยงเด็กให้ชัดเจนก่อนเริ่มงาน
ชุมชนดินแดง
เมื่อชีวิตดำเนินมาถึงวัยหนึ่ง ส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นคงในการใช้ชีวิต คือการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง ทั้งเพื่อความเป็นส่วนตัว เพื่อสร้างครอบครัวและเพื่อสร้างฐานะ และบ้านยังเป็นที่ที่สร้างความมั่นคงทางอารมณ์ ทำให้เรารู้สึกปลอดภัย การจะมีบ้านสักหลัง หรือคอนโดสักห้องมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเป็นตัวแปรในการเลือกที่อยู่อาศัย หนึ่งในปัจจัยหลัก คืองบประมาณหรือรายได้ของผู้ซื้อ ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าเราจะมีบ้านแบบใด บ้านตั้งอยู่ในชุมชนแบบใด หลายคนยอมจ่ายแพงกว่าเพื่อซื้อความสบายใจ ว่าบ้านที่ตนเลือกนั้นตั้งอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ในที่นี้หมายถึงอยู่ในพื้นที่ที่มีความปลอดภัย และมีเพื่อนบ้านที่น่ารัก แต่อีกหลายคนอาจไม่สารถเลือกได้โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งทำงานและมีรายได้ไม่มากนัก อาจต้องจำยอมอยู่ในสภาพแวดล้อมหรือชุมชนที่ไม่สะดวกและไม่ปลอดภัยนัก
หากพูดถึงชุมชนที่เป็นที่อยู่อาศัยของผู้ที่เข้ามาทำมาหากินในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ยุค 60 ปีก่อน มีชุมชนหนึ่งซึ่งตั้งอยู่กลางกรุงเทพมหานครที่ชื่อว่า “ชุมชนดินแดง” พื้นที่บริเวณนี้แต่เดิมเคยเป็นบริเวณที่ทิ้งขยะของกรุงเทพมหานคร แต่มีผู้ซึ่งหาโอกาสของชีวิต เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นชุมชนแออัด และเมื่อกรุงเทพมหานครต้องการใช้พื้นที่จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่การสร้างที่อยู่อาศัยของผู้ที่มีรายได้น้อยราวปี พ.ศ. 2503 รัฐบาลจึงมีโครงการสร้างแฟลต ให้เช่า 5,000 หน่วย ในชื่อ “โครงการอาคารสงเคราะห์ดินแดง” รูปแบบการก่อสร้างอาคาร สร้างเป็นอาคารแฟลตสูง 5 ชั้น อยู่อาศัย 4 ชั้น และชั้นล่างสุดเป็นใต้ถุนโล่ง มีบันไดสองข้างอาคาร มีทางเดินร่วม โดยมีหน่วยพักอาศัยอยู่ด้านเดียว (Single Loaded Corridor) ซึ่งแต่ละห้องมีพื้นที่ใช้สอย 38-39 ตารางเมตร มีส่วนอเนกประสงค์ ครัว ห้องน้ำ ระเบียง มีช่องสำหรับเปิดทิ้งขยะลงปล่อง 1 ปล่อง ต่อ 2 หน่วยห้องพัก สามารถรองรับผู้มีรายได้ครัวเรือน ไม่เกิน 1,500 บาท/เดือน จ่ายค่าเช่าเพียง 100-125 บาท/เดือน เพื่อรองรับการอพยพของผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัดเดิมบนพื้นที่ทิ้งขยะของกรุงเทพมหานคร และกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ต้องการที่พักอาศัยในช่วงเวลานั้นต่อมาในปี พ.ศ. 2516 การเคหะแห่งชาติได้เข้ามาดูแลและรับโอนแฟลตดินแดงจากกรมประชาสงเคราะห์ และได้สร้างที่พักอาศัยเพิ่มขึ้นรวมเป็น 94 อาคาร โดยมีผู้อยู่อาศัยมากกว่า 36,000 คน วันเวลาผ่านไปจวบจนปัจจุบันแฟลตดินแดงรุ่นแรก นับเป็นอาคารที่มีอายุการใช้งานอย่างยาวนานถึง 50 ปี เปรียบเทียบเป็นมนุษย์ก็คงอยู่ในช่วงอายุที่รอวันร่วงโรย 50 ปีผ่านมาสภาพอาคารและโครงสร้างทรุดโทรม เป็นอันตรายต่อผู้พักอาศัย
ด้วยความห่วงใยในชีวิตและทรัพย์สินของคนที่อยู่อาศัยในแฟลตดินแดง ทางการเคหะแห่งชาติจึงได้ว่าจ้าง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) เข้าศึกษาตรวจสอบสภาพความแข็งแรงของอาคารในเคหะชุมชนดินแดงทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2546 และปี พ.ศ. 2550 โดยจากการตรวจสอบพบว่า ร้อยละ 60 ของอาคารทั้งหมด มีสภาพเก่าทรุดโทรม และชำรุดเสียหายอย่างรุนแรง โครงการปรับปรุงฟื้นฟูชุมชนดินแดงดำเนินงานผ่านมาถึง 5 รัฐบาล รวมระยะเวลามากกว่า 16 ปีไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งในการสร้างความเข้าใจแก่ผู้อาศัย คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ลงมติว่าเห็นชอบในหลักการแผนแม่บทโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง พ.ศ. 2559 – 2567 ซึ่งอนาคตชุมชนชาวดินแดงก็จะได้ที่อยู่ใหม่ที่มั่นคงในเร็ววันนี้
วิธีจัดการกับพฤติกรรมก้าวร้าวของลูก
พ่อแม่ควรให้ความสำคัญและให้เด็กได้เรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ได้เหมาะสมตามวัย เมื่อเด็กมีอารมณ์ฉุนเฉียว โกรธ ไม่พอใจ หรือ และอ่อนไหวกับสิ่งเร้าต่างๆ เด็กบางคนใช้เวลาในการควบคุมตนเองนานกว่าคนอื่น แล้วคุณจะทราบได้อย่างไรว่าพฤติกรรมก้าวร้าวหรือรุนแรงของลูก ไม่ได้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของช่วงการเรียนรู้ และคุณจะช่วยอะไรได้บ้าง
ก่อนอื่นเรามาดูว่า เด็กส่วนใหญ่แสดงท่าทางแบบนี้หรือไม่
การแสดงออกหรือพฤติกรรมของเด็ก ขึ้นอยู่กับวัยเป็นสำคัญ นักจิตวิทยาเด็กกล่าวว่า "เราจะไม่เห็นพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กวัยหัดเดิน” เนื่องจากเด็กวัยนี้ยังไม่มีทักษะในการสื่อสารด้วยภาษาพูด จึงแสดงออกทางกายมากกว่า ตัวอย่างเช่น การผลักเพื่อนบนสนามเด็กเล่นอาจถือเป็นเรื่องปกติ เราไม่จำเป็นต้องเรียกว่าความก้าวร้าว เว้นแต่ว่าเด็กจะแสดงออกอย่างก้าวร้าวและรุนแรง
คุณรู้จักความก้าวร้าวที่แท้จริงได้อย่างไร
เมื่อถึงวัยหนึ่งที่เด็กโตพอที่จะมีทักษะทางคำพูดในการสื่อสารความรู้สึกของตน ประมาณอายุ 7 ขวบ การแสดงอารมณ์ก้าวร้าวทางกายก็จะลดลง หากไม่เป็นเช่นนั้น ก็ถึงเวลาที่ต้องกังวล
สัญญาณเตือนที่ไม่ควรละเลย
หากเด็กมีพฤติกรรม เช่นทำลายข้าวของ ตั้งใจก่อกวนหรือสร้างความให้กับคนรอบข้าง สิ่งเหล่านี้อาจมีสาเหตุมาจาก อาการสมาธิสั้น ความวิตกกังวล ความบกพร่องทางการเรียนรู้ และความหมกมุ่น จนกลายเป็นพฤติกรรมก้าวร้าว และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด พ่อแม่ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแต่เนิ่นๆ
เริ่มต้นด้วยการปรึกษากับกุมารแพทย์ และหากจำเป็นแพทย์จะส่งต่อให้ไปหาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อวินิจฉัยและรักษาปัญหาที่อาจก่อให้เกิดความก้าวร้าวได้
พ่อแม่จะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยลูก
กลยุทธ์เหล่านี้เพื่อช่วยให้ลูกของคุณควบคุมความก้าวร้าวของเขาหรือเธอให้อยู่ในความสงบ “เมื่อเด็กแสดงอารมณ์ออกมามาก และพ่อแม่ตอบสนองด้วยอารมณ์ที่มากขึ้น ก็จะเพิ่มความก้าวร้าวของเด็กได้” ให้พยายามจำลองการควบคุมอารมณ์สำหรับบุตรหลานของคุณแทน อย่ายอมแพ้ต่อความโกรธเคืองหรือพฤติกรรมก้าวร้าว ตัวอย่างเช่น เวลาไปซื้อของตามห้างแล้วลูกงอแง ร้องไห้เสียงดัง เพราะอยากได้ของเล่น พ่อแม่ต้องไม่ยอมซื้อให้ เพื่อเป็นการบอกลูกว่าหากลูกทำตัวไม่น่ารัก จะไม่ได้ของที่ต้องการ ในทางตรงกันข้ามพ่อแม่ควรกล่าวชมเมื่อลูกทำตัวน่ารัก และควรสอนให้เด็กรู้จักชื่นชมและขอบคุณเมื่อได้รับการปฏิบัติที่ดีจากผู้อื่น
ช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะแสดงออกทางอารมณ์ด้วยการใช้คำพูดแทนการแสดงทางพฤติกรรม เช่น เมื่อเด็กแสดงอาการไม่พอใจ พ่อแม่อาจพูดว่า “แม่รู้เลยว่าหนูกำลังโกรธมาก” ซึ่งการทำแบบนี้จะเป็นการกระตุ้นให้เด็กพูดออกว่า “โกรธ” แทนการแสดงท่าทางฉุนเฉียวที่อาจนำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าวได้
วิธีหยุดบุตรหลานของคุณจากความรุนแรง
เราจะป้องกันไม่ให้เด็กใช้ความรุนแรงได้อย่างไร ต่อไปนี้คือสิ่งที่ผู้ปกครองผู้ซึ่งเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อเด็ก ควรทำเพื่อหยุดการใช้ความรุนแรงในเด็ก และวัยรุ่น
เป็นแบบอย่างที่ดี การวิจัยพบว่าเด็ก ๆ ต้องการผู้ใหญ่ที่เอาใจใส่อย่างน้อยห้าคนเพื่อช่วยให้พวกเขาเติบโตขึ้นอย่างมีความสุขและมีสุขภาพดี ไม่ใช่แค่พ่อแม่เท่านั้นที่มีผลกระทบต่อลูก ปู่ย่า ตายาย ป้า น้าอา ครูที่ปรึกษาและเพื่อนในครอบครัวสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก ๆ ของเราได้ โดยการสร้างสภาพแวดล้อมรอบตัวพวกเขาที่ส่งเสริมให้พวกเขาเป็นคนที่ใจดี เห็นอกเห็นใจ และมีจริยธรรม
มีมโนธรรม คือสอนให้เด็กรู้จักผิดชอบชั่วดี ซึ่งสามารถทำได้โดย
1) ปรับตัวให้เข้ากับพวกเขา
2) ไม่ใช้ความรุนแรงในครอบครัว
3) เป็นที่พักพิงที่ปลอดภัยสำหรับพวกเขา
4) แก้ไขในสิ่งที่ผิดพลาด เราทุกคนเคยทำผิดพลาดในฐานะพ่อแม่ แต่การยอมรับและขอโทษอย่างเปิดเผยสำหรับความผิดพลาดเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าลูก ๆ เมื่อทำผิดต้องกล้ายอมรับและหาทางแก้ไข ไม่ควรตำหนิแต่ควรแสดงความห่วงใยและแก้ปัญหาไปด้วยกัน
มีความเห็นอกเห็นใจ สอนให้เด็กมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ยกตัวอย่างเหตุการณ์สมมุติ ลูกของคุณตีเด็กอีกคนที่เล่นด้วยกัน คุณอาจจะบังคับให้ลูกขอโทษเด็กคนนั้น ลูกอาจจะขอโทษเพราะถูกคุณบังคับแต่เขาไม่ได้รู้สึกเห็นใจ การขอโทษจึงไม่มีความหมายหากเด็กไม่ได้หมายความอย่างนั้นจริง ๆ ดังนั้นแทนที่คุณจะบังคับให้ลูกพูดขอโทษ ให้ลองคุยกับลูกว่า ลูกจะรู้สึกอย่างไรถ้าเราเป็นคนที่ถูกตี สิ่งนี้ช่วยให้เด็กเข้าใจและรู้สึกเห็นอกเห็นใจว่าการทำร้ายใครบางคนหมายถึงอะไร
แสดงความสนใจ โดยเฉพาะในวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่มีความเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกายที่กำลังเติบโตสู่วัยผู้ใหญ่ ด้านสังคมที่เด็กอาจต้องเจอเพื่อนใหม่หรือมีเพื่อนเพศตรงข้าม เด็กไม่สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ตามลำพัง และต้องการความเอาใจใส่และคำแนะนำจากพ่อแม่และผู้ปกครอง หากพ่อแม่เพิกเฉย เด็กอาจแสดงพฤติกรรมด้านลบเพื่อเรียกร้องความสนใจ พ่อแม่ควรเข้าใจ พยายามพูดคุยแบบเปิดใจแบบมีเหตุผล เคารพการตัดสินใจ รับฟัง คอยอยู่เคียงข้าง ไม่ใช่เอาแต่ตำหนิ ดุด่า เมื่อเกิดปัญหา
สร้างความภูมิใจและความนับถือตนเอง
ช่วยให้บุตรหลานของคุณค้นพบสิ่งที่พวกเขาทำได้ดีและชื่นชมความสำเร็จเหล่านั้นอย่างแท้จริง เพื่อให้เขารู้สึกถึงคุณค่าในตนเองหรือความภาคภูมิใจในตนเองที่
SAIJAI "ใส่ใจ" เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการดูแลเด็ก ดูแลผู้สูงอายุ ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ แม่บ้าน/ทำความสะอาด คนขับรถ ดูแลสัตว์เลี้ยง เสริมสวย และช่างซ่อมบำรุงเท่านั้น "SAIJAI" ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการหรือจ้างบุคคลใดให้บริการ ไม่มีสถานะเป็นนายจ้าง ผู้ว่าจ้าง ตัวแทน ผู้ร่วมทุน อย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเป็นผู้รับจ้างอิสระ ซึ่งผู้รับบริการเป็นผู้ว่าจ้าง คุณภาพการให้บริการเป็นความรับผิดชอบทั้งสิ้นของผู้ให้บริการเอง การเรียกใช้บริการจากผู้ให้บริการ อาจมีความเสี่ยง ซึ่งผู้รับบริการรับทราบและยินดีใช้บริการ บนความเสี่ยงใด ๆ ในความรับผิดชอบของตัวท่านเอง