ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน ยานนาวา, กรุงเทพมหานคร

ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน ยานนาวา, กรุงเทพมหานคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

รุ่งเพชร ก๊กรัมย์
รุ่งเพชร ก๊กรัมย์
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

พร้อมดูแล​ห่วงใย​เอาใจใส่ผู้สูงอายุ

ใจเย็น​เพียบพร้อม​สามารถทำกายภาพบำบัด​นวดแขนขา​พาเดิน​หรือทำนา​สั่งได้ทุกอย่าง

พร้อมดูแลครอบครัวท่านดุจพ่อแม่

แสดงเพิ่มเติม
สุวณิช  พงษ์ศิริเจริญ
สุวณิช พงษ์ศิริเจริญ
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

พยาบาลวิชาชีพ ICU และพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ นิสัยร่าเริง สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ เข้าใจชีวิต เชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพระบบสมอง หลอดเลือด หัวใจ ทางเดินอาหาร ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดระบบต่างๆ ผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษที่บ้าน ผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องการเพื่อน

แสดงเพิ่มเติม
อคัมย์สิริ ศศิชลพินทุ์
อคัมย์สิริ ศศิชลพินทุ์
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 41 ปี

ใจเย็น รักในการดูเอาใจใส่

แสดงเพิ่มเติม
กัญญาภัทร บุตรพรม
กัญญาภัทร บุตรพรม
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

ใจเย็น รักสงบ ไม่ชอบความวุ่นวาย นวดได้ ภาษาได้ อาหารได้ ขอบคุณค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
Rain Ny
Rain Ny
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

รับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ดีปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้เพราะทำงานแผนกผู้ป่วยหนักมา 10 ปีค่ะ ลักษณนิสัยพูดคุยกับผู้ด้วยโดยดูสีหน้าบุคคลิกของผู้ป่วยก่อนว่าเป็นคนแบบไหนชอบให้พูดคุยด้วยไหมให้กำลังใจผู้ป่วยในยามที่ท้อแท้สิ้นหวัง

แสดงเพิ่มเติม
อธิวุฒิ สมัครการ
อธิวุฒิ สมัครการ
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 35 ปี

เป็นคนใจเย็น รักการช่วยเหลือผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หากมีที่พักให้เช่าใกล้สถานที่ทำงานจะดีมาก หรือจะให้อยู่บ้านเฝ้า 24 ชั่วโมงเลยก็ได้ครับ

แสดงเพิ่มเติม
วชิราภรณ์ ขาวอุบล
วชิราภรณ์ ขาวอุบล
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

ชื่อเล่นชื่อนก อายุ 36 ปี ประวัติการทำงานเคยทำงานที่โรงพยาบาลวิชัยเวชอ้อมน้อย 10 ปีแผนกห้องผ่าตัด 4 ปี แผนก ICU 6 ปีดูแลผู้สูงอายุ 2 ปี

แสดงเพิ่มเติม
วลัยพร ภู่รัตนกุล
วลัยพร ภู่รัตนกุล
Saijai ประสบการณ์ 3-4 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

มีความอดทนสูง ตรงต่อเวลา ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้ดี

แสดงเพิ่มเติม
วลดา ดาวเรือง
วลดา ดาวเรือง
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี

สวัสดีค่ะหนูจบผู้ช่วยพยาบาลหนูมั่นใจว่ามีจิตใจอ่อนโยนและใจเย็นมากๆค่ะเคยดูแลผู้ป่วยติดเตียงในโรงพยาบาลได้ดีมากๆค่ะและยังสามารถทำได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นทำกับข้าวขับรถหรือไปทำธุระให้ได้ค่ะ คุยกันได้ก่อนค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
ศิริกานต์ จาวะลา
ศิริกานต์ จาวะลา
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 28 ปี

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

พี่นิดเคยทำงานพยาบาลมาเกือบห้าปี รู้วิธีการดูแลปฐมพยาบาลผู้ป่วยทุกอย่าง หายห่วงเลยค่ะ
Saijai
หนึ่งธิดา โกมน
3 ปีที่แล้ว
ง่ายตั้งแต่ขั้นตอนการติดต่อหาคนดูแลเลยค่ะ ใส่ใจดูแลให้หมดทุกอย่างเลย แค่บอกว่าต้องการคนดูแลแบบไหนบ้าง ประทับใจมากค่ะ
Saijai
กมลชนก วิสุทธิสาร
3 ปีที่แล้ว
ค่าใช้จ่ายแม้จะสูงขึ้นมาแต่ด้วยความเป็นมืออาชีพ ที่ต้องดูแลป้อนอาหารทางสายยาง การเช็ดตัวคอยดุแลสุขอนามัย ที่สำคัญมีเวลาพักผ่อนน้อยมาก ก่อนที่จะจ้างผมเคยดูแลคุณตาด้วยตัวเองแต่ ทำให้นอนน้อยมากสุขภาพเลยไม่อำนวย เลยจ้างพี่เลี้ยงมาช่วยดูแล ถือว่าคุ้มครับ ผมได้พักมากขึ้น คุณตาได้มืออาชีพดูแล
Saijai
ศิริ ธนะปรียาสกุล
3 ปีที่แล้ว
ดูแลดี ไว้ใจได้ หายห่วงค่ะ
Saijai
กานต์ศรันย์ เจริญกิจธารา
3 ปีที่แล้ว
ผู้ดูแลคอยช่วยพูดให้กำลังใจ คอยดูแลเรื่องต่าง ๆ ให้ จนตอนนี้คุณพ่อกลับมายิ้มร่างเริงได้อีกครั้งแล้วค่ะ
Saijai
อนันตา ไวยากูล
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ใครคือผู้ป่วยระยะสุดท้ายและอะไรคือจุดมุ่งหมายของการดูแล
ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหมายถึงผู้ที่ป่วยด้วยอาการป่วยที่เป็นระยะท้าย ๆ ของโรค ไม่สามารถรักษาอาการป่วยให้หายและคาดว่าจะมีชีวิตอยู่อีกไม่เกิน 1 ปี จุดมุ่งหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายคือการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) ซึ่ง WHO (World Health Organization) ได้ให้คำจำกัดความอีกว่า เป็นการดูแลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย (ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก) และครอบครัวที่มีปัญหาเกี่ยวกับความเจ็บป่วยที่คุกคามชีวิต รวมถึงการป้องกันและบรรเทาความทุกข์ทรมาน หรือการดูแลเพื่อบรรเทาอาการ หรือวิธีการดูแลผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด มีแนวโน้มที่ทรุดลง หรือเสียชีวิตจากตัวโรคในอนาคต หรือป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต เน้นการดูแลแบบองค์รวมทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณของทั้งผู้ป่วย ครอบครัวและผู้ดูแล มีเป้าหมายหลักคือการเพิ่มคุณภาพชีวิตของทั้งผู้ป่วยและครอบครัว ที่จะทำให้ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบ สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตลอดจนการดูแลครอบครัวและญาติภายหลังการจากไปของผู้ป่วย ซึ่งแนวทางการดูแลนั้นเริ่มจากเมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด จนกระทั่งป่วยอยู่ในระยะท้าย หรือกำลังจะเสียชีวิตจากโรค โดยสามารถดูแลควบคู่ไปกับการรักษาเฉพาะ สำหรับโรคนั้น ๆ โดยคำนึงถึงสิทธิ์ในการรับรู้ข้อมูลการเจ็บป่วยเมื่อผู้ป่วยและครอบครัวในต้องการ ให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้แสดงความต้องการของตนเองและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องแนวทางการรักษาและเป้าหมายของการดูแลรักษา เน้นการมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพและยอมรับ ความตายเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติของทุกชีวิต ด้วยหวังให้ผู้ป่วยได้จากไปอย่างสงบไม่มีเรื่องติดค้างไว้เบื้องหลัง
ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่ใช่การดูแลเพียงเฉพาะสุขภาพกายเท่านั้น แต่รวมไปถึงการดูแลสภาพจิตใจด้วย ซึ่งเป็นการดูแลแบบประคับประคองในช่วงสุดท้ายของโรคเพื่อให้ผู้ป่วยสุขสบายที่สุดเท่าที่จะทำได้ การพูดคุยสอบถามความต้องการของญาติถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน เพราะการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่มีแบบแผนที่ตายตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของญาติเป็นสำคัญ ผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องเผชิญกับอาการป่วย ที่ก่อให้เกิดความไม่สุขสบายต่าง ๆ และทำให้สภาพร่างกายเสื่อมโทรมลง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จึงจำเป็นต้องมีผู้ดูแลช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ

ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมีคุณสมบัติดังนี้

1. มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคและอาการของผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่กำลังดูแลอยู่เป็นอย่างดี เช่น ผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะมีการสูญเสียความอยากอาหาร เนื่องจากกลไกของร่างกายที่ไม่สามารถย่อยอาหารได้ ผู้ดูแลไม่ควรบังคับให้ผู้ป่วยรับประทานอาหาร เพราะจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะเครียด และระบบการทำงานของร่างกายผู้ป่วยที่เปลี่ยนไปซึ่งมาจากระบบย่อยอาหารไม่สามารถทำงานได้ อาจทำให้ผู้ป่วย สำลัก หรืออาเจียน ผู้ดูแลควรมีความรู้เกี่ยวกับอาการเหล่านี้ของผู้ป่วยเป็นอย่างดี
2. มีใจรักและพร้อมดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างเต็มที่ เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีความวิตกกังวล ความเครียด มากกว่าผู้ป่วยกลุ่มอื่น ๆ รวมถึงอาการหลาย ๆ อย่างที่แสดงออกมา เช่นในระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะสูญเสียการพูดและการมองเห็น ผู้ดูแลอาจจะคิดว่าผู้ป่วยไม่รับรู้อะไรแล้ว แต่ในผู้ป่วยบางรายประสาทการฟังยังทำงานได้อยู่ รับรู้ในสิ่งที่ผู้คนรอบข้างคุยกัน ผู้ดูแลจึงไม่ควรบ่น หรือใช้คำพูดที่อาจกระทบกระเทือนใจผู้ป่วยได้
3. สามารถอำนวยความสะดวกในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยอย่างเต็มที่ การดูแลจะต้องทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายที่สุด ทำความสะอาดร่างกายให้ผู้ป่วยในแต่ละวันเช่น ทำความสะอาดปาก โดยใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำเช็ดทำความในปาก หยอดน้ำตาเทียม ไม่ให้ตาแห้ง พลิกตัวผู้ป่วยทุก ๆ 2 ชั่วโมง ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สุขสบาย และทำกายภาพบำบัด เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อเกร็งหด และลดอาการปวดได้
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดที่เราจ้างมานั้นไว้ใจได้
การที่เราจะไว้ใจใครสักคนที่เราไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัวหรือไม่ใช่คนในครอบครัวอาจเป็นเรื่องยาก ยิ่งถ้าต้องให้คนคนนั้น มาทำหน้าที่ดูแลใกล้ชิดสมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย ยิ่งเป็นเรื่องที่ยากยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อเราต้องตัดสินใจว่าจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เราต้องสอบถามประวัติส่วนตัว สอบถามถึงประวัติการทำงานที่ผ่านมา รวมถึงตรวจสอบประวัติอาชญากรรม แต่นั่นยังไม่อาจยืนยันได้ 100 เปอร์เซ็นต์ว่าคนที่เราเลือกเป็นคนที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการ ในส่วนของความซื่อสัตย์ที่ไม่ใช่แค่การไม่ลักขโมยหรือหยิบฉวยของมีค่า แต่รวมถึงการบอกกล่าวข้อมูลความจริงให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับรู้ สิ่งเหล่านี้คือคุณสมบัติเบื้องต้นที่ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายพึงมี แต่ถ้าเราสามารถหา “บุคลากรวิชาชีพ” เช่น พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบําบัด นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักโภชนาการ มาดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ถือเรื่องที่ดีและทำให้เราวางใจได้มากขึ้น เพราะบุคลากรเหล่านี้ผ่านการอบรมในการดูแลผู้ป่วย การใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ เข้าใจถึงจิตบริการผู้ป่วยเป็นอย่างดี เช่น การสวนสายยางให้อาหาร หรือการให้ยาลดอาการเจ็บปวด เป็นต้น อีกทั้งบุคลากรเหล่านี้มีความเสามารถและทักษะเฉพาะด้าน ในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง สามารถเติมเต็มและตอบสนองต่อความต้องการความปรารถนาของผู้ป่วยและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม การประสานบทบาทการดูแลผู้ป่วยร่วมกับผู้ดูแลที่เป็นญาติมิตรของผู้ป่วย และปรับเปลี่ยนตนเองให้ไปสู่บทบาทพี่เลี้ยงที่ต้องทำงานสองหน้าที่ควบคู่กันไป เพื่อสร้างความมั่นใจที่ จัดการกับสภาวะวิกฤติของผู้ป่วยได้
แนวทางในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
เทคโนโลยีการแพทย์ในปัจจุบันที่พัฒนาเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้ผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยจากโรคร้ายแรงหายจากอาการป่วยมากขึ้น แต่ยังมีผู้ป่วยประเภทหนึ่งที่ไม่สามารถรักษาให้หายและกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ นั่นคือผู้ป่วยระยะสุดท้าย ความทุกข์ทรมานใจที่ตามมาไม่เพียงส่งผลต่อตัวผู้ป่วยเอง แต่ยังกระทบไปถึงครอบครัวของผู้ป่วยด้วย การดูแลที่ดีช่วยให้ตัวผู้ป่วยและญาติพร้อมปรับตัวเพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยคือต้องยอมรับว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้มีเวลาเหลืออีกไม่นาน หากทำใจยอมรับได้การดูแลจะเป็นไปได้ด้วยดี

แนวทางในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีดังนี้

1. ต้องมีการประเมินสภาพของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ เช่น รับประทานอาหารได้น้อยลง ร่างกายอ่อนเพลีย นอนหลับมากขึ้น การหายใจที่สั้นลง และหยุดเป็นพักๆ รวมถึงความเจ็บปวดต่างๆที่เกิดกับตัวผู้ป่วย หากมีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อที่จะได้รักษาได้ถูกต้องต่อไป แต่หากผู้ป่วยไม่สามารถพูดคุยหรือแจ้งอาการเจ็บป่วยของตัวเองได้ ผู้ดูแลต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วย เช่น ซึมเศร้า ตกใจ เป็นต้น
2. หากผู้ป่วยมีอาการเมื่อยล้า อ่อนเพลีย แม้จะได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ผู้ดูแลควรหากิจกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น เช่น การดูหนัง ฟังเพลง โดยผู้ดูแลจะต้องอำนวยความสะดวกต่างๆให้ผู้ป่วยใช้พลังงานน้อยที่สุด เช่น ช่วยประคองผู้ป่วยเมื่อ เดิน หรือยืน
3. การดูแลด้านอาหารการกิน ผู้ป่วยระยะสุดท้ายอาจมีอาการปฏิเสธอาหารและความอยากที่ลดลง สาเหตุจาก การรับรสและกลิ่นที่เปลี่ยนไปทำให้ผู้ป่วยไม่อยากรับประทานอาหาร สิ่งเหล่านี้เป็นกลไกของร่างกายที่ไม่สามารถควบคุมได้ ไม่ควรฝืนให้ผู้ป่วยรับประทาน เพราะจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัดทั้งกายและใจ บางครั้งอาจบรรเทาได้โดยการ ให้แพทย์ให้ยากระตุ้นความอยาก เป็นต้น
4. ผู้ป่วยระยะสุดท้ายอาจเผชิญปัญหาด้านสภาวะอารมณ์ เช่น ความกลัว วิตกกังวล ญาติและผู้ดูแลควรพูดให้กำลังใจ เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย บรรเทาความทุกข์ใจ
5. ผู้ป่วยและทางญาติ สามารถตัดสินใจได้ว่า ต้องการการดูแลในสถานที่ใด หากดูแลที่บ้าน แพทย์จะแนะนำวิธีการดูแลให้สมาชิกในครอบครัว หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้ช่วยผู้ป่วยบรรเทาจากความเจ็บป่วยทางกาย และให้กำลังใจผู้ป่วย เพื่อลดความกังวลต่างๆ แต่หากต้องการดูแลที่สถานพยาบาล เนื่องจาก ไม่มีผู้ดูแลที่บ้าน หรืออาการเจ็บปวดที่ไม่บรรเทาเมื่อได้รับการดูแลที่บ้าน แม้ว่าการดูแลในโรงพยาบาลจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยกว่า แต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่าง ซึ่งมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป