วิธีการทำงาน
ติดต่อเรา
ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ
แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ
เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ
ยืนยันการจองของคุณ
เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA
ประเภทงานบริการ
ผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราว ผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย รับอยู่เป็นเพื่อนผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมบริการในเมืองยอดนิยม
บางเขน บางกอกน้อย ป้อมปราบศัตรูพ่า พระนคร บางพลัด บางบอน พระโขนง ภาษีเจริญ คลองสามวา ตลิ่งชันพยาบาลวิชาชีพ ICU และพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ นิสัยร่าเริง สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ เข้าใจชีวิต เชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพระบบสมอง หลอดเลือด หัวใจ ทางเดินอาหาร ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดระบบต่างๆ ผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษที่บ้าน ผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องการเพื่อน
เคยไปเฝ้าคนชราป่วยมะเร็ง ที่ รพ ศิริราชผู้ป่วยไปทำ คีโม 12 ครั้ง 6 เดือน ผู้ป่วยไปให้คีโม 2ครั้ง/1 เดือน ,เคยดูแลคนชรา ที่ลูกสาวลูกชายไปทำงานดูแลอยู่ 3 ปี,ไปเป็นเพื่อนพาคนชราไปหาหมอ ,เป็นเพื่อนอยู่ที่พักเวลาลูกหลานไปธุระ,เตรียมอาหาร,ยาตามหมอสั่ง ดิฉันเป็นคนสะอาดเรียบร้อย มีระเบียบ พูดเพราะ ใจดีใจเย็น
ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ
รีวิวล่าสุด
คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ดูแลผู้สูงอายุ
2. การฝึกอบรมเพื่อให้มีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ และมีความรู้ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุให้ถูกวิธี เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
3. อุปนิสัย ผู้ดูแลผู้สูงอายุต้องมีใจรักในงานบริการ มีบุคลิกชอบช่วยเหลือผู้อื่น มีความจริงใจ มีความรัก ความสงสาร ความเห็นอกเห็นใจ ปรารถนาดีต่อผู้สูงอายุ เข้าใจและรับฟังเรื่องราวของผู้สูงอายุ เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุให้มีความสุข
4. รู้จักผิดชอบชั่วดี ต้องรู้จักแยกแยะว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำและเข้าใจในเหตุผลของความถูกต้องดีงาม (moral reasoning)
5. อายุที่เหมาะสม หลายคนอาจมองข้ามเรื่องของช่วงอายุไป แต่ต้องเข้าใจว่าช่วงอายุมีผลต่อวุฒิภาวะ ถ้าเด็กมากเกินไปก็อาจจะมีความอดทนที่ต่ำเพราะประสบการณ์การในชีวิตยังน้อย หรือถ้าอายุมากเกินไปก็ทำให้ความคล่องตัวในการดูแลผู้สูงวัยอาจจะมีน้อยลง
6. ประสบการณ์นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะบ่งบอกว่าคนคนนั้นเคยผ่านงานดูแลผู้สูงวัยมาก่อน ทำให้เข้าใจเนื้องานได้อย่างรวดเร็ว เข้าใจรายละเอียดของการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งโดยรวมแล้วผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุจำเป็นต้องมีใจรักในงานเป็นพิเศษ ต้องใช้ความอดทนและใช้ความรู้ความสามารถที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้สามารถดูแลได้ถูกวิธีและถูกใจกันทุกฝ่ายอีกด้วย
7. เป็นผู้ประสานงานและเชื่อมโยงระหว่างบุตรหลานและญาติมิตรกับผู้สูงอายุ เมื่อได้รับความไว้วางใจให้มาดูแลผู้สูงอายุแล้ว ผู้ดูแลต้องสามารถสื่อสารส่งต่อข้อมูลที่จะช่วยให้ทำงานได้ดีและเข้าใจผู้สูงอายุมากขึ้น
การเลือกแม่บ้านหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ เข้ามาดูแลพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย วัยชรา แม้จะคล้ายกับการดูแลเด็ก แต่มีความแตกต่างกันบ้างในส่วนของรายละเอียด เช่น เรื่องอาหารการกิน การทานยา และเรื่องของการอยู่เป็นเพื่อน ซึ่งเหตุผลหนึ่งที่เราเลือกใช้บริการ ผู้ดูแลผู้สูงอายุนั้น เพราะเราอยากให้ผู้สูงอายุได้อยู่ในบรรยากาศที่คุ้นเคย ใกล้ชิดลูกหลาน และได้รับการดูแลที่ถูกต้อง เหมาะสม ตามสภาพวัย ของผู้สูงอายุ หากเราต้องทำงานไปด้วยนั้นหมายถึงเราต้องปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังกับผู้ดูแล เราสามารถลดความกังวลนั้นได้อย่างไร หากกังวลเรื่องอาหารการกิน การทานยาของคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องอยู่บ้านลำพัง การที่ได้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ เข้ามาดูแลปัญหาเรื่องการทานอาหาร ทานยาไม่ตรงเวลาก็จะหมดไป เมื่อเราได้สรุปงาน หน้าที่ของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ก็จะทำตามตารางเวลาการทำงานที่เราได้จัดขึ้น แม้เราไม่อยู่เราก็จะแน่ใจได้ว่าผู้สูงอายุจะได้รับการดูแล เราต้องคิดว่า เมื่อเราต่างออกไปทำงาน และผู้สูงอายุที่ต้องอยู่บ้านคนเดียว ท่านอาจจะรู้สึกเหงาและเบื่อหน่าย หรือบางครั้งเราเองอาจจะรู้สึกกังวลหากเขาหกล้มหรือเกิดอุบัติเหตุแล้วไม่มีใครอยู่บ้าน แต่การมีผู้ดูแลผู้สูงอายุมาดูแลและอยู่เป็นเพื่อนก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกดี หมดกังวลและไม่เบื่อหน่าย อาจมีกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้สูงอายุฝึกคิด หรือบางครั้งผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ดูแลยังสามารถพาไปออกกำลังกายเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุผ่อนคลายได้อีกด้วย กังวลเรื่องการดูแลทุก ๆ รายละเอียด ข้อนี้ถือว่าดีมากเนื่องจากพี่เลี้ยงที่จ้างมาดูแลผู้สูงอายุในบ้าน จะทำหน้าที่แทนเราทุกอย่าง เช่น เช็ดตัว ป้อนข้าว เปลี่ยนผ้าอ้อมผู้ใหญ่ โดยที่ไม่รังเกียจ เพราะมีการอบรมมาเป็นอย่างดี ช่วยดูแลขณะที่เราไม่อยู่ ความกังวลทั้งหมดนี้จะหมดไปหากเราเลือกผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ผ่านการอบรมมาอย่างดี ใส่ใจในงานบริการ แม้อยู่ตามลำพังกับผู้ดูแล ก็ไม่ต่างกับเราดูแลท่านเอง
1. ทำสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยสิ่งที่ควรระบุอยู่ในสัญญาอย่างชัดเจนได้แก่ ระยะเวลาการดูแล วันที่เท่าไหร่ถึงเท่าไหร่ ชั่วโมงการทำงาน จำนวนค่าจ้าง รวมไปถึงสวัสดิการและวันหยุดที่ผู้ดูแลควรได้รับตามกฎหมายแรงงาน โดยที่ทั้งสองฝ่ายต้องเซ็นยินยอมเพื่อเป็นการรับรู้ต่อสัญญาและข้อกำหนดที่ได้ตกลงกันไว้
2. ผู้ว่าจ้างควรอธิบายข้อมูลส่วนตัวของผู้สูงอายุให้กับผู้ดูแลอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุปนิสัย ความชอบส่วนตัว อาหารที่กินได้และไม่ได้ ที่สำคัญหากผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว ผู้ว่าจ้างควรบอกให้ผู้ดูแลรับรู้ก่อนเพื่อให้ผู้ดูแลสามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้
3. อธิบายขอบเขตและวิธีการทำงานให้กับผู้ดูแลอย่างชัดเจน สิ่งใดที่ทำได้และไม่ได้ เพื่อเป็นการป้องกันขั้นเบื้องต้น
4. ข้อตกลงเรื่องที่อยู่อาศัย หากผู้ว่าจ้างต้องการให้ผู้ดูแลอาศัยอยู่ที่บ้านตลอดช่วงระยะการดูแลผู้สูงอายุ ควรจัดเตรียมที่พักอาศัยให้กับผู้ดูแล รวมไปถึงแจกแจงเรื่องกฎในการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในบ้านตลอดช่วงระยะเวลาเช่นกัน
5. ใส่ใจในเรื่องของสุขอนามัยของผู้ดูแลที่ทำการว่าจ้างมา หากผู้ดูแลมีอาการป่วยกะทันหัน ผู้ว่าจ้างควรออกค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งสวัสดิการที่ผู้ดูแลควรได้รับ และควรให้ผู้ดูแลลางานได้ทันที เพื่อเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อต่อผู้สูงอายุภายในบ้าน
การทำข้อตกลงในการว่าจ้างนั้นนอกจากจะเป็นการช่วยให้ทำความเข้าใจอย่างชัดเจนแล้ว ยังช่วยสร้างความสบายใจให้กับทั้งสองฝ่ายได้อีกด้วย
วิถีชีวิตของชาวปากคลองบางกอกน้อย
ย่านปากคลองบางกอกน้อยฝั่งเหนือ เป็นถิ่นฐานของคนไทยและมุสลิมแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร มานานกว่า 200 ปี ต่างมีประวัติศาสตร์ร่วมกัน เข้าใจกัน พึ่งพาอาศัยกันและอยู่ร่วมกันอย่างสุขสงบตลอดมาจนทุกวันนี้ ย่านปากคลองบางกอกน้อยฝั่งเหนือ ในที่นี้หมายถึงพื้นที่ฝั่งเหนือของคลองบางกอกน้อย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในแขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร มีอาณาบริเวณจากปากคลองขนานไปตามคลอง บางกอกน้อย ทิศเหนือจรดสะพานพระปิ่นเกล้าและถนนพระปิ่นเกล้า ทิศใต้จรดคลองบางกอกน้อย ทิศตะวันออกจรดแม่น้ำเจ้าพระยา และทิศตะวันตกจรดถนนจรัญสนิทวงศ์ ย่านนี้ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของชุมชนวัดดุสิดาราม ชุมชนมัสยิดอันซอริซซุนนะห์ (มัสยิดหลวงบางกอกน้อย) และชุมชนสันติชนสงเคราะห์ (การเรียกชุมชน ในที่นี้ไม่ได้คำนึงหรือเน้นพื้นที่การปกครองของกรุงเทพมหานคร แต่เป็นการกำหนดพื้นที่ทางวัฒนธรรมแต่ละแห่งไว้เพื่อสะดวกในการศึกษาต่อไป) ย่านปากคลองบางกอกน้อยฝั่งเหนือเคยเป็นชุมชนชาวสวนมานับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายด้วย พื้นที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางกอกน้อย อีกทั้งยังมีลำคลองแยกหลายคลองทำให้พื้นที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะต่อการตั้งถิ่นฐานและทำการเกษตรกรรม เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 มีการย้ายราชธานีลงมาอยู่กรุงธนบุรี (พ.ศ. 2310-2325) และกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2325- ปัจจุบัน) ซึ่งเป็นบริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ใจกลางพระนครอยู่บริเวณพระราชวังเดิม (ฝั่งตะวันตก) และพระราชวังหลวง (ฝั่งตะวันออก) ไม่ไกลย่านปากคลองบางกอกน้อยฝั่งเหนือซึ่งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยานัก นอกจากนี้ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาได้มีการอพยพของผู้คนจากกรุงศรีอยุธยาลงมาตั้งถิ่นฐานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นกลุ่มคนไทยรวมตัวกันอยู่บริเวณปากคลองบางกอกน้อย มีวัดเสาประโคนหรือวัดดุสิดารามเป็นศูนย์รวมจิตใจ ถัดเข้าไปจะมีชุมชนมุสลิมตั้งบ้านเรือนกลุ่มเล็กๆ บริเวณสุเหร่าหลวงบางกอกน้อย และถัดเข้าไปอีกเป็นชุมชนกลุ่มใหญ่ขึ้นคือสันติชนสงเคราะห์ นอกจากนี้ยังมีคนจีนกลุ่มเล็กๆ กระจายตัวแทรกอยู่ในย่านนี้ทำมาหากินค้าขาย และอยู่ร่วมกันมาช้านาน
แนะนำผู้สูงวัยให้ใช้เทคโนโลยีให้ทันกับยุคสมัย
ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง จนมีข้อกังวลว่า ผู้สูงอายุที่ตามไม่ทันจะกลายเป็นกลุ่มที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังแล้วสถานการณ์โควิด 19 อาจกลายเป็นตัวเร่งให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยีดิจิตอลเนื่องด้วยผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ ในหลาย ๆ ประเทศได้มีการขอความร่วมมือให้ผู้สูงอายุกักตัวอยู่บ้านและงดการเข้าเยี่ยมบ้านพักคนชรา การติดต่อสื่อสารและการเรียนรู้ได้ถูกย้ายไปสู่โลกออนไลน์ ในขณะที่ผู้สูงอายุหลายคนยังรู้สึกประหม่ากับการใช้อินเทอร์เน็ต แอพพลิเคชั่น และโปรแกรมต่างๆ ดังนั้นผู้สูงอายุควรได้เรียนรู้ในด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อให้เท่าทันยุคสมัย โดยเคล็ดลับของการสอนสิ่งเหล่านี้ให้แก่ผู้สูงอายุ มีข้อสรุปแนวทางการสอนไว้ 8 ข้อคือ
1. อธิบายให้เห็นความสำคัญ เช่นการใช้ App สื่อสารจะช่วยให้คุณปู่คุณย่าสามารถติดต่อกับเพื่อนเก่า ๆ หรือคุยกับลูกหลานได้
2. ใช้ภาษาง่าย ๆ ในการสื่อสาร กับผู้สูงอายุหรืออาจจะใช้ศัพท์ที่ไม่ใช่คำศัพท์เชิงเทคนิคมากเกินไป
3. สอนแบบค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป อธิบายเป็นขั้นเป็นตอน หรือทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย
4. จดบันทึก โดยให้ผู้สูงอายุเขียนขั้นตอนลงในบันทึกช่วยจำเมื่อไหร่ที่ลืม สามารถย้อนกลับมาดูรายละเอียดในสมุดนั้นได้
5. ความอดทน ความอดทนในการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ สำหรับผู้สูงอายุนั้นเป็นสิ่งสำคัญ การเรียนรู้สิ่งใหม่เป็นเรื่องที่ยากเสมอ ความอดทนจึงเป็นหัวใจหลักในการพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยี
6. สร้างความมั่นใจให้กับผู้สูงอายุ เช่น แสดงความยินดีเมื่อผู้สูงอายุสามารถทำสำเร็จเล็กๆน้อยๆ จะช่วยให้พวกเขามีกำลังใจในการเรียนรู้ต่อไป
7. สร้างความเคยชิน โดยแนะนำให้ผู้สูงอายุโหลดเกมปริศนาหรือเกมฝึกสมองต่างๆในโทรศัพท์เพื่อให้พวกเขารู้สึกคุ้นเคยกับการใช้ปุ่มและการทัชสกรีน
8. ให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ต โดยอาจจะแนะนำเรื่องการตั้งค่ารหัสผ่าน และกำชับว่าอย่าส่งข้อมูลส่วนบุคคลทางอีเมล์หรือช่องทางอื่น ๆ โดยเด็ดขาด
สิ่งที่ควรทำในการดูแลผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มวัยที่ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพราะผู้สูงอายุส่วนมากนอกจากจะมีความเสื่อมของร่างกายตามวัยแล้ว ยังอาจมีโรคเรื้อรังที่ต้องการดูแล เช่น
1. โรคเบาหวาน
2. โรคความดันโลหิตสูง
3. หัวใจและหลอดเลือด
4. โรคกระดูกพรุน
5. โรคมะเร็ง
การที่ผู้สูงอายุจะมีสุขภาพแข็งแรงมีอายุยืนยาวอย่างมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้นั้น ไม่เพียงแต่การเตรียมความพร้อมหรือการปฏิบัติตัวผู้สูงอายุเองเท่านั้น ลูกหลาน ครอบครัวควรใส่ใจดูแลผู้สูงอายุด้วย ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี สมาชิกในครอบครัวอันประกอบด้วย ลูกหลาน ฯลฯ 10 ข้อควรปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ ดังต่อไปนี้
1. ช่วยนำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่า มีความสำคัญและมีความหวังในชีวิต เช่น ขอคำแนะนำต่าง ๆ ขอความช่วยเหลือจากผู้สูงอายุให้ควบคุมดูแลบ้านเรือน เป็นที่ปรึกษาอบรมเลี้ยงดูลูกหลาน
2. ควรระมัดระวังคำพูด หรือการกระทำที่แสดงออกต่อผู้สูงอายุ เน้นความสำคัญของผู้สูงอายุเป็นอันดับแรก ตัวอย่างเช่น เวลารับประทานอาหารเชิญชวนให้รับประทานอาหารก่อนและตักข้าวให้
3. ชวนผู้สูงอายุเล่าเรื่องเหตุการณ์ประทับใจในอดีตของท่านให้ฟัง และรับฟังอย่างตั้งใจ จะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่า ยังมีคนชื่นชมและสนใจเรื่องราวบางส่วนของชีวิตของตนอยู่
4. อำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุปฏิบัติกิจกรรมที่น่าสนใจต่าง ๆ เช่น เมื่อผู้สูงอายุต้องการไปวัดหรือศาสนสถาน ลูกหลาน ควรจัดเตรียมข้าวของให้ และจัดการรับส่งหรือไปเป็นเพื่อน
5. เอาใจใส่ดูแลเรื่องอาหาร และการออกกำลังกายหรือทำงานตามความถนัดให้เหมาะสมกับวัย
6. ที่พักอาศัย หากผู้สูงอายุต้องการแยกบ้านอยู่ หรือต้องการไปอยู่สถานที่ที่รัฐจัดให้ก็ควรตามใจ และพาลูกหลานไปเยี่ยมเมื่อมีโอกาส ถ้าหากผู้สูงอายุรู้สึกเป็นสุขและต้องการอยู่ร่วมกับลูกหลาน ก็ให้อยู่บ้านเดียวกัน เพื่อเกิดความรู้สึกอบอุ่น
7. ช่วยให้ผู้สูงอายุมีโอกาสพบปะสังสรรค์กับญาติสนิท และเพื่อนร่วมวัยเดียวกัน โดยการพาไปเยี่ยมเยียน หรือเชิญเพื่อนฝูงญาติมิตร มาสังสรรค์ที่บ้านเป็นที่คลายเหงา พาไปสถานที่ที่เป็นศูนย์รวมของผู้สูงอายุ เช่น วัด หรือชมรมผู้สูงอายุในชุมชน
8. ให้ความสำคัญเห็นคุณค่าและเคารพยกย่องนับถือ ด้วยการเชื่อฟังคำสั่งสอนและข้อแนะนำจากผู้สูงอายุ ร่วมมือกันรักษาฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมของไทย เช่น ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุเนื่องในวันสงกรานต์ เป็นต้น
9. ให้อภัยในความหลงลืมและความผิดพลาดที่ผู้สูงอายุกระทำ และควรแสดงความเห็นอกเห็นใจที่เหมาะสมด้วย
10. ช่วยเหลือดูแลรักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย หรือพาไปตรวจสุขภาพให้การดูแลอย่างใกล้ชิดเมื่อเจ็บป่วยหนัก เรื้อรัง
SAIJAI "ใส่ใจ" เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการดูแลเด็ก ดูแลผู้สูงอายุ ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ แม่บ้าน/ทำความสะอาด คนขับรถ ดูแลสัตว์เลี้ยง เสริมสวย และช่างซ่อมบำรุงเท่านั้น "SAIJAI" ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการหรือจ้างบุคคลใดให้บริการ ไม่มีสถานะเป็นนายจ้าง ผู้ว่าจ้าง ตัวแทน ผู้ร่วมทุน อย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเป็นผู้รับจ้างอิสระ ซึ่งผู้รับบริการเป็นผู้ว่าจ้าง คุณภาพการให้บริการเป็นความรับผิดชอบทั้งสิ้นของผู้ให้บริการเอง การเรียกใช้บริการจากผู้ให้บริการ อาจมีความเสี่ยง ซึ่งผู้รับบริการรับทราบและยินดีใช้บริการ บนความเสี่ยงใด ๆ ในความรับผิดชอบของตัวท่านเอง