วิธีการทำงาน
ติดต่อเรา
ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ
แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ
เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ
ยืนยันการจองของคุณ
เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA
ประเภทงานบริการ
พี่เลี้ยงเด็ก พี่เลี้ยงเด็กชั่วคราว รับเลี้ยงเด็กที่บ้านตัวเอง พี่เลี้ยงสองภาษา พี่เลี้ยงวันหยุดบริการในเมืองยอดนิยม
บางเขน บางกอกน้อย ป้อมปราบศัตรูพ่า พระนคร บางพลัด บางบอน พระโขนง ภาษีเจริญ คลองสามวา ตลิ่งชันข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ
รีวิวล่าสุด
คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ดูแลเด็ก
1. พี่เลี้ยงเด็กต้องมีความอดทนสูง คุณพ่อคุณแม่ต้องมั่นใจว่าพี่เลี้ยงเด็กต้องมีความเข้าใจเด็ก สามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี และที่สำคัญที่สุดคือเป็นคนที่มีความอดทนสูง
2. พี่เลี้ยงเด็กควรรู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ในกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดหรืออุบัติเหตุ พี่เลี้ยงต้องมีความรู้และทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และสามารถช่วยเหลือเด็กได้ทันที เช่น เด็กที่อยู่ภายใต้การดูแลเกิดอุบัติเหตุหกล้ม มีแผลถลอก พี่เลี้ยงต้องรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อของแผล เป็นต้น ดังนั้นคุณพ่อและคุณแม่ควรเลือกพี่เลี้ยงที่มีทักษะด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพราะเป็นสิ่งจำเป็นมาก ๆ
3. พี่เลี้ยงเด็กควรมีทักษะการแก้ไขปัญหา พี่เลี้ยงจะต้องรู้วิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งผู้ว่าจ้างเสมอไปหากปัญหานั้นไม่ใช่ปัญหาที่ร้ายแรง
4. ทำอาหารเป็น ถือเป็นอีกหนึ่งทักษะที่พี่เลี้ยงเด็กจำเป็นต้องมี พี่เลี้ยงไม่ได้มีหน้าที่แค่ดูแลเด็กอย่างเดียวเท่านั้น แต่พี่เลี้ยงอาจจะต้องเตรียมอาหารให้เด็ก ๆ รับประทานในแต่ละมื้อด้วย หากอาหารอร่อยถูกปาก เด็กจะเจริญอาหารและอารมณ์ดี ที่สำคัญที่สุดที่พี่เลี้ยงต้องใส่ใจและจดจำด้วยว่าเด็ก ๆ ที่ดูแลนั้น แพ้อาหารอะไรบ้าง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นจากการรับประทานสิ่งที่แพ้เข้าไป
5. มีความคิดสร้างสรรค์ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก พี่เลี้ยงจะต้องเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ ในระหว่างวัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวิชาการหรือสันทนาการ เช่น พี่เลี้ยงเด็กอาจจะสอนเด็กนับเลข ฝึกการอ่าน หรือระบายสีเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่สร้างสรรค์เหล่านี้
1. ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีหากครอบครัวหรือเพื่อนของคุณพ่อคุณแม่เป็นผู้แนะนำพี่เลี้ยงเด็กที่พวกเขารู้จัก อย่างน้อยก็มีคนรับรองพวกเขาได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือต้องทำการสัมภาษณ์พี่เลี้ยงเด็กและตรวจสอบประวัติของคุณเองเพื่อให้แน่ใจว่าเชื่อถือได้มากที่สุด
2. สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มองหาพี่เลี้ยงจากสื่อออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดีย (Social Media) เช่น เฟสบุ๊ค หรือไลน์ มองหาพี่เลี้ยงเด็กที่มีรีวิวจากผู้ที่เคยใช้บริการก่อนหน้า ใช้เวลาอ่านและศึกษารีวิวเหล่านั้น
3. เชื่อสัญชาตญาณของตัวเอง เมื่อคุณพ่อคุณแม่มีโอกาสสัมภาษณ์พี่เลี้ยงเด็กก่อนเริ่มงาน หากมีสัญญาณที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกไม่สบายใจ เช่น พี่เลี้ยงเด็กดูเป็นคนไม่กระตือรือร้น หรือไม่ยิ้มแย้มแจ่มใส จงเชื่อสัญชาตญาณของตัวเองที่ชี้ว่าคนคนนี้ไม่เหมาะสมกับงาน
4. ตรวจสอบประวัติ คุณพ่อคุณแม่อาจร้องขอให้พี่เลี้ยงตรวจสอบประวัติอาชญากรรมกับกองทะเบียนประวัติอาชญากร( http://www.criminal.police.go.th/ ) เพื่อให้แน่ใจว่าพี่เลี้ยงเด็กไม่มีประวัติกระทำผิดกฎหมายทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้เพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือและช่วยในการตัดสินใจ
1. วันและเวลาทำงาน คุณพ่อและคุณแม่ควรมีแผนการทำงานของพี่เลี้ยงที่ชัดเจน เช่นกำหนดวันทำงาน วันหยุด และเวลาทำงานในแต่ละวันให้ชัดเจน และควรถามความสมัครใจหากต้องการให้พี่เลี้ยงทำงานล่วงเวลา
2. ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบ คุณพ่อคุณแม่ควรระบุขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของพี่เลี้ยงเด็กให้ชัดเจน หากต้องการให้พี่เลี้ยงทำงานบ้านหรืองานอื่น ๆ นอกจากดูแลเด็ก ควรตกลงกันให้ชัดเจนก่อนเริ่มงาน
3. ระยะเวลาการทดลองงาน หาดคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้พี่เลี้ยงทดลองงานก่อนสักระยะหนึ่งก่อนทำสัญญาว่าจ้าง ควรระบุช่วงระยะเวลาและเงื่อนไขในการทดลองงานให้ชัดเจน
4. ค่าจ้าง คุณพ่อคุณแม่ควรสอบถามและตกลงค่าจ้างของพี่เลี้ยงให้ชัดเจน และค่าจ้างควรจะสอดคล้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบ และจำนวนชั่วโมงทำงานในแต่ละวัน ประสบการณ์ในการทำงานอาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้ประกอบการพิจารณาอัตราค่าจ้างได้
5. กรณีจ้างพี่เลี้ยงประจำแบบพักอาศัยร่วม คุณพ่อคุณแม่ต้องจัดการเรื่องที่พักให้กับพี่เลี้ยง รวมถึงอาหารในแต่ละวันตามตกลงกัน
6. ข้อตกลงในการอยู่อาศัยร่วมกัน คุณพ่อคุณแม่ควรบอกกล่าวพี่เลี้ยงให้ชัดเจนถึงกฎระเบียบต่าง ๆ สิ่งใดไม่ควรปฏิบัติของการอาศัยอยู่ร่วมกัน
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่คุณพ่อและคุณแม่ควรพูดคุยตกลงกับพี่เลี้ยงเด็กให้ชัดเจนก่อนเริ่มงาน
จตุจักรกับความเป็นมาที่ควรทราบ
จตุจักรในอดีตคือ ตำบลลาดยาว อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร ก่อนจะมีการสร้างชุมชน บ้านจัดสรรต่างๆ แต่เดิมประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามคลองต่างๆ เช่น คลองบางเขน คลองเปรมประชากร คลองบางซื่อ เป็นต้น หลังจากมีการรวมกันของจังหวัดพระนคร และจังหวัดธนบุรี มาเป็นกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน ทำให้มีการยกฐานะตำบลให้กลายเป็นแขวง อำเภอกลายเป็นเขต ทำให้ลาดยาวจากเดิมเป็นตำบลลาดยาว เปลี่ยนเป็น แขวงลาดยาว เขตบางเขน ภายหลังพื้นที่บริเวณนี้เจริญและมีประชากรเพิ่มขึ้นมาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และบางแขวงอยู่ไกลจากสำนักงานเขต โดยเฉพาะแขวงลาดยาว กระทรวงมหาดไทยจึงได้แยกเขตบางเขนออกเป็น 3 เขต ได้แก่เขตบางเขน เขตดอนเมือง และเขตลาดยาว ทำให้แขวงลาดยาวทั้งหมดเป็นพื้นที่ของ เขตจตุจักร คำว่าจตุจักร หมายถึง สี่รอบราศี ซึ่งในปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มีพระชนมพรรษาครบ 4 รอบ กรุงเทพมหานคร ได้มีการสร้างสวนจตุจักรขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ และสิริมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสวนแห่งนี้ว่า สวนจตุจักร กรุงเทพมหานครจึงนำชื่อนี้มาเป็นที่ตั้งของเขตที่ตั้งขึ้นใหม่ จากเดิมเขตจตุจักรมีเพียงแขวงเดียว คือแขวงลาดยาว ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่อย่างแน่นหนา บ้านเลขที่ซ้ำกันมาก ในปี พ.ศ 2545 มีการเปลี่ยนพื้นที่แขวงใหม่ในเขตจตุจักร โดยมีการตั้งแขวงเสนานิคม แขวงจอมพล และแขวงจตุจักร แยกออกจากแขวงลาดยาว เพื่อความสะดวกของการติดต่อราชการ ปัจจุบันเขตจตุจักรแบ่งการปกครองออกเป็น 5 แขวงได้แก่ แขวงลาดยาว แขวงเสนานิคม แขวงจอมพล และแขวงจตุจักร
ชีวิตความเป็นอยู่ที่ลงตัว ณ เขตจตุจักร
จตุจักร หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อ สวนจตุจักร พื้นที่สำคัญที่เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางเส้นสำคัญในกรุงเทพ ตอนเหนือ กับหัวเมืองชั้นใน รวมถึงพื้นที่ต่างๆทั่วกรุงเทพ ในอดีตพื้นที่บริเวณนี้เป็นชานเมือง มีชุมชนค่อนข้างน้อย และที่ดินส่วนใหญ่ก็เป็นของภาครัฐ หลังจากมีการนำที่ดินของภาครัฐในย่านนี้มาใช้ประโยชน์ด้านสาธารณะต่างๆ ส่งผลให้ผู้คนจากพื้นที่ต่างๆเข้ามาอยู่ในบริเวณนี้ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จตุจักรคือพื้นที่ศูนย์กลางการเดินทาง มีสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ(จตุจักร) หรือที่เรียกว่า สถานีขนส่งหมอชิต ทั้งคนต่างจังหวัดที่เข้าสู่กรุงเทพ และคนจากกรุงเทพที่ต้องการเดินทางไปพื้นที่ต่างๆ เพราะผู้คนส่วนใหญ่ที่เดินทางมาจากภาคเหนือ ภาคอีสานหรือต้องการไปภาคเหนือ ภาคอีสาน ด้วยรถทัวร์เพื่อเข้า-ออก กรุงเทพ จะลงสถานีนี้ เรียกได้ว่าบริเวณนี้เป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญของการเดินทาง และรถเมล์จากทั่วทุกมุมของกรุงเทพก็วิ่งเข้ารับ-ส่งคนในพื้นที่แห่งนี้ อีกทั้งยังมี สวนจตุจักร สวนสาธารณะในพื้นที่ 100 ไร่ สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ จุดเด่นที่น่าสนใจของสวนสาธารณะแห่งนี้คือ หอนาฬิกา ประติมากรรมอาเซียน 6 ประเทศ นาฬิกาดอกไม้เป็นต้น อีกหนึ่งสถานที่สำคัญที่เป็นไฮไลต์ของจตุจักรคือ ตลาดนัดจตุจักร หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า JJ Market ตลาดนัดขนาดใหญ่กว่า8,000 แผงค้า ทั้งเสื้อผ้า ผักผลไม้ สัตว์เลี้ยง ต้นไม้ และอาหารเป็นต้น เรียกได้ว่าจตุจักรคือศูนย์กลางทั้งการเดินทาง สวนสาธารณะขนาดใหญ่ และตลาดนัด ส่งผลให้ผู้คนจากทั่วทุกพื้นที่เข้าสู่ย่านนี้อย่างมหาศาล เพื่อการเดินทาง การท่องเที่ยว และพักผ่อนหย่อนใจ หากใครยังไม่เคยมาเยือนย่านนี้ ถือว่าพลาดเลยทีเดียว
พิพิธภัณฑ์เด็กจตุจักร มีอะไรน่าสนใจกว่าที่คิด
ถ้าถามเด็กๆ ว่าวันหยุดอยากไปเที่ยวที่ไหน หลายๆคนคงตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “ทะเล สวนสัตว์ สวนสนุก ห้างสรรพสินค้า” คงไม่มีเด็กคนไหนบอกว่าอยากไป พิพิธภัณฑ์ หรือมีก็น้อยมาก เพราะพิพิธภัณฑ์ในความคิดของเด็กหลายๆคน คงจะเต็มไปด้วยเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่แสนน่าเบื่อ ไม่มีของเล่นไว้ให้เล่น ความคิดเหล่านั้นของเด็กๆจะหายไป หากได้มาเที่ยว พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร แห่งที่ 1 (จตุจักร) จัดตั้งขึ้นตามพระราชปรารภใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ที่มีพระราชประสงค์เพื่อให้เด็กๆได้เรียนรู้เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์อย่างเพลิดเพลิน ภายใต้แนวคิด “Learning for Young Creative Mind” เน้นการเรียนรู้ที่หลากหลาย กระตุ้นให้เด็กๆ ฝึกใช้ความคิดสร้างสรรค์ ลงมือทำ ร่วมกันวางแผน และกล้าแสดงออกร่วมกัน ให้สอดคล้องกับการพัฒนาและศักยภาพของเด็กแต่ละวัย ดังคำกล่าวที่ว่า “เด็กคืออนาคตของชาติ” การพัฒนาประเทศให้เติบโต มั่นคง ต้องเริ่มตั้งแต่การพัฒนาเด็กให้เติบโตเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่า พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะทำให้น้องๆหนูเพลิดเพลินไปกับความสนุกหลากหลายรูปแบบในพิพิธภัณฑ์ได้แก่ สนามเด็กเล่นแบบ Outdoor เป็นพื้นทราย และข้างๆจะเป็นพื้นโฟม มีสไลเดอร์กับชิงช้า และสวนน้ำที่เปิดให้เล่นน้ำเป็นรอบตามเวลา ภายในพิพิธภัณฑ์มีอาคารหลักๆอยู่ 2 อาคารได้แก่ อาคารทอตะวัน (สำหรับเด็ก 7-12 ปี) ประกอบไปด้วย 3 ชั้น และอีก 1 ชั้นลอย ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่นิทรรศการความรู้ และอาคารสายรุ้ง (สำหรับเด็ก 0-6 ปี) ประกอบไปด้วย 2 ชั้น จะเป็นพื้นที่นิทรรศการความรู้สำหรับเด็กและผู้ปกครองในสภาพที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาสมองและกล้ามเนื้อ พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งนี้ เข้าชมฟรี วันอังคาร-วันอาทิตย์ หยุดทุกวันจันทร์ เวลา 10.00-16.00 น. เข้าชมฟรีเพียงแค่ผู้ปกครองแสดงบัตรประชาชนและลงทะเบียนด้านหน้าทางเข้าพิพิธภัณฑ์
SAIJAI "ใส่ใจ" เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการดูแลเด็ก ดูแลผู้สูงอายุ ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ แม่บ้าน/ทำความสะอาด คนขับรถ ดูแลสัตว์เลี้ยง เสริมสวย และช่างซ่อมบำรุงเท่านั้น "SAIJAI" ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการหรือจ้างบุคคลใดให้บริการ ไม่มีสถานะเป็นนายจ้าง ผู้ว่าจ้าง ตัวแทน ผู้ร่วมทุน อย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเป็นผู้รับจ้างอิสระ ซึ่งผู้รับบริการเป็นผู้ว่าจ้าง คุณภาพการให้บริการเป็นความรับผิดชอบทั้งสิ้นของผู้ให้บริการเอง การเรียกใช้บริการจากผู้ให้บริการ อาจมีความเสี่ยง ซึ่งผู้รับบริการรับทราบและยินดีใช้บริการ บนความเสี่ยงใด ๆ ในความรับผิดชอบของตัวท่านเอง