ดูแลผู้สูงอายุ ใน ทวีวัฒนา, กรุงเทพมหานคร

ดูแลผู้สูงอายุ ใน ทวีวัฒนา, กรุงเทพมหานคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ปนัดดา ราชสี
ปนัดดา ราชสี
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 25 ปี

อดนอนได้ ความอดทนสูงใจรักในงานบริการ ซื้อสัตย์ รักงานชอบคุย

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

หาข้อมูล เจอเว็บใส่ใจ ที่มีพี่เลี้ยงดูแลผู้สูงอายุ ลองอ่านประสบการณ์เลย เจอจิต (พี่เลี้ยงดูแลพ่อ) ทุกอย่างเป็นไปตามข้อมูลในเว็บทำให้พวกเราไม่ยากที่จะตัดสินใจ จิตทำงานดีมากเข้ากับคุณพ่อได้ดี ขอบคุณใส่ใจค่ะ
Saijai
พชร ต้นไกลสุทธฺ์
3 ปีที่แล้ว
พ่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อสามเดือนก่อน ผมเลยหาคนดูแลจากเว็บไซต์ของใส่ใจ ขั้นตอนต่าง ๆ ง่ายมากครับ และทางผู้ดูแลที่ทางใส่ใจส่งมา บริการได้น่าประทับใจมากครับ นอกจากจะใส่ใจคอยดูแลคุณพ่อผมแล้วยังคอยพูดคุยรับฟังเรื่องต่าง ๆ อีกด้วย ตอนนี้ผมจ้างพี่เค้าดูแลตลอดจนกว่าพ่อจะหายเลยครับ
Saijai
อนันต์ บุญเกิด
3 ปีที่แล้ว
มีคนแนะนำเวปใส่ใจสำหรับหาคนดูแลผู้สูงอายุ ประทับใจมาก ๆ เลยค่ะ พี่ที่ดูแลเขาอยู่เป็นเพื่อนแถมคุณยายอยากไปไหนเขาพาไปตลอดเลยค่ะ ตอนอยู่บ้านก็คอยจัดเตรียมอาหาร เตรียมยาให้ด้วย ต้องขอบคุณใส่ใจมาก ๆ เลยค่ะ เรากับพี่สาวรู้สึกวางใจไปได้เยอะเลย
Saijai
ปิยธิดา อรุณไชย
4 ปีที่แล้ว
ได้คนคอยดูแลแม่ผมอย่างดี และถ่ายภาพรายงานเรื่องแม่ให้ผมทางไลน์อีกด้วยครับ คุ้มราคามากครับ
Saijai
ปราโมทย์ มนตรา
4 ปีที่แล้ว
เราจ้างคนดูแลผู้สูงอายุมาดูแลคุณยายที่บ้าน พี่เขาทำงานดีมาก ๆ ที่สำคัญเลยคือพี่เขามีประสบการณ์ในการดูแลคนชรา เคยผ่านการอบรมมาแล้ว เลยทำให้เรามั่นใจ และ หายห่วงมาก ๆ
Saijai
นารีรัตน์ ภัทรบัณฑิต
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ดูแลผู้สูงอายุ

ตัวเลือกใดที่ดีกว่าระหว่างจ้างคนดูแลผู้สูงอายุที่บ้านหรือให้ผู้สูงอายุอยู่บ้านพักคนชรา
คาดการณ์ว่าในปี 2564 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุ ร้อยละ 16.2 ของประชากรทั้งหมด ผู้สูงอายุที่เคยดูแลเราในวันก่อนก็เปลี่ยนบทบาทมาเป็นคนที่เราต้องดูแล วิถีชีวิตปัจจุบัน หลายครอบครัวไม่สามารถดูแลผู้สูงอายุได้ด้วยตัวเอง อะไรที่ดีกว่าระหว่างจ้างคนดูแลผู้สูงอายุที่บ้านหรือให้ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุดูแล

ข้อดีของการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน

การที่ผู้สูงอายุได้อยู่อาศัยในบ้าน ทำให้ไม่รู้สึกแปลกสถานที่ รู้สึกว่าอยู่กับครอบครัวลูกหลาน ไม่เกิดความว้าเหว่ ผู้สูงอายุยังอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดิมและไม่รู้สึกว่ามีใครหายไป การดูแลยังอยู่ในสายตาของลูกหลาน หากเกิดข้อบกพร่องหรือสิ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่สบายใจ ผู้สูงอายุสามารถพูดขึ้นกับลูกหลานและแก้ไขปัญหาได้ในทันที

ข้อเสียของการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน

คือค่าใช้จ่ายที่สูง เพราะต้องใช้ผู้ที่ผ่านการอบรมเป็นพิเศษ และอาจต้องจ้าง ตลอด 24 ชั่วโมง หรืออาจต้องใช้ 1-2 คนในการดูแล ผู้ว่าจ้างไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้เลยว่านิสัยของคนที่จ้างมาเป็นอย่างไร รักการทำงานบริการผู้สูงอายุหรือไม่ หรือสามารถการปรับตัวให้เข้ากับผู้สูงอายุได้หรือไม่

ข้อดีของการใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุหรือบ้านพักคนชรา

คือมีสถานที่พร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการดูแล บางแห่งมีเครื่องมือแพทย์ หรือพยาบาลวิชาชีพดูแล ผู้สูงอายุได้พบปะกับอื่น ๆ ในวัยเดียวกัน ซึ่งจะช่วยคลายความกังวลใจของผู้สูงอายุลงไปได้บ้าง หากมีเหตุฉุกเฉิน เกิดอุบัติเหตุ ไม่สบาย ทางศูนย์ดูแลพร้อมให้ปฐมพยาบาลและนำส่งโรงพยาบาล

ข้อเสียของการใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและเราจะไม่มีทางรู้หรือเห็นเหตุการณ์อื่นใดนอกเหนือจากตอนที่ไปถึงศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งอาจปล่อยปละละเลย ผู้สูงอายุอาจไม่มีความสุขที่ต้องจากครอบครัว สุขภาพจิตอาจแย่ลง

ท้ายที่สุดแล้วความใส่ใจและความพร้อมของสมาชิกครอบครัวมีส่วนในการพิจารณาการตัดสินใจ และที่สำคัญคือตัวของผู้สูงอายุที่เราต้องดูแลว่าท่านมีความพร้อมและยินยอมเห็นสมควรกับแนวทางการเลือกดูแลของสมาชิกครอบครัว
ทักษะสำคัญที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุควรมี
การที่เราจะเลือกใครสักคนมาดูแลผู้สูงอายุในบ้านของเรา แน่นอนว่าต้องมีปัจจัยและคุณสมบัติหลายอย่างในการตัดสินที่จะรับบุคคลภายนอกเข้ามาอยู่ใกล้ชิดกับคนในครอบครัวของเราทั้งในช่วงเวลาที่เราอยู่หรือไม่อยู่บ้านก็ตาม คุณสมบัติที่คนส่วนใหญ่คาดหวังสำหรับคนดูแลผู้สูงอายุ มีดังต่อไปนี้

1. เป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะ คืออายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถคิดและตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผล มีวุฒิภาวะที่ดี
2. เนื่องจากการดูแลผู้สูงอายุเป็นเรื่องละเอียดอ่อน คนดูแลผู้สูงอายุจึงควรเป็นคนที่มีความรู้ทั้งในเรื่องจิตวิทยา และด้านโภชนาการอาหาร รวมทั้งความสะอาดทั่วไปด้วย แม้ว่าการจ้างคนดูแลผู้สูงอายุที่มีความรู้อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายเยอะกว่าการจ้างคนทั่วไป แต่ก็ถือว่าคุ้มค่า เพราะหากผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ไม่ดี คนดูแลขาดความรู้แล้ว อาจส่งผลต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจอีกด้วย
3. มีความน่าไว้วางใจ เมื่อจ้างคนดูแลผู้สูงอายุเข้ามาอยู่ในบ้าน อาจจะต้องรับรู้ในส่วนของที่เก็บของต่างๆ รู้ตารางชีวิตประจำวันของคนในครอบครัว คนดูแลผู้สูงอายุจึงต้องเป็นคนที่ไว้ใจได้ มีประวัติที่ดี และมีทัศนคติที่ดี
4. มีความอดทน เนื่องจากการดูแลผู้สูงอายุไม่ใช่เรื่องง่ายๆ บางครั้งอาจจะต้องดูแลทั้งร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุอีกด้วย โดยเฉพาะหากเป็นผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหรือโรคประจำตัว ก็จะมีความยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้นไปอีก
5. ควรจบหลักสูตรผู้ช่วยการพยาบาล หรือสาขาที่เกี่ยวข้องและหากมีประสบการณ์มักจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ แต่หากไม่จบหลักสูตรดังกล่าว แต่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุมาก่อน ก็จะได้รับการพิจารณาเช่นกัน
6. มีความซื่อสัตย์สุจริต เนื่องจากในบางครั้งอาจจะต้องอยู่กับผู้สูงอายุเพียงลำพัง
7. มีความขยันและสามารถช่วยเหลืองานอย่างอื่นได้ตามความเหมาะสม
อะไรที่ช่วยให้คุณคลายความกังวลเมื่อต้องปล่อยให้ผู้สูงอายุ คนชราอยู่กับผู้ดูแลตามลำพัง
แม้ว่าคุณจะพิจารณาคุณสมบัติของผู้ดูแลที่ทำการว่าจ้างอย่างครบถ้วนและได้ตัดสินใจจ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุมาแล้วนั้น เป็นเรื่องปกติหากคุณจะยังคงกังวลเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ อยู่ สิ่งที่จะช่วยให้คุณคลายความกังวลหากต้องปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่กับผู้ดูแลตามลำพังที่บ้านมีดังนี้

1. ตรวจสอบประวัติย้อนหลังของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ทำการว่าจ้างมา เพื่อให้แน่ใจว่าคนดูแลที่จ้างมานั้นไม่เคยมีประวัติการกระทำที่ผิดกฎหมายมาก่อน โดยสามารถตรวจสอบประวัติอาชญากรรมกับกองทะเบียนประวัติอาชญากรได้ที่ http://www.criminal.police.go.th/
2. สอบถามประวัติการทำงานต่าง ๆ ที่ผ่านมา โดยอาจสอบถามจากผู้ว่าจ้างโดยตรงว่าเคยดูแลผู้สูงอายุมาอย่างไรบ้าง มีประสบการณ์มากน้อยแค่ไหนในการดูแลผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง ขณะเดียวกันก็สามารถสอบถามจากผู้ว่าจ้างที่เคยทำการจ้างก่อนหน้านี้ได้เช่นเดียวกัน
3. ฝากฝังทางเพื่อนบ้านให้ช่วยสอดส่องดูแลอีกทีหนึ่ง ซึ่งเพื่อนบ้านจะสามารถติดต่อหาเราได้ทันทีหากมีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น
4. หากว่าจ้างคนดูแลผู้สูงอายุโดยหาจากสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ควรศึกษาคำวิจารณ์หรือรีวิวจากผู้ใช้ก่อนหน้าว่ามีความคิดเห็นต่อการบริการอย่างไร เพื่อให้มั่นใจว่าคนดูแลที่จ้างมานั้นน่าเชื่อถือและเป็นคนมีความเป็นมืออาชีพจริง ๆ
5. การติดตั้งกล้องวงจรปิดบริเวณบ้านช่วยให้สามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวได้ตลอดเวลา ถือเป็นการป้องกันความปลอดภัยที่ดีอย่างหนึ่งเช่นกัน
ข้อตกลงที่สำคัญในการดูแลผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง
เมื่อตัดสินใจจ้างคนดูแลผู้สูงอายุแล้ว ควรทำข้อตกลงสำคัญระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้ดูแลที่คุณทำการได้จ้างมา เพื่อเป็นการรับประกันความปลอดภัยให้กับผู้สูงอายุตลอดระยะเวลาการดูแล ซึ่งข้อตกลงที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจระหว่างสองฝ่ายมีดังนี้

1. ทำสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยสิ่งที่ควรระบุอยู่ในสัญญาอย่างชัดเจนได้แก่ ระยะเวลาการดูแล วันที่เท่าไหร่ถึงเท่าไหร่ ชั่วโมงการทำงาน จำนวนค่าจ้าง รวมไปถึงสวัสดิการและวันหยุดที่ผู้ดูแลควรได้รับตามกฎหมายแรงงาน โดยที่ทั้งสองฝ่ายต้องเซ็นยินยอมเพื่อเป็นการรับรู้ต่อสัญญาและข้อกำหนดที่ได้ตกลงกันไว้
2. ผู้ว่าจ้างควรอธิบายข้อมูลส่วนตัวของผู้สูงอายุให้กับผู้ดูแลอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุปนิสัย ความชอบส่วนตัว อาหารที่กินได้และไม่ได้ ที่สำคัญหากผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว ผู้ว่าจ้างควรบอกให้ผู้ดูแลรับรู้ก่อนเพื่อให้ผู้ดูแลสามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้
3. อธิบายขอบเขตและวิธีการทำงานให้กับผู้ดูแลอย่างชัดเจน สิ่งใดที่ทำได้และไม่ได้ เพื่อเป็นการป้องกันขั้นเบื้องต้น
4. ข้อตกลงเรื่องที่อยู่อาศัย หากผู้ว่าจ้างต้องการให้ผู้ดูแลอาศัยอยู่ที่บ้านตลอดช่วงระยะการดูแลผู้สูงอายุ ควรจัดเตรียมที่พักอาศัยให้กับผู้ดูแล รวมไปถึงแจกแจงเรื่องกฎในการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในบ้านตลอดช่วงระยะเวลาเช่นกัน
5. ใส่ใจในเรื่องของสุขอนามัยของผู้ดูแลที่ทำการว่าจ้างมา หากผู้ดูแลมีอาการป่วยกะทันหัน ผู้ว่าจ้างควรออกค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งสวัสดิการที่ผู้ดูแลควรได้รับ และควรให้ผู้ดูแลลางานได้ทันที เพื่อเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อต่อผู้สูงอายุภายในบ้าน

การทำข้อตกลงในการว่าจ้างนั้นนอกจากจะเป็นการช่วยให้ทำความเข้าใจอย่างชัดเจนแล้ว ยังช่วยสร้างความสบายใจให้กับทั้งสองฝ่ายได้อีกด้วย

เขตทวีวัฒนา พัฒนามากจากคลอง

เขตทวีวัฒนา ตั้งชื่อตามคลองทวีวัฒนา เป็นคลองที่มีความยาวมาก ไหลผ่านพื้นที่ของเขตในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ คลองทวีวัฒนา ว่ากันว่าในรัชสมัยรัชกาลที่ 3-5 เป็นช่วงที่มีการขุดคลอง เมื่อใช้ในการสัญจรมากขึ้น อีกทั้งเพื่อทำให้แม่น้ำเจ้าพระยาไม่คดเคี้ยวเพื่อความสะดวกในการเดินเรือ คลองทวีวัฒนาก็เช่นกัน เป็นคลองที่ขุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีการขุดหลังจากจากคลองเปรมประชากร โดยได้เริ่มขุดในปี พ.ศ. 2421 และทำพิธีเปิดคลองเมื่อวันศุกร์ เดือน 6 แรม 1 คำ ปีขาล พ.ศ. 2421 โดยพระราชทานนามว่า คลองทวีวัฒนา ด้วยทรงเห็นว่าคลองที่ใช้เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำท่าจีน อีกทั้งคลองภาษีเจริญและคลองมหาสวัสดิ์เริ่มตื้นเขิน จึงมีรับสั่งให้ขุดคลองนี้ขึ้นในแนวทิศตะวันออกเฉียงใต้-ตะวันตกเฉียงเหนือ เพื่อชักน้ำจากแม่น้ำท่าจีนให้ไหลลงทิศใต้ มาแก้ปัญหาลำคลองตื้นเขิน ดังพระราชดำรัสว่า อนึ่ง คลองมหาสวัสดิ์ แลคลองภาษีเจริญ แขวงเมืองนครชัยศรี ซึ่งเป็นของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ขุดขึ้นไว้นั้น ดูตื้นเสียไปทั้งสองคลอง ถ้าขุดคลองในระหว่าง ให้ตลอดถึงกัน คงจะชักกับแก้ให้หายตื้นไปได้ บัดนี้คลองนั้นก็สำเร็จแล้ว เป็นระยะคลองยาว 340 เส้น / 13.6 กิโลเมตร (25 เส้น = 1 กิโลเมตร) ให้ชื่อว่า "คลองทวีวัฒนา" แลบัดนี้ยังได้ขุดต่อไป ไปออกบ้านสี่พระยา แม่น้ำเมืองนครชัยศรี ระยะทาง 540 เส้น ด้วย/ 21.6 กิโลเมตร ปัจจุบัน ผ่านเขตทวีวัฒนา ออกจากกรุงเทพมหานคร เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างอำเภอบางกรวย อำเภอบางใหญ่ และอำเภอไทรน้อยของจังหวัดนนทบุรี กับอำเภอพุทธมณฑลและอำเภอบางเลนของจังหวัดนครปฐม ไปสิ้นสุดที่แม่น้ำท่าจีนในเขตอำเภอบางเลน มีความยาว 35.2 กิโลเมตร คลองทวีวัฒนามีทิศทางขวางคลองอื่นๆ จำนวนมาก เนื่องมาจากลำคลองในละแวกนั้นล้วนแต่ขุดอยู่ในแนวตะวันออกสู่ตะวันตก ชาวบ้านจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "คลองขวาง" ส่วนช่วงจังหวัดนนทบุรีและนครปฐม นิยมเรียกว่า "คลองนราภิรมย์" ตามชื่อวัดนราภิรมย์ ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองในจังหวัดนครปฐม ปัจจุบันคลองทวีวัฒนาได้ชื่อว่าเป็นคลองที่ยังมีสภาพแวดล้อมดีที่สุดคลองหนึ่งของกรุงเทพมหานคร จึงได้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในระบบนิเวศน์เชิงเกษตร บนพื้นที่ทำนา และยังเป็นที่ตั้งของวังทวีวัฒนา (วังทวีวัฒนา เป็นวังที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับส่วนพระองค์รัชกาลปัจจุบันเมื่อครั้งเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร) อีกด้วย โดยเริ่มแรกนั้น ท้องที่เขตทวีวัฒนาอยู่ในการปกครองของอำเภอตลิ่งชันของจังหวัดธนบุรี โดยเป็นส่วนหนึ่งของตำบลศาลาธรรมสพน์ (เดิมเรียกว่าตำบลศาลาทำศพ คนไทยเห็นว่าไม่เป็นมงคล เลยเปลี่ยนวิธีการเขียนใหม่ จึงแปลงเป็น “ธรรมสพน์” มีที่มาจาก “ธรรมสวนะ” ซึ่ง ว.แหวน และ พ.พาน สามารถแทนกันได้ จึงกลายเป็น ธรรมสพนะ-ธรรมสพน์ ซึ่งอ่านออกเสียงตรงกับคำว่าทำศพนั่นเอง) เนื่องจากตำบลนี้มีอาณาเขตกว้างขวางและมีประชากรเพิ่มขึ้น กระทรวงมหาดไทยจึงได้โอนพื้นที่ 7 หมู่บ้านทางทิศใต้ของตำบลนี้มาจัดตั้งเป็น ตำบลทวีวัฒนา ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2500 ภายหลังได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และต่อมาเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกตำบลและอำเภอใหม่ ตำบลทวีวัฒนาจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงทวีวัฒนา เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร ต่อมาท้องที่แขวงทวีวัฒนาและแขวงศาลาธรรมสพน์ (รวมกับท้องที่แขวงฉิมพลี แขวงบางระมาด แขวงบางพรม และแขวงบางเชือกหนัง เฉพาะทางฟากตะวันตกของถนนกาญจนาภิเษก) ก็ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตตลิ่งชันและจัดตั้งเขตทวีวัฒนา มีผลตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541



5 เคล็ดลับดูแลพ่อแม่สูงวัย

สิ่งที่เราควรตระหนักว่าพ่อแม่ของเราอายุมากขึ้นและต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากลูก ๆ หรือผู้อยู่ใกล้ชิด ในบางสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น อุบัติเหตุ หรือปัญหาสุขภาพ เราต้องสามารถให้ความช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างทันท่วงที หากผู้สูงอายุต้องการความช่วยเหลือและการดูแลเพิ่มเติมโปรดคำนึงถึงเคล็ดลับเหล่านี้

1. การปฏิเสธความช่วยเหลือจากผู้อื่น เมื่อผู้สูงอายุมีอายุเดินทางเข้ามาถึงวัยหนึ่ง ทุกคนอาจจะไม่ตระหนักได้ว่าสุขภาพจิตหรือร่างกายของตนเองเปลี่ยนแปลงไปมากเพียงใด ผู้สูงอายุส่วนหนึ่งมักจะปฏิเสธหรือไม่ร้องขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง เพราะหลายๆ ท่านยังเชื่อมั่นในตัวเองว่ายังทำได้อยู่ ยังแข็งแรงอยู่ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลที่ต้องคอยสังเกต และคอยระวังไม่ให้เกิดสิ่งไม่คาดคิด ผู้ดูแลต้องพยายามสร้างความเข้าใจ โดยไม่แสดงการตำหนิ ทั้งทางสีหน้า ท่าทางและภาษาพูด

2. อย่าคาดหวังว่าพ่อแม่จะขอความช่วยเหลือ บางครั้งคุณจะต้องสังเกตพวกเขาเพื่อให้รู้ว่าพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ ถามอย่างสุภาพและอ่อนโยนว่าพวกเขาต้องการความช่วยเหลือจากคุณหรือไม่ เราสามารถช่วยโดยไม่ต้องรอให้ท่านร้องขอ คอยดูแลอย่างใกล้ชิด ช่วยเพื่อไม่ให้ท่านทำเองเพราะอาจมีความเสี่ยง เช่นการทานยา ด้วยระบบความจำท่านอาจหลงลืมว่าทานไปแล้วหรือยัง ทำให้ยาบางตัวขาดไปหรือมากเกินไป ท่านไม่ขอให้เราช่วยแต่เราสามารถช่วยได้

3. ยอมรับว่าสิ่งต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลง พูดคุยทำความเข้าใจให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง ทั้งสุขภาพจิต สุขภาพร่างกาย การพูดคุยอย่างตรงไปตรงมา ด้วยท่าทีห่วงใยเอาใจใส่ จะทำให้ผู้สูงวัยยอมรับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้เร็วขึ้น

4. ขอความช่วยเหลือจากภายนอก แม้ว่าทางเลือกในการดูแลจะมีราคาแพง แต่มีแหล่งข้อมูลมากมายที่จะช่วยได้ อย่าง https://saijai.io/ ที่จะช่วยคุณค้นหาผู้ให้บริการดูแลผู้สูงวัย ยังมีข้อมูลน่าสนใจในพื้นที่เกี่ยวกับการดูแลและแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและผู้ดูแลที่โรงพยาบาลในพื้นที่สาขาของสมาคม (เช่นสมาคมโรคอัลไซเมอร์) หน่วยงานรัฐบาลและธุรกิจดูแลบ้าน

5. ตรวจสอบการเงินและเอกสาร หากยังไม่มี ก็ต้องวางแผนการจัดการ ไปจนถึงผู้รับมอบฉันทะด้านการดูแลสุขภาพและงบประมาณในการดูแลคุณจะทำให้ชีวิตของคุณง่ายขึ้นในที่สุดหากคุณรู้ว่าสิ่งต่างๆ อยู่ตรงไหนในกรณีที่พวกเขาต้องการการดูแลสุขภาพทางการเงินหรือระยะยาว



รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ

รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในเขตทวีวัฒนา เป็นเช่นเดียวกับส่วนอื่นของประเทศไทย ระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขในปัจจุบันยังคงให้ความสำคัญกับการดูแลแบบเฉียบพลันเป็นหลัก เช่นระบบการดูแลในโรงพยาบาล ซึ่งเมื่อพ้นระยะเฉียบพลันไปแล้ว แต่ยังมีช่องว่างในการให้บริการอยู่ในระบบบริการปฐมภูมิก็มีข้อจำกัดด้านบุคลากรทั้งในแง่ของ จำนวนและศักยภาพของ บุคลากร ในการให้บริการที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ โรงพยาบาล ชุมชนหลายแห่งได้มีการจ้างนักกายภาพบำบัดในการให้บริการ ในโรงพยาบาลและบริการเชิงรุก และโรงพยาบาลมีการจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง จัดทีมให้บริการเชิงรุก ในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home health care) เพื่อรองรับการดูแล ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมิติด้านสุขภาพของผู้สูงอายุนั้นกว้างกว่ามิติ ทางการแพทย์และสาธารณสุข อีกทั้งทักษะและความรู้ของ เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยและอาสาสมัครในชุมชน (อสม. และดูแล ด้านโภชนาการ ด้านการรักษาโรค ด้านคำแนะนำต่าง ๆ สำหรับผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ เป็นที่รวมตัวกันของผู้สูงอายุเพื่อมี กิจกรรมร่วมกันและให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน)

ปัจจุบันในประเทศไทยได้มีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ การดูแลที่บ้านในชุมชนส่วนใหญ่ในสังคมไทย จะเป็นการให้บริการการดูแลสุขภาพโดยคณะเจ้าหน้าที่ สาธารณสุข ที่ไปติดตามดูแลผู้ป่วยเรื้อรังที่บ้านและให้คำแนะนำ เรื่องของการดูแลสุขภาพให้แก่ประชาชนกลุ่มต่างๆ ในชุมชน ในหมู่บ้าน ซึ่งมีทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ประกอบด้วยบุคลากร ในหลายๆด้าน ได้แก่ กลุ่มแพทย์ กลุ่มพยาบาล กลุ่มเภสัชกร กลุ่มนักกายภาพบำบัด กลุ่มนักสังคมสงเคราะห์ กลุ่มนักอาชีวบำบัด และอาจมีผู้ช่วยฯ ที่ดูแลสุขภาพที่บ้าน และคนทำงานที่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่รูปแบบการที่ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

1. การไปเยี่ยมบ้าน (Home visit) ในผู้สูงอายุควรมีเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยและอาสาสมัครในชุมชน การเยี่ยมบ้านที่มีลักษณะเฉพาะดังนี้

- Illness home visit เป็นการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย

- Dying patient home visit เป็นการเยี่ยม บ้านผู้สูงอายุที่อยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต

- Assessment home visit เป็นการเยี่ยมบ้าน เพื่อประเมินผู้สูงอายุ

- Hospitalization follow up home visit เป็นการเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามการรักษาหลังจากออกจาก โรงพยาบาลสู่บ้าน เป็นการดูแลต่อเนื่องของระบบบริการ สุขภาพจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน

2. การดูแลสุขภาพที่บ้าน (Home health care) เป็นการดูแลสุขภาพที่มีแบบแผนการดูแลให้บริการที่เป็นทางการและสม่ำเสมอ โดยบุคลากรทางการแพทย์เช่นพยาบาล ชุมชน ที่ติดตามผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพที่ต้องติดตามดูแลเป็น ระยะๆ อย่างใกล้ชิดโดยศูนย์บริการสาธารณสุขจะดำเนินการ มีการติดตามเยี่ยมเป็นประจำ โดยใช้บ้านเปรียบเสมือนเป็น Ward โดยที่มีเตียงที่บ้านเป็นเตียงผู้ป่วย และเน้นครอบครัวเป็นหลักในการดูแล มีพยาบาลเวชปฏิบัติหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข คอยเป็นผู้ให้คำแนะนำ ประเมินอาการเป็นระยะๆ อาสาสมัครสาธารณสุขเป็น ผู้ช่วยพยาบาลในการเฝ้าระวังร่วมและประสานข้อมูลการดูแล กับทีมงาน

3. การบริการที่จัดในชุมชน เป็นศูนย์รับจัดส่ง พี่เลี้ยงเด็ก แม่บ้าน แม่ครัว ผู้ช่วยพยาบาล คนดูแลผู้สูงอายุ