วิธีการทำงาน
ติดต่อเรา
ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ
แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ
เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ
ยืนยันการจองของคุณ
เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA
ประเภทงานบริการ
ผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราว ผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย รับอยู่เป็นเพื่อนผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมบริการในเมืองยอดนิยม
บางเขน บางกอกน้อย ป้อมปราบศัตรูพ่า พระนคร บางพลัด บางบอน พระโขนง ภาษีเจริญ คลองสามวา ตลิ่งชันข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ
รีวิวล่าสุด
คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ดูแลผู้สูงอายุ
2. การฝึกอบรมเพื่อให้มีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ และมีความรู้ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุให้ถูกวิธี เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
3. อุปนิสัย ผู้ดูแลผู้สูงอายุต้องมีใจรักในงานบริการ มีบุคลิกชอบช่วยเหลือผู้อื่น มีความจริงใจ มีความรัก ความสงสาร ความเห็นอกเห็นใจ ปรารถนาดีต่อผู้สูงอายุ เข้าใจและรับฟังเรื่องราวของผู้สูงอายุ เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุให้มีความสุข
4. รู้จักผิดชอบชั่วดี ต้องรู้จักแยกแยะว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำและเข้าใจในเหตุผลของความถูกต้องดีงาม (moral reasoning)
5. อายุที่เหมาะสม หลายคนอาจมองข้ามเรื่องของช่วงอายุไป แต่ต้องเข้าใจว่าช่วงอายุมีผลต่อวุฒิภาวะ ถ้าเด็กมากเกินไปก็อาจจะมีความอดทนที่ต่ำเพราะประสบการณ์การในชีวิตยังน้อย หรือถ้าอายุมากเกินไปก็ทำให้ความคล่องตัวในการดูแลผู้สูงวัยอาจจะมีน้อยลง
6. ประสบการณ์นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะบ่งบอกว่าคนคนนั้นเคยผ่านงานดูแลผู้สูงวัยมาก่อน ทำให้เข้าใจเนื้องานได้อย่างรวดเร็ว เข้าใจรายละเอียดของการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งโดยรวมแล้วผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุจำเป็นต้องมีใจรักในงานเป็นพิเศษ ต้องใช้ความอดทนและใช้ความรู้ความสามารถที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้สามารถดูแลได้ถูกวิธีและถูกใจกันทุกฝ่ายอีกด้วย
7. เป็นผู้ประสานงานและเชื่อมโยงระหว่างบุตรหลานและญาติมิตรกับผู้สูงอายุ เมื่อได้รับความไว้วางใจให้มาดูแลผู้สูงอายุแล้ว ผู้ดูแลต้องสามารถสื่อสารส่งต่อข้อมูลที่จะช่วยให้ทำงานได้ดีและเข้าใจผู้สูงอายุมากขึ้น
1. ตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของคนดูแลผู้สูงอายุ โดยสามารถร้องขอให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุทำการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมกับกองทะเบียนประวัติอาชญากรได้ที่ http://www.criminal.police.go.th/
2. ตรวจสอบประวัติการทำงานกับนายจ้างคนเก่า ในกรณีที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุเคยผ่านประสบการณ์การทำงานมาก่อน
3. หากเป็นผู้ดูแลที่มาจากบริษัท ทางบริษัทควรจะมีการส่งตัวแทนจากบริษัทเข้ามาเยี่ยมและตรวจสอบการทำงานของผู้ดูแลเป็นระยะๆ
4. คนในครอบครัวหมั่นตรวจตราและสอดส่องการทำงานของผู้ดูแลคนสูงอายุอยู่ตลอดเวลาในระยะแรกๆของการทำงาน
5. หากมีเพื่อนบ้านที่ไว้ใจได้ สามารถฝากให้เพื่อนบ้านช่วยสอดส่องดูแลขณะที่ผู้ดูแลอยู่ลำพังกับผู้สูงอายุ
6. ปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะทำการติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้ตามจุดต่างๆ ภายในบ้าน เพื่อตรวจสอบความเคลื่อนไหวภายในบ้านได้ตลอด 24 ชม.
1. มีการทำสัญญาว่าจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อความถูกต้องและความสบายใจของทั้ง 2 ฝ่าย โดยระบุข้อวันเริ่มงาน ตกลงในเรื่องของเงินเดือน ชั่วโมงการทำงาน สวัสดิการและวันหยุดที่ควรจะได้รับตามกฎหมายแรงงาน
2. ทำความเข้าใจถึงความคาดหวังที่นายจ้างต้องการจากผู้ดูแล และหน้าที่รับผิดชอบต่างๆ ว่าอาจจะต้องทำงานอื่นนอกเหนือจากการดูแลผู้สูงอายุหรือไม่ ตัวอย่างเช่น อาจจะต้องช่วยดูแลเพิ่มเติม ในเรื่องของความสะอาดต่างๆ ของเครื่องใช้ หรือความสะอาดในพื้นที่ที่ผู้สูงอายุอยู่
3. อธิบายข้อมูลส่วนตัวในเชิงลึกของผู้สูงอายุที่ต้องดูแล เช่น ลักษณะนิสัย ความชอบส่วนตัว โรคประจำตัว อาหารที่ทานได้ หรือ อาหารที่แพ้ ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนและมีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก
4. ควรใส่ใจในสุขภาพของคนที่จะมาเป็นคนดูแลผู้สูงอายุของเราด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องโรคติดต่อต่างๆ ที่อาจจะแพร่มาสู่คนชราได้ คนดูแลจึงควรมีสุขภาพแข็งแรง และควรมีผลการตรวจสุขภาพมาเพื่อยืนยันกับผู้ว่าจ้าง
5. ทำความเข้าใจว่าหากคนดูแลผู้สูงอายุป่วยไข้ ผู้ว่าจ้างจะอนุญาตให้พักงาน เพื่อลดปัญหาการแพร่เชื้อสู่ผู้สูงอาย
6. หากผู้ว่าจ้างเลือกให้คนดูแลผู้สูงอายุพักอาศัยที่บ้านด้วย ควรมีห้องพักที่แยกเป็นสัดส่วนและมีการจัดหาอาหารให้ ควรอธิบายข้อมูลให้ชัดเจนด้วยว่ามีอาหารให้กี่มื้อต่อวัน
7. คนดูแลผู้สูงอายุควรได้รับการอบรมและตรวจสอบประวัติ และลายนิ้วมือ เพื่อประสิทธิภาพของงาน และความไว้วางใจของผู้ว่าจ้าง
สิ่งน่ารู้เกี่ยวกับ สวนลุมพินี ปทุมวัน
สวนลุมพินี เป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของกรุงเทพ ตั้งอยู่กลางเมืองที่ แยกศาลาแดง ถนนพระรามที่ 4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีขนาดใหญ่และร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ บนเนื้อที่ 360 ไร่ ที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468
ชื่อเดิมเรียกว่า “ทุ่งศาลาแดง” เป็นพระราชมรดกที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) ทรงพระราชทานไว้ เพื่อจัดงาน “สยามรัฐพิพิธภัณฑ์” เป็นงานแสดงพิพิธภัณฑ์สรรพสินค้า และทรัพยากรธรรมชาติ เมื่องานจบ จึงให้งดจัดงาน และมีพระราชดำริให้จัดสถานที่นี้เป็นสวนพฤกษชาติ ไว้ให้ประชาชนไว้พักผ่อนและศึกษาหาความรู้ และทรงพระราชทานชื่อว่า "สวนลุมพินี" หมายถึง สถานที่ประสูติแห่งพระพุทธเจ้า ณ ตำบลลุมพินีวัน ประเทศเนปาล เมื่อรัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคต รัชกาลที่ 7 ทรงสร้างสวนสาธารณะนี้ต่อจนสำเร็จ และได้สร้างพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 ไว้ด้านหน้าสวน เพื่อการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของท่าน
จุดเด่นภายในสวนลุมพินี
-พระบรมรูปรัชกาลที่ 6
-กิจกรรมดูนกในเมือง
-ลานตะวันยิ้ม
-สโมสรพลเมืองอาวุโสแห่งเมืองกรุงเทพฯ
-ศูนย์สร้างโอกาสเด็กสวนลุมพินี (Home of hope)
-ศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (BMA Apprentice School)
-ห้องสมุดประชาชนสวนลุมพินี
-ศูนย์เยาวชนลุมพินี
-ศูนย์อาหารศรีไทยเดิม
-ธรรมะในสวน
-ดนตรีในสวน
การเดินทางด้วยรถไฟฟ้าจะสะดวกกว่ารถประจำทาง
รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT
สถานีสีลม ระยะทาง 100 เมตร ถึงสวนลุมพินี
รถไฟฟ้า BTS
สถานีศาลาแดง ออกทางออก 5 ตรงทางถนนพระราม 4 เดินข้ามถนนมา ก็จะเจอกับสวนลุมพินี
รถประจำทางที่ผ่าน
ถนนพระรามที่4 (สวนลุมพินี) : 4, 14, 45, 46, 47, 50, 67, 74, 76, 141, 113, 115, 505
ถนนราชดำริ (สวนลุมพินี) : 14, 15, 50, 74, 76, 77, 162, 504, 505, 514, 547
ถนนวิทยุ (สวนลุมพินี) : 13, 17, 50, 62, 76, 505
ถนนสารสิน (สวนลุมพินี) : 14, 50, 505
เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ เพื่อดูแลผู้สูงอายุในเมืองกรุง
เนื่องด้วยแนวโน้มของจำนวนประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกวัน ทำให้ตลาดผู้สูงอายุเป็นตลาดที่นักธุรกิจสนใจที่จะพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม ใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับฐานลูกค้ากลุ่มนี้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องใช้ชีวิตในเมืองกรุง ที่ลูกหลานต่างมีภาระหน้าที่ต้องทำงาน มักจะสรรหาสิ่งเหล่านี้เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้สูงอายุ
ตัวอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ในอนาคตสำหรับผู้สูงอายุ
1. หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ – มีหลายจุดประสงค์ เช่น ช่วยในการอุ้ม ช่วยให้ความบันเทิง ช่วยเตือนเวลาพบแพทย์ หรือรับประทานยา แต่ราคาค่อนข้างสูง แต่อนาคตราคาจะปรับเปลี่ยนเพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ ในประเทศไทยนั้น ได้มีการนำหุ่นยนต์มาใช้เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น โครงการ “จุฬาอารีมอบหุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ”
2. เหรียญ QR code เพื่อช่วยผู้สูงอายุกลับบ้าน – ประเทศจีนเริ่มใช้เหรียญนี้ สำหรับช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีปัญหา เรื่องความทรงจำ เป็นอัลไซเมอร์ เมื่อออกจาบ้านแล้วหลงลืม ไม่สามารถจำทางกลับบ้านเองได้ โดยใช้เทคโนโลยี QR code ฝังข้อมูลผู้สูงอายุไว้ เมื่อผู้พบเห็นเจอ สามารถนำมือถือขึ้นมาสแกน QR code และให้ความช่วยเหลือส่งผู้สูงอายุกลับบ้านได้
3. เยลลี่สำหรับผู้สูงอายุและผู้มีปัญหาในการกลืนอาหาร – ผู้สูงอายุมักมีการสำลักอาหาร เนื่องจากมีปัญหาจากโรควัยชรา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการใช้ฟันปลอม ไม่มีฟันในการบดเคี้ยว มะเร็งช่องปาก ผ่านทำคีโม ฉายรังสี หรือบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง ทำให้กลืนอาหารได้ลำบาก นวัตกรรมนี้จะเป็นการนำเยลลี่ที่มีสารสกัดจากสิ่งที่มีประโยชน์ เช่น ใบแปะก๊วย แคลเซียม โอเมก้า พรีไบโอติกไฟเบอร์ ซึ่งตัวเนื้อจะนุ่ม ลื่น กลืนง่าย เพียงแค่ใช้ลิ้นดุนให้แตกไม่ทำให้สำลักง่าย
เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี และยังมีการคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีอื่นๆ อีกมากมายในอนาคตอันใกล้
อุปกรณ์เสริมเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุในชีวิตประจำวัน
ประชากรไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า จะมีผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมาก เนื่องจากความคิดของคนวัยกลางคนในปัจจุบันนี้ ส่วนมากเลือกที่จะไม่แต่งงาน บ้างก็แต่งงานแต่ไม่ต้องการมีลูก เพราะมีคิดว่าการมีลูกนั้นต้องมีใช้ค่าใช้จ่ายสูง
ปั้นปลายชีวิตส่วนใหญ่จะมองหาบ้านพักคนชราเป็นที่พึ่งสุดท้าย และหาอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ นานา เพื่อช่วยเหลือในการดำรงชีวิต
ด้วยยุคดิจิทัลที่มาเข้ามามีบทบาทในชีวิต จึงมีการคิดค้นเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกสบายทั้งหลาย ซึ่งหนึ่งในนั้นจะเป็นอุปกรณ์สำหรับช่วยเหลือผู้สูงอายุ เช่น
1) เครื่องช่วยพยุงตัวนั่งชักโครก สำหรับโถสุขภัณฑ์
เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งกับชักโครกโดยไม่ต้องใช้เครื่องจักรใด ๆ ในการขุดเจาะทั้งสิ้น ออกแบบมาเพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหากล้ามเนื้อขาอ่อนแรง ปัญหาหัวเข่า ปัญหากระดูกช่วงขา ที่ไม่สามารถลุกนั่งชักโครกได้เหมือนคนทั่วไป อุปกรณ์ตัวนี้จะช่วยดันสะโพกขึ้นลงทั้งก่อนและหลังใช้ชักโครก ทำให้ลดแรงในการลุกนั่ง สามารถปรับความเอียงของฝาชักโครกได้ รองรับน้ำหนักได้ถึง 150 กิโลกรัม และช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ดูแลขณะพยุงตัวผู้สูงอายุ ลดการเกิดอุบัติเหตุ เพิ่มความปลอดภัยในการใช้ห้องน้ำอีกด้วย
2) อุปกรณ์ช่วยเดิน รถเข็นหัดเดิน
เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเกี่ยวกับการเดิน การทรงตัว สำหรับผู้สูงอายุที่มีความผิดปกติด้านการเดินและกระดูกเชิงกราน ให้สามารถยืนและช่วยเหลือตัวเองได้ รองรับน้ำหนักได้ถึง 110 กิโลกรัม
3) เตียงตื่นตัว หรือเตียงโจอี้
เป็นผลงานวิจัยของชาวไทย จากสำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งเตียงนี้จะช่วยผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาเรื่องการลุก นั่ง ยืน ในการเข้านอน ให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
SAIJAI "ใส่ใจ" เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการดูแลเด็ก ดูแลผู้สูงอายุ ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ แม่บ้าน/ทำความสะอาด คนขับรถ ดูแลสัตว์เลี้ยง เสริมสวย และช่างซ่อมบำรุงเท่านั้น "SAIJAI" ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการหรือจ้างบุคคลใดให้บริการ ไม่มีสถานะเป็นนายจ้าง ผู้ว่าจ้าง ตัวแทน ผู้ร่วมทุน อย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเป็นผู้รับจ้างอิสระ ซึ่งผู้รับบริการเป็นผู้ว่าจ้าง คุณภาพการให้บริการเป็นความรับผิดชอบทั้งสิ้นของผู้ให้บริการเอง การเรียกใช้บริการจากผู้ให้บริการ อาจมีความเสี่ยง ซึ่งผู้รับบริการรับทราบและยินดีใช้บริการ บนความเสี่ยงใด ๆ ในความรับผิดชอบของตัวท่านเอง