วิธีการทำงาน
ติดต่อเรา
ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ
แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ
เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ
ยืนยันการจองของคุณ
เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA
ประเภทงานบริการ
ผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราว ผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย รับอยู่เป็นเพื่อนผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมบริการในเมืองยอดนิยม
บางเขน บางกอกน้อย ป้อมปราบศัตรูพ่า พระนคร บางพลัด บางบอน พระโขนง ภาษีเจริญ คลองสามวา ตลิ่งชันชื่อเล่น เจี๊ยบอายุ ประสบการณ์ ด้าน การทำงาน และการบริบาล-ประสบการณ์ na โรงพยาบาลสุขุมวิท2ปีรับจ๊อบเฝ้าไข้ ความสามารถ ทางด้าน การบริบาล-ทำกายภาพเบื้องต้นได้ -วัดความดัน-วัดไข้ ปรอท-วัด ออกซิเจน ในเลือดได้-ฟีทซักซั่น ปากคอ- ทำแผล กดทับได้ -เช็ดตัว อาบน้ำ สระผม ตัดเล็บ บนเตียงได้ - เคลื่อนย้าย ผุ้ป่วย ได้ -ใส่เครื่อง ออกซิเจนได้ - ดูแลสายปัสสาวะได้ แต่เปลี่ยนสายไม่ได้ -สวนอุจาระได้- ทำอาหาร บด อาหาร สายยาง ได้ - สื่อสาร ภาษาอังกฤษ ฟัง พูด อ่าน เขียน ได้ระดับ พอใช้
I am an honest woman without bad habits. I have experience in caring for post-stroke patients and patients with diabetes. You can also cook Thai and European food. If necessary, I can drive a car. (I have a driver's license) And keep the house clean at the request of the owner. Conscientious and kind attitude towards the patient is guaranteed.
ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ
รีวิวล่าสุด
คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ดูแลผู้สูงอายุ
1. เป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะ คืออายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถคิดและตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผล มีวุฒิภาวะที่ดี
2. เนื่องจากการดูแลผู้สูงอายุเป็นเรื่องละเอียดอ่อน คนดูแลผู้สูงอายุจึงควรเป็นคนที่มีความรู้ทั้งในเรื่องจิตวิทยา และด้านโภชนาการอาหาร รวมทั้งความสะอาดทั่วไปด้วย แม้ว่าการจ้างคนดูแลผู้สูงอายุที่มีความรู้อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายเยอะกว่าการจ้างคนทั่วไป แต่ก็ถือว่าคุ้มค่า เพราะหากผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ไม่ดี คนดูแลขาดความรู้แล้ว อาจส่งผลต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจอีกด้วย
3. มีความน่าไว้วางใจ เมื่อจ้างคนดูแลผู้สูงอายุเข้ามาอยู่ในบ้าน อาจจะต้องรับรู้ในส่วนของที่เก็บของต่างๆ รู้ตารางชีวิตประจำวันของคนในครอบครัว คนดูแลผู้สูงอายุจึงต้องเป็นคนที่ไว้ใจได้ มีประวัติที่ดี และมีทัศนคติที่ดี
4. มีความอดทน เนื่องจากการดูแลผู้สูงอายุไม่ใช่เรื่องง่ายๆ บางครั้งอาจจะต้องดูแลทั้งร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุอีกด้วย โดยเฉพาะหากเป็นผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยหรือโรคประจำตัว ก็จะมีความยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้นไปอีก
5. ควรจบหลักสูตรผู้ช่วยการพยาบาล หรือสาขาที่เกี่ยวข้องและหากมีประสบการณ์มักจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ แต่หากไม่จบหลักสูตรดังกล่าว แต่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุมาก่อน ก็จะได้รับการพิจารณาเช่นกัน
6. มีความซื่อสัตย์สุจริต เนื่องจากในบางครั้งอาจจะต้องอยู่กับผู้สูงอายุเพียงลำพัง
7. มีความขยันและสามารถช่วยเหลืองานอย่างอื่นได้ตามความเหมาะสม
1. ตรวจสอบประวัติย้อนหลังของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ทำการว่าจ้างมา เพื่อให้แน่ใจว่าคนดูแลที่จ้างมานั้นไม่เคยมีประวัติการกระทำที่ผิดกฎหมายมาก่อน โดยสามารถตรวจสอบประวัติอาชญากรรมกับกองทะเบียนประวัติอาชญากรได้ที่ http://www.criminal.police.go.th/
2. สอบถามประวัติการทำงานต่าง ๆ ที่ผ่านมา โดยอาจสอบถามจากผู้ว่าจ้างโดยตรงว่าเคยดูแลผู้สูงอายุมาอย่างไรบ้าง มีประสบการณ์มากน้อยแค่ไหนในการดูแลผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง ขณะเดียวกันก็สามารถสอบถามจากผู้ว่าจ้างที่เคยทำการจ้างก่อนหน้านี้ได้เช่นเดียวกัน
3. ฝากฝังทางเพื่อนบ้านให้ช่วยสอดส่องดูแลอีกทีหนึ่ง ซึ่งเพื่อนบ้านจะสามารถติดต่อหาเราได้ทันทีหากมีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น
4. หากว่าจ้างคนดูแลผู้สูงอายุโดยหาจากสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ควรศึกษาคำวิจารณ์หรือรีวิวจากผู้ใช้ก่อนหน้าว่ามีความคิดเห็นต่อการบริการอย่างไร เพื่อให้มั่นใจว่าคนดูแลที่จ้างมานั้นน่าเชื่อถือและเป็นคนมีความเป็นมืออาชีพจริง ๆ
5. การติดตั้งกล้องวงจรปิดบริเวณบ้านช่วยให้สามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวได้ตลอดเวลา ถือเป็นการป้องกันความปลอดภัยที่ดีอย่างหนึ่งเช่นกัน
1. ทำสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยสิ่งที่ควรระบุอยู่ในสัญญาอย่างชัดเจนได้แก่ ระยะเวลาการดูแล วันที่เท่าไหร่ถึงเท่าไหร่ ชั่วโมงการทำงาน จำนวนค่าจ้าง รวมไปถึงสวัสดิการและวันหยุดที่ผู้ดูแลควรได้รับตามกฎหมายแรงงาน โดยที่ทั้งสองฝ่ายต้องเซ็นยินยอมเพื่อเป็นการรับรู้ต่อสัญญาและข้อกำหนดที่ได้ตกลงกันไว้
2. ผู้ว่าจ้างควรอธิบายข้อมูลส่วนตัวของผู้สูงอายุให้กับผู้ดูแลอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุปนิสัย ความชอบส่วนตัว อาหารที่กินได้และไม่ได้ ที่สำคัญหากผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว ผู้ว่าจ้างควรบอกให้ผู้ดูแลรับรู้ก่อนเพื่อให้ผู้ดูแลสามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้
3. อธิบายขอบเขตและวิธีการทำงานให้กับผู้ดูแลอย่างชัดเจน สิ่งใดที่ทำได้และไม่ได้ เพื่อเป็นการป้องกันขั้นเบื้องต้น
4. ข้อตกลงเรื่องที่อยู่อาศัย หากผู้ว่าจ้างต้องการให้ผู้ดูแลอาศัยอยู่ที่บ้านตลอดช่วงระยะการดูแลผู้สูงอายุ ควรจัดเตรียมที่พักอาศัยให้กับผู้ดูแล รวมไปถึงแจกแจงเรื่องกฎในการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในบ้านตลอดช่วงระยะเวลาเช่นกัน
5. ใส่ใจในเรื่องของสุขอนามัยของผู้ดูแลที่ทำการว่าจ้างมา หากผู้ดูแลมีอาการป่วยกะทันหัน ผู้ว่าจ้างควรออกค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งสวัสดิการที่ผู้ดูแลควรได้รับ และควรให้ผู้ดูแลลางานได้ทันที เพื่อเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อต่อผู้สูงอายุภายในบ้าน
การทำข้อตกลงในการว่าจ้างนั้นนอกจากจะเป็นการช่วยให้ทำความเข้าใจอย่างชัดเจนแล้ว ยังช่วยสร้างความสบายใจให้กับทั้งสองฝ่ายได้อีกด้วย
วิถีชีวิตของชาวปากคลองบางกอกน้อย
ย่านปากคลองบางกอกน้อยฝั่งเหนือ เป็นถิ่นฐานของคนไทยและมุสลิมแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร มานานกว่า 200 ปี ต่างมีประวัติศาสตร์ร่วมกัน เข้าใจกัน พึ่งพาอาศัยกันและอยู่ร่วมกันอย่างสุขสงบตลอดมาจนทุกวันนี้ ย่านปากคลองบางกอกน้อยฝั่งเหนือ ในที่นี้หมายถึงพื้นที่ฝั่งเหนือของคลองบางกอกน้อย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในแขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร มีอาณาบริเวณจากปากคลองขนานไปตามคลอง บางกอกน้อย ทิศเหนือจรดสะพานพระปิ่นเกล้าและถนนพระปิ่นเกล้า ทิศใต้จรดคลองบางกอกน้อย ทิศตะวันออกจรดแม่น้ำเจ้าพระยา และทิศตะวันตกจรดถนนจรัญสนิทวงศ์ ย่านนี้ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของชุมชนวัดดุสิดาราม ชุมชนมัสยิดอันซอริซซุนนะห์ (มัสยิดหลวงบางกอกน้อย) และชุมชนสันติชนสงเคราะห์ (การเรียกชุมชน ในที่นี้ไม่ได้คำนึงหรือเน้นพื้นที่การปกครองของกรุงเทพมหานคร แต่เป็นการกำหนดพื้นที่ทางวัฒนธรรมแต่ละแห่งไว้เพื่อสะดวกในการศึกษาต่อไป) ย่านปากคลองบางกอกน้อยฝั่งเหนือเคยเป็นชุมชนชาวสวนมานับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายด้วย พื้นที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางกอกน้อย อีกทั้งยังมีลำคลองแยกหลายคลองทำให้พื้นที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะต่อการตั้งถิ่นฐานและทำการเกษตรกรรม เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 มีการย้ายราชธานีลงมาอยู่กรุงธนบุรี (พ.ศ. 2310-2325) และกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2325- ปัจจุบัน) ซึ่งเป็นบริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ใจกลางพระนครอยู่บริเวณพระราชวังเดิม (ฝั่งตะวันตก) และพระราชวังหลวง (ฝั่งตะวันออก) ไม่ไกลย่านปากคลองบางกอกน้อยฝั่งเหนือซึ่งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยานัก นอกจากนี้ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาได้มีการอพยพของผู้คนจากกรุงศรีอยุธยาลงมาตั้งถิ่นฐานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นกลุ่มคนไทยรวมตัวกันอยู่บริเวณปากคลองบางกอกน้อย มีวัดเสาประโคนหรือวัดดุสิดารามเป็นศูนย์รวมจิตใจ ถัดเข้าไปจะมีชุมชนมุสลิมตั้งบ้านเรือนกลุ่มเล็กๆ บริเวณสุเหร่าหลวงบางกอกน้อย และถัดเข้าไปอีกเป็นชุมชนกลุ่มใหญ่ขึ้นคือสันติชนสงเคราะห์ นอกจากนี้ยังมีคนจีนกลุ่มเล็กๆ กระจายตัวแทรกอยู่ในย่านนี้ทำมาหากินค้าขาย และอยู่ร่วมกันมาช้านาน
แนะนำผู้สูงวัยให้ใช้เทคโนโลยีให้ทันกับยุคสมัย
ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง จนมีข้อกังวลว่า ผู้สูงอายุที่ตามไม่ทันจะกลายเป็นกลุ่มที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังแล้วสถานการณ์โควิด 19 อาจกลายเป็นตัวเร่งให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยีดิจิตอลเนื่องด้วยผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ ในหลาย ๆ ประเทศได้มีการขอความร่วมมือให้ผู้สูงอายุกักตัวอยู่บ้านและงดการเข้าเยี่ยมบ้านพักคนชรา การติดต่อสื่อสารและการเรียนรู้ได้ถูกย้ายไปสู่โลกออนไลน์ ในขณะที่ผู้สูงอายุหลายคนยังรู้สึกประหม่ากับการใช้อินเทอร์เน็ต แอพพลิเคชั่น และโปรแกรมต่างๆ ดังนั้นผู้สูงอายุควรได้เรียนรู้ในด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อให้เท่าทันยุคสมัย โดยเคล็ดลับของการสอนสิ่งเหล่านี้ให้แก่ผู้สูงอายุ มีข้อสรุปแนวทางการสอนไว้ 8 ข้อคือ
1. อธิบายให้เห็นความสำคัญ เช่นการใช้ App สื่อสารจะช่วยให้คุณปู่คุณย่าสามารถติดต่อกับเพื่อนเก่า ๆ หรือคุยกับลูกหลานได้
2. ใช้ภาษาง่าย ๆ ในการสื่อสาร กับผู้สูงอายุหรืออาจจะใช้ศัพท์ที่ไม่ใช่คำศัพท์เชิงเทคนิคมากเกินไป
3. สอนแบบค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป อธิบายเป็นขั้นเป็นตอน หรือทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย
4. จดบันทึก โดยให้ผู้สูงอายุเขียนขั้นตอนลงในบันทึกช่วยจำเมื่อไหร่ที่ลืม สามารถย้อนกลับมาดูรายละเอียดในสมุดนั้นได้
5. ความอดทน ความอดทนในการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ สำหรับผู้สูงอายุนั้นเป็นสิ่งสำคัญ การเรียนรู้สิ่งใหม่เป็นเรื่องที่ยากเสมอ ความอดทนจึงเป็นหัวใจหลักในการพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยี
6. สร้างความมั่นใจให้กับผู้สูงอายุ เช่น แสดงความยินดีเมื่อผู้สูงอายุสามารถทำสำเร็จเล็กๆน้อยๆ จะช่วยให้พวกเขามีกำลังใจในการเรียนรู้ต่อไป
7. สร้างความเคยชิน โดยแนะนำให้ผู้สูงอายุโหลดเกมปริศนาหรือเกมฝึกสมองต่างๆในโทรศัพท์เพื่อให้พวกเขารู้สึกคุ้นเคยกับการใช้ปุ่มและการทัชสกรีน
8. ให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ต โดยอาจจะแนะนำเรื่องการตั้งค่ารหัสผ่าน และกำชับว่าอย่าส่งข้อมูลส่วนบุคคลทางอีเมล์หรือช่องทางอื่น ๆ โดยเด็ดขาด
สิ่งที่ควรทำในการดูแลผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มวัยที่ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพราะผู้สูงอายุส่วนมากนอกจากจะมีความเสื่อมของร่างกายตามวัยแล้ว ยังอาจมีโรคเรื้อรังที่ต้องการดูแล เช่น
1. โรคเบาหวาน
2. โรคความดันโลหิตสูง
3. หัวใจและหลอดเลือด
4. โรคกระดูกพรุน
5. โรคมะเร็ง
การที่ผู้สูงอายุจะมีสุขภาพแข็งแรงมีอายุยืนยาวอย่างมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้นั้น ไม่เพียงแต่การเตรียมความพร้อมหรือการปฏิบัติตัวผู้สูงอายุเองเท่านั้น ลูกหลาน ครอบครัวควรใส่ใจดูแลผู้สูงอายุด้วย ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี สมาชิกในครอบครัวอันประกอบด้วย ลูกหลาน ฯลฯ 10 ข้อควรปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ ดังต่อไปนี้
1. ช่วยนำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่า มีความสำคัญและมีความหวังในชีวิต เช่น ขอคำแนะนำต่าง ๆ ขอความช่วยเหลือจากผู้สูงอายุให้ควบคุมดูแลบ้านเรือน เป็นที่ปรึกษาอบรมเลี้ยงดูลูกหลาน
2. ควรระมัดระวังคำพูด หรือการกระทำที่แสดงออกต่อผู้สูงอายุ เน้นความสำคัญของผู้สูงอายุเป็นอันดับแรก ตัวอย่างเช่น เวลารับประทานอาหารเชิญชวนให้รับประทานอาหารก่อนและตักข้าวให้
3. ชวนผู้สูงอายุเล่าเรื่องเหตุการณ์ประทับใจในอดีตของท่านให้ฟัง และรับฟังอย่างตั้งใจ จะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่า ยังมีคนชื่นชมและสนใจเรื่องราวบางส่วนของชีวิตของตนอยู่
4. อำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุปฏิบัติกิจกรรมที่น่าสนใจต่าง ๆ เช่น เมื่อผู้สูงอายุต้องการไปวัดหรือศาสนสถาน ลูกหลาน ควรจัดเตรียมข้าวของให้ และจัดการรับส่งหรือไปเป็นเพื่อน
5. เอาใจใส่ดูแลเรื่องอาหาร และการออกกำลังกายหรือทำงานตามความถนัดให้เหมาะสมกับวัย
6. ที่พักอาศัย หากผู้สูงอายุต้องการแยกบ้านอยู่ หรือต้องการไปอยู่สถานที่ที่รัฐจัดให้ก็ควรตามใจ และพาลูกหลานไปเยี่ยมเมื่อมีโอกาส ถ้าหากผู้สูงอายุรู้สึกเป็นสุขและต้องการอยู่ร่วมกับลูกหลาน ก็ให้อยู่บ้านเดียวกัน เพื่อเกิดความรู้สึกอบอุ่น
7. ช่วยให้ผู้สูงอายุมีโอกาสพบปะสังสรรค์กับญาติสนิท และเพื่อนร่วมวัยเดียวกัน โดยการพาไปเยี่ยมเยียน หรือเชิญเพื่อนฝูงญาติมิตร มาสังสรรค์ที่บ้านเป็นที่คลายเหงา พาไปสถานที่ที่เป็นศูนย์รวมของผู้สูงอายุ เช่น วัด หรือชมรมผู้สูงอายุในชุมชน
8. ให้ความสำคัญเห็นคุณค่าและเคารพยกย่องนับถือ ด้วยการเชื่อฟังคำสั่งสอนและข้อแนะนำจากผู้สูงอายุ ร่วมมือกันรักษาฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมของไทย เช่น ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุเนื่องในวันสงกรานต์ เป็นต้น
9. ให้อภัยในความหลงลืมและความผิดพลาดที่ผู้สูงอายุกระทำ และควรแสดงความเห็นอกเห็นใจที่เหมาะสมด้วย
10. ช่วยเหลือดูแลรักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย หรือพาไปตรวจสุขภาพให้การดูแลอย่างใกล้ชิดเมื่อเจ็บป่วยหนัก เรื้อรัง
SAIJAI "ใส่ใจ" เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการดูแลเด็ก ดูแลผู้สูงอายุ ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ แม่บ้าน/ทำความสะอาด คนขับรถ ดูแลสัตว์เลี้ยง เสริมสวย และช่างซ่อมบำรุงเท่านั้น "SAIJAI" ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการหรือจ้างบุคคลใดให้บริการ ไม่มีสถานะเป็นนายจ้าง ผู้ว่าจ้าง ตัวแทน ผู้ร่วมทุน อย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเป็นผู้รับจ้างอิสระ ซึ่งผู้รับบริการเป็นผู้ว่าจ้าง คุณภาพการให้บริการเป็นความรับผิดชอบทั้งสิ้นของผู้ให้บริการเอง การเรียกใช้บริการจากผู้ให้บริการ อาจมีความเสี่ยง ซึ่งผู้รับบริการรับทราบและยินดีใช้บริการ บนความเสี่ยงใด ๆ ในความรับผิดชอบของตัวท่านเอง