ดูแลผู้สูงอายุ ใน บางกอกใหญ่, กรุงเทพมหานคร

ดูแลผู้สูงอายุ ใน บางกอกใหญ่, กรุงเทพมหานคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

อรวรรณ  บุ่งนาแซง
อรวรรณ บุ่งนาแซง
Saijai อายุ 36 ปี

สามารถดูแลผู้สูงอายุเคสธรรมดา เคสอยู่เป็นเพื่อนได้ค่ะ จัดยา วัดความดัน เจาะเบาหวานได้

แสดงเพิ่มเติม
ทิพปภา อินดี
ทิพปภา อินดี
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

เคยทำงานเปนแม่บ้านโรงงานที่สมุทรสาคร 10 ปี เป็นแม่บ้านอยู่ลำปาง 6 ตอนทำงานอยู่ลำปางเป็นแม่บ้านและดูแลแม่นายจ้างด้วยค่ะ ให้บริการดูแลผู้สูงอายุเคสธรรมดา อยู่เป็นเพื่อนผู้สูงอายุค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
วลัยพร ภู่รัตนกุล
วลัยพร ภู่รัตนกุล
Saijai ประสบการณ์ 3-4 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

มีความอดทนสูง ตรงต่อเวลา ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้ดี

แสดงเพิ่มเติม
รัฐฑี มีกระแส
รัฐฑี มีกระแส
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 49 ปี

อัธยาสัยดี ยี้มแย้ม พูดจาดีใจเย็น มีความอดทนสุง

แสดงเพิ่มเติม
พิกุลทอง  รังวิจี
พิกุลทอง รังวิจี
Saijai อายุ 54 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

มีประสบการณ์ดูแลผู้สูงอายุ ส่วนมากเป็นอยู่เป็นเพื่อนผู้สูงอายุที่ช่วยตัวเองได้ค่ะ ไม่ฟิตอาหาร ช่วยพยุงเดิน ใช้ไม้ค้ำ

แสดงเพิ่มเติม
ธมลวรรณ สังข์แก้ว
ธมลวรรณ สังข์แก้ว
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี
Saijai อายุ 38 ปี

ใส่ใจ เข้าใจ สะอาด ดูแลเปรียญเสมือนญาติ

แสดงเพิ่มเติม
ชัยศรี  เผ่าม่วง
ชัยศรี เผ่าม่วง
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี

ชื่อแจ้ค่ะ ทำงานดูแลผู้ป่วย ค่ะ งานที่ดูแลอยู่คือ สวนปัสสาวะวันละ 4 ครั้ง เปลี่ยนแพมเพิส ดูแลเรื่องอาหารและยา รวมทั้งความสะอาดของผู้ป่วย ทำอาหาร และทำงานบ้านได้ทุกอย่างยกเว้นงานสวนค่ะ ประสบการณ์2ปี1เดือน พร้อมเรียนรู้ค่ะถ้ามีอะไรนอกเหนือจากนี้

แสดงเพิ่มเติม
พิชญ์สิตา พงษ์เสถียรเตโช
พิชญ์สิตา พงษ์เสถียรเตโช
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

ชื่อเล่น เจี๊ยบอายุ ประสบการณ์ ด้าน การทำงาน และการบริบาล-ประสบการณ์ na โรงพยาบาลสุขุมวิท2ปีรับจ๊อบเฝ้าไข้ ความสามารถ ทางด้าน การบริบาล-ทำกายภาพเบื้องต้นได้ -วัดความดัน-วัดไข้ ปรอท-วัด ออกซิเจน ในเลือดได้-ฟีทซักซั่น ปากคอ- ทำแผล กดทับได้ -เช็ดตัว อาบน้ำ สระผม ตัดเล็บ บนเตียงได้ - เคลื่อนย้าย ผุ้ป่วย ได้ -ใส่เครื่อง ออกซิเจนได้ - ดูแลสายปัสสาวะได้ แต่เปลี่ยนสายไม่ได้ -สวนอุจาระได้- ทำอาหาร บด อาหาร สายยาง ได้ - สื่อสาร ภาษาอังกฤษ ฟัง พูด อ่าน เขียน ได้ระดับ พอใช้

แสดงเพิ่มเติม
ผกากาญจน์  รื่นอุรา
ผกากาญจน์ รื่นอุรา
Saijai ประสบการณ์ 3-4 ปี
Saijai อายุ 48 ปี

ปัจุบันทำงานดูแลผู้สูงอายุค่ะ มีประสบการณ์ด้านนี้ 3 ปี เข้าเวรดึกได้ค่ะ ฟีดได้ รับวัคซีนโควิค 4 เข็มแล้วค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
Pailin Sangmaneepang
Pailin Sangmaneepang
Saijai ประสบการณ์ 3-4 ปี

I am an honest woman without bad habits. I have experience in caring for post-stroke patients and patients with diabetes. You can also cook Thai and European food. If necessary, I can drive a car. (I have a driver's license) And keep the house clean at the request of the owner. Conscientious and kind attitude towards the patient is guaranteed.

แสดงเพิ่มเติม

เป็นคนที่รูปร่างสูงใหญ่ สามารถประคอง พยุง ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่สูงได้สบายๆ อดทนกับผู้สูงอายุและผู้ป่วยได้ดี ไม่วีน ไม่เหวี่ยง สะดวกรับงาน freelance เพราะเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
สมใจ  เจริญสุข
สมใจ เจริญสุข
Saijai ประสบการณ์ 3-4 ปี
ประภาพร พัฒนะแสง
ประภาพร พัฒนะแสง
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

บุคคลิคนิ่งๆ แต่เข้าหาคนง่าย รับผิดชอบในการทำงาน

เคยประจำที่ icu มากว่า 5ปี ยิ่งผุ้สูงอายุ่ที่ชอบเล่าความหลัง นั่งฟังนั่งซักได้ทั้งวัน

แสดงเพิ่มเติม
บีบีซาหรา ลาฮิม
บีบีซาหรา ลาฮิม
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี
อนันธิดา  หงษ์คำภา
อนันธิดา หงษ์คำภา
Saijai ประสบการณ์ 4-5 ปี
Saijai อายุ 44 ปี

ประสบการณ์ ดูแลผู้ป่วยกายภาพ อาบน้ำ จัดยาเปลี่ยนแพมเพิส วัดความดันวัดไข้ ฉีดยาเบาหวาน

แสดงเพิ่มเติม
Wanwisa Jaiaree
Wanwisa Jaiaree
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

มีประสบการณ์ทำงานเป็นผู้ช่วยพยาบาล ดูแลผู้สูงอายุด้านอายุกรรมศาสตร์ รพ.ศิริราช 5 ปี อยู่ รพ.เอกชนใน จ มหาสารคาม 1 ปี แผนก ผู้ป่วยนอกและแผนก ฉุกเฉิน ออก EMS เป็นครั้งคราว เคยรับเฝ้าไข้ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยผ่าตัดสะโพก ผู้ป่วยสับสนอายุเยอะ ผู้ป่วยทางโรคมะเร็ง

แสดงเพิ่มเติม
นฐภัทร์ษร โภคสกุล
นฐภัทร์ษร โภคสกุล
Saijai ประสบการณ์ 3-4 ปี

เคยไปเฝ้าคนชราป่วยมะเร็ง ที่ รพ ศิริราชผู้ป่วยไปทำ คีโม 12 ครั้ง 6 เดือน ผู้ป่วยไปให้คีโม 2ครั้ง/1 เดือน ,เคยดูแลคนชรา ที่ลูกสาวลูกชายไปทำงานดูแลอยู่ 3 ปี,ไปเป็นเพื่อนพาคนชราไปหาหมอ ,เป็นเพื่อนอยู่ที่พักเวลาลูกหลานไปธุระ,เตรียมอาหาร,ยาตามหมอสั่ง ดิฉันเป็นคนสะอาดเรียบร้อย มีระเบียบ พูดเพราะ ใจดีใจเย็น

แสดงเพิ่มเติม
วิมลทิพย์  โถสโมสร
วิมลทิพย์ โถสโมสร

กำลังศึกษาหลักสูตร NA ตอนนี้รับงานแม่บ้านออนไลน์ แบบรายชั่วโมงและรายววันค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
จันทร์ทิพย์ ธีระ
จันทร์ทิพย์ ธีระ
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี
Saijai อายุ 42 ปี

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

หาข้อมูล เจอเว็บใส่ใจ ที่มีพี่เลี้ยงดูแลผู้สูงอายุ ลองอ่านประสบการณ์เลย เจอจิต (พี่เลี้ยงดูแลพ่อ) ทุกอย่างเป็นไปตามข้อมูลในเว็บทำให้พวกเราไม่ยากที่จะตัดสินใจ จิตทำงานดีมากเข้ากับคุณพ่อได้ดี ขอบคุณใส่ใจค่ะ
Saijai
พชร ต้นไกลสุทธฺ์
4 ปีที่แล้ว
สะดวก ง่าย เพียงไม่กี่ขั้นตอนเราก็สามารถหาคนดูแลผู้สูงอายุได้ อีกอย่างในเว็บไซต์มีข้อมูลต่าง ๆ ที่ให้เราได้ศึกษาก่อนทำการจ้างอีกด้วย พอได้อ่านข้อมูลทำให้เราได้รู้วิธีการเตรียมตัวก่อนจ้างคนดูแลมาดูแลคุณแม่ เป็นข้อแนะนำที่ดีมาก ๆเลยค่ะ ประทับใจมาก ๆ ค่ะ
Saijai
วิกานดา ทองดี
4 ปีที่แล้ว
ได้คนคอยดูแลแม่ผมอย่างดี และถ่ายภาพรายงานเรื่องแม่ให้ผมทางไลน์อีกด้วยครับ คุ้มราคามากครับ
Saijai
ปราโมทย์ มนตรา
4 ปีที่แล้ว
ได้คนดูแลดี ผมก็หายห่วงครับ จะใช้บริการบ่อย ๆ
Saijai
สุชาดา เอี่ยมจินดา
4 ปีที่แล้ว
เราจ้างคนดูแลผู้สูงอายุมาดูแลคุณยายที่บ้าน พี่เขาทำงานดีมาก ๆ ที่สำคัญเลยคือพี่เขามีประสบการณ์ในการดูแลคนชรา เคยผ่านการอบรมมาแล้ว เลยทำให้เรามั่นใจ และ หายห่วงมาก ๆ
Saijai
นารีรัตน์ ภัทรบัณฑิต
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ดูแลผู้สูงอายุ

ตัวเลือกใดที่ดีกว่าระหว่างจ้างคนดูแลผู้สูงอายุที่บ้านหรือให้ผู้สูงอายุอยู่บ้านพักคนชรา
คาดการณ์ว่าในปี 2564 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุ ร้อยละ 16.2 ของประชากรทั้งหมด ผู้สูงอายุที่เคยดูแลเราในวันก่อนก็เปลี่ยนบทบาทมาเป็นคนที่เราต้องดูแล วิถีชีวิตปัจจุบัน หลายครอบครัวไม่สามารถดูแลผู้สูงอายุได้ด้วยตัวเอง อะไรที่ดีกว่าระหว่างจ้างคนดูแลผู้สูงอายุที่บ้านหรือให้ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุดูแล

ข้อดีของการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน

การที่ผู้สูงอายุได้อยู่อาศัยในบ้าน ทำให้ไม่รู้สึกแปลกสถานที่ รู้สึกว่าอยู่กับครอบครัวลูกหลาน ไม่เกิดความว้าเหว่ ผู้สูงอายุยังอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดิมและไม่รู้สึกว่ามีใครหายไป การดูแลยังอยู่ในสายตาของลูกหลาน หากเกิดข้อบกพร่องหรือสิ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่สบายใจ ผู้สูงอายุสามารถพูดขึ้นกับลูกหลานและแก้ไขปัญหาได้ในทันที

ข้อเสียของการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน

คือค่าใช้จ่ายที่สูง เพราะต้องใช้ผู้ที่ผ่านการอบรมเป็นพิเศษ และอาจต้องจ้าง ตลอด 24 ชั่วโมง หรืออาจต้องใช้ 1-2 คนในการดูแล ผู้ว่าจ้างไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้เลยว่านิสัยของคนที่จ้างมาเป็นอย่างไร รักการทำงานบริการผู้สูงอายุหรือไม่ หรือสามารถการปรับตัวให้เข้ากับผู้สูงอายุได้หรือไม่

ข้อดีของการใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุหรือบ้านพักคนชรา

คือมีสถานที่พร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการดูแล บางแห่งมีเครื่องมือแพทย์ หรือพยาบาลวิชาชีพดูแล ผู้สูงอายุได้พบปะกับอื่น ๆ ในวัยเดียวกัน ซึ่งจะช่วยคลายความกังวลใจของผู้สูงอายุลงไปได้บ้าง หากมีเหตุฉุกเฉิน เกิดอุบัติเหตุ ไม่สบาย ทางศูนย์ดูแลพร้อมให้ปฐมพยาบาลและนำส่งโรงพยาบาล

ข้อเสียของการใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและเราจะไม่มีทางรู้หรือเห็นเหตุการณ์อื่นใดนอกเหนือจากตอนที่ไปถึงศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งอาจปล่อยปละละเลย ผู้สูงอายุอาจไม่มีความสุขที่ต้องจากครอบครัว สุขภาพจิตอาจแย่ลง

ท้ายที่สุดแล้วความใส่ใจและความพร้อมของสมาชิกครอบครัวมีส่วนในการพิจารณาการตัดสินใจ และที่สำคัญคือตัวของผู้สูงอายุที่เราต้องดูแลว่าท่านมีความพร้อมและยินยอมเห็นสมควรกับแนวทางการเลือกดูแลของสมาชิกครอบครัว
ทักษะสำคัญที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุควรมี
การที่เราจะเลือกใครสักคนมาดูแลผู้สูงอายุในบ้านของเรา แน่นอนว่าต้องมีปัจจัยและคุณสมบัติหลายอย่างในการตัดสินที่จะรับบุคคลภายนอกเข้ามาอยู่ใกล้ชิดกับคนในครอบครัวของเราทั้งในช่วงเวลาที่เราอยู่หรือไม่อยู่บ้านก็ตาม คุณสมบัติที่คนส่วนใหญ่คาดหวังสำหรับคนดูแลผู้สูงอายุ มีดังต่อไปนี้

1. เป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะ คืออายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถคิดและตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผล มีวุฒิภาวะที่ดี
2. เนื่องจากการดูแลผู้สูงอายุเป็นเรื่องละเอียดอ่อน คนดูแลผู้สูงอายุจึงควรเป็นคนที่มีความรู้ทั้งในเรื่องจิตวิทยา และด้านโภชนาการอาหาร รวมทั้งความสะอาดทั่วไปด้วย แม้ว่าการจ้างคนดูแลผู้สูงอายุที่มีความรู้อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายเยอะกว่าการจ้างคนทั่วไป แต่ก็ถือว่าคุ้มค่า เพราะหากผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ไม่ดี คนดูแลขาดความรู้แล้ว อาจส่งผลต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจอีกด้วย
3. มีความน่าไว้วางใจ เมื่อจ้างคนดูแลผู้สูงอายุเข้ามาอยู่ในบ้าน อาจจะต้องรับรู้ในส่วนของที่เก็บของต่างๆ รู้ตารางชีวิตประจำวันของคนในครอบครัว คนดูแลผู้สูงอายุจึงต้องเป็นคนที่ไว้ใจได้ มีประวัติที่ดี และมีทัศนคติที่ดี
4. มีความอดทน เนื่องจากการดูแลผู้สูงอายุไม่ใช่เรื่องง่ายๆ บางครั้งอาจจะต้องดูแลทั้งร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุอีกด้วย โดยเฉพาะหากเป็นผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหรือโรคประจำตัว ก็จะมีความยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้นไปอีก
5. ควรจบหลักสูตรผู้ช่วยการพยาบาล หรือสาขาที่เกี่ยวข้องและหากมีประสบการณ์มักจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ แต่หากไม่จบหลักสูตรดังกล่าว แต่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุมาก่อน ก็จะได้รับการพิจารณาเช่นกัน
6. มีความซื่อสัตย์สุจริต เนื่องจากในบางครั้งอาจจะต้องอยู่กับผู้สูงอายุเพียงลำพัง
7. มีความขยันและสามารถช่วยเหลืองานอย่างอื่นได้ตามความเหมาะสม
อะไรที่ช่วยให้คุณคลายความกังวลเมื่อต้องปล่อยให้ผู้สูงอายุ คนชราอยู่กับผู้ดูแลตามลำพัง
แม้ว่าคุณจะพิจารณาคุณสมบัติของผู้ดูแลที่ทำการว่าจ้างอย่างครบถ้วนและได้ตัดสินใจจ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุมาแล้วนั้น เป็นเรื่องปกติหากคุณจะยังคงกังวลเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ อยู่ สิ่งที่จะช่วยให้คุณคลายความกังวลหากต้องปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่กับผู้ดูแลตามลำพังที่บ้านมีดังนี้

1. ตรวจสอบประวัติย้อนหลังของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ทำการว่าจ้างมา เพื่อให้แน่ใจว่าคนดูแลที่จ้างมานั้นไม่เคยมีประวัติการกระทำที่ผิดกฎหมายมาก่อน โดยสามารถตรวจสอบประวัติอาชญากรรมกับกองทะเบียนประวัติอาชญากรได้ที่ http://www.criminal.police.go.th/
2. สอบถามประวัติการทำงานต่าง ๆ ที่ผ่านมา โดยอาจสอบถามจากผู้ว่าจ้างโดยตรงว่าเคยดูแลผู้สูงอายุมาอย่างไรบ้าง มีประสบการณ์มากน้อยแค่ไหนในการดูแลผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง ขณะเดียวกันก็สามารถสอบถามจากผู้ว่าจ้างที่เคยทำการจ้างก่อนหน้านี้ได้เช่นเดียวกัน
3. ฝากฝังทางเพื่อนบ้านให้ช่วยสอดส่องดูแลอีกทีหนึ่ง ซึ่งเพื่อนบ้านจะสามารถติดต่อหาเราได้ทันทีหากมีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น
4. หากว่าจ้างคนดูแลผู้สูงอายุโดยหาจากสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ควรศึกษาคำวิจารณ์หรือรีวิวจากผู้ใช้ก่อนหน้าว่ามีความคิดเห็นต่อการบริการอย่างไร เพื่อให้มั่นใจว่าคนดูแลที่จ้างมานั้นน่าเชื่อถือและเป็นคนมีความเป็นมืออาชีพจริง ๆ
5. การติดตั้งกล้องวงจรปิดบริเวณบ้านช่วยให้สามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวได้ตลอดเวลา ถือเป็นการป้องกันความปลอดภัยที่ดีอย่างหนึ่งเช่นกัน
ข้อตกลงที่สำคัญในการดูแลผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง
เมื่อตัดสินใจจ้างคนดูแลผู้สูงอายุแล้ว ควรทำข้อตกลงสำคัญระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้ดูแลที่คุณทำการได้จ้างมา เพื่อเป็นการรับประกันความปลอดภัยให้กับผู้สูงอายุตลอดระยะเวลาการดูแล ซึ่งข้อตกลงที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจระหว่างสองฝ่ายมีดังนี้

1. ทำสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยสิ่งที่ควรระบุอยู่ในสัญญาอย่างชัดเจนได้แก่ ระยะเวลาการดูแล วันที่เท่าไหร่ถึงเท่าไหร่ ชั่วโมงการทำงาน จำนวนค่าจ้าง รวมไปถึงสวัสดิการและวันหยุดที่ผู้ดูแลควรได้รับตามกฎหมายแรงงาน โดยที่ทั้งสองฝ่ายต้องเซ็นยินยอมเพื่อเป็นการรับรู้ต่อสัญญาและข้อกำหนดที่ได้ตกลงกันไว้
2. ผู้ว่าจ้างควรอธิบายข้อมูลส่วนตัวของผู้สูงอายุให้กับผู้ดูแลอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุปนิสัย ความชอบส่วนตัว อาหารที่กินได้และไม่ได้ ที่สำคัญหากผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว ผู้ว่าจ้างควรบอกให้ผู้ดูแลรับรู้ก่อนเพื่อให้ผู้ดูแลสามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้
3. อธิบายขอบเขตและวิธีการทำงานให้กับผู้ดูแลอย่างชัดเจน สิ่งใดที่ทำได้และไม่ได้ เพื่อเป็นการป้องกันขั้นเบื้องต้น
4. ข้อตกลงเรื่องที่อยู่อาศัย หากผู้ว่าจ้างต้องการให้ผู้ดูแลอาศัยอยู่ที่บ้านตลอดช่วงระยะการดูแลผู้สูงอายุ ควรจัดเตรียมที่พักอาศัยให้กับผู้ดูแล รวมไปถึงแจกแจงเรื่องกฎในการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในบ้านตลอดช่วงระยะเวลาเช่นกัน
5. ใส่ใจในเรื่องของสุขอนามัยของผู้ดูแลที่ทำการว่าจ้างมา หากผู้ดูแลมีอาการป่วยกะทันหัน ผู้ว่าจ้างควรออกค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งสวัสดิการที่ผู้ดูแลควรได้รับ และควรให้ผู้ดูแลลางานได้ทันที เพื่อเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อต่อผู้สูงอายุภายในบ้าน

การทำข้อตกลงในการว่าจ้างนั้นนอกจากจะเป็นการช่วยให้ทำความเข้าใจอย่างชัดเจนแล้ว ยังช่วยสร้างความสบายใจให้กับทั้งสองฝ่ายได้อีกด้วย

ข้อมูลทั่วไปเขตบางกอกใหญ่

เขตบางกอกใหญ่ นี้ตั้งชื่อตามคลองบางกอกใหญ่ หรือเรียกอีกอย่างว่า คลองบางหลวง ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา จนกระทั่งมีการขุดคลอง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ.2065 ทำให้กระแสน้ำเปลี่ยนแปลงจนทำให้คลองกลายเป็นแม่น้ำสายหลักและส่วนของแม่น้ำเดิม กลายเป็นคลองบางกอกใหญ่ ในปัจจุบัน บางกอกใหญ่หรือที่เรียกกันว่าตำบลวัดอรุณเป็นที่ตั้งของธนบุรีเมื่อเมืองหลวงตั้งขึ้นที่นี่ระหว่างปี พ.ศ. 2310-2525 เดิมเรียกว่าอำเภอหงสาราม เมื่อตั้งอำเภอขึ้นในปี พ.ศ. 2458 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอบางกอกใหญ่" ในปี พ.ศ. 2459 เลื่อนยศเป็นกิ่งอำเภอบางยี่ขัน (อำเภอบางยี่ขัน) ในปี พ.ศ. 2481 ได้เลื่อนยศกลับเป็น อำเภอใน พ.ศ. 2501 และในที่สุดก็เปลี่ยนเป็นเขตในการปฏิรูปการบริหารเมื่อปี พ.ศ. 2515 มีคลองบางกอกใหญ่ เป็นคลองที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เชื่อมต่อกับแม่น้้าเจ้าพระยา เริ่มตั้งแต่ปากคลองบางกอกใหญ่จากแม่น้้าเจ้าพระยาฝั่งขวาของป้อมวิไชยประสิทธิ์แบ่งเขตบางกอกใหญ่กับ เขตธนบุรี ถึงคลองมอญ ที่ใช้แบ่งเขตบางกอกใหญ่กับเขตภาษีเจริญ รวมความยาวทั้งสิ้น 6,200 เมตร มีความกว้าง 8 – 40 เมตร ก่อนที่บริเวณริมคลองมีบ้านเรือนสร้างขึ้นเป็นชุมชนอย่างหนาแน่นอย่างในปัจจุบัน ในอดีตเป็นเส้นทางสัญจรหลักเพื่อการค้าขาย ต่อมามีผู้คนจากต่างที่หลากหลาย เชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมเข้ามาตั้งถิ่นฐานและสร้างบ้านเรือนในพื้นที่ริมคลองเป็นจำนวนมากทำให้เกิด วิถีชีวิตที่หลากหลายจนกลายเป็นชุมชนที่มีรูปแบบพหุวัฒนธรรมเก่าแก่ที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ชีวิตดั้งเดิมของคนริมคลองบางกอกใหญ่เป็นหลัก ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมคลองไม่ได้ใช้ในการสัญจรไปมาในชีวิตประจำวันมานานแล้ว บริเวณโดยรอบคลองบางกอกใหญ่มีเส้นทางคมนาคมสายหลัก หลายเส้นทางที่ตัดผ่านคลองและพื้นที่รอบๆ ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคมทางถนน เช่น ถนนเพชรเกษม ถนน รัชดาภิเษก ถนนราชพฤกษ์ ถนนอิสรภาพ และถนนอรุณอมรินทร์ หรือการคมนาคมระบบราง เช่น รถไฟ และ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ยศเส – บางหว้า วันนี้หากเราต้องการเห็นวิถีชีวิตเหมือนเมื่อวันวาน เราสามารถไปชมได้ที่ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางกอกใหญ่

ชื่อเขตบางกอกใหญ่มีที่มาจากคลองบางกอกใหญ่หรืออาจคุ้นเคยมากกว่าชื่อ “คลองบางหลวง” พบกับวิถีชุมชน และผู้คนชาวบางกอกใหญ่ เดิมเป็นพื้นที่สวนเขตใกล้คียง แต่มีผลไม้ขึ้นชื่อที่แตกต่างได้แก่ ส้มโอ ส้มเกลี้ยง ลำไยเพกา มีเรื่องราวของแขกจามเปอร์เซียที่เข้ามาอาศัยตั้งแต่สมัยอยุธยา และประเพณีต่างๆ ของแขกจาม รวมทั้งพิธีการต่างๆ ที่สำคัญๆ ของชนชาวบางกอกใหญ่ และเรื่องราวที่จัดนิทรรศการ บอกเล่าความเป็นมา



“ช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต”

การดูแลคนที่คุณรักในช่วงสุดท้ายของชีวิตไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ว่าคุณจะแบกรับความรับผิดชอบทั้งหมดหรือเพียงแค่ต้องการอยู่เคียงข้างพวกเขา คุณอาจสงสัยว่า “ช่วงวาระสุดท้ายก่อนตาย” ที่ต้องอาศัย “การดูแลแบบประคับประคอง” เป็นช่วงสำคัญที่ผู้ป่วย ญาติ และแพทย์ ต้องตัดสินใจร่วมกันว่าจะยื้อหรือยุติการดูแลรักษา จากผลสำรวจเรื่องการรับรู้และทัศนคติของประชาชนต่อการดูแลแบบประคับประคองในประเทศไทย ของทีดีอาร์ไอ พบว่า คนส่วนใหญ่ไม่เคยนึกถึงและหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงความตาย แต่จะเริ่มนึกถึงความตายเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุหรือเริ่มมีปัญหาสุขภาพ

อายุขัยของแต่ละคนแตกต่างกัน จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่มีใครคาดเดาได้เวลาวาระสุดท้ายของชีวิตจะมาถึงเมื่อใหร่ แต่สำหรับคนที่ชีวิตดำเนินมาถึงช่วงสุดท้ายและเสียชีวิตด้วยโรคชรา อาจจะมีสัญญานบ่งบอกที่คนรอบข้างสังเกตได้ดังนี้

สัญญาณแรกสุด คือผู้ป่วยมีความรู้สึกหมดอาลัยตายอยาก ไม่กำลังใจที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป

ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการรำลึกถึงวัยเด็กและประสบการณ์ชีวิตก่อนหน้านี้ เบื่ออาหาร อ่อนเพลียทั่วไป และเมื่อยล้าเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

วันก่อนสิ้นชีวิต ผู้ป่วยมักจะนอนหลับมากกว่าตื่น พวกเขาจะเคลื่อนไหวและพูดคุยน้อยลงและอาจไม่ตอบสนองต่อการสนทนา ความรู้สึกในการได้ยินของพวกเขามักจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่การมองเห็นอาจบกพร่อง

สัญญาณอื่น ๆ ในวันวาระสุดท้ายของชีวิต อาจรวมถึง ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ และอุณหภูมิร่างกายลดลง หายใจลำบาก กลืนลำบาก ปฏิเสธอาหาร ไม่มีการเคลื่อนไหวของลำไส้หรือปัสสาวะอีกต่อไป เห็นภาพหลอน ภาพลวงตา หรือภาพลวงตา บางคนประสบกับอาการกระสับกระส่ายหรือหมดเรี่ยวแรง

ชั่วโมงก่อนสิ้นชีวิต ระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เริ่มหยุดทำงาน คือ การหายใจผิดปกติและช่องว่างระหว่างลมหายใจยาวขึ้น (การหายใจแบบ Cheyne-Stokes)

หายใจมีเสียงดัง ตาเหลือก แขนขาเย็น ผิวสีม่วง เทา ซีด หรือมีรอยด่างบนหัวเข่า เท้า และมือ ชีพจรอ่อน และหมดสติไปในที่สุด แต่ในขณะที่หมดสติยังอาจจะได้ยินอยู่

ตอนตาย ในขณะที่เสียชีวิต การหายใจจะหยุดลงและไม่มีชีพจรหรือความดันโลหิตที่วัดได้ หากตายังเปิดอยู่ รูม่านตาจะขยายออก เมื่อกล้ามเนื้อของร่างกายผ่อนคลาย ลำไส้และกระเพาะปัสสาวะก็จะว่างเปล่า เมื่อเลือดจับตัว ผิวจะเริ่มซีดและเป็นขี้ผึ้ง หลังความตาย คุณอาจยังเห็นน้ำตาไหลออกจากตาหรือเคลื่อนไหวแขน ขา หรือกล่องเสียงเล็กน้อย

ดังนั้น แม้เราปฏิเสธความตายไม่ได้ แต่การเตรียมตัว การปรับทัศนคติและตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมการก่อนตายจึงเป็นเรื่องที่ไม่ว่าอายุเท่าไหร่ ก็ควรทำความเข้าใจและเตรียมไว้ล่วงหน้า



เตรียมตัวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ

ภายในปี พ.ศ. 2575 ประชากรส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ และในขณะที่คนกลุ่มนี้เตรียมตัวสำหรับการเกษียณอายุและการใช้ชีวิตในบั้นปลาย เราควรเตรียมความพร้อมให้กันประชากรกลุ่มนี้เพื่อรับมือกัยความเปลี่ยนแปลงมากมายที่ต้องเผชิญ ผู้สูงอายุอาจมีช่วงเวลาที่ยากลำบากกว่าในการเตรียมตัวหรือตอบสนองในกรณีฉุกเฉิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อาศัยอยู่ตามลำพัง มีการเคลื่อนไหวที่จำกัด หรือต้องพึ่งพาผู้ดูแล หากคุณหรือคนที่คุณรักเป็นส่วนหนึ่งของจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น เรามีเคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณพร้อมสำหรับเหตุการณ์เหล่านี้

มีเครือข่ายสนับสนุนสร้างเครือข่ายสนับสนุน

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่คนเดียว และเกือบครึ่งจะเป็นผู้หญิง เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สูงอายุทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่คนเดียว จะต้องมีเครือข่ายสนับสนุนที่พวกเขาสามารถพึ่งพาได้ในกรณีฉุกเฉิน เครือข่ายสนับสนุนของคุณควรประกอบด้วยเพื่อนสนิท สมาชิกในครอบครัว ผู้ดูแลหรือเพื่อนบ้าน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือและ วางแผนร่วมกับผู้คนในเครือข่ายของคุณและแจ้งให้พวกเขาทราบข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับความต้องการทางการแพทย์และแจ้งให้พวกเขาทราบว่าคุณเก็บอุปกรณ์ฉุกเฉินและยารักษาโรคไว้ที่

ชุดฉุกเฉิน เครื่องมือหากเกิดสภาวะฉุกเฉิน

เมื่อทำชุดอุปกรณ์ฉุกเฉิน ให้รวมยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ และคำแนะนำเกี่ยวกับความช่วยเหลือพิเศษที่คุณต้องการ เก็บรายชื่อแพทย์และหมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ เอกสารทางการแพทย์ ยา ใบสั่งยา และคำแนะนำไว้ในภาชนะกันน้ำเพื่อป้องกันความเสียหายและเข้าถึงได้ง่าย ในการพิจารณาว่ายาและเวชภัณฑ์ใดที่จะรวมไว้ในชุดอุปกรณ์ของคุณ ให้นึกถึงสิ่งที่คุณต้องการในช่วงหนึ่งสัปดาห์หากคุณต้องอพยพหรือพักพิงในสถานที่ชั่วคราว พิจารณาความต้องการส่วนบุคคล เช่น แว่นสายตา เครื่องช่วยฟัง รถเข็นคนพิการ แบตเตอรี่ และออกซิเจน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินของคุณมีสิ่งของที่จำเป็นทั้งหมดที่คุณต้องการนอกเหนือจากพื้นฐาน น้ำ อาหาร ไฟฉาย และชุดปฐมพยาบาล

อัพเดทเอกสารสำคัญ

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าในกรณีฉุกเฉิน คุณสามารถเข้าถึงข้อมูลล่าสุดได้ ใช้เวลาในการปรับปรุงเอกสารสำคัญรวมถึงเวชระเบียน พินัยกรรม โฉนด ข้อมูลทางการเงิน และบัตรประกัน นอกจากนี้ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้อัปเดตรายชื่อแพทย์และหมายเลขโทรศัพท์ รวมถึงยาและขนาดยาในชุดฉุกเฉินของคุณ การมีข้อมูลทางการแพทย์และการเงินของคุณเป็นปัจจุบันและอยู่ในสถานที่ที่ปลอดภัยสามารถช่วยในระหว่างและหลังเหตุฉุกเฉินเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะได้รับความช่วยเหลือที่คุณต้องการ